กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มกราคม 2565
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
space
space
21 มกราคม 2565
space
space
space

โลกะวิทู (๑๔)


ต่อ

    ประการที่ ๕ ทรงทราบบุคคลและสถานที่ที่ไปอย่างปรุโปร่ง เมื่อออกผนวชแล้ว ก่อนตรัสรู้ พระองค์เป็นนักท่องเที่ยวแสวงบุญ  ครั้นเมื่อได้ตรัสรู้แล้วก็เป็นนักท่องเที่ยวโปรดสัตว์ ทรงชำนาญเรื่องหนทาง อาหาร สถานที่ ดินฟ้าอากาศ อันเป็นการปลอดภัยในเรื่องการท่องเที่ยว
พระองค์พบเห็นเหตุการณ์และบุคคลมาก เพราะการสมาคมเป็นเหตุให้พระองค์ทรงทราบจิตใจในขณะได้ปราศรัยกับคนทุกชั้นอย่างละเอียดลออ  พระองค์สั่งสอนให้เขาเชื่อ ให้เขาเห็นความจริงได้โดยง่าย เ  รียกว่า   ทรงมีข่ายพระญาณ  คนเรามักรู้จักกันแต่ภายนอก ส่วนพระองค์ทราบคนทั้งหมดถึงภายในใจ  ข้อนี้  เป็นประโยชน์ต่อการวางกฎข้อปฏิบัติสั่งสอนธรรมะให้ถูกต้องตามนิสัย และตามกาลเทศะ

     ประการที่ ๖ ทรงทราบกฎแห่งกรรมที่ประจำอยู่ในโลก ทรงทราบผลกรรม คือผลแห่งการกระทำ เห็นว่ากรรมจำแนกสัตว์ให้เป็นไปต่างๆ กัน จะสุข ทุกข์ ชั่วดี สูงต่ำ ก็เพราะกรรมของผู้นั้น ไม่ใช่เพราะวรรณะ เพศ พรรณ ชาติ ตระกูล ซึ่งทำให้มีกระด้างถือตัวจัด ถือพวกพ้องของเขาเหล่านั้น ไม่ใช่พระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไหน  ทรงสอนให้ยึดเอากรรมของตนเป็นหลักเกณฑ์ เว้นจากกรรมชั่ว ประกอบกรรมดี  การที่ทรงทราบหลักข้อนี้ ทำให้ศาสนาของพระองค์ลงรากฐานได้มั่นคงจนพระองค์ได้พระนามว่า  “พระเจ้าแห่งความสัจจะ”  ใครคิดแล้ว  ก็ต้องเห็นจริงตาม เว้นแต่ไม่คิดก็ไม่เห็นเท่านั้น

    ประการที่ ๗ ทรงทราบโลกปรมัตถ์ลึกซึ้ง ปรมัตถะ แปลว่า มีอรรถอันลึกซึ้ง พระปรีชาญาณอันแหลมคม สอดส่องทะลุความไม่เที่ยง ความล่อลวงของธรรมชาติในโลก ทรงทราบโลกโดยความเป็นสังขาร คือการปรุงแต่งกันเองให้กลายเป็นสิ่งอื่นๆ แล้วก่อกรรมต่อไปอีกจนเป็นคนบ้าง สัตว์บ้าง สิ่งของต่างๆ บ้าง เมื่อกระจายสิ่งต่างๆ เหล่านั้นออกเป็นส่วนๆ ด้วยปัญญา จะเห็นเป็นส่วน เป็นกอง เรียกว่า ขันธ์ บ้าง ธาตุ บ้าง ทุกส่วนล้วนแต่เกิดขึ้นชั่วคราว เปลี่ยนเรื่อยไป ในที่สุดก็ดับ
หลายๆ ส่วนประกอบกันเป็นรูป  รูปกายจึงเป็นของไม่ยั่งยืนเปลี่ยนแปลงไปเป็นนิจ ธรรมชาติเป็นผู้ฉาบทาสิ่งยั่วยวนเป็นเหยื่อไว้ภายนอก ซ่อนความทุกข์ ความไม่งาม ความเหี่ยวแห้ง ความเผาลนเอาไว้ภายใน ล่อให้หลง เช่น เดียวกับเหยื่อที่มีเบ็ดอยู่ข้างใน
พระองค์อาจแยกไปเป็นส่วนย่อยจนกระทั่งทรงเห็นว่าเป็นสิ่งหาค่ามิได้ ไม่ควรหลงติดอยู่ในโลกนี้ โดยแจ้งชัดด้วยพระองค์เอง จึงทราบและเรียกผู้อื่นให้มาดูโลกนี้ ซึ่งคนเขลาเข้าใจว่างาม แล้วจึงอยู่ด้วยความเข้าไปยึดถือว่าของฉันๆ เป็นกรรมของสัตว์
ส่วนนักรู้ก็ได้พิจารณาเห็นแล้วกลับเบื่อหน่าย ทำใจให้ไม่เกี่ยวข้องด้วย ไม่ให้ตกไปเป็นทาสของสิ่งเหล่านั้น วางเฉยอยู่ได้ ในที่สุดก็ดับสนิทไปจากโลกอันยุ่งเหยิงนี้ได้อย่างแท้จริง.


    การตรัสรู้ทางโลกุตรธรรม คือสุดที่นิพพาน  ได้แก่  การดับทุกข์นั่นเอง เป็นการรู้จักโลกอย่างยิ่ง   พระนิพพานเป็นที่สุดแห่งโลก   ผู้ที่รู้จักที่สุดแห่งโลก ก็หมายความว่า รู้จักโลกจบหมด  การรู้จักโลกจบหมด ก็คือ รู้จักโลก  ความเกิดของโลก ความดับของโลก และหนทางจะให้ดับไปของโลก
สิ่งทั้ง ๔ นี้ ก็เกิดอยู่ในร่างกายของมนุษย์นี่เอง  พระองค์ตรัสไว้ใน โรหิตัสสวรรคว่า "ในร่างกายที่ยาววาหนึ่ง มีพร้อมทั้งสัญญาและใจนี่เอง  เราบัญญัติว่าโลก ความเกิดของโลก ความดับของโลก และหนทางให้ถึงความดับไปของโลกไว้”  เรื่องโลกที่พระองค์รู้ชัด  ก็คือเรื่องรู้ถึงกายโดยปรมัตถ์   ในที่นี้ โลก หมายถึง ทุกข์ ถ้ารู้จักโลกดีก็ต้องรู้จักทุกข์ดี  พระองค์ทราบความข้อนี้แจ่มแจ้ง จึงได้ทราบไปถึงโลกุตระ อันเป็นที่สุด คือพ้นจากโลก และเรื่องนี้จะศึกษาทดลองได้จากร่างกายมนุษย์นี้เท่านั้น

   พวกเราทั้งหลายเป็นศิษย์ของพระองค์ผู้โลกะวิทู  ควรรู้แจ้งโลกพอสมควรแล้ว ทำตนให้เหมาะแก่โลก ไม่ต้องถือโลกให้มาเหมาะแก่ตน  ซึ่งเป็นการกระทำไม่ได้เลย  รู้จักทำใจให้สงบ ไม่ทะเยอทะยานให้ถึงกับต้องก่อไฟขึ้นในอก
มองเห็นทุกข์ประจำของมนุษย์ทั้งหลายถ่องแท้แล้ว ไม่น้อยใจเสียใจหรือทิ้งทุกข์นี้ วิ่งไปจับเอาทุกข์อื่น ซึ่งหนามากขึ้นไปอีก
ทรงให้บากบั่นฟันฝ่าอุปสรรคตามฐานะของตน  อย่าเป็นทาสกาม แต่จะสังเกตเห็นเหตุการณ์ บุคคล สถานที่ สิ่งแวดล้อมเพื่อเข้าใจแจ่มแจ้ง เพื่อปลอดภัย เพื่อทำให้เป็นเครื่องเย็นใจ หาสิ่งอื่นเสมอมิได้ เพราะไม่เป็นทาสใครเป็นอิสระแก่ตัว และรู้จักสภาวะธรรมดา โดยที่จะต้องเกิดขึ้นแล้วแปรปรวนไปจนกระทั่งแตกดับ จนหายมัวหายหลง ห้ามหาทางป้องกันหรือแสวงหาทางอื่นนอกรีตนอกรอยออกไปจนได้ อย่างนี้ เรียกว่า โลกะวิทู คือดำเนินตามรอยยุคลบาทของพระพุทธเจ้า อันจะเป็นเหตุให้เกิดความสุขทางใจ นี้บทหนึ่ง


Create Date : 21 มกราคม 2565
Last Update : 21 มกราคม 2565 9:43:28 น. 0 comments
Counter : 451 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space