กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
เมษายน 2565
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
space
space
9 เมษายน 2565
space
space
space

...สังฆคุณ (ต่อ) สามีจิปฏิปันโน



    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ “สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว” ไม่ตึง ไม่หย่อน พอดีๆ เรียกว่าสมควร ตึงไปก็ไม่ดี หย่อนไปก็ไม่ดี ถืออะไรตึงนัก ก็ลำบาก อะไรหย่อนไปก็เทิบทาบ ไม่เหมาะไม่ควร
การปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ท่านสอนให้ปฏิบัติสายกลาง คือว่าเกิดความพอเหมาะพอดีในการปฏิบัติ ถ้าตึงไปก็ทรมาน ถ้าหย่อนไปก็ชักจะหย่อนยานเกินไป ใจโลเล ไม่มีความแน่นอน ถ้าพอดีก็เรียกว่าใช้ได้  ทีนี้ ความพอดีจะเอาคนวัดก็ไม่ได้  คนหนึ่งว่า ของผมพอดีแล้ว
สมมติว่า ฉัน ๓ ชามนี่พอดี อีกคนหนึ่ง ๔ ชามจึงจะพอดี
บางคนว่า มื้อเดียวก็พอดีแล้ว แต่บางคนบอกว่า ๒ มื้อ แล้วตอนเย็นต้องมีน้ำอัดลมดื่มอีกสัก ๒ ขวด เป็นความพอดีของผู้นั้น นี่มันวัดไม่ได้ เอาของบุคคลมาวัดนี่ลำบาก เพราะว่าความคิดการกระทำมันไม่เหมือนกัน ความพอดีนั้น ต้องอาศัยหลักทางธรรมะ

    ปฏิบัติพอดี ก็หมายความว่า เดินสายกลาง สายกลางก็คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ความไม่ตึง ไม่หย่อน ไม่กระทบกระทั่งฝ่ายซ้ายฝ่ายขวา ฝ่ายหย่อนฝ่ายตึง นี่เรียกว่าความพอดี เช่น ถือศีลนี่ก็พอดี ให้ถูกต้องตามที่เขาบัญญัติไว้ ฝึกสมาธิก็ให้มีความพอดี เช่น นั่งนานๆ ปวดแข็ง ปวดขา แต่ทนเอาหน่อย ถ้าเหลือทนก็ลุกเดินจงกรมเสียบ้าง เดินแล้วก็นั่งบ้าง แล้วก็นอนบ้าง แต่ว่านอนแล้วมันจะหลับไปเสียเลย แต่ก็ต้องหลับ ถ้ามันจำเป็นแล้ว เพราะว่าถ้าทำมานานมามากมันก็ง่วงนอน ขืนทำไปก็เสียหายแก่ตน

    ตัวอย่าง เช่นว่า พวกพระที่บวชนานๆ มักจะติดยานัตถุ์ บุหรี่นี่ติดอยู่แล้ว ติดกันอยู่งอมแงมแล้ว ยังแถมหนักเข้าไปอีกราย ทำไมจึงติดยานัตถุ์ เรียนหนังสือแล้วมันง่วง อยากจะให้สอบได้ไวๆ เรียนมากๆ พอง่วงเป่ายานัตถุ์ เป่าพรวดเข้าไปตาก็สว่างนะซิ น้ำมูกน้ำตาไหลตามๆกัน เลยเรียนได้ต่อไป   พอง่วงอีกเป่ายานัตถุ์อีก เลยติดยานัตถุ์งอมแงมเลย มือนี้ถือขวด มือนี้ถือหลอดยานัตถุ์ จิ้มเป่าพรวดๆๆ อยู่ตลอดเวลา ทำให้เยื่อจมูกอักเสบ แล้วก็ติดยิ่งกว่าติดบุหรี่เข้าไปอีก มีอย่างนี้มากมายหลายองค์ด้วยกัน นี่เขาเรียกว่า ไม่รู้จักประมาณ
ความจริงร่างกายนี้ เมื่อมันง่วงเกินไป ก็ต้องพักมันบ้าง มันง่วง มันก็บอกว่าฉันง่วงละนา ให้ฉันนอนเถอะ นอนเสีย นักพักผ่อน พักเสียครึ่งชั่วโมง ถ้ากลางคืนก็เอานอนสัก ๓-๔ ชั่วโมง มันตื่นเอง มันนอนแล้วก็ตื่น สังเกตเถอะ   พวกเรานอนๆน่ะ พอเต็มตื่นแล้วมันก็ตื่นเท่านั้น ตี ๔ ตื่น เต็มตื่นแล้วมันก็ตื่น การที่ตื่นขึ้นมามันพอแล้วกับความต้องการของร่างกาย ร่างกายมันต้องการเท่านั้น แต่ว่าจิตไม่ยอม
อือ ยังไม่สว่าง นอนต่ออีก เลยนอนต่อไปเอาผ้าคลุมโปง บางทีตะวันโด่งถึงจะลุกขึ้น นี่เป็นเพราะว่าเราไม่ทำความพอดี ร่างกายมันบอกอยู่ในตัว กินก็เหมือนกัน อิ่มก็เหมือนกัน เช่น ดื่มน้ำแก้วหนึ่งก็พอ ท้องบอกว่าพอแล้ว แต่ถ้าน้ำอร่อยดื่มอีกแล้วหนึ่ง ดื่มจนไหลออกมาทางจมูก อย่างนี้ มันก็เกินพอดีกับธรรมชาติของร่างกาย มันต้องทำพอเหมาะพอดีกับธรรมชาติของร่างกาย แล้วก็จะไม่เสียหาย

    คนที่เขาเรียนหนังสือเก่งๆนั้น  ไม่ได้อดหลับอดนอนเกินไปดอก   เขาเรียนพอสมควร การนอน ถ้านอนเต็มตื่น เขาตื่นขึ้นมาเรียนต่อ  เรียนต่อตอนดึกนี่ดีกว่าตอนหัวค่ำ เพราะตอนดึกมนุษย์เขานอนกันหมด ไม่หนวกหูใคร อากาศเย็นสบาย แล้วร่างกายเราก็ได้พักผ่อนพอสมควรแล้ว ลุกขึ้นเรียนต่อมันก็ดี เหมือนพระเรา ตื่นแล้วไปนั่งสวดมนต์ ภาวนาตอนตี ๔ ตี ๕ รู้สึกว่ามันสบายดี ไม่มีอะไร  เราหัดได้เรื่องนี้ ค่อยทำไปเกิดความพอดีในร่างกายก็ไม่เดือดร้อน เรานั่งพับเพียบนานก็พลิกได้ ยืนบ้างนั่งบ้างเดินบ้าง ก็เกิดความพอเหมาะพอดีกับการกระทำ ไม่เกิดความเสียหาย อย่างนี้เรียกว่า เป็นการปฏิบัติสมควร.

   อันนี้   ผู้ที่ปฏิบัติดี  ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์  ปฏิบัติสมควร

 


Create Date : 09 เมษายน 2565
Last Update : 10 เมษายน 2565 7:35:37 น. 0 comments
Counter : 496 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space