สมุดบันทึกผู้หญิงชอบเที่ยว "ภัทรานิตย์" -- www.atourthai.com --

"เที่ยวเมืองไทยด้วยหัวใจ แล้วคุณจะรักเมืองไทยอย่างยั่งยืน"


<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
25 เมษายน 2554
 

BKK - KANCHANABURI :: ปู้นๆ ฉึกกะฉัก รักเมืองกาญนจ์ @ สะพานข้ามแม่น้ำแคว


ต่อจาก ยุทธหัตถีดอนเจดีย์ พวกเราเดินทางต่อเข้าตัวเมืองกาญจน์ แวะทานข้าวแล้วมุ่งหน้าไปเดินต่อกันที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว ว้า .. มาซะมืดเลย




สะพานมันเปลี่ยนสีด้วยอ่ะ คนไม่ค่อยมีเลยอ่ะ ไปกันดีกว่า มันวังเวงอย่างไงบอกไม่ถูก ไปหาที่พักสำหรับคืนนี้กันดีกว่า เนื่องจากทริปนี้ไม่มีวางแผนค่ำไหนดังนั้นภารกิจต่อไปคือหาที่นอนกันดีฝ่า ขับรถวนไปวนมาก็มาจบที่สุดใจรีสอร์ท ราคาห้องพักมีตั้งแต่ ๖๐๐ - ๑,๕๐๐ บาท ห้องก็กว้างขวางพอสมควร มีแอร์ทุกห้องเลยล่ะ พี่เค้าพาพวกเราดูทุกห้อง ก็มาลงตัวห้องละ ๘๐๐ บาท














เช้าวันใหม่ตื่นกันเกือบเที่ยง เจอสเมอน็อฟไปน็อคกันเป็นแถวๆ พอตั้งตัวได้เร่งสปีดออกไปเที่ยวในตัวเมืองกันดีกว่า โดยเริ่มจากแถวๆ สะพานข้ามแม่น้ำแควนั่นแหละ เรามาดูประวัติสะพานแห่งนี้กันบ้างดีกว่า สะพานข้ามแม่น้ำแควก่อสร้างในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา (The Great Pacific War) ที่รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ สงครามได้ต่อเนื่องเข้าสู่ช่วงระหว่างสงครามได้ต่อเนื่องเข้าสู่ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ สะพานเริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ และเสร็จในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๖




โดยกองทัพญี่ปุ่นขอทำสัญญาสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์จากประเทศไทยไปสู่ประเทศพม่า เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยเริ่มต้นจากแยกทางรถไฟสายใต้ที่สถานีรถไฟหนองปลาดุก ห่างจากสถานีรถไฟบ้านโป่ง ๕ กิโลเมตร และวางรางรถไฟผ่านข้ามลำน้ำแควใหญ่ที่บ้านท่ามะขาม ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี ผ่านตัวเมืองกาญจนบุรีขึ้นไปทางเหนือเลียบลำน้ำแควใหญ่ ประมาณ ๔ กิโลเมตรแล้วกลับมาเลียบลำน้ำแควน้อยผ่านเขตแดนไทย - พม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์






เข้าไปยังประเทศพม่าบรรจบกับทางรถไฟพม่าที่สถานีธันบูซายัต รวมระยะทาง ๔๑๕ กิโลเมตร เป็นระยะทางในประเทศไทยประมาณ ๓๐๓.๙๕ กิโลเมตรและอยู่ในประเทศพม่า ๑๑๑.๐๕ กิโลเมตร โดยใช้แรงงานเชลยศึกที่กวาดต้อนมาจากมลายู สิงคโปร์ ชวาและประเทศแถบแปซิฟิก เชลยศึกทั้งหมดขึ้นรถไฟสายใต้มาลงที่สถานีรถไฟบ้านโป่ง แล้วต้องเดินเท้าระยะทาง ๕๑ กิโลเมตรมายังจังหวัดกาญจนบุรี

การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแควใช้เชลยศึกที่กวาดต้อนมาประกอบด้วยทหารอังกฤษ ทหารออสเตรียและทหารฮอลันดา นอกจากนี้ยังใช้แรงงานกรรมกรพวกแขกมะลายู จีน ญวน อินเดีย พม่า ชวา รวมทั้งกรรมกรพื้นเมืองอีกจำนวนมาก รวมทั้งหมดเกือบสองแสนคน







การก่อสร้างทางรถไฟแห่งนี้เป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องผ่านความทุรกันดาร ขุนเขาที่สูงชันและป่ารถทืบเต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด และเชื้อมาเลเรียอันร้านแรง บางแห่งต้องทำสะพานข้ามน้ำลึก และเชี่ยวกรากที่ยากลำบากที่สุดก็คือ สะพานข้ามลำน้ำแควใหญ่ จากการรีบเร่งก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ทั้งกลางวันและกลางคืน

ความอดอยากหิวโหยโรคระบาด อีกทั้งไข้มาเลเรียที่รุ้มเร้าและความหฤโหดของสงคราม ทำให้เชลยศึกและกรรมกรต้องล้มตายอย่างอเนจอนาถกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน จนเป็นที่มาของชื่อ " ทางรถไฟสายมรณะ"





กองทัพญี่ปุ่นเลือกสร้างสะพานข้ามลำน้ำแควใหญ่ที่บริเวณบ้านท่ามะขามแห่งนี้ เนื่องจากพื้นดินด้านล่างมีความหนาแน่น เหมาะในการสร้างสะพานอย่างที่สุด เพื่อเป็นการเร่งรัดงานก่อสร้าง ทหารช่างญี่ปุ่นได้สร้างสะพานไม้ข้ามชั่วคราวโดยใช้ไม้ซุงทั้งต้นตอกเป็นเสาเข็มด้านท้ายน้ำห่างจากสะพานปัจจุบันลงไปทางใต้ประมาณ ๑๐๐ เมตร เพื่อลำเลียงคนและวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างทางรถไฟข้ามไปก่อนใช้เวลาก่อสร้างสามเดือน

ส่วนสะพานปัจจุบันนำเหล็กจากชวามาประกอบเป็นชิ้นๆ ตอนกลางทำเป็นสะพานเหล็ก ๑๑ ช่วง ช่วงอื่นๆ เป็นสะพานไม้ตัวสะพานยาวประมาณ ๓๐๐ เมตร ใช้เวลาก่อสร้างเพียง ๖ เดือน สร้างเสร็จและทำพิธีเปิดทางรถไฟทั้งเส้น ๔๑๕ กิโลเมตรอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๖ ส่วนสะพานไม้ชั่วคราวได้รื้อออกไปเพราะกีดขวางการสัญจรทางน้ำ





ในระหว่างสงครามสะพานข้ามแม่น้ำแควถูกทหารสัมพันธมิตรโจมตีทางอากาศ ถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักจนกระทั่งญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามในวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ สะพานช่วงที่ ๔-๖ ชำรุด ไม่สามารถใช้การได้ เมื่อสงครามสงบแล้ว รัฐบาลอังกฤษขายทางรถไฟ รวมทั้งส่วนประกอบกิจการรถไฟให้กับไทย เป็นเงิน ๕๐ ล้านบาท ต่อมาการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงสร้างเป็นสะพานเหล็ก ๒ ช่วง แทนของเดิมและเปลี่ยนช่วงสะพานไม้ด้านปลายทางเป็นสะพานเหล็ก ๖ ช่วงด้วย และอยู่ใช้งานมาจนถึงทุกวันนี้





พวกเราเดินตามสะพานจนไปสุดสะพาน เดินลงไปดูรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมที่อยู่ทางด้านขวา ซึ่งน่าจะสร้างขึ้นมาใหม่ ดูเหมือนมีวัดจีนอยู่ใกล้ๆ ด้วยล่ะ สักพัก เอ้ย.. รถไฟมา วิ่งกันตาเหลือกเลยอ่ะ







กะจะมาถ่ายรูปกับรถไฟนี่แหละ อิอิ จากนั้นก็เดินย้อนกลับไปทางเดิม วันอาทิตย์คนเยอะดีจังเลยอ่ะ พอดีเลยเดินมาเจอร้านขายเสื้อกาญจนบุรี ลายน่ารักดีเลยซื้อกันคนละตัว เปลี่ยนเลยเดี๋ยวเค้าไม่รู้ว่ามากาญจนบุรี






พอถ่ายรูปกันเสร็จ เอ้ย รถไฟอะไรฟ่ะ เหมือนรถไฟนำเที่ยวเลยอ่ะ ไปขึ้นนี่กันดีกว่า ค่าตั๋วคนะล ๒๐ บาทเองอ่ะ






เราก็นึกว่าจะนั่งชมเมืองสักหน่อย ที่ไหนได้นั่งผ่านสะพานข้ามแม่น้ำแควแล้วก็แล่นกลับ เอ้า .. ซะงั้นอ่ะ ๑๕ นาทีเองอ่ะ เออแต่ก็ได้บรรยากาศความเป็นรถไฟดีอ่ะ ฉึกกะฉัก ฉึกกะฉัก เออก็สนุกไปอีกแบบ ..

Photo and Story By
Patthanid C.
www.patthanid.bloggang.com



Create Date : 25 เมษายน 2554
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2556 1:36:09 น. 4 comments
Counter : 3328 Pageviews.  
 
 
 
 
เห็นเค้าไปเที่ยวกาญฯกันแล้ว น่าอิจฉาจริงๆ ครับ อยากไปเที่ยวอยู่เหมือนกัน แต่ช่วงนี้ฝนดันตกอีกล่ะ เลยอดเลย
 
 

โดย: นายหัวเด่น วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:12:59:19 น.  

 
 
 
จขบ.เที่ยวบ่อยมากอ้ะ

อิจฉา 555
 
 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 26 เมษายน 2554 เวลา:10:49:48 น.  

 
 
 
เมืองกาญน่าเที่ยวจังเลยคะ นางแบบก็น่ารักคร้า
 
 

โดย: ASDK_MK วันที่: 26 เมษายน 2554 เวลา:16:59:50 น.  

 
 
 
งานสะพานสวยมากๆเลยคร้าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆช๊อบชอบคร้าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
 
 

โดย: คนชอบเที่ยว IP: 124.122.60.172 วันที่: 11 ธันวาคม 2554 เวลา:16:17:32 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

patthanid
 
Location :
ราชบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 47 คน [?]




: การท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ
: คืออีกก้าวของประสบการณ์
: ทุกๆ ก้าวที่ก้าวเดิน
: มีจุดหมายที่อยากสัมผัส
: โลกใบกลมๆ ใบนี้

ติดต่อผู้เขียน
Email :: patthanids@hotmail.com
Line :: @atourthai
Facebook :: Patthanid Cheang
Fanpage :: โสดเที่ยวสนุก

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539 ห้ามผู้ใดละเมิดโดยนำภาพถ่าย
รูปภาพ, บทความ งานเขียนต่างๆ รวมถึง
ข้อความต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดของข้อความใน Blog แห่งนี้
ไปใช้ทั้งโดยเผยแพร่ไม่ว่าเป็นการส่วนตัว
หรือเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็น
ลายลักษณ์อักษร มิฉะนั้นจะถูกดำเนินคดี
ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด
New Comments
[Add patthanid's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com