วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009 (2)
>
วัคซีนเชื้อเป็น VS วัคซีนเชื้อตาย
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้มาจากการใส่เชื้อลงไปในไข่ฟัก เพื่อให้ไวรัสเจริญเติบโต ไม่ว่าวัคซีนจากผู้ผลิตรายใดก็ทำเช่นนี้ เมื่อการผลิตต้องใช้ไก่เป็นองค์ประกอบ ผลิตภัณฑ์จึงอาจมีโอกาสปนเปื้อนอัลบูมินในไข่ได้ ดังนั้นจึงห้ามใช้ในในคนที่มีปัญหา แต่การฉีดเข้ากล้ามย่อมเสี่ยงกว่าการหยอดจมูกที่เป็นแบบเฉพาะที่อย่างแน่นอน แต่สุดท้ายก็คงต้องให้แพทย์ตัดสินใจว่า คนที่แพ้ไข่จะใช้วัคซีนตัวนี้ได้หรือไม่
เมื่อได้เชื้อไวรัสแล้วผู้ผลิตส่วนใหญ่จะผลิตเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย(killed vaccine) โดยฆ่าไวรัสทั้งหมดแล้วใช้การฉีดเข้ากล้าม แบบวัคซีนที่เราสั่งจองจากประเทศฝรั่งเศสนั่นเอง แต่วัคซีนที่เราผลิตขึ้นเองจะเป็นวัคซีนเชื้อเป็น แบบพ่นโพรงจมูก (lived attenuated) โดยเชื้อไวรัสนั้นยังมีชีวิตอยู่ แต่ทำให้อ่อนแรงลงจนไม่สามารถก่อโรคได้
แบบไหนดีกว่ากัน ???
ทางการแพทย์มีการใช้ทั้งวัคซีนเชื้อเป็นและเชื้อตาย และวัคซีนทั้งสองชนิดนั้นต่างก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ที่สำคัญกว่าชนิดของวัคซีนก็คือคุณภาพ ที่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของประเทศหรือระดับสากล
ยกตัวอย่างเช่น การทำวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ ประเทศอเมริกาเลือกใช้ IPV ซึ่งเป็นเชื้อตาย ประเทศไทยเลือกใช้ OPV ซึ่งเป็นเชื้อเป็น
ฉนั้นการเลือกใช้วัคซีนแบบใด ต้องพิจารณาความเหมาะสมของแต่ละประเทศ โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องสำคัญ คือราคาและระบาดวิทยาในพื้นที่
การศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัย
เมื่อได้กระบวการผลิตที่เหมาะสมจะมีการผลิตวัคซีนออกมาปริมาณหนึ่ง เพื่อทำการทดสอบความปลอดภัยในสัตว์ทดลองและเซลล์เพาะเลี้ยง หรือ pre clinical หากพบว่ามันปลอดภัยพอก็จะยื่นขอทำการทดสอบในมนุษย์ หรือ clinical trial
ซึ่งต้องมีการเก็บข้อมูลอาสาสมัครอย่างเป็นระบบ อาสาสมัครต้องมีสุขภาพดี มีการทำประวัติ ต้องกลับมาให้ข้อมูลและตรวจสุขภาพ หาระดับภูมิคุ้มกัน ฉนั้นเป็นไปไม่ได้เลย ที่ผุ้ผลิตจะแอบฉีดวัคซีนให้ชาวบ้านแล้วปล่อยกลับบ้านไป เพราะผู้ผลิตจะไม่ได้ข้อมูลใดๆ ที่จะใช้ในการยื่นขอขึ้นทะเบียนเลย
ซึ่งการทดสอบดังกล่าวแบบเต็มรูปแบบนั้นต้องใช้ระยะเวลานาน และอาสาสมัครจำนวนมาก ซึ่งหากรอถึงวันนั้นมันก็คงเป็นวัคซีนที่ไม่มีประโยชน์อะไรเลย ไข้หวัดใหญ่ 2009 จะกลายเป็นสายพันธุ์ที่ไม่ก่อให้เกิดความรุนแรงอีก เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่มีจะภูมิคุ้มกันจากการระบาดผ่านไปหลายปีแล้ว
ขั้นตอนขึ้นทะเบียนของไทย เร็วไปหรือเปล่า
ลองนึกดูว่าทุกประเทศจะสั่งวัคซีนไปทำไม หากต้องรอให้ผู้ผลิตทำ clinical ครบทุกเฟส แปลว่าทุกประเทศยอมรับการทดสอบเฉพาะเฟสหนึ่งและสองไปก่อน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการขึ้นทะเบียน จะได้นำวัคซีนไปใช้ในการเตรียมการป้องกัน ซึ่งหากดูแผนการในทุกประเทศจะเร่งให้เสร็จสิ้น ก่อนฤดูหนาวจะมาเยือน ซึ่งเป็นช่วงเวลา ที่มักมีการระบาดเป็นประจำ
แต่หลังจากขึ้นทะเบียนไป ผู้ผลิตคงต้องทำการทดสอบให้ครบทั้งสี่เฟส เชื่อว่าคงเป็นหนึ่งในข้อตกลงในการขึ้นทะเบียนระหว่างหน่วยงานควบคุมกำกับของรัฐ และผู้ผลิตทุกรายไม่ว่าในหรือนอกประเทศอย่างแน่นอน
วัคซีนเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีการดูแลอย่างเข้มงวดที่สุด เพราะทุกประเทศรู้ดีว่ามันเป็นสิ่งที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต และในเรื่องการกำกับ และดูแลคุณภาพของวัคซีนนั้น มาตรฐานของประเทศไทย ไม่ต่างอะไรกับประเทศที่พัฒนาแล้วเช่นกัน
Create Date : 21 กรกฎาคม 2552 |
|
9 comments |
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 10:00:18 น. |
Counter : 1311 Pageviews. |
 |
|