14.10 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
14.9. พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=04-04-2013&group=1&gblog=25

ความคิดเห็นที่ 4-84
GravityOfLove, 26 มีนาคม เวลา 21:03 น.

อ่านเรื่องบรรพชิต ๓ รูป จบแล้วค่ะ
จบแบบหักมุมอีกเรื่องหนึ่ง
----------------------------------------------------
             คำถามปาสราสิสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=5384&Z=5762
             ๑. ในเนื้อความพระไตรปิฎก กล่าวว่า ทรงชนะสงคราม ผู้นำหมู่สัตว์ ผู้หากิเลสมิได้
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=5384&Z=5762&bgc=floralwhite&pagebreak=0
             แต่ในอรรถกถา กล่าวถึง  ชื่อว่าผู้ชนะสงคราม เพราะทรงชำนะเทวบุตมาร มัจจุมารและกิเลสมาร
             ผู้เป็นดังนายกองเกวียน เพราะเป็นผู้สามารถในอันนำหมู่เวไนยสัตว์ ให้ข้ามชาติกันดารเป็นต้น
             พึงทราบว่า ผู้ไม่เป็นหนี้ เพราะไม่มีหนี้ คือกามฉันท์
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=312&p=2&bgc=floralwhite

             ๒. เมื่อพวกภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวคัดค้านอยู่อย่างนี้ เราจึงได้กล่าวว่า
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจำได้หรือไม่ว่า คำอย่างนี้ เราได้เคยพูดมาแล้วแต่ก่อน. << คือคำใดหรือคะ
             พวกภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวว่า
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำอย่างนี้พระองค์มิได้เคยตรัสเลย.

             ๓. ก็ในคำว่า อริโย วา ตุณฺหิภาโว นี้ ทั้งทุติยฌาน ทั้งมูลกรรมฐาน พึงทราบว่า อริยดุษณีภาพ
             เพราะฉะนั้น [ภิกษุนั่งเข้าฌานนั้นก็ดี นั่งกำหนดมูลกรรมฐานเป็นอารมณ์ก็ดี] พึงทราบว่านั่งโดยอริยดุษณีภาพ.

ความคิดเห็นที่ 4-85
ฐานาฐานะ, 26 มีนาคม เวลา 21:25 น.  

             ข้อ 1 ถึง 3 เห็นข้อ 2 เท่านั้นว่า เป็นคำถาม
             ส่วนข้อ 1 และ 3 ไม่เห็นเป็นคำถาม.

             ๒. เมื่อพวกภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวคัดค้านอยู่อย่างนี้ เราจึงได้กล่าวว่า
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจำได้หรือไม่ว่า คำอย่างนี้ เราได้เคยพูดมาแล้วแต่ก่อน. << คือคำใดหรือคะ
             พวกภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวว่า
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำอย่างนี้พระองค์มิได้เคยตรัสเลย.

             ตอบว่า คำว่า ตถาคตได้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธ
             กล่าวคือ แต่ก่อนนี้ยังไม่บรรลุ ก็ไม่เคยทรงตรัสว่า บรรลุแล้ว
             วันนี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงถามว่า แต่ก่อน เราเคยพูดหรือว่า
ตถาคตได้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธ (บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว)
             พวกภิกษุปัญจวัคคีย์จึงระลึกได้ว่า ไม่เคยตรัสมาก่อน
จึงเอะใจว่า คงทรงบรรลุแล้วจริงๆ จึงตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา.

ความคิดเห็นที่ 4-86
GravityOfLove, 26 มีนาคม เวลา 21:32 น.

ถามใหม่ค่ะ
ข้อ ๑ คือสงสัยว่าอรรถกถาอธิบายตรงไหนในพระสูตร
ข้อ ๓ เพิ่มคำว่า กรุณาอธิบายค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 4-87
ฐานาฐานะ, 26 มีนาคม เวลา 22:57 น.

GravityOfLove, 17 นาทีที่แล้ว
ถามใหม่ค่ะ
ข้อ ๑ คือสงสัยว่าอรรถกถาอธิบายตรงไหนในพระสูตร
ข้อ ๓ เพิ่มคำว่า กรุณาอธิบายค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ
9:32 PM 3/26/2013

             ๑. ในเนื้อความพระไตรปิฎก กล่าวว่า ทรงชนะสงคราม ผู้นำหมู่สัตว์ ผู้หากิเลสมิได้
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=5384&Z=5762&bgc=floralwhite&pagebreak=0
             แต่ในอรรถกถา กล่าวถึง  ชื่อว่าผู้ชนะสงคราม เพราะทรงชำนะเทวบุตมาร มัจจุมารและกิเลสมาร
             ผู้เป็นดังนายกองเกวียน เพราะเป็นผู้สามารถในอันนำหมู่เวไนยสัตว์ ให้ข้ามชาติกันดารเป็นต้น
             พึงทราบว่า ผู้ไม่เป็นหนี้ เพราะไม่มีหนี้ คือกามฉันท์

             ข้อ ๑ คือสงสัยว่าอรรถกถาอธิบายตรงไหนในพระสูตร
             ตอบว่า อธิบายปลายข้อ 322 ในคำว่า
             อุฏฺเฐหิ วีร วิชิตสงฺคาม
สตฺถวาห อนณ วิจร โลเก
เทเสตุ ๒- ภควา ธมฺมํ อญฺญาตาโร ภวิสฺสนฺตีติ ฯ
๒ สี. ม. ยุ. เทสสฺสุ ฯ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=12&item=322&Roman=0

             คำว่า อนณ น่าจะแปลว่า ไม่มีหนี้ คือไม่มีกิเลส
มาจากคำว่า หนี้
คำศัพท์ที่พบ (ศัพท์ที่ 1) : อณํ  
คำอ่าน (ภาษาบาลี) : อะ-นัง
คำแปลที่พบ : หนี้
//www.mahamodo.com/buddict/buddict_pali.asp

             กล่าวคือ เมื่อมีหนี้ ก็ต้องตามชดใช้ฉันใด
เมื่อมีกิเลส ก็ต้องทำตามกิเลส เช่นการแสวงที่ไม่ชอบธรรม ฉันนั้น.

             ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงความเพียร ทรงชนะสงคราม
ผู้นำหมู่สัตว์ ผู้หากิเลสมิได้ ขอพระองค์จงเสด็จเที่ยวไปโปรดสัตว์โลก
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรม ผู้รู้ตามจักมีอยู่.
//84000.org/tipitaka/read/?12/322-323

             ข้อ ๓ เพิ่มคำว่า กรุณาอธิบายค่ะ
             ๓. ก็ในคำว่า อริโย วา ตุณฺหิภาโว นี้ ทั้งทุติยฌาน ทั้งมูลกรรมฐาน พึงทราบว่า
อริยดุษณีภาพ
             เพราะฉะนั้น [ภิกษุนั่งเข้าฌานนั้นก็ดี นั่งกำหนดมูลกรรมฐานเป็นอารมณ์ก็ดี]
พึงทราบว่านั่งโดยอริยดุษณีภาพ.

             พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดีละ ภิกษุทั้งหลาย การที่พวกเธอผู้เป็นกุลบุตร
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา นั่งสนทนาธรรมีกถากัน เป็นการสมควร
พวกเธอเมื่อนั่งประชุมกัน ควรทำกิจสองอย่าง คือสนทนาธรรมกัน
หรือนั่งนิ่งตามแบบพระอริยะ
- - - - - - - - - - - - -
             เมื่อประชุมกัน ก็ควรทำกิจสองอย่าง คือ สนทนาธรรมกันด้วยกถาวัตถุ 10
ไม่ใช่สนทนาธรรมกันด้วยเรื่องติรัจฉานกถา.
             หากไม่สนทนาธรรมกัน ก็นั่งนิ่งตามแบบพระอริยะ หรือนิ่งแบบประสริฐ
             สันนิษฐานว่า
             การเข้าทุติยฌาน เป็นการนิ่งตามแบบพระอริยะ เพราะทุติยฌานไม่มีวิตก
วิตกเป็นเครื่องส่ายไปในกาม แม้เข้าปฐมฌานก็จริง แต่ยังมีวิตก (ตรึก) อยู่
ยังชื่อว่าใกล้ต่อกาม เพราะวิตกนั้น.
             สำหรับ มูลกรรมฐานหรือการพิจารณามูลกรรมฐาน ได้แก่ตจปัญจกกัมมัฏฐาน
ชื่อว่าเป็นการนิ่งตามแบบพระอริยะ เพราะตจปัญจกกัมมัฏฐานเป็นปฏิปักษ์ต่อกามสัญญา
ทั้งตจปัญจกกัมมัฏฐาน ก็เป็นกรรมฐานให้บรรลุมรรคผลได้.

             คำว่า กถาวัตถุ 10
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กถาวัตถุ_10
             คำว่า ติรัจฉานกถา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ติรัจฉานกถา
             คำว่า ตจปัญจกกัมมัฏฐาน
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ตจปัญจกกัมมัฏฐาน

ความคิดเห็นที่ 4-88
GravityOfLove, 26 มีนาคม เวลา 23:17 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 4-89
GravityOfLove, 27 มีนาคม เวลา 00:04 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๓. โอปัมมวรรค          
             ๖. ปาสราสิสูตร อุปมากองบ่วงดักสัตว์
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=5384&Z=5762&bgc=Floralwhite&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี
             ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังพระนครสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต
             ภิกษุหลายรูปเข้าไปหาท่านพระอานนท์กล่าวว่า
             เป็นเวลานานมากแล้วที่พวกตนไม่ได้สดับธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค
ขอโอกาสให้พวกตนได้สดับธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระองค์เถิด
             ท่านพระอานนท์จึงให้ไปที่อาศรมของพราหมณ์ชื่อรัมมกะ
             หลังจากพระผู้มีพระภาคเสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว พระองค์ตรัสชวนท่านพระอานนท์ไป
พักผ่อนกลางวันที่ปราสาทแห่งมิคารมารดา (นางวิสาขา) ที่บุพพาราม
(ทรงเสด็จไปๆ มาๆ ระหว่างพระเชตวัน (ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี) และบุพพาราม (ของนางวิสาขา)
เพื่ออนุเคราะห์ ๒ ตระกูล)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=บุพพาราม
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=พ.๒๑-๔๔&detail=on

             เมื่อถึงเวลาเย็น ตรัสชวนท่านพระอานนท์ไปสรงน้ำที่ท่าบุพพโกฏฐกะ
(เป็นท่าอาบน้ำ แบ่งเป็นสำหรับ กษัตริย์ ชาวเมือง พวกภิกษุ และพระผู้มีพระภาค)
             หลังจากนั้น ท่านพระอานนท์ทูลเชิญเสด็จไปอนุเคราะห์ภิกษุที่อาศรมของพราหมณ์
ชื่อ รัมมกะ ซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก
             สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปกำลังนั่งสนทนาธรรมีกถากันอยู่ พระผู้มีพระภาคจึงประทับยืนอยู่ที่
ซุ้มประตูข้างนอก คอยให้ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันจบก่อน
            ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันจบแล้ว จึงทรงกระแอมแล้วเคาะ
บานประตู ภิกษุเหล่านั้นได้เปิดประตูรับ พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปแล้วจึงตรัสถามว่า
             พวกเธอนั่งสนทนาเรื่องอะไรกัน และเรื่องอะไรที่พวกเธอสนทนากันค้างไว้?
             ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า
             พวกตนปรารภพระผู้มีพระภาคแล้วสนทนาธรรมีกถาค้างอยู่ พอดีพระองค์เสด็จมาถึง
             พระองค์ตรัสว่า
             ดีแล้ว กุลบุตรที่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อประชุมกัน ควรทำิกิจ ๒ อย่างคือ
             ๑. สนทนาธรรมกัน (สนทนาเรื่องกถาวัตถุ ๑๐)
             ๒. นั่งนิ่งตามแบบพระอริยะ (อริยดุษณีภาพ - นั่งเข้าทุติยฌาน หรือนั่งกำหนดมูลกรรมฐาน
(ตจปัญจกกัมมัฏฐาน) เป็นอารมณ์)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กถาวัตถุ_10
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ตจปัญจกกัมมัฏฐาน

             การแสวงหา ๒ อย่าง
             ๑. การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ (อนริยปริเยสนา)
             ๒. การแสวงหาที่ประเสริฐ (อริยปริเยสนา)

             การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ คือ
             คนบางคนในโลกนี้ ตนเองมีชาติ (เกิด) ชรา (แก่) พยาธิ (เจ็บ) มรณะ (ตาย)
โสกะ (โศก) สังกิเลส (เศร้าหมอง) เป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีชาติ ฯลฯ สังกิเลสอยู่นั่นแหละ
             สิ่งมีชาติ ฯลฯ สังกิเลส เป็นธรรมดา ได้แก่ บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ
ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน
             สิ่งเหล่านี้เป็นอุปธิ (อุปธิ คือ กามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ)
             ผู้ที่ติดพัน ลุ่มหลง เกี่ยวข้องในสิ่งมีชาติ ฯลฯ สังกิเลส เป็นธรรมดาเหล่านั้น เรียกว่า
เป็นผู้ที่ตนเองเป็นผู้มีชาติ ฯลฯ สังกิเลส เป็นธรรมดา ยังแสวงหาสิ่งมีชาติ ฯลฯ สังกิเลส
เป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุปธิ

             การแสวงหาที่ประเสริฐ คือ
             คนบางคนในโลกนี้ ตนเองเป็นผู้มีชาติ ฯลฯ สังกิเลส เป็นธรรมดา
ทราบชัดโทษในสิ่งมีชาติ ฯลฯ สังกิเลส เป็นธรรมดา
             ย่อมแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่มีพยาธิ ไม่ตาย ไม่โศก ไม่เศร้าหมอง
หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ (สภาพอันประกอบสัตว์ไว้ในภพ)
             แม้พระองค์ก่อนตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่นั้น พระองค์ก็เป็นผู้มีชาติ ฯลฯ สังกิเลส
เป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีชาติ ฯลฯ สังกิเลส เป็นธรรมอยู่นั้นแหละ
             พระองค์จึงทรงดำริดังนี้ว่า
             เราเป็นผู้มีชาติ ฯลฯ สังกิเลส เป็นธรรมดา ไฉนจึงยังแสวงหาสิ่งมี ชาติ ฯลฯ สังกิเลส
เป็นธรรมดาอยู่เล่า
             เราเมื่อเป็นผู้มีชาติ ฯลฯ สังกิเลส เป็นธรรมดา ก็ควรทราบชัดโทษในสิ่งมีชาติ ฯลฯ
สังกิเลส เป็นธรรมดา แล้วแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่เกิด ฯลฯ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ
             ต่อมา เมื่อพระองค์ทรงเติบโตขึ้นในปฐมวัย ทรงออกผนวชเป็นบรรพชิต เมื่อผนวชแล้ว
ก็ทรงเสาะหาว่ากุศลเป็นอย่างไร
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปริเยสนา_2
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โยคะ

             ขณะที่ทรงแสวงหาอยู่นั้น ได้ทรงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วตรัสว่า
             ทรงปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้
             อาฬารดาบส กาลามโคตรทูลเชิญพระองค์ประทับอยู่ แล้วกราบทูลว่า
             ธรรมนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมที่วิญญูชนจะพึงบรรลุ เพราะทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ตามแบบอาจารย์ของตน เข้าถึงอยู่ได้ในเวลาไม่นาน
             ทรงเรียนธรรมนั้นได้รวดเร็ว ต่อมาไม่นาน ก็ทรงสามารถตรัสญาณวาทและเถรวาทได้
และทั้งพระองค์ทั้งผู้อื่นก็ทราบชัดว่า เรารู้ เราเห็น
(ญาณวาท คือลัทธิที่ว่า ข้าพเจ้ารู้ชัด, เถรวาท คือลัทธิที่ว่า ข้าพเจ้ามั่นคง)
             พระองค์จึงทรงดำริว่า
             อาฬารดาบส กาลามโคตร ย่อมบอกธรรม เพราะรู้เห็นธรรมนี้อยู่
ไม่ใช่เพราะความเชื่ออย่างเดียวว่า ตนทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ เข้าถึง บอกได้ เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง
(รู้ทั้งปริยัติและได้สมาบัติ ๗)
             จากนั้น จึงทรงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร แล้วตรัสถามว่า
             เพราะอะไรท่านจึงประกาศว่า ท่านทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ เข้าถึง บอกได้ เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง
             อาฬารดาบส กาลามโคตร จึงทูลบอกอากิญจัญญายตนสมาบัติแก่พระองค์
             ต่อมาไม่นานนัก พระองค์ก็ทรงทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้น เข้าถึง บอกได้ เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง
             อาฬารดาบส กาลามโคตร จึงสรรเสริญพระองค์ และยกย่องพระองค์ผู้เป็นศิษย์ให้เสมอ
กับตน และบูชาพระองค์อย่างดี
             แต่พระองค์ทรงดำริว่า
             ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา (หน่าย) วิราคะ (คลายกำหนัด) นิโรธะ (ดับ) อุปสมะ (สงบ)
อภิญญา (รู้ยิ่ง) สัมโพธะ (ตรัสรู้) และนิพพาน
             เพียงเป็นไปเพื่อเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติเท่านั้น
             ทรงไม่พอใจ เบื่อหน่ายธรรมนั้น จึงทรงลาจากไป
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อากิญจัญญายตน&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ลักษณะตัดสินธรรมวินัย_7

             ทรงเข้าไปหาอุททกดาบส รามบุตร นัยเดียวที่ทรงไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร
             อุททกดาบส รามบุตร ทูลบอกเนวสัญญานาสัญญายาตนสมาบัติ (สมาบัติ ๘) แก่พระองค์
             ต่อมาไม่นานนัก พระองค์ก็ได้ทรงทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้น เข้าถึงอยู่ได้เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง
             อุททกดาบส รามบุตร สรรเสริญพระองค์ ยกย่องพระองค์ไว้ในฐานะอาจารย์ และบูชา
พระองค์อย่างดี
             แต่พระองค์ก็ทรงดำริว่า
             ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา วิราคะ นิโรธะ อุปสมะ อภิญญา สัมโพธะ และนิพพาน
เพียงเป็นไปเพื่อเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเท่านั้น
             ทรงไม่พอใจ เบื่อหน่ายธรรมนั้น จึงทรงลาจากไป
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เนวสัญญานาสัญญายตน&detail=on

             เสด็จจาริกไปในมคธชนบทโดยลำดับ ไปถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ทรงดำริว่า
             ที่นี่น่ารื่นรมย์เหมาะสม จึงทรงนั่งบำเพ็ญเพียร ณ ที่นั้น
             พระองค์ทรงเป็นผู้มีชาติ ฯลฯ สังกิเลส เป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีชาติ ฯลฯ
สังกิเลส เป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพาน ที่ไม่เกิด ฯลฯ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ
             ญาณทัสสนะได้เกิดแก่พระองค์ว่า วิมุติ (ความหลุดพ้น) ของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด
ไม่มีภพใหม่ต่อไป
             ทรงดำริดังนี้ว่า
             ธรรมที่ทรงบรรลุนี้ ลึก เห็นได้โดยยาก รู้ตามได้โดยยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต
อันความตรึกหยั่งไม่ถึง ละเอียด เป็นสิ่งพาทวนกระแส รู้ได้แต่บัณฑิต
(ทวนกระแสคือ ทวนอนิจฺจํ (ไม่เที่ยง) ทุกฺขํ (เป็นทุกข์) อนตฺตา (เป็นอนัตตา) อสุภํ (ไม่งาม))
             ส่วนหมู่ชนที่เป็นผู้ยินดี เพลิดเพลินใจในอาลัย เป็นผู้เห็นปฏิจจสมุปบาทที่เป็นปัจจัย
แห่งธรรม (อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท) เหล่านี้ได้โดยยาก และเห็นได้โดยยากซึ่งธรรมที่สงบสังขาร
ทั้งปวง สลัดอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหาเป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกจากตัณหา
             ถ้าทรงแสดงธรรมที่คนอื่นไม่รู้ตามธรรมของพระองค์ ก็จะเป็นความลำบาก เหน็ดเหนื่อย
แก่พระองค์ๆ จึงมีจิตน้อมไปเพื่อความเป็นผู้ขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อแสดงธรรม
(อาลัย คือกามคุณ ๕ ที่สัตว์พัวพัน ยินดี เพลิดเพลิน เป็นชื่อเรียกกิเลส ๒ อย่าง คือ กามคุณ ๕ และ
ตัณหาวิปริต ๑๐๘)
(รูป เสียง กลิ่น รส โผฐ ธรรม = 6, กาม ภพ วิภพ = 3, อายตนภายใน อายตนภายนอก = 2,
อดีต อนาคต ปัจจุบัน = 3 --> 6 x 3 x 2 x 3 = 108)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิมุตติ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=110&p=3#ตัณหา_๑๐๘ #ตัณหา_๑๐๘
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปฏิจจสมุปบาท

             ครั้งนั้น สหัมบดีพรหม ทราบความดำริของพระองค์ จึงได้มีความปริวิตกว่า
             โลกจะฉิuหายถ้าพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระทัยน้อมไปเพื่อความเป็น
ผู้ขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม
             จึงมาเข้าเฝ้ากราบทูลพระผู้มีพระภาค ทูลขอพระองค์ให้ทรงแสดงธรรม เพราะสัตว์ผู้มีกิเลส
ดุจธุลีที่ดวงตาน้อยมีอยู่ (ราคะ โทสะ โมหะในปัญญาจักษุ) ผู้ที่รู้ธรรมจะมีอยู่ ถ้าไม่ได้สดับธรรม จะ
ถึงความเสื่อม
             ในกาลก่อน ธรรมที่ไม่บริสุทธิ์อันคนที่มีมลทิน (เจ้าลัทธิทั้ง ๖) คิดค้นไว้ ปรากฏในแคว้นมคธ
ขอพระองค์จงทรงเปิดประตูอมฤตธรรม (อริยมรรคสู่พระนิพพาน) ผู้รู้ตามจักมีอยู่
             อุปมาเ่หมือนคนอยู่บนยอดเขาศิลา สามารถมองเห็นหมู่ชนได้โดยรอบ ฉันใด
             พระองค์ก็ฉันนั้น ทรงมีพระเนตรคือปัญญาโดยรอบ ขอทรงเสด็จขึ้นปราสาทคือพระปัญญา
ที่สำเร็จด้วยธรรม เปรียบด้วยขึ้นสู่ยอดเขาศิลา แล้วจึงทรงตรวจดูเหล่าสัตว์ผู้ระทมด้วยความโศก
ถูกชาติชราครอบงำ
             พระองค์ผู้ทรงชนะสงคราม (ชนะเทวบุตรมาร มัจจุมาร และกิเลสมาร)
             ผู้นำหมู่สัตว์ (สามารถนำสัตว์ข้ามที่กันดารคือชาติ (ความเกิด) และสามารถเป็นผู้นำของ
หมู่สัตว์คือ เวไนยสัตว์)
             ผู้หากิเลสมิได้ (ไม่มีกามฉันท์ - เปรียบเหมือนไม่มีหนี้)
ขอพระองค์จงเสด็จเที่ยวไปโปรดสัตว์โลก
             คำว่า เจ้าลัทธิทั้ง ๖
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ติตถกร
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มาร_5

(มีต่อ)

ความคิดเห็นที่ 4-90
(ต่อ)
             เพราะสหัมบดีพรหมทูลอาราธนาและเพราะทรงมีพระกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย
จึงทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ
             ก็ได้เห็นเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยก็มี ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตามากก็มี
ผู้มีอินทรีย์กล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี ผู้มีอาการดีก็มี ผู้มีอาการชั่วก็มี ผู้พอจะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี
ผู้จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษและภัยในปรโลก
อุปมากอบัว บางดอกจมอยู่ในน้ำ บางดอกตั้งอยู่เสมอกับน้ำ บางดอกโผล่พ้นน้ำขึ้นมาแล้วตั้งอยู่
             พระองค์จึงตรัสตอบสหัมบดีพรหมว่า
             เราได้เปิดประตูอมฤตธรรมรับชนผู้ชอบสดับ จงปล่อยศรัทธามาเถิด
(น้อมนำภาชนะคือศรัทธาเข้ามา พระองค์จะทำความดำริของสัตว์เหล่านั้นให้เต็ม)
             เมื่อสหัมบดีพรหมทราบว่า พระองค์ทรงประทานโอกาสจะทรงแสดงธรรมแล้ว จึงทูลลาไป

             [อรรถกถา]
             พุทธจักษุ หมายถึง
             (๑) อินทริยปโรปริยัตติญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์
ทั้งหลาย คือรู้ว่า สัตว์นั้น ๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย
มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่
             (๒) อาสยานุสยญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัย ความมุ่งหมาย สภาพจิตที่นอนเนื่องอยู่

             ทรงดำริว่า จะแสดงธรรมเป็นครั้งแรกแก่ใคร ใครจักทราบชัดธรรมนี้ได้โดยเร็ว
อาฬารดาบส กาลามโคตรนี้แหละ เพราะเป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยมานาน
             แต่เทวดาตนหนึ่งกราบทูลพระองค์และพระองค์ก็ทรงทราบ (ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ) ว่า
อาฬารดาบส กาลามโคตรนั้นได้เสียชีวิตไป ๗ วันแล้ว จึงทรงดำริว่า
             อาฬารดาบส กาลามโคตร เป็นผู้เสื่อมจากคุณอันยิ่งใหญ่เสียแล้ว เพราะถ้าเขาได้สดับธรรมนี้
ก็จะพึงทราบชัดได้โดยเร็ว
             ต่อมา ทรงดำริถึงอุททกดาบส รามบุตร นัยเดียวกับที่ทรงดำริถึงอาฬารดาบส กาลามโคตร
แต่อุททกดาบส รามบุตร ได้ตายไปเสียแล้วเมื่อเย็นวานนี้
(เสื่อมใหญ่ คือ เพราะเสื่อมจากมรรคและผลที่จะพึงบรรลุ เพราะเกิดในอักขณะ / อขณะ / อสมัย
(เวลาที่ไม่ควรจะตรัสรู้) คือ อาฬารดาบส ตายไปเกิดในอากิญจัญญายตนภพ (๖๐,๐๐๐ กัป)
ส่วนอุทกดาบส ตายไปเกิดในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ (๘๔,๐๐๐ กัป) ซึ่งเป็นพรหมอายุยืนและไม่มีรูป)
             อักขณสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=4639&Z=4716

             ทรงดำริถึงภิกษุปัญจวัคคีย์ผู้ได้อุปัฏฐากพระองค์ตอนที่พระองค์กำลังทรงบำเพ็ญเพียรอยู่
เป็นผู้มีอุปการะมาก
             ทรงทราบด้วยทิพยจักษุว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี
จึงเสด็จจาริกไปที่นั่น
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปัญจวัคคีย์

             ในระหว่างทาง อาชีวกชื่ออุปกะ (อุปกาชีวก) ได้เข้ามาทูลถามว่า
             ท่านเป็นใคร อินทรีย์ช่างผ่องใสนัก ท่านได้บรรพชาเฉพาะใคร (อุทิืศใคร)
ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร
             พระองค์ตรัสตอบว่า

             เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง (ธรรมอันเป็นไปในภพ ๓)
             รู้ธรรมทั้งปวง (ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔)
             อันตัณหามิได้แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง (ธรรมอันเป็นไปในภพ ๓)
             ละเว้นธรรมทั้งปวง (ธรรมอันเป็นไปในภพ ๓) ได้สิ้นเชิง
             หลุดพ้น (น้อมใจ) เพราะสิ้นตัณหา รู้ยิ่งด้วยตนเอง
             แล้วจะพึงกล่าวอ้างใครเล่า
             เราไม่มีอาจารย์ (ไม่มีอาจารย์ในระดับโลกุตตรธรรม)
             เราไม่มีผู้เสมอเหมือน เราไม่มีผู้ทัดเทียมในโลกกับทั้งเทวโลก
             เพราะเราเป็นอรหันต์ เป็นศาสดาผู้ยอดเยี่ยม
             เป็นสัมมาสัมพุทธองค์เอก (เราผู้เดียวเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ)
             เป็นผู้เยือกเย็น ดับ (ไฟ) กิเลสในโลกได้แล้ว
             เราจะไปเมืองของชาวกาสีเพื่อแสดงธรรมจักร
             ตีกลองอมตธรรมในโลกอันมีความมืดมน
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อาชีวก
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภพ_3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภูมิ_4#find1 #find1

             อุปกะอาชีวกทูลถามว่า เพราะเหตุใดท่านจึงปฏิญาณว่า เป็นอรหันต์อนันตะชินะ?
             ตรัสตอบว่า ผู้ที่ถึงอาสวักขัย (สิ้นอาสวะแล้ว) เช่นเรา ย่อมเป็นผู้มีนามว่า ชินะ
เพราะบาปธรรมทั้งหลาย เราได้ชนะแล้ว ฉะนั้น เราจึงมีนามว่า ชินะ
             เมื่อตรัสตอบอย่างนี้ อุปกะอาชีวกนั้นได้กล่าวว่า พึงเป็นเช่นนั้นหรือท่าน สั่นศีรษะ แล้วจากไป

             ทรงออกเดินทางต่อไปโดยลำดับ จนถึงพวกภิกษุปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
             พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ได้เห็นพระองค์เสด็จมาแต่ไกล จึงได้นัดหมายกันว่า
             ท่านพระสมณโคดมพระองค์นี้ เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก
พวกเราไม่ต้องไหว้ ไม่ต้องลุกขึ้นยืนรับ ไม่ต้องรับบาตรจีวร แต่ว่าต้องปูอาสนะไว้ ถ้าทรงปรารถนา
ก็จักประทับนั่ง
             แต่ว่าเมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปถึง ภิกษุปัญจวัคคีย์ ก็ไม่สามารถดำรงอยู่ในข้อนัดหมายกัน คือ
บางรูปลุกขึ้นรับบาตรจีวร บางรูปปูอาสนะ บางรูปตั้งน้ำล้างเท้า แต่เรียกพระองค์ว่า "อาวุโส"
             พระองค์จึงตรัสว่า
             อย่าเรียกพระองค์ว่า อาวุโส เพราะพระองค์ได้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธ
พระองค์จะทรงแสดงธรรมที่ได้ทรงบรรลุ ขอให้ตั้งใจฟังให้ดี เมื่อปฏิบัติตามที่พระองค์สอน ไม่นานนัก
ก็จะทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง
             พวกภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวว่า
             กระทั่งการประพฤติ ปฏิบัติ บำเพ็ญทุกรกิริยา ท่านก็ไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม (ธรรมเหนือมนุษย์)
ที่เป็นอริยญาณทัสสนะชั้นพิเศษอย่างเพียงพอ
             บัดนี้ ไฉนท่านผู้มักมาก ฯลฯ จักบรรลุอุตตริมนุสสธรรม ที่เป็นอริยญาณทัสสนะชั้นพิเศษอย่าง
เพียงพอได้เล่า
             พระองค์ตรัสว่า พระองค์ไม่ได้เป็นคนมักมาก ฯลฯ พระองค์เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธ
             พระองค์จะทรงแสดงธรรมที่ได้ทรงบรรลุ ขอให้ตั้งใจฟังให้ดี เมื่อปฏิบัติตามที่พระองค์สอน
ไม่นานนักก็จะทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง
             พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กล่าวคัดค้านเป็นครั้งที่สอง เป็นครั้งที่สาม
             พระองค์จึงตรัสว่า
             ที่ผ่านมาพระองค์เคยตรัสอย่างนี้หรือ (คือตรัสว่า ทรงเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธ)
             พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ทูลตอบว่า ไม่เคย
             พวกภิกษุปัญจวัคคีย์จึงยอมเข้าใจตาม พระองค์ทรงให้โอวาทอนุศาสน์ เป็นเหตุให้
พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ เห็นชัดตามเป็นจริงว่า
             ตนเองเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีชาติเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพาน
ที่ไม่เกิด หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ
             ... ฯลฯ สังกิเลส เป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุพระนิพพาน ที่ไม่เกิด ฯลฯ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
เกษมจากโยคะ
             จนพวกภิกษุปัญจวัคคีย์ได้เกิดญาณทัสสนะขึ้นมาว่า วิมุติของพวกเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด
ไม่มีภพใหม่ต่อไป
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อาวุโส
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ทุกรกิริยา

กามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
             หากใครใฝ่ฝัน ลุ่มหลง ติดพัน ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาที่จะคิดนำตนออก (ในที่นี้หมายถึง
ปัจจเวกขณญาณ) ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ นี้
             บัณฑิตพึงทราบว่า ผู้นี้เป็นผู้ถึงความเสื่อม ความพินาศ ถูกมารผู้ใจบาปทำได้ตามต้องการ
             อุปมาเหมือนเนื้อป่าที่ติดบ่วง นอนทับกองบ่วง ย่อมเป็นสัตว์ที่ถึงความเสื่อมความพินาศ
ถูกพรานกระทำได้ตามต้องการ เมื่อพรานเดินเข้ามาก็หนีไปไม่ได้ตามปรารถนา ฉันใด
             ผู้ที่ใฝ่ฝัน ฯลฯ ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ เหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ผู้นั้นเป็นผู้ถึงความเสื่อม
ความพินาศ ถูกมารผู้ใจบาปกระทำได้ตามต้องการ ฉันนั้น
             ผู้ที่ไม่ใฝ่ฝัน ฯลฯ ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ เหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ผู้นั้นเป็นผู้ไม่ถึงความ
เสื่อม ความพินาศ ไม่ถูกมารผู้ใจบาปทำได้ตามต้องการ (พิจารณาปัจจัย ๔ แล้วบริโภค)
             อุปมาเหมือน เนื้อป่าที่ไม่ติดบ่วง นอนทับกองบ่วง พึงทราบว่า เป็นสัตว์ไม่ถึงความเสื่อม
ความพินาศ ไม่ถูกพรานทำได้ตามต้องการ เมื่อพรานเดินเข้ามา ก็หนีไปตามปรารถนา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปัจจเวกขณญาณ&detail=on#find3 # find3
//www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อปัสเสนะ

             อุปมาเหมือนเนื้อป่า เมื่อเที่ยวไปตามป่าใหญ่ ย่อมวางใจ เดิน ยืน นั่ง นอน เพราะไม่ได้เห็น
พรานป่า ฉันใด
             ภิกษุก็ฉันนั้น การที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ แต่ละขั้น
เท่ากับทำให้มารตาบอด คือ มารมองไม่เห็นร่องรอย
(เพราะจิตของภิกษุผู้เข้าฌานซึ่งเป็นบาทของวิปัสสนา ทำให้จักษุของมารไม่ได้อารมณ์)
             จนภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะเห็นด้วยปัญญา มีอาสวะสิ้นไป ภิกษุนี้ได้ทำมารให้
ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย เป็นผู้ข้ามพ้นตัณหาอันข้องอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ในโลกได้
             ย่อมวางใจ เดิน ยืน นั่ง นอน เพราะไม่ได้ประสบมารผู้มีบาปธรรม
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อนุบุพพวิหาร_9

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว
             ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม #4-104, 4-107]

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=04-04-2013&group=1&gblog=27




Create Date : 04 เมษายน 2556
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 11:31:21 น.
Counter : 621 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



เมษายน 2556

 
1
2
5
6
7
8
9
10
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
27
28
29
30
 
 
All Blog