15.5 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
15.4 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=26-04-2013&group=1&gblog=32
ความคิดเห็นที่ 9-46
ฐานาฐานะ, 18 เมษายน เวลา 21:40 น.

GravityOfLove, 5 นาทีที่แล้ว
1. เสื่อมใส << เลื่อมใส ( ล ลิง ๒ ตำแหน่ง) ^ ^
แปลว่า มีคำนี้ ๒ ตำแหน่งในย่อความค่ะ
เวลาตามแก้จะได้ไม่ลืม คิดว่าแก้ไขหมดแล้ว

             1. เสื่อมใส << เลื่อมใส ( ล ลิง ๒ ตำแหน่ง)
             สรุปว่า เสื่อมใส แก้ไขที่ ล ลิง ซึ่งคำนี้ต้องแก้ 2 ตำแหน่ง
ไม่ใช่คำว่า เลื่อมใล (ล ลิง ๒ ตำแหน่ง).

3.1 คำว่า อาการ ๒๐ นำมาจากไหน?
มาจากอรรถกถาค่ะ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=340
             คัดลอกมาแสดงด้วยครับ.

3.2 4 x 5 = 20 << แจกแจงให้เข้าใจด้วย.
     4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ในร่างกาย
     5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คืออุปาทานขันธ์ ๕ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ)
     นั่นคือ มีอุปาทานขันธ์ ๕ ในธาตุ ๔
9:29 PM 4/18/2013
             แจกแจงให้ชัดเจน คือ
             1. คืออะไร
             2. ...
             ...
             20. ...

ความคิดเห็นที่ 9-47
GravityOfLove, 18 เมษายน เวลา 22:16 น.
               เพื่อจะเว้นปฐวีธาตุภายนอก แล้วแสดงจำแนกปฐวีธาตุภายในโดยอาการ ๒๐ พระเถระจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า กตมา จ อาวุโส อชฺฌตฺติกา ปฐวีธาตุ เปรียบเหมือนช่างสานเว้นส่วนหลังถือเอาส่วนท้อง จึงกระทำให้เป็นเครื่องสานชนิดต่างๆ ฉะนั้น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=340
             ธาตุดิน
             1. รูป - รูป (ดิน) นั้นก่อให้เกิดความพึงพอใจ (ธาตุดินในร่างกาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น)
แล้วยึดมั่นถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา ทิฏฐิ มานะ (ปปัญจธรรม ๓)
             2. เวทนา - เกิดความพึงพอใจในดิน เช่น ชอบผมสวยของตน
             3. สัญญา - ความจำได้หมายรู้ในดิน เช่น รู้ว่าผมตนสีน้ำตาล
             4. สังขาร - ความปรุงแต่งในดิน เช่น เห็นว่าผมตนสวย
             5. วิญญาณ - การรู้แจ้งในดิน ดินเป็นอารมณ์ให้เกิดวิญญาณตามอายตนะทั้ง ๖
(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
             ธาตุที่เหลืออีก ๓ ธาตุ ก็พิจารณาทำนองเดียวกัน

             (มั่วได้) ประมาณนี้ค่ะ คิดไปคิดมาอธิบายไม่ถูกค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-48
ฐานาฐานะ, 18 เมษายน เวลา 22:32 น.

             เพื่อจะเว้นปฐวีธาตุภายนอก แล้วแสดงจำแนกปฐวีธาตุภายในโดยอาการ ๒๐ ...
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=340

             ผมเข้าใจว่า ปฐวีธาตุภายในโดยอาการ ๒๐ คือ
             ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ
ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ก็หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ซึ่งเป็นอุปาทินนกรูป อันเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง
เป็นของหยาบอย่างอื่น
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=6042&Z=6308#342

ความคิดเห็นที่ 9-49
GravityOfLove, 18 เมษายน เวลา 22:41 น.

Gravity น่าจะเข้าใจผิดแน่นอน
ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-50
ฐานาฐานะ, 18 เมษายน เวลา 22:45 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มหาหัตถิปโทปมสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6042&Z=6308

             พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสาโรปมสูตรและจูฬสาโรปมสูตร.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             มหาสาโรปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6309&Z=6504
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=347

             จูฬสาโรปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6505&Z=6695
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=353

ความคิดเห็นที่ 9-51
GravityOfLove, 18 เมษายน เวลา 23:07 น.

             คำถามมหาสาโรปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6309&Z=6504
             ๑. บทว่า อจิรปกฺกนฺเต ความว่า เมื่อพระเทวทัตต์ทำลายสงฆ์
ทำโลหิตุปบาทกรรม ทำพระโลหิตให้ห้อ หลีกไปไม่นาน พาพรรคพวกแยกไป
โดยเพศเดิมของตน.

             ๒. บทว่า อชานํ อปสฺสํ วิหรนฺติ ความว่า ภิกษุทั้งหลายไม่รู้สุขุมรูปไรๆ
โดยที่สุดแม้ปีศาจคลุกฝุ่นก็ไม่เห็นอยู่.

             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-52
ฐานาฐานะ, 19 เมษายน เวลา 00:05 น.  

GravityOfLove, 13 นาทีที่แล้ว
11:07 PM 4/18/2013
             ๑. บทว่า อจิรปกฺกนฺเต ความว่า เมื่อพระเทวทัตต์ทำลายสงฆ์
ทำโลหิตุปบาทกรรม ทำพระโลหิตให้ห้อ หลีกไปไม่นาน พาพรรคพวกแยกไป
โดยเพศเดิมของตน.
             สันนิษฐานว่า พาพรรคพวกแยกไป โดยเพศเดิมของตน.
คือโดยอาการครองผ้ากาสาวเหมือนเดิม บริโภคบิณฑบาตเหมือนเดิม
             คือแม้จะทำกรรมหนักขนาดนั้นแล้ว ขาดไตรสรณคมน์แล้ว
บอกคืนพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ยังดำรงอาการเดิม เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
(กล่าวคือ ถ้าถอดผ้าเหลืองแล้ว จะไม่มีกิน)

             บทว่า อชานํ อปสฺสํ วิหรนฺติ ความว่า ภิกษุทั้งหลายไม่รู้สุขุมรูปไรๆ
โดยที่สุดแม้ปีศาจคลุกฝุ่นก็ไม่เห็นอยู่.
             คำนี้ขยายความข้อ 350
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6309&Z=6504#350
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=12&item=350&Roman=0

             เพราะญาณทัสสนะอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรารู้เราเห็นอยู่
ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่รู้ไม่เห็นอยู่
             ขยายความคือ
             เพราะญาณทัสสนะอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรารู้เราเห็นอยู่
ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่รู้สุขุมรูปไรๆ โดยที่สุดแม้ปีศาจคลุกฝุ่นก็ไม่เห็นอยู่.

ความคิดเห็นที่ 9-53
GravityOfLove, 19 เมษายน เวลา 00:16 น.

ไม่รู้สุขุมรูปไรๆ แปลว่าอะไรคะ

ความคิดเห็นที่ 9-54
ฐานาฐานะ, 19 เมษายน เวลา 00:18 น.

ไม่รู้สุขุมรูปไรๆ แปลว่าอะไรคะ
             น่าจะแปลว่า ไม่รู้อะไรเลย ไม่รู้รูปละเอียดอะไรๆ เลย.

ความคิดเห็นที่ 9-55
GravityOfLove, 19 เมษายน เวลา 00:23 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-56
GravityOfLove, 19 เมษายน เวลา 00:29 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๓. โอปัมมวรรค
             ๙. มหาสาโรปมสูตร อุปมาพรหมจรรย์กับแก่นไม้
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6309&Z=6504&bgc=floralwhite&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์
เมื่อพระเทวทัตต์จากไปไม่นาน (หลังจากทำให้พระโลหิตห้อ)
             ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคทรงปรารภพระเทวทัตต์ ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า

             กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพราะคิดว่า
             เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสท่วมทับแล้ว
ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์อยู่เฉพาะหน้า จะทำอย่างไรจึงจะกระทำที่สุดแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ได้
             เขาจึงบวช แล้วเกิดลาภสักการะและความสรรเสริญ เขามีความยินดี มีความสมหวัง
             เขาจึงยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีลาภสักการะและความสรรเสริญ ส่วนภิกษุอื่น
ไม่มีชื่อเสียง มีศักดาน้อย
             เขาจึงมัวเมา ประมาท เมื่อประมาท ย่อมอยู่เป็นทุกข์
             เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้
เมื่อเจอต้นไม้ เขาละเลยแก่น กระพี้ เปลือก และสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป
เพราะเข้าใจว่าเป็นแก่น
             บุรุษผู้มีตาดี เมื่อเห็นดังนั้นแล้ว ก็กล่าวว่า
             บุรุษผู้นี้ไม่รู้จักแก่น กระพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่ง และใบ
             บุรุษผู้นี้ต้องการแก่นไม้ เมื่อเจอต้นไม้ เขาละเลยแก่น กระพี้ เปลือก และสะเก็ด
ตัดเอากิ่งและใบถือไป เพราะเข้าใจว่าเป็นแก่น
             ดังนั้นกิจที่จะต้องทำด้วยแก่นไม้ของเขาย่อมไม่สำเร็จ
             ทรงเรียกภิกษุนี้ว่า ได้ถือเอากิ่งและใบของพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่กิ่งและใบนั้น

             กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ... กระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ได้
             เขาจึงบวช แล้วเกิดลาภสักการะและความสรรเสริญ เขาไม่มีความยินดี ยังไม่สมหวัง
             เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ไม่มัวเมา ไม่ประมาท
             เมื่อไม่ประมาท ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ
             เขามีความยินดี มีความสมหวัง
             เขาจึงยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีศีล มีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่นเป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม
             เขาย่อมมัวเมา ประมาท เมื่อประมาท ย่อมอยู่เป็นทุกข์
             เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ ... ถากเอาสะเก็ดถือไป เพราะเข้าใจว่าเป็นแก่น
             บุรุษผู้มีตาดี ... เขาย่อมไม่สำเร็จ
             ทรงเรียกภิกษุนี้ว่า ได้ถือเอาสะเก็ดของพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่สะเก็ดนั้น

             กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ... กระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ได้
             เขาจึงบวช แล้วเกิดลาภสักการะและความสรรเสริญ เขาไม่มีความยินดี ยังไม่สมหวัง
             เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ไม่มัวเมา ไม่ประมาท
             เมื่อไม่ประมาท ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ เขามีความยินดี แต่ยังไม่สมหวัง
             เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ไม่มัวเมา ไม่ประมาท
             เมื่อไม่ประมาท ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ เขามีความยินดี มีความสมหวัง
             เขาจึงยกตน ข่มผู้อื่นว่า เรามีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ส่วนภิกษุอื่นมีจิตไม่ตั้งมั่น
มีจิตหมุนไปผิดแล้ว เขาย่อมมัวเมา ประมาท เมื่อประมาท ย่อมอยู่เป็นทุกข์
             เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ ... ถากเอาเปลือกถือไป เพราะเข้าใจว่าเป็นแก่น
             บุรุษผู้มีตาดี ... เขาย่อมไม่สำเร็จ
             ทรงเรียกภิกษุนี้ว่า ได้ถือเอาเปลือกแห่งพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่เปลือกนั้น

             กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ... กระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ได้
             เขาจึงบวช แล้วเกิดลาภสักการะและความสรรเสริญ เขาไม่มีความยินดี ยังไม่สมหวัง
             เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ไม่มัวเมา ไม่ประมาท
             เมื่อไม่ประมาท ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ เขามีความยินดี แต่ยังไม่สมหวัง
             เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ไม่มัวเมา ไม่ประมาท
             เมื่อไม่ประมาท ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ เขามีความยินดี แต่ยังไม่สมหวัง
             เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ไม่มัวเมา ไม่ประมาท
             เมื่อไม่ประมาท ย่อมยังญาณทัสสนะ (ทิพพจักษุ) ให้สำเร็จ เขามีความยินดี มีความสมหวัง
             เขายกตน ข่มผู้อื่นว่า เรารู้เราเห็นอยู่ ส่วนภิกษุอื่นไม่รู้ ไม่เห็นอยู่
             เขาย่อมมัวเมา ประมาท เมื่อประมาท ย่อมอยู่เป็นทุกข์
             เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ ... ถากเอากระพี้ถือไป เพราะเข้าใจว่าเป็นแก่น
             บุรุษผู้มีตาดี ... เขาย่อมไม่สำเร็จ
             ทรงเรียกภิกษุนี้ว่า ได้ถือเอากระพี้แห่งพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่กระพี้นั้น
             (เหมือนพระเทวทัตต์ ผู้ได้อภิญญา ๕)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อภิญญา

             กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพราะคิดว่า
             เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสท่วมทับแล้ว
ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์อยู่เฉพาะหน้า จะทำอย่างไรจึงจะกระทำที่สุดแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ได้
             เขาจึงบวช แล้วเกิดลาภสักการะและความสรรเสริญ เขาไม่มีความยินดี ยังไม่สมหวัง
             เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ไม่มัวเมา ไม่ประมาท
             เมื่อไม่ประมาท ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ เขามีความยินดี แต่ยังไม่สมหวัง
             เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ไม่มัวเมา ไม่ประมาท
             เมื่อไม่ประมาท ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ เขามีความยินดี แต่ยังไม่สมหวัง
             เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ไม่มัวเมา ไม่ประมาท
             เมื่อไม่ประมาท ย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ เขาีมีความยินดี แต่ยังไ่ม่สมหวัง
             เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ไม่มัวเมา ไม่ประมาท
             เมื่อไม่ประมาท ย่อมยังอสมยวิโมกข์ให้สำเร็จ เขาจะไม่เสื่อมจากอสมยวิมุตินั้นเลย
             เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่น
เมื่อเจอต้นไม้ ถากเอาแก่นถือไป เพราะรู้จักว่าแก่น
             บุรุษผู้มีตาดี เมื่อเห็นดังนั้นแล้ว ก็กล่าวว่า
             บุรุษผู้นี้รู้จักจักแก่น กระพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบ
             บุรุษผู้นี้ต้องการแก่นไม้ เมื่อเจอต้นไม้ เขาถากเอาแก่นถือไป เพราะรู้จักว่าเป็นแก่น
             ดังนั้นกิจที่จะต้องทำด้วยแก่นไม้ของเขาย่อมสำเร็จ
(สมยวิโมกข์ คือ รูปาวจรสมาบัติ ๔ อรูปาวจรสมาบัติ ๔,
อสมยวิโมกข์ คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ นิพพาน ๑)

             พรหมจรรย์นี้ จึงมิใช่มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์
             มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์
             มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์
             มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์
             แต่พรหมจรรย์นี้มี เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นประโยชน์ เป็นแก่น เป็นที่สุด
             (คืออรหัตตมรรคและอรหัตตผล)

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
             ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม 9-58]

ความคิดเห็นที่ 9-57
ฐานาฐานะ, 19 เมษายน เวลา 00:33 น.

             ย่อความพระสูตรชื่อว่า มหาสาโรปมสูตร
             รอสักหน่อยก่อนครับ.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6309&Z=6504

ความคิดเห็นที่ 9-58
ฐานาฐานะ, 20 เมษายน เวลา 02:44 น.

GravityOfLove, เมื่อวานนี้ เวลา 00:29 น.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๓. โอปัมมวรรค
             ๙. มหาสาโรปมสูตร อุปมาพรหมจรรย์กับแก่นไม้
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6309&Z=6504&bgc=floralwhite&pagebreak=0
12:28 AM 4/19/2013

             ย่อความได้ดี แต่มีข้อติงเล็กน้อยดังนี้ :-
             1. ในการละหรือย่อไว้ด้วยจุดสามจุด ... นั้น เมื่อถึงเนื้อความสำคัญ
หรือที่แตกต่างจากเนื้อความก่อนๆ ต้องนำเนื้อความที่แตกต่างกันนั้นมาแสดง
             กล่าวคือ ในวาระของศีล สมาธิและญาณทัสสนะ มีวาระอุปมา
ที่แตกต่างกันในแต่ละวาระ จึงควรแสดงเนื้อความแตกต่างกันนั้น ดังนี้ :-

             เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ ... เพราะเข้าใจว่าเป็นแก่น
             เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ ... ถากเอาสะเก็ดถือไป เพราะเข้าใจว่าเป็นแก่น
- - - - - - - -
             เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ ... เพราะเข้าใจว่าเป็นแก่น
             เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ ... ถากเอาเปลือกถือไป เพราะเข้าใจว่าเป็นแก่น
- - - - - - - -
             เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ ... เพราะเข้าใจว่าเป็นแก่น
             เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ ... ถากเอากระพี้ถือไป เพราะเข้าใจว่าเป็นแก่น
- - - - - - - -
             2.
             เมื่อไม่ประมาท ย่อมยังญาณทัสสนะ (อภิญญา ๕) ให้สำเร็จ เขามีความยินดี มีความสมหวัง
ควรแก้ไขเป็น
             เมื่อไม่ประมาท ย่อมยังญาณทัสสนะ (ทิพพจักษุ) ให้สำเร็จ เขามีความยินดี มีความสมหวัง
             ขยายความว่า
             อรรถกถาให้นัยว่า ทิพพจักษุญาณ แม้จะกล่าวว่า เป็นอันสูงสุดของอภิญญา 5 ก็จริง
แต่คำนี้มีคำแปลว่า การเห็นกล่าวคือการหยั่งรู้, การเห็นที่เป็นญาณ หรือเห็นด้วยญาณ
             คำว่า ญาณทัสสนะ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ญาณทัสสนะ&original=1
             ดังนั้น จึงควรรักษาความหมายตามพยัญชนะเดิมไว้ (ญาณ=รู้,ทัสสนะ=เห็น)
ทั้งสอดคล้องตรงกันกับเนื้อความในพระไตรปิฎกว่า
             เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรารู้เราเห็นอยู่ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่รู้ไม่เห็นอยู่

ย้ายไปที่



Create Date : 26 เมษายน 2556
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 11:56:58 น.
Counter : 763 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



เมษายน 2556

 
1
2
5
6
7
8
9
10
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
27
28
29
30
 
 
All Blog