17.8 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
17.7 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร

ความคิดเห็นที่ 3-83
GravityOfLove, 27 พฤษภาคม เวลา 22:40 น.

ขอบพระคุณค่ะ
คำตอบในส่วนพระสูตร เข้าใจแล้วค่ะ
(คำตอบในส่วนที่เป็นอรรถกถา เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้างค่ะ)
โดยรวมก็เข้าใจเป็นส่วนใหญ่ค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-84
GravityOfLove, 28 พฤษภาคม เวลา 00:20 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๕. จูฬยมกวรรค
             ๓. มหาเวทัลลสูตร การสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=9220&Z=9419&bgc=floralwhite&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             ท่านพระมหาโกฏฐิกะได้ถามท่านพระสารีบุตร โดยยกพระดำรัส
ของพระผู้มีพระภาคขึ้นมาถาม
(เป็นการถามให้ชี้แจงเรื่องที่เคยทราบมาแล้ว เพื่อเทียบกันดูกับเรื่องที่ตนรู้มา)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มหาโกฏฐิตะ / มหาโกฏฐิกะ

             การสนทนาระหว่างทั้งสองท่าน มีใจความดังนี้

เรื่องปัญญากับวิญญาณ
             บุคคลมีปัญญาทราม คือ บุคคลที่ไม่รู้ชัดในอริยสัจจ์ ๔
             บุคคลมีปัญญา คือ บุคคลที่รู้ชัดในอริยสัจจ์ ๔
(ปัญญา ในที่นี้หมายถึง มัคคปัญญา (ปัญญาในอริยมรรค))
             วิญญาณ คือ ธรรมชาติที่รู้แจ้งว่า นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข (เวทนา ๓)
             (วิญญาณ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณในขณะแห่งวิปัสสนา)
             ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ไม่สามารถแยกออกแล้วบัญญัติหน้าที่ต่างกันได้
             เพราะปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น วิญญาณรู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น
             แต่มีกิจที่จะพึงทำต่างกัน คือ ปัญญาควรเจริญ วิญญาณควรกำหนดรู้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยสัจจ์_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เวทนา_3

เรื่องเวทนา สัญญา และวิญญาณ
             เวทนา คือ ธรรมชาติที่รู้ รู้สุขบ้าง รู้ทุกข์บ้าง รู้สิ่งที่มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง
             สัญญา คือ ธรรมชาติที่จำ เช่น จำสีต่างๆ
             เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ไม่สามารถแยกออกแล้วบัญญัติหน้าที่ต่างกันได้
             เพราะเวทนารู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้น
             สัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น

             พระโยคาวจรมีมโนวิญญาณ (จิตในฌานที่ ๔ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ)
อันสละแล้ว อันบริสุทธิ์จากอินทรีย์ ๕ (คือไม่ปนกับอินทรีย์ ๕)
             พระโยคาวจรพึงรู้:-
             อากาสานัญจายตนฌานว่า อากาศหาที่สุดมิได้
             วิญญาณัญจายตนฌานว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
             อากิญจัญญายตนฌานว่า น้อยหนึ่งมิได้มี (ไม่มีอะไร)
(พระโยคาวจรผู้บำเพ็ญเพียรอาศัยมโนวิญญาณ กล่าวคือรูปาวจรฌานจิตในฌานที่ ๔
เป็นพื้นฐาน จึงจะสามารถบำเพ็ญให้อรูปาวจรสมาบัติอื่นเกิดขึ้นต่อมาตามลำดับ)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โยคาวจร
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อรูป_4

เรื่องประโยชน์แห่งปัญญาและเหตุเกิดสัมมาทิฏฐิ
             พระโยคาวจรย่อมรู้ธรรมอันตนพึงรู้ด้วยปัญญาจักษุ
             ปัญญา มีความรู้ยิ่งเป็นประโยชน์ มีความกำหนดรู้เป็นประโยชน์
มีความละเป็นประโยชน์
             (ปัญญาจักษุ ในที่นี้หมายถึงสมาธิปัญญา และวิปัสสนาปัญญา
             สมาธิปัญญา ทำหน้าที่กำจัดโมหะ
             วิปัสสนาปัญญา ทำหน้าที่พิจารณาไตรลักษณ์เป็นอารมณ์)

             ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ (อรหัตตมัคคสัมมาทิฏฐิ) คือ
             ๑. การได้สดับจากบุคคลอื่น (ปรโตโฆสะ การฟังธรรมเป็นที่สบายเหมาะสมแก่ตน)
             ๒. การทำไว้ในใจโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ_2

             สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย (ผลานิสงส์)
มีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย
             อันมีองค์ธรรม ๕ ประการ อนุเคราะห์ (สนับสนุน) คือ
             ๑. ศีล (ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ เพราะปาริสุทธิศีล ๔
เป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุอริยมรรค)
             ๒. สุตะ (ในที่นี้หมายถึงการฟังธรรมที่เป็นสัปปายะ มีความหมายเท่ากับปรโตโฆสะ)
             ๓. สากัจฉา (การปรับกัมมัฏฐานให้เกิดความเหมาะสม)
             ๔. สมถะ (สมาบัติที่เป็นพื้นฐานแห่งวิปัสสนา)
             ๕. วิปัสสนา (อนุปัสสนา ๗ ประการ)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิมุตติ_2
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปาริสุทธิศีล_4

             [อรรถกถา]
             อนุปัสสนา ๗ ประการ คือ
(๑) อนิจจานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
(๒) ทุกขานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์
(๓) อนัตตานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความไม่มีตัวตน
(๔) นิพพิทานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความน่าเบื่อหน่าย
(๕) วิราคานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด
(๖) นิโรธานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความดับกิเลส
(๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความสลัดทิ้งกิเลส

เรื่องภพและฌาน
             ภพมี ๓ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ
             ความเกิดในภพใหม่ในอนาคต มีได้เพราะมีความยินดียิ่งในอารมณ์นั้นๆ
ของเหล่าสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกีดกัน มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้
             ความเกิดในภพใหม่ในอนาคตจะไม่มีเพราะความสิ้นแห่งอวิชชา
เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา และเพราะความดับแห่งตัณหา
             ปฐมฌาน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
             ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
             ปฐมฌานละองค์ ๕ คือ ละนิวรณ์ ๕
             ปฐมฌานประกอบด้วยองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภพ_3
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปฐมฌาน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=นิวรณ์_5

เรื่องอินทรีย์ ๕
             อินทรีย์ ๕ ประการ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์
กายินทรีย์
             มีวิสัย (อารมณ์) ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัยอันเป็นโคจรของกันและกัน
             เมื่ออินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัย
อันเป็นโคจรของกันและกัน มีใจเป็นที่อาศัย ใจย่อมรับรู้วิสัยอันเป็นโคจรแห่งอินทรีย์เหล่านั้น
             อินทรีย์ ๕ ประการนี้ อาศัยอายุ (ชีวิตินทรีย์) ตั้งอยู่
             อายุ อาศัยไออุ่น (ไฟที่เกิดแต่กรรม) ตั้งอยู่
             ไออุ่น อาศัยอายุตั้งอยู่
             เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันกำลังติดไฟอยู่ แสงสว่างอาศัยเปลวไฟจึงปรากฏ
เปลวไฟก็อาศัยแสงสว่างจึงปรากฏฉันใด
             อายุอาศัยไออุ่นตั้งอยู่ ไออุ่นก็อาศัยอายุตั้งอยู่ฉันนั้นเหมือนกัน
             อายุสังขาร (อายุ - ชีวิตินทรีย์) กับเวทนียธรรม (เวทนา) ไม่ใช่อันเดียวกัน
             เพราะ (ถ้า) อายุสังขารกับเวทนียธรรมเป็นอันเดียวกันแล้ว
การออกจากสมาบัติของภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ไม่พึงปรากฎ
             เมื่อธรรม ๓ ประการ คือ อายุ ไออุ่น และวิญญาณ (หมายถึง จิต)
ละกายนี้ไป กายนี้ก็ถูกทอดทิ้ง นอนนิ่ง เหมือนท่อนไม้ที่ปราศจากเจตนา
             สัตว์ผู้ตายทำกาละไป กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีความต่างกันดังนี้คือ
             สัตว์ผู้ตายทำกาละไป มีกายสังขาร (ลมหายใจเข้าออก) วจีสังขาร (วิตก วิจาร)
และจิตสังขาร (เวทนา สัญญา) ดับระงับไป
             มีอายุหมดสิ้นไป มีไออุ่นสงบ มีอินทรีย์แตกทำลาย
             ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีกายสังขาร วจีสังขาร และจิตสังขารดับ
ระงับไป
             แต่มีอายุยังไม่หมดสิ้น มีไออุ่นยังไม่สงบ มีอินทรีย์ผ่องใส
             คำว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ และสังขาร ๓
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัญญาเวทยิตนิโรธ&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สังขาร_3#find1

เรื่องปัจจัยเจโตวิมุติ
             ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติ อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มี ๔ อย่าง คือ
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ
             ๑. ละสุข
             ๒. ละทุกข์
             ๓. ดับโสมนัส
             ๔. ดับโทมนัส
             มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=จตุตถฌาน

             ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่าง คือ
             (การมนสิการที่เกิดร่วมกับผลสมาบัติ)
             ๑. การไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง (อารมณ์มีรูปเป็นต้น)
             ๒. การมนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต

             ปัจจัยแห่งความตั้งอยู่ของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๓ อย่าง คือ
             ๑. การไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง
             ๒. การมนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต
             ๓. อภิสังขาร (การกำหนดระยะเวลาอยู่ในสมาธิ) ในเบื้องต้น

             ปัจจัยแห่งความออกของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่าง คือ
             ๑. การมนสิการถึงนิมิตทั้งปวง
             ๑. การไม่มนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต

             ธรรมต่อไปนี้ คือ
             - เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณ (อัปปมาณาเจโตวิมุตติ)
             (ได้แก่ ธรรม ๑๒ ประการ คือ พรหมวิหาร ๔ มรรค ๔ ผล ๔
             พรหมวิหาร ชื่อว่า อัปปมาณะ เพราะแผ่ไปหาประมาณมิได้
             มรรคและผล ชื่อว่า อัปปมาณะ เพราะไม่มีกิเลสเป็นเครื่องวัด)

             - เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ (อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ)
             (ได้แก่ ธรรม ๙ ประการ คือ อากิญจัญญายตนะ ๑ มรรค ๔ ผล ๔
              อากิญจัญญายตนะ ชื่อว่าอากิญจัญญะ เพราะเป็นเจโตวิมุติ
ที่มีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ.
             มรรคและผล ชื่อว่า อากิญจัญญะ เพราะไม่มีกิเลสเครื่องกังวลคือ
กิเลสเครื่องย่ำยีและกิเลสเครื่องผูก)

             - เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง (สุญญตาเจโตวิมุตติ)
(ได้แก่ ความหลุดพ้นโดยว่างจากราคะ โทสะ โมหะ เพราะพิจารณา
นามรูปโดยความเป็นอนัตตา)

             - เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต (อนิมิตตาเจโตวิมุตติ)
(ได้แก่ ธรรม ๑๓ ประการ คือ วิปัสสนา ๑ อรูป ๔ มรรค ๔ ผล ๔)

             กล่าวได้ว่า มีอรรถ (ความหมาย) ต่างกัน มีพยัญชนะต่างกันก็ได้
             และกล่าวได้ว่า มีอรรถอย่างเหมือนกัน มีพยัญชนะต่างกันก็ได้

             มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน คือ
             - อัปปมาณาเจโตวิมุตติ
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีจิตสหรคตด้วยพรหมวิหาร ๔ แผ่ไปทุกทิศ
หาประมาณไม่ได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง
(ไม่จำกัดขอบเขต)

             - อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยมนสิการว่าไม่มีอะไรๆ

             - สุญญตาเจโตวิมุตติ
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี
พิจารณาเห็นว่า สิ่งนี้ว่างจากตนบ้าง จากสิ่งที่เนื่องด้วยตนเอง

             - อนิมิตตาเจโตวิมุตติ
             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
เพราะไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวงอยู่

(มีต่อ)

ความคิดเห็นที่ 3-85
(ต่อ)
             มีอรรถเหมือนกัน มีพยัญชนะต่างกัน คือ
             พระขีณาสพละธรรมต่อไปนี้ได้คือ
             - ราคะอันทำประมาณ โทสะอันทำประมาณ โมหะอันทำประมาณ
             (นั่นคือพระขีณาสพจะไม่ละเมิืดศีลด้วยเหตุแห่งราคะ โทสะ โมหะเลย
ศีลของพระขีณาสพไม่มีประมาณ
             เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ของพระขีณาสพไม่มีประมาณ
คือทำลายราคะ โทสะ โมหะอันเป็นประมาณหมดสิ้นไป จึงไม่มีประมาณ)

             - เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นเลิศกว่าอัปปมาณาเจโตวิมุตติทั้งหมด
เพราะราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นเครื่องประมาณ อันพระขีณาสพละได้แล้ว
             (เจโตวิมุติอันไม่กำเริบของพระขีณาสพ ไม่มีเครื่องประมาณ
จึงมีพยัญชนะว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีประมาณ)

             - เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นเลิศกว่าอากิญจัญญาเจโตวิมุตติทั้งหมด
เพราะราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นเครื่องกังวล อันพระขีณาสพละได้แล้ว
             (เจโตวิมุติอันไม่กำเริบของพระขีณาสพ ว่างจากราคะ โทสะ โมหะ
จึงมีพยัญชนะว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ)

             - เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นเลิศกว่าอนิมิตตาเจโตวิมุตติ
เพราะราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นเครื่องทำนิมิต อันพระขีณาสพละได้แล้ว
             (เจโตวิมุติอันไม่กำเริบของพระขีณาสพ ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ
เครื่องทำนิมิต จึงมีพยัญชนะว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิตธรรม)

             ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวแก้ปัญหานี้แล้ว
             ท่านพระมหาโกฏฐิกะชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร

แก้ไขตาม #3-86, #3-89

ความคิดเห็นที่ 3-86
ฐานาฐานะ, 29 พฤษภาคม เวลา 11:51 น.

GravityOfLove, เมื่อวานนี้ เวลา 00:20 น.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๕. จูฬยมกวรรค
             ๓. มหาเวทัลลสูตร การสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=9220&Z=9419&bgc=floralwhite&pagebreak=0
12:20 AM 5/28/2013

             วิญญาณ คือ ธรรมชาติที่รู้แจ้งว่า นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข (เวทนา ๓)
(วิญญาณ ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาวิญญาณ)
             แก้ไขเป็น
             วิญญาณ คือ ธรรมชาติที่รู้แจ้งว่า นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข (เวทนา ๓)
(วิญญาณ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณในขณะแห่งวิปัสสนา)

             ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่าง คือ
             (การมนสิการถึงธรรมที่เกิดร่วมกับผลสมาบัติ)
             ๑. การไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง (อารมณ์มีรูปเป็นต้น)
             ๒. การมนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต

             คำว่า (การมนสิการถึงธรรมที่เกิดร่วมกับผลสมาบัติ) << นำมาจากไหน?
             หากนำมาจากอรรถกถาด้านหลังนี้ :-
             ควรแก้ไขเป็น (การมนสิการที่เกิดร่วมกับผลสมาบัติ)

             อรรถกถา :-
             พระเถระกล่าวหมายเอาความใส่ใจที่เกิดพร้อมกับผลสมาบัติด้วยประการฉะนี้.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=493&p=2

             อากิญจัญญายตนะ ชื่อว่าอากิญจัญญะ เพราะไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
เป็นอารมณ์
             แก้ไขเป็น
             อากิญจัญญายตนะ ชื่อว่าอากิญจัญญะ เพราะเป็นเจโตวิมุติ
ที่มีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             เนื้อความตั้งแต่
>>>>
             - เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นเลิศกว่าอัปปมาณาเจโตวิมุตติทั้งหมด
ว่างจากราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นเครื่องกังวล อันพระขีณาสพละได้แล้ว
             (เจโตวิมุติอันไม่กำเริบของพระขีณาสพ ไม่มีเครื่องกังวลอะไรๆ
จึงมีพยัญชนะว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ)

             - เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นเลิศกว่าอากิญจัญญาเจโตวิมุตติทั้งหมด
ว่างจากราคะ โทสะ โมหะ อันทำนิมิต อันพระขีณาสพละได้แล้ว
             (เจโตวิมุติอันไม่กำเริบของพระขีณาสพ ว่างจากราคะ โทสะ โมหะ
จึงมีพยัญชนะว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง )

             - เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นเลิศกว่าอนิมิตตาเจโตวิมุตติ
ว่างจากราคะ โทสะ โมหะ
             (เจโตวิมุติอันไม่กำเริบของพระขีณาสพ ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ
เครื่องทำนิมิต จึงมีพยัญชนะว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิตธรรม)
<<<<
             ขอให้เรียบเรียงใหม่อีกครั้ง.

ความคิดเห็นที่ 3-87
GravityOfLove, 29 พฤษภาคม เวลา 12:22 น.

เนื้อความตั้งแต่ ... ขอให้เรียบเรียงใหม่อีกครั้ง.

ตอนแรกคิดว่า นำมาแปะสลับข้อกัน หรือว่าใช้คำศัพท์สลับข้อกัน
แต่เช็คดูแล้ว ก็ไม่ได้สลับ

ไม่เข้าใจค่ะว่า ที่ให้เรียบเรียงใหม่เพราะผิดหรือคะ
หรือว่า ไม่สละสลวย

ความคิดเห็นที่ 3-88
ฐานาฐานะ, 29 พฤษภาคม เวลา 12:51 น.

GravityOfLove, 6 นาทีที่แล้ว
เนื้อความตั้งแต่ ... ขอให้เรียบเรียงใหม่อีกครั้ง.
ตอนแรกคิดว่า นำมาแปะสลับข้อกัน หรือว่าใช้คำศัพท์สลับข้อกัน
แต่เช็คดูแล้ว ก็ไม่ได้สลับ
ไม่เข้าใจค่ะว่า ที่ให้เรียบเรียงใหม่เพราะผิดหรือคะ
หรือว่า ไม่สละสลวย
12:22 PM 5/29/2013

             เพราะว่า
             1. อ่านแล้วไม่เข้าใจว่า คำในวงเล็บขยาบความด้านบนหรือด้านล่าง
แต่เพราะติดบรรทัดบนจึงน่าจะตั้งใจขยายความด้านบน.
             2. เนื้อความแสดงเหตุของเจโตวิมุติ อ่านแล้วปะปนกัน เช่น
             - เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นเลิศกว่าอัปปมาณาเจโตวิมุตติทั้งหมด
ว่างจากราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นเครื่องกังวล อันพระขีณาสพละได้แล้ว
             (เจโตวิมุติอันไม่กำเริบของพระขีณาสพ ไม่มีเครื่องกังวลอะไรๆ
จึงมีพยัญชนะว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ)
             ควรแก้ไขเป็น
             - เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นเลิศกว่าอัปปมาณาเจโตวิมุตติทั้งหมด
เพราะราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นเครื่องประมาณ อันพระขีณาสพละได้แล้ว
             (เจโตวิมุติอันไม่กำเริบของพระขีณาสพ ไม่มีเครื่องประมาณ
จึงมีพยัญชนะว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีประมาณ)
- - - - - - - - - - - - - - - - - -

             - เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นเลิศกว่าอากิญจัญญาเจโตวิมุตติทั้งหมด
ว่างจากราคะ โทสะ โมหะ อันทำนิมิต อันพระขีณาสพละได้แล้ว
             (เจโตวิมุติอันไม่กำเริบของพระขีณาสพ ว่างจากราคะ โทสะ โมหะ
จึงมีพยัญชนะว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง)
             ควรแก้ไขเป็น
             - เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นเลิศกว่าอากิญจัญญาเจโตวิมุตติทั้งหมด
เพราะราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นเครื่องกังวล อันพระขีณาสพละได้แล้ว
             (เจโตวิมุติอันไม่กำเริบของพระขีณาสพ ว่างจากราคะ โทสะ โมหะ
จึงมีพยัญชนะว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ)
- - - - - - - - - - - - - - - - - -

             - เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นเลิศกว่าอนิมิตตาเจโตวิมุตติ
ว่างจากราคะ โทสะ โมหะ
             (เจโตวิมุติอันไม่กำเริบของพระขีณาสพ ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ
เครื่องทำนิมิต จึงมีพยัญชนะว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิตธรรม)
             ควรแก้ไขเป็น
             - เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นเลิศกว่าอนิมิตตาเจโตวิมุตติ
เพราะราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นเครื่องทำนิมิต อันพระขีณาสพละได้แล้ว
             (เจโตวิมุติอันไม่กำเริบของพระขีณาสพ ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ
เครื่องทำนิมิต จึงมีพยัญชนะว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิตธรรม)

             ช่วยตรวจด้วยว่า ผมแก้ไขได้ถูกต้องหรือไม่?

ความคิดเห็นที่ 3-89
GravityOfLove, 29 พฤษภาคม เวลา 13:01 น.

ขอบพระคุณค่ะ
แก้ไขตามคุณฐานาฐานะดังนี้
-------------------------
             มีอรรถเหมือนกัน มีพยัญชนะต่างกัน คือ
             พระขีณาสพละธรรมต่อไปนี้ได้คือ
             - ราคะอันทำประมาณ โทสะอันทำประมาณ โมหะอันทำประมาณ
             (นั่นคือพระขีณาสพจะไม่ละเมิืดศีลด้วยเหตุแห่งราคะ โทสะ โมหะเลย
ศีลของพระขีณาสพไม่มีประมาณ
             เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ของพระขีณาสพไม่มีประมาณ
คือทำลายราคะ โทสะ โมหะอันเป็นประมาณหมดสิ้นไป จึงไม่มีประมาณ)

             - เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นเลิศกว่าอัปปมาณาเจโตวิมุตติทั้งหมด
เพราะราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นเครื่องประมาณ อันพระขีณาสพละได้แล้ว
             (เจโตวิมุติอันไม่กำเริบของพระขีณาสพ ไม่มีเครื่องประมาณ
จึงมีพยัญชนะว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีประมาณ)

             - เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นเลิศกว่าอากิญจัญญาเจโตวิมุตติทั้งหมด
เพราะราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นเครื่องกังวล อันพระขีณาสพละได้แล้ว
             (เจโตวิมุติอันไม่กำเริบของพระขีณาสพ ว่างจากราคะ โทสะ โมหะ
จึงมีพยัญชนะว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ)

             - เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นเลิศกว่าอนิมิตตาเจโตวิมุตติ
เพราะราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นเครื่องทำนิมิต อันพระขีณาสพละได้แล้ว
             (เจโตวิมุติอันไม่กำเริบของพระขีณาสพ ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ
เครื่องทำนิมิต จึงมีพยัญชนะว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิตธรรม)

ความคิดเห็นที่ 3-90
ฐานาฐานะ, 29 พฤษภาคม เวลา 13:08 น.   

             รับทราบครับ.

ความคิดเห็นที่ 3-91
GravityOfLove, 29 พฤษภาคม เวลา 13:10 น.

ค่อยยังชั่ว นึกว่าคำถามมาแล้ว
ยังอ่านทวนอรรถกถาไม่จบเลย

ความคิดเห็นที่ 3-92
ฐานาฐานะ, 29 พฤษภาคม เวลา 20:14 น.  

             คำถามในมหาเวทัลลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9220&Z=9419

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. พระสูตรนี้ เข้าใจได้ยาก เพราะเหตุใดบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 3-93
ฐานาฐานะ, 29 พฤษภาคม เวลา 20:14 น.  

             คำถามในมหาเวทัลลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9220&Z=9419

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. พระสูตรนี้ เข้าใจได้ยาก เพราะเหตุใดบ้าง?

ย้ายไปที่



Create Date : 26 มิถุนายน 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 6:56:32 น.
Counter : 462 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มิถุนายน 2556

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
27
28
29
30
 
 
All Blog