16.1 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร [พระสูตรที่ 31].
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
15.8 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.

ความคิดเห็นที่ 9-1
ฐานาฐานะ, 22 เมษายน 2556 เวลา 14:28 น.

             พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร [พระสูตรที่ 31].
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             จูฬโคสิงคสาลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6696&Z=6876
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=361

             มหาโคสิงคสาลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6877&Z=7105
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=369

             มหาโคปาลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=7106&Z=7246
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=383

ความคิดเห็นที่ 9-2
GravityOfLove, 22 เมษายน 2556 เวลา 14:43 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๔. มหายมกวรรค          
             ๑. จูฬโคสิงคสาลสูตร เหตุแห่งความสามัคคี
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6696&Z=6876&pagebreak=0&bgc=seashell

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่พักซึ่งสร้างด้วยอิฐในนาทิกคาม
             สมัยนั้นท่านพระอนุรุทธ ท่านพระนันทิยะ ท่านพระกิมิละ อยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวัน
             พระผู้มีพระภาคได้เสด็จไปหา เมื่อเสด็จไปถึงแล้ว พระเถระทั้ง ๓
ได้ต้อนรับพระผู้มีพระภาค
             องค์หนึ่งรับบาตรและจีวร องค์หนึ่งปูอาสนะ องค์หนึ่งตั้งน้ำล้างพระบาท
             พระองค์ตรัสถามว่า
             ๑. พวกเธอพอจะอดทนได้ละหรือ พอจะยังชีวิตให้เป็นไปได้หรือ
ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ?
             ท่านพระอนุรทธทูลตอบว่า พวกข้าพระองค์พอจะอดทนได้
พอจะยังมีชีวิตให้เป็นไปได้ ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต

             ๒. พวกเธอยังพร้อมเพรียงกัน ชื่นบาน (ชื่นชม) ต่อกัน ไม่วิวาทกัน
ยังเป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ และดูกันและกันด้วยตาอันเป็นที่รัก (ปิยจักษุ) อยู่หรือ?
             ท่านพระอนุรทธทูลตอบว่า เป็นอย่างนั้น
             ตรัสว่า ดีละ ดีละ เป็นอย่างนั้นได้อย่างไร?
             ท่านพระอนุรทธทูลตอบว่า
             ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเรา เราได้ดีแล้ว
ที่ได้อยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์เห็นเช่นนี้ มีเมตตาต่อกันทั้งทางกาย วาจา ใจ
ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
             มีความคิดว่า ทางที่ดีเราควรเก็บความนึกคิดของตนแล้วทำตาม
อำนาจความนึกคิดของพวกท่าน
             กายของพวกข้าพระองค์ต่างกันก็จริง แต่จิตดูเหมือนเป็นอันเดียวกัน
             พระเถระอีก ๒ ท่านก็ทูลตอบในทำนองเดียวกัน

             ๓. พวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไป (อุทิศกายและใจ)
แล้วอยู่หรือ
             ท่านพระอนุรทธทูลตอบว่า เป็นอย่างนั้น
             ตรัสว่า ดีละ ดีละ เป็นอย่างนั้นได้อย่างไร?
             ท่านพระอนุรทธทูลตอบว่า
             บรรดาพวกข้าพระองค์ ท่านผู้ใดกลับจากบิณฑบาตก่อน ท่านผู้นั้น
ย่อมปูลาดอาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ ตั้งถาดสำรับไว้
             ท่านผู้ใดกลับจากบิณฑบาตทีหลัง ถ้ามีบิณฑบาตที่เหลือจากฉัน
หากประสงค์ ก็ฉัน ถ้าไม่ประสงค์ ก็ทิ้งในบริเวณที่ไม่มีพืชและสัตว์
             เก็บอาสนะ เก็บน้ำฉัน เก็บน้ำใช้ เก็บถาดสำรับ กวาดโรงภัต
             ท่านผู้ใดเห็นหม้อน้ำฉันน้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า ก็เข้าไปตั้งไว้
ถ้าเหลือวิสัยของท่าน ก็กวักมือเรียกรูปที่สองแล้วช่วยกันยกเข้าไปตั้งไว้
             พวกข้าพระองค์ไม่ต้องเอ่ยคำพูดเพราะเรื่องนี้เลย
             และทุกวันที่ ๕ พวกข้าพระองค์ นั่งสนทนาธรรมกถาตลอดคืนถึงเช้า

             ๔. คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ
อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญ ได้บรรลุหรือไม่?
             ท่านพระอนุรทธ ทูลตอบว่า
             พวกข้าพระองค์ได้บรรลุรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ
             และพวกข้าพระองค์ยังไม่พิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น
ที่ยิ่งกว่า หรือประณีตกว่าสัญญาเวทยิตนิโรธ
             พระองค์ตรัสว่า ดีละ ดีละ ธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น ที่ยิ่งกว่า
หรือประณีตกว่าสัญญาเวทยิตนิโรธไม่มี
             หลังจากนั้นทรงแสดงธรรมีกถาแก่พระเถระทั้ง ๓ แล้วเสด็จกลับ
             ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ได้ถามท่านพระอนุรุทธว่า
             ที่ท่านประกาศคุณวิเศษจนถึงความสิ้นอาสวะของพวกกระผม
เฉพาะพระพักตร์ พวกกระผมเคยบอกท่านหรือ
             ท่านพระอนุรุทธตอบว่า
             กระผมทราบด้วยอำนาจจิต และเทวดาก็ได้บอกเนื้อความนี้แก่กระผมด้วย
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อนุบุพพวิหาร_9

             ทีฆปรชนยักษ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลว่า
             เป็นลาภของชาววัชชี ประชาชนชาววัชชีได้ดีแล้ว ที่พระตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มาประทับอยู่ และกุลบุตร ๓ ท่านเหล่านี้ คือ
             ท่านพระอนุรุทธ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ มาพักอยู่
             พวกภุมมเทวดาได้ฟังเสียงของทีฆปรชนยักษ์แล้วได้ประกาศต่อไปว่า
             ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เป็นลาภของชาววัชชี ประชาชนชาววัชชีได้ดีแล้ว
เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มาประทับอยู่ และกุลบุตร ๓ ท่าน คือ
             ท่านพระอนุรุทธ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ มาพักอยู่
             พวกเทพชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้วได้ประกาศต่อไป ...
             พวกเทพชั้นดาวดึงส์ได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นจาตุมหาราชแล้วได้ประกาศต่อไป ...
             พวกเทพชั้นยามาได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้วได้ประกาศต่อไป ...
             พวกเทพชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นยามาแล้วได้ประกาศต่อไป ...
             พวกเทพชั้นนิมมานรดีได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นดุสิตแล้วได้ประกาศต่อไป ...
             พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นนิมมานรดีแล้วได้ประกาศต่อไป ...
             พวกเทพที่นับเข้าในจำพวกพรหม ได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
แล้วได้ประกาศต่อไปว่า
             ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เป็นลาภของชาววัชชี ประชาชนชาววัชชีได้ดีแล้ว
ที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มาประทับอยู่ และกุลบุตร ๓ ท่าน คือ
             ท่านพระอนุรุทธ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ มาพักอยู่
             ชั่วเวลาไม่นาน เรื่องนี้ก็เป็นอันรู้กันทั่วจนถึงพรหมโลก
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น
             กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจากสกุล วงศ์สกุล บ้าน นิคม
นคร ชนบทใด
             ถ้าสกุล ฯลฯ นั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไป
เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่สกุล ฯลฯ นั้นตลอดกาลนาน
             ถ้ากษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทรทั้งมวลมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้
ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่กษัตริย์ ฯลฯ นั้นตลอดกาลนาน
             ถ้าโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
เพื่อความสุขแก่โลก ฯลฯ นั้นตลอดกาลนาน
             ท่านจงเห็นเถิด กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ปฏิบัติแล้วก็เพียงเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
             ทีฆปรชนยักษ์ ชื่นชม ยินดี ภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ความคิดเห็นที่ 9-3
GravityOfLove, 23 เมษายน 2556 เวลา 11:13 น.

             ถามว่า เพราะเหตุอะไร จึงต้องล้าง.
             ตอบว่า เพื่อกำหนดฤดูของพระวรกาย << แปลว่าอะไรคะ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=361&bgc=seashell

ความคิดเห็นที่ 9-4
GravityOfLove, 23 เมษายน 2556 เวลา 11:21 น.

             ในเนื้อความพระไตรปิฎก
             และทุกวันที่ ๕ พวกข้าพระองค์ นั่งสนทนาธรรมกถาตลอดคืนยังรุ่ง
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6696&Z=6876&pagebreak=0&bgc=seashell

             ในอรรถกถา
             บทว่า ปญฺจาหิกํ โข ปน ความว่า คำนี้ว่า ในวัน ๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ ดิถีที่ ๘ ค่ำ เป็นวันธัมมัสสวนะตามปกติก่อน พระเถระทั้ง ๒ รูปอาบน้ำในเวลายังไม่มืดมากนักทุกๆ วัน ทำข้อนั้นไม่ให้ขาด ย่อมไปยังที่พักของพระอนุรุทธเถระ. พระเถระแม้ทั้ง ๓ รูปนั่ง ณ ที่นั้น ถามปัญหาตอบปัญหากันและกันในพระไตรปิฎก ปิฏกใดปิฎกหนึ่ง เมื่อพระเถระเหล่านั้นกระทำอยู่อย่างนี้จนอรุณขึ้น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=361&bgc=seashell

             พระเถระทั้ง 3 รูป ถามตอบปัญหาในพระไตรปิฎกจนอรุณขึ้นวันใดบ้างคะ

ความคิดเห็นที่ 9-5
ฐานาฐานะ, 23 เมษายน 2556 เวลา 15:03 น.  

GravityOfLove, 3 ชั่วโมงที่แล้ว
             ในเนื้อความพระไตรปิฎก
             และทุกวันที่ ๕ พวกข้าพระองค์ นั่งสนทนาธรรมกถาตลอดคืนยังรุ่ง
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6696&Z=6876&pagebreak=0&bgc=seashell

             ในอรรถกถา
             บทว่า ปญฺจาหิกํ โข ปน ความว่า คำนี้ว่า ในวัน ๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ ดิถีที่ ๘ ค่ำ เป็นวันธัมมัสสวนะตามปกติก่อน พระเถระทั้ง ๒ รูปอาบน้ำในเวลายังไม่มืดมากนักทุกๆ วัน ทำข้อนั้นไม่ให้ขาด ย่อมไปยังที่พักของพระอนุรุทธเถระ. พระเถระแม้ทั้ง ๓ รูปนั่ง ณ ที่นั้น ถามปัญหาตอบปัญหากันและกันในพระไตรปิฎก ปิฏกใดปิฎกหนึ่ง เมื่อพระเถระเหล่านั้นกระทำอยู่อย่างนี้จนอรุณขึ้น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=361&bgc=seashell

             พระเถระทั้ง 3 รูป ถามตอบปัญหาในพระไตรปิฎกจนอรุณขึ้นวันใดบ้างคะ
11:21 AM 4/23/2013

             ตอบว่า น่าจะเป็น ๕ ค่ำ คือถัดไป ๕ วัน (ทุกวันที่ ๕)

ความคิดเห็นที่ 9-6
ฐานาฐานะ, 23 เมษายน 2556 เวลา 19:55 น.

GravityOfLove, 8 ชั่วโมงที่แล้ว
             ถามว่า เพราะเหตุอะไร จึงต้องล้าง.
             ตอบว่า เพื่อกำหนดฤดูของพระวรกาย << แปลว่าอะไรคะ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=361&bgc=seashell
11:13 AM 4/23/2013
             นึกไม่ออกเหมือนกันว่า แปลว่าอะไร?
             สันนิษฐานว่า เพื่อกำหนดกิจที่ควรทำในสมัยหรือกาล
(ที่ทรงดำเนินถึงที่หมาย) ต่อพระวรกาย คือตามธรรมเนียมของชาวโลกว่า
เวลาที่เดินทางถึงที่หมาย ควรล้างเท้าเป็นต้น.
             ล้วนสันนิษฐานครับ

ความคิดเห็นที่ 9-7
GravityOfLove, 23 เมษายน 2556 เวลา 19:59 น.

วันพระเดือนนี้ (เมษายน) คือ
วันที่ ๓ แรม ๘ ค่ำ
วันที่ ๑๐ แรม ๑๕ ค่ำ
วันที่ ๑๘ ขึ้น ๘ ค่ำ
วันที่ ๒๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ
แล้วเป็นทุกวันที่ ๕ อย่างไรคะ

ความคิดเห็นที่ 9-8
ฐานาฐานะ, 23 เมษายน 2556 เวลา 20:14 น.

GravityOfLove, 6 นาทีที่แล้ว
วันพระเดือนนี้ (เมษายน) คือ
วันที่ ๓ แรม ๘ ค่ำ
วันที่ ๑๐ แรม ๑๕ ค่ำ
วันที่ ๑๘ ขึ้น ๘ ค่ำ
วันที่ ๒๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ
แล้วเป็นทุกวันที่ ๕ อย่างไรคะ
7:59 PM 4/23/2013

             บทว่า ปญฺจาหิกํ โข ปน ความว่า คำนี้ว่า ในวัน ๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ ดิถีที่ ๘ ค่ำ
เป็นวันธัมมัสสวนะตามปกติก่อน ...
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=361&bgc=seashell
             คำนี้แสดงว่า ตามปกติแล้ววันธัมมัสสวนะจะเป็นวันที่ ๓ เมษายน ซึ่งคือแรม ๘ ค่ำ
วันที่ ๑๐ ... วันที่ ๒๕ ซึ่งคือขึ้น ๑๕ ค่ำ

             แต่ทุกวันที่ 5 น่าจะหมายถึง ขึ้น 5 ค่ำซึ่งวันที่ 15 เมษายน
             กล่าวคือ พระเถระนั่งสนทนาธรรมกถาในวันขึ้น 5 ค่ำ
ซึ่งไม่ใช่วันธัมมัสสวนะตามปกติ.

ความคิดเห็นที่ 9-9
GravityOfLove, 23 เมษายน 2556 เวลา 23:26 น.

             ผ้าบังสุกุล หรือผ้าเปื้อนฝุ่น ผ้าที่เขาทิ้งแล้ว มักหาได้จากป่าช้า
หรือกองขยะ การถือผ้าบังสุกุลมีปรธโยชน์ เพราะไม่มีความกังวลว่าจะเคร้าหมอง
ไม่ต้องคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ไม่ต้องรอคอยคฤหัสถ์นำมาถวาย ทำให้หมดเรื่องตรึกกังวล
ไปหนึ่งเรื่องเป็นต้น
...
             การถือธุดงค์บางข้อเป็นวัตร ก็คือถือโดยการสมาทาน
ธุดงควัตรถือตามความสมัครใจ ตามความยินดีของแต่ละบุคคล
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/12/Y11442477/Y11442477.html#79

             พระที่สมาทานธุดงควัตร ๑๓ ข้อ ๑ คือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
โอกาสที่ท่านจะเจอผ้าที่ผืนใหญ่ๆ และมีสีเหลืองไม่น่ามากนะคะ
ถ้าเจอแต่เสื้อผ้าธรรมดา (ตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าแล้ว) และสีเข้มๆ ย้อมยากๆ
ท่านจะทำอย่างไรคะ

ความคิดเห็นที่ 9-10
ฐานาฐานะ, 24 เมษายน 2556 เวลา 00:12 น.  

             เรื่องสีก็นำมาย้อม
             เรื่องขนาดผ้า ถ้าเล็กเกินไป ก็นำมาเย็บต่อกัน
ถ้าใหญ่เกินไป ก็ตัดออก.
             ถ้าผืนนั้น ใช้ประโยชน์ไม่ได้จริงๆ ก็ไม่ต้องถือเอา.
             คำว่า จีวรกรรม
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=จีวรกรรม&detail=on

             อาฆาตวินยสูตรที่ ๒
[บางส่วน]
             เหมือนอย่างว่า ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เห็นผ้าเก่าที่ถนน
เหยียบให้มั่นด้วยเท้าซ้าย เขี่ยออกดูด้วยเท้าขวา ส่วนใดเป็นสาระ
ก็เลือกถือเอาส่วนนั้นแล้วหลีกไป แม้ฉันใด
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=22&A=4342

ความคิดเห็นที่ 9-11
GravityOfLove, 24 เมษายน 2556 เวลา 00:22 น.

คุณฐานาฐานะเคยเห็นพระที่ครองผ้าบังสุกุลเป็นวัตรไหมคะ
และเคยเห็นพระที่ครองจีวรลักษณะนี้ไหมคะ (คือเย็บจากผ้าชิ้นต่างๆ กัน)

ความคิดเห็นที่ 9-12
ฐานาฐานะ, 24 เมษายน 2556 เวลา 00:28 น.  

             พระที่ครองผ้าบังสุกุลเป็นวัตร น่าจะไม่เคยเห็น
หรือเห็นแต่ไม่รู้ก็เป็นได้
             จีวรลักษณะคือเย็บจากผ้าชิ้นต่างๆ กัน ข้อนี้พอเห็นได้
เช่นว่า จีวรหรือสบงขาดบ้าง ก็นำมาผ้าอื่นมาปะ เย็บต่อกันครับ.

ความคิดเห็นที่ 9-13
GravityOfLove, 24 เมษายน 2556 เวลา 00:32 น.

น่าจะไม่เคยเห็น หรือเห็นแต่ไม่รู้ก็เป็นได้

เช่นกันค่ะ ไม่เคยเห็นพระที่ครองจีวรแบบว่า นำมาจากหลายที่เย็บเป็นผืนใหญ่ๆ เลย

ความคิดเห็นที่ 9-14
ฐานาฐานะ, 25 เมษายน เวลา 02:13 น.

GravityOfLove, วันจันทร์ เวลา 14:43 น.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๔. มหายมกวรรค
             ๑. จูฬโคสิงคสาลสูตร เหตุแห่งความสามัคคี
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6696&Z=6876
2:42 PM 4/22/2013

             ย่อความได้ดี เก็บรวบรวมประเด็นได้ครบถ้วน.

ความคิดเห็นที่ 9-15
ฐานาฐานะ, 25 เมษายน เวลา 03:57 น.

             คำถามในพระสูตรชื่อว่า จูฬโคสิงคสาลสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6696&Z=6876

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. คำถามที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสถามพระเถระทั้ง 3 รูปนี้
พระองค์ทรงตรัสถามพระเถระทั้ง 3 รูปนี้หรือไม่ ในพระสูตรใด?

ย้ายไปที่



Create Date : 26 เมษายน 2556
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 22:59:32 น.
Counter : 1162 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



เมษายน 2556

 
1
2
5
6
7
8
9
10
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
27
28
29
30
 
 
All Blog