17.7 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก 17.6 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร ความคิดเห็นที่ 3-72 ความคิดเห็นที่ 3-73 GravityOfLove, 24 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:34 น. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ๕. จูฬยมกวรรค ๒. เวรัญชกสูตร ว่าด้วยเหตุปัจจัยให้เข้าถึงสุคติ //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=9056&Z=9219&bgc=papayawhip&pagebreak=0 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี พราหมณ์และคฤหบดีชาวเมืองเวรัญชาได้สดับข่าวนี้ และทั้งเคยได้ยิน กิตติศัพท์อันงามของพระองค์ (พระพุทธคุณ ๙ ประการ) ได้ยินว่า พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์ แล้วทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายย่อมเป็นการดี //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พุทธคุณ_9 จึงได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วได้ทูลถามดังนี้ว่า อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต และนรก หลังจากตายแล้ว อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ หลังจากตายแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สัตว์บางพวกในโลกนี้เข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต และนรก หลังจากตายแล้ว เพราะเหตุประพฤติไม่เรียบร้อย (วิสมจริยา ประพฤติไม่สม่ำเสมอ ลุ่มๆ ดอนๆ) คือ ไม่ประพฤติธรรม (อธรรมจริยา) สัตว์บางพวกในโลกนี้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ หลังจากตายแล้ว เพราะเหตุประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นยังไม่เข้าใจดี จึงทูลขอพระองค์ ให้ทรงอธิบายโดยละเอียด อกุศลกรรมบถ ๑๐ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลเป็นผู้ประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ไม่ประพฤติธรรมทางกาย มี ๓ อย่าง ทางวาจามี ๔ อย่าง ทางใจมี ๓ อย่าง ไม่ประพฤติธรรมทางกาย ๓ อย่าง คือบุคคลบางคนในโลกนี้ ๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ คือ เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด พอใจในการประหาร และการฆ่า ไม่มีความละอาย ไม่ถึงความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง ๒. เป็นผู้ถือเอาทรัพย์ที่เขาไม่ได้ให้ คือ ลักทรัพย์เป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจ ของบุคคลอื่น (เครื่องบริขารที่ก่อให้เกิดความยินดี) ที่อยู่ในบ้าน หรือที่อยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ อันนับว่าเป็นขโมย ๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือ ถึงความสมสู่ในพวกหญิงที่ มารดา บิดา มารดาและบิดา พี่ชาย พี่สาว และญาติรักษา พวกหญิงที่มีสามี ที่อิสรชนหวงห้าม (ที่กฏหมายคุ้มครอง) ที่สุดแม้หญิงที่เขาคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย (หญิงที่เขาหมั้นไว้) ไม่ประพฤติธรรมทางวาจา ๔ อย่าง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ๑. เป็นผู้กล่าวเท็จ คือ ไปในที่ประชุมหรือไปในหมู่ชน หรือไปในท่ามกลางญาติ หรือไปในท่ามกลางขุนนาง หรือไปในท่ามกลางราชสกุล หรือถูกนำไปเป็นพยาน เมื่อถูกถามแล้ว ไม่รู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อรู้ก็บอกว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็นก็บอกว่าเห็น เมื่อเห็นก็บอกว่าไม่เห็น เป็นผู้กล่าวคำเท็จทั้งรู้อยู่ เพราะเหตุตนบ้าง เพราะเหตุผู้อื่นบ้าง เพราะเหตุเห็นแก่สิ่งเล็กน้อยบ้าง ๒. เป็นผู้ส่อเสียด คือ ได้ฟังข้างนี้แล้ว นำไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายพวกข้างนี้บ้าง ยุพวกที่พร้อมเพรียงกันให้แตกกันไปบ้าง ส่งเสริมพวกที่แตกกันบ้าง ส่งเสริมพวกที่แตกกันแล้วบ้าง ชอบใจในคนที่แตกกันเป็นพวก ยินดีในความแตกกันเป็นพวก ชื่นชมในพวกที่แตกกัน และกล่าววาจาที่ทำให้แตกกันเป็นพวก ๓. เป็นผู้มีวาจาหยาบ คือ กล่าววาจาที่เป็นโทษหยาบ อันเผ็ดร้อนแก่ผู้อื่น อันขัดใจผู้อื่น อันใกล้ต่อความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบจิต ๔. เป็นผู้กล่าวคำเพ้อเจ้อ คือ พูดในเวลาไม่ควรพูด พูดเรื่องที่ไม่เป็นจริง พูดไม่เป็นประโยชน์ พูดไม่เป็นธรรม พูดไม่เป็นวินัย กล่าววาจาไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้าง ไม่มีที่สุด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลไม่สมควร ไม่ประพฤติธรรมทางใจ ๓ อย่าง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ๑. เป็นผู้มีความโลภมาก คือ เพ่งเล็งทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจ ของผู้อื่นว่า ขอของผู้อื่นพึงเป็นของเราเถิด ๒. เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ มีความดำริในใจอันชั่วช้าว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่าบ้าง จงถูกทำลายบ้าง จงขาดสูญบ้าง อย่าได้มีแล้วบ้าง ๓. เป็นผู้มีความเห็นผิด คือ มีความเห็นวิปริตว่า ผลแห่งทานที่ให้แล้วไม่มี ผลแห่งการบูชาไม่มี ผลแห่งการเซ่นสรวงไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ทั้งหลายที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้า ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสั่งสอนให้ผู้อื่นรู้ไม่มีอยู่ในโลก กุศลกรรมบถ ๑๐ บุคคลเป็นผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรมทางกายมี ๓ อย่าง ทางวาจามี ๔ อย่าง ทางใจมี ๓ อย่าง (เนื้อความตรงกันข้ามกับอกุศลกรรมบถ ๑๐) ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม หากหวังว่า เมื่อตายไปแล้วขอให้ได้เกิดเป็นกษัตริย์มหาศาลเถิด ก็เป็นไปได้ ... พราหมณ์มหาศาล ... คฤหบดีมหาศาล ... ก็เป็นไปได้ เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ... เทวดาชั้นดาวดึงส์ ... เทวดาชั้นยามา ... เทวดาชั้นดุสิต ... เทวดาชั้นนิมมานรดี ... เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ... ก็เป็นไปได้ (เทวโลก ๖ ชั้น) เทวดาที่เนื่องในหมู่พรหม (พรหมกายิกา ๓ ชั้น) ... เทวดาชั้นอาภา (เทวดาชั้นปริตตาภา ... เทวดาชั้นอัปปมาณาภา ... เทวดาชั้นอาภัสสรา) ... เทวดาชั้นปริตตสุภา ... เทวดาชั้นอัปมาณสุภา ... เทวดาชั้นสุภกิณหกะ ... เทวดาชั้นเวหัปผละ ... เทวดาชั้นอวิหา ... เทวดาชั้นอตัปปา ... เทวดาชั้นสุทัสสา ... เทวดาชั้นสุทัสสี ... เทวดาชั้นอกนิฏฐะ ... ก็เป็นไปได้ (ตรัสรูปพรหมที่มีสัญญา ๑๕ ชั้นเท่านั้น เพราะอสัญญีภพนั้น พวกดาบสและ ปริพพาชกภายนอก (ศาสนา) สะสมกัน) เทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ ... เทวดาผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพ ... เทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ ... เทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ... ก็เป็นไปได้ (อรูปพรหม ๔ ชั้น) ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือประพฤติธรรม หากหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะ ด้วย ปัญญาอันยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่ในชาตินี้เถิด ก็เป็นไปได้ //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภูมิ_4 //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิมุตติ_2 เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวเมืองเวรัญชาได้กราบทูลสรรเสริญ พระภาษิตของพระองค์ แล้วทูลขอเป็นอุบาสกผู้ถึงไตรสรณะตลอดชีวิต ความคิดเห็นที่ 3-74 ฐานาฐานะ, 25 พฤษภาคม 2556 เวลา 04:07 น. GravityOfLove, 18 ชั่วโมงที่แล้ว พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ๕. จูฬยมกวรรค ๒. เวรัญชกสูตร ว่าด้วยเหตุปัจจัยให้เข้าถึงสุคติ //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=9056&Z=9219&bgc=papayawhip&pagebreak=0 9:34 AM 5/24/2013 ย่อความได้ดีครับ. ความคิดเห็นที่ 3-75 ฐานาฐานะ, 25 พฤษภาคม 2556 เวลา 04:08 น. คำถามในเวรัญชกสูตร //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=9056&Z=9219 เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง? ความคิดเห็นที่ 3-76 GravityOfLove, 25 พฤษภาคม 2556 เวลา 06:27 น. ตอบคำถามในเวรัญชกสูตร //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=9056&Z=9219 เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง? ๑. ผู้ประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ไม่ประพฤติธรรมทางกาย มี ๓ อย่าง ทางวาจามี ๔ อย่าง ทางใจมี ๓ อย่าง เป็นเหตุให้เหล่าสัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต และนรก ๒. ผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรมทางกาย มี ๓ อย่าง ทางวาจามี ๔ อย่าง ทางใจมี ๓ อย่าง เป็นเหตุให้เหล่าสัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๓. ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม หากหวังว่า เมื่อตายไปแล้ว ขอให้ได้เกิดเป็นกษัตริย์มหาศาล ฯลฯ เป็นพรหม หรือพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะในชาตินี้ก็เป็นไปได้ ๔. บุคคลเทศนาที่ยกบุคคลเป็นที่ตั้ง (บุคคลาธิษฐาน) ๕. เทวโลก ๒๖ ชั้น ความคิดเห็นที่ 3-77 ฐานาฐานะ, 25 พฤษภาคม 2556 เวลา 13:33 น. GravityOfLove, 7 ชั่วโมงที่แล้ว ตอบคำถามในเวรัญชกสูตร //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=9056&Z=9219 ... 6:27 AM 5/25/2013 พระสูตรชื่อว่า เวรัญชกสูตร นี้ โดยใจความแล้วมีนัยเหมือนพระสูตรก่อนหน้านี้ (สาเลยยกสูตร) ดังนั้น เมื่อศึกษาแล้ว ก็ได้ความเข้าใจเหมือนพระสูตรก่อน แต่ได้เห็นตัวอย่างของบุคคลเทศนา 2 อย่าง คือ 1. บุคคลเทศนาที่ยกบุคคลเป็นที่ตั้ง (บุคคลาธิษฐาน) พระสูตรนี้ 2. บุคคลเทศนาที่ยกพระธรรมเป็นที่ตั้ง (ธัมมาธิษฐาน) พระสูตรก่อน. และเป็นทบทวนใจความของพระสูตรไปในเวลาเดียวกัน. เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า เวรัญชกสูตร จบบริบูรณ์. //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9056&Z=9219 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาเวทัลลสูตร [พระสูตรที่ 43]. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหาเวทัลลสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9220&Z=9419 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=493 จูฬเวทัลลสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9420&Z=9601 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=505 ความคิดเห็นที่ 3-78 GravityOfLove, 25 พฤษภาคม 2556 เวลา 16:32 น. คำถามมหาเวทัลลสูตร //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=9220&Z=9419&bgc=papayawhip&pagebreak=0 กรุณาอธิบายค่ะ ๑. ราคะอันทำประมาณ โทสะอันทำประมาณ โมหะอันทำประมาณ ๒. ปัญญาและสัมมาทิฏฐิสัมพันธ์กันอย่างไร ๓. ตั้งแต่ย่อหน้านี้เป็นต้นไป ไม่เข้าใจเลยค่ะ ดูกรผู้มีอายุ นี้แลปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน ... << มีธรรมทั้งหมด ๔ ข้อ ทำไมไม่ตรัสถึง ธรรมที่ ๓ คะ (สุญญตาเจโตวิมุตติ) สรุป อรรถที่เหมือนกันคือ มีเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ (อันเป็นเลิศ) เหมือนกัน ละราคะ โทสะ โมหะ ได้เหมือนกัน ใช่ไหมคะ ๔. ตั้งปัญหาขึ้นเอง เมื่อจะตัดสินเสียเอง << ตัดสินอะไรคะ //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=493#การถามนี้มี_๕_อย่าง ๕. กรุณาอธิบายค่ะ (ตั้งแต่นี่ ... ถึงนี่) แม้ในอินทรีย์สังยุต ก็ตรัสแต่สิ่งแบบโลกๆ และที่อยู่เหนือโลก [โลกุตตร] ... พระราชาเท่านั้นที่ทรงเที่ยวสั่งงานในพระราชวัง ฉะนั้น. ๖. กรุณาอธิบายค่ะ จริงอยู่ ท่านกล่าวถึงอารมณ์ที่เป็นสุข ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข ในที่นี้ ตามมหาลิสูตรนี้ว่า "มหาลิ ก็แลถ้ารูปนี้จะได้เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เป็นทุกข์ ถูกทุกข์ตกต้อง ถูกทุกข์เหยียบย่ำ สุขกล้ำกรายเข้ามาไม่ได้ ถ้าเป็นเสียแบบนี้ หมู่สัตว์ก็ไม่พึงกำหนัดหนักในรูป. มหาลิ ก็เพราะเหตุที่รูปแล เป็นสุข ถูกสุขตกต้อง ถูกสุขเหยียบย่างเข้ามา ทุกข์กล้ำกรายเข้ามาไม่ได้ ฉะนั้น หมู่สัตว์จึงกำหนัดหนักในรูป เพราะกำหนัดหนัก จึงประกอบจนติด, เพราะประกอบจนติดจึงแปดเปื้อน. ก็แล ถ้าเวทนานี้ ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขารทั้งหลาย ฯลฯ มหาลิ ก็แล ถ้าวิญญาณนี้จะได้เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว ฯลฯ จึงแปดเปื้อน." ด้วยประการฉะนี้. ๗. ถึงแม้จะเป็นเช่นนี้ ก็พึงกำหนดไว้ว่า ท่านหมายเอาแต่ความจำได้หมายรู้ ที่เกิดพร้อมกับความพิจารณาไตร่ตรองที่เป็นไปในภูมิทั้งสามเท่านั้น << เมื่อกล่าวถึงภูมิ ๓ (กามภพ รูปภพ อรูปภพ) นัยคือ (ความจำได้หมายรู้) เป็นไปในทางโลกๆ หรือคะ ๘. กรุณาอธิบายค่ะ ทำไม ท่านจึงไม่ถือเอาความรู้ชัดที่ถือเอาสิ่งทั้งสามนี้ คือ ความรู้สึก ความรู้จำ ความรู้แจ้ง ในบทเหล่านี้ว่า "ผู้มีอายุ ก็แลความรู้สึก" ความรู้จำ ความรู้แจ้งอันใดด้วยเล่า "เพราะไม่ใช่เป็นการรวบรวมเอามาทั้งหมด." จริงอยู่ เมื่อถือเอาด้วยความรู้ชัด ความรู้สึกเป็นต้นที่ประกอบด้วยความรู้ชัด [ปญฺญาสมฺปยุตฺตเวทนาทโย] จึงจะได้ ที่ไม่ประกอบ [วิปฺปยุตฺตา] หาได้ไม่. แต่เมื่อไม่ถือเอาความรู้ชัดนั้น, เมื่อสิ่งเหล่านั้นได้รับการถือเอาแล้ว. ความรู้สึกเป็นต้นทั้งที่ประกอบด้วยความรู้ชัดทั้งที่ไม่ประกอบ ชั้นที่สุดแม้แต่สิ่งที่ทำหน้าที่รู้แจ้งทั้ง ๑๐ ดวง [เทฺว ปญฺจวิญฺญาณธมฺมา] ก็เป็นอันได้ด้วย. ๙. จิตและเจตสิก เช่น รู้จำ (สัญญาเจตสิก) รู้แจ้ง (วิญญาณ / จิต) รู้ชัด (ปัญญาเจตสิก) จำแนกออกจากกันยาก เหมือนแยกน้ำมัน ๕ ชนิดที่ผสมกัน หรือเหมือนแยกน้ำจากแม่น้ำสายต่างๆ ที่ไหลมารวมกัน ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 3-79 ฐานาฐานะ, 25 พฤษภาคม 2556 เวลา 17:07 น. GravityOfLove, 31 นาทีที่แล้ว คำถามมหาเวทัลลสูตร //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=9220&Z=9419&bgc=papayawhip&pagebreak=0 ... 4:32 PM 5/25/2013 คำถามยาวมากขนาดนี้ รอสักหน่อยก่อน ขอเวลาอ่านทั้งหมดก่อนแล้วทยอยตอบ. ความคิดเห็นที่ 3-80 ฐานาฐานะ, 27 พฤษภาคม เวลา 09:26 น. GravityOfLove, 31 นาทีที่แล้ว คำถามมหาเวทัลลสูตร //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=9220&Z=9419&bgc=papayawhip&pagebreak=0 กรุณาอธิบายค่ะ 4:32 PM 5/25/2013 กรุณาอธิบายค่ะ ๑. ราคะอันทำประมาณ โทสะอันทำประมาณ โมหะอันทำประมาณ สันนิษฐานว่า เหมือนกับว่า มีบุคคลหลายคน นุ่งห่มผ้าประเภทเดียวกัน ว่าโดยลักษณะแล้ว จะยังไม่สามารถกำหนดได้ว่า บุคคลใดประเสริฐกว่ากัน เพราะยังไม่ได้กระทำบาปอะไร อันเป็นเครื่องประมาณได้. ต่อเมื่อมีเหตุการณ์หนึ่ง เช่น มีทรัพย์ 100 บาท ที่เจ้าของวางไว้ไม่ดี โดยอาจสามารถขโมยได้ บุคคลที่ 1 เห็นเป็นโอกาส จึงขโมย ข้อนี้กล่าวได้ว่า บุคคลที่ 1 มีทรัพย์ 100 บาทเป็นเครื่องประมาณของเขา คือ เพียง 100 บาทก็ทำอทินนาทานแล้ว บุคคลที่เหลือเห็นทรัพย์ 100 บาทแล้ว ก็เฉยอยู่ ไม่ทำอทินนาทาน บุคคลที่เหลือขโมยทรัพย์มีจำนวนเท่าใด กล่าวได้ว่า ทรัพย์จำนวนนั้น เป็นเครื่องประมาณของศีลข้อนี้ของเขา แต่ว่า ไม่ว่าทรัพย์จะมากเพียงใดก็ตาม ไม่อาจทำให้พระอริยบุคคล ทำอทินนาทานได้ กล่าวคือ ทรัพย์มากจนไม่มีประมาณ ก็ทำศีลของพระอริยบุคคล ให้ขาดไปไม่ได้ หรือกล่าวว่า ศีลของพระอริยบุคคล ไม่มีประมาณ. นี้เป็นตัวอย่าง ราคะเป็นเครื่องทำประมาณ โทสะเป็นเครื่องทำประมาณ เช่น บุคคลไม่ฆ่า เพราะถูกด่า ถูกตี เพียงเล็กน้อย เมื่อถูกด่ามากๆ บุคคลนั้น ก็ฆ่าบุคคลที่ด่า กล่าวได้ว่า การถูกด่า การถูกตี นั้นเป็นเครื่องประมาณของบุคคลนั้น คือศีลข้อ 1 ของเขามีประมาณเท่านั้นเป็นต้น. ๒. ปัญญาและสัมมาทิฏฐิสัมพันธ์กันอย่างไร คำสองคำนี้ เป็นไวพจน์กัน อาจใช้ต่างกันบ้าง เช่น โดยทั่วๆ ไป ใช้คำว่า ปัญญา องค์มรรค ใช้คำว่า สัมมาทิฏฐิ หรือในกรณีเทียบถูกผิด เช่น สัมมาทิฏฐิเป็นอย่างไร และมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างไร ๓. ตั้งแต่ย่อหน้านี้เป็นต้นไป ไม่เข้าใจเลยค่ะ ดูกรผู้มีอายุ นี้แลปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน ... << มีธรรมทั้งหมด ๔ ข้อ ทำไมไม่ตรัสถึง ธรรมที่ ๓ คะ (สุญญตาเจโตวิมุตติ) สรุป อรรถที่เหมือนกันคือ มีเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ (อันเป็นเลิศ) เหมือนกัน ละราคะ โทสะ โมหะ ได้เหมือนกัน ใช่ไหมคะ ตอบว่า ทำไมไม่ตรัสถึง แก้ไขเป็น ทำไมไม่กล่าวถึง อธิบายว่า ท่านพระมหาโกฏฐิกะถามว่า ดูกรผู้มีอายุ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณ เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิตธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น? ท่านพระมหาโกฏฐิกะถามว่า 4 อย่างนี้ มีพยัญชนะต่างกันเท่านั้น หรือว่า มีอรรถต่างกันด้วย. ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ที่มีอรรถต่างกันก็มี ที่มีอรรถเดียวกันก็มี คือ 1. เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณ ที่เป็นพรหมวิหาร 4 เช่น เมตตาเจโตวิมุตติเป็นต้น มีอรรถต่างกันกับ 3 อย่างที่เหลือ 2. เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ ที่เป็นอากิญจัญญายตน มีอรรถต่างกันกับ 3 อย่างที่เหลือ 3. เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง คือที่เป็นวิปัสสนา เพ่งอนัตตลักษณะ มีอรรถต่างกันกับ 3 อย่างที่เหลือ 4. บรรลุเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เพราะไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ อรรถกถาขยายความว่า พระเถระกล่าวหมายเอาการเข้าถึงอรหัตตผล. หรือ ผลสมาบัติของพระอรหันต์ 4 อย่างนี้ เรียกว่า พยัญชนะต่างกัน อรรถต่างกัน. ส่วนที่อรรถเหมือนกัน ก็คือ เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ของพระอรหันต์ คือไม่มีประมาณ คือทำลายราคะ โทสะ โมหะอันเป็นประมาณหมดสิ้นไป จึงไม่มีประมาณ พยัญชนะที่ 1. เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ของพระอรหันต์ ไม่มีเครื่องกังวลอะไรๆ จึงมีพยัญชนะว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ พยัญชนะที่ 2. เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ของพระอรหันต์ ว่างจากราคะ โทสะ โมหะ จึงมีพยัญชนะว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง พยัญชนะที่ 3. เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ของพระอรหันต์ ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ เครื่องทำนิมิต จึงมีพยัญชนะว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิตธรรม พยัญชนะที่ 4. ๔. ตั้งปัญหาขึ้นเอง เมื่อจะตัดสินเสียเอง << ตัดสินอะไรคะ //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=493#การถามนี้มี_๕_อย่าง ตอบว่า ตั้งคำถามขึ้นเอง แล้วก็แสดงคำตอบเอง ตัดสินอะไรคะ แสดงคำตอบของคำถามนั้นเอง คำถามข้อถัดไป รอก่อนครับ. ความคิดเห็นที่ 3-81 ฐานาฐานะ, 27 พฤษภาคม เวลา 10:30 น. ๕. กรุณาอธิบายค่ะ (ตั้งแต่นี่ ... ถึงนี่) แม้ในอินทรีย์สังยุต ก็ตรัสแต่สิ่งแบบโลกๆ และที่อยู่เหนือโลก [โลกุตตร] ... พระราชาเท่านั้นที่ทรงเที่ยวสั่งงานในพระราชวัง ฉะนั้น. บรรทัดแรก แสดงถึงการตรัส 2 อย่างของพระผู้มีพระภาค คือ สิ่งที่เป็นโลกิยและโลกุตตระ โดยยกตัวอย่างจากอินทรีย์สังยุตเป็นตัวอย่าง //84000.org/tipitaka/read/?index19 เนื้อความที่ยกมาแสดงก็คือ ทัฏฐัพพสูตร ว่าด้วยการเห็นอินทรีย์ ๕ ในธรรมต่างๆ //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=5127&Z=5141 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=852 ๖. กรุณาอธิบายค่ะ จริงอยู่ ท่านกล่าวถึงอารมณ์ที่เป็นสุข ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข ในที่นี้ ตามมหาลิสูตรนี้ว่า "มหาลิ ก็แลถ้ารูปนี้จะได้เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เป็นทุกข์ ถูกทุกข์ตกต้อง ถูกทุกข์เหยียบย่ำ สุขกล้ำกรายเข้ามาไม่ได้ ถ้าเป็นเสียแบบนี้ หมู่สัตว์ก็ไม่พึงกำหนัดหนักในรูป. มหาลิ ก็เพราะ เหตุที่รูปแล เป็นสุข ถูกสุขตกต้อง ถูกสุขเหยียบย่างเข้ามา ทุกข์กล้ำกรายเข้ามาไม่ได้ ฉะนั้น หมู่สัตว์จึงกำหนัดหนักในรูป เพราะกำหนัดหนัก จึงประกอบจนติด, เพราะประกอบจนติด จึงแปดเปื้อน. ก็แล ถ้าเวทนานี้ ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขารทั้งหลาย ฯลฯ มหาลิ ก็แล ถ้าวิญญาณ นี้จะได้เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว ฯลฯ จึงแปดเปื้อน." ด้วยประการฉะนี้. อธิบายว่า อรรถกถาอธิบายคำว่า อารมณ์ที่เป็นสุข หรืออารมณ์ที่น่าใคร่ น่าปรารถนา โดยยกมหาลิสูตร มาแสดง มหาลิสูตร ว่าด้วยเหตุปัจจัยแห่งความบริสุทธิ์ //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=1536&Z=1561 โดยนัยนี้ ไม่ใช่สุขเวทนา แต่ย่อหน้าถัดไปกล่าวโดยนัยของเวทนา. ๗. ถึงแม้จะเป็นเช่นนี้ ก็พึงกำหนดไว้ว่า ท่านหมายเอาแต่ความจำได้หมายรู้ ที่เกิดพร้อมกับความพิจารณาไตร่ตรองที่เป็นไปในภูมิทั้งสามเท่านั้น << เมื่อกล่าวถึงภูมิ ๓ (กามภพ รูปภพ อรูปภพ) นัยคือ (ความจำได้หมายรู้) เป็นไปในทางโลกๆ หรือคะ ตอบว่า คำว่า ทางโลกๆ นี้กินความกว้าง คือโลกียทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะอย่างผู้ครองเรือนเท่านั้น แม้นักบวชนอกศาสนา ก็เป็นโลกียทั้งหมด. คำว่า ถึงแม้จะเป็นเช่นนี้ ก็พึงกำหนดไว้ว่า ท่านหมายเอาแต่ความจำได้หมายรู้ ที่เกิดพร้อมกับความพิจารณาไตร่ตรองที่เป็นไปในภูมิทั้งสามเท่านั้น. น่าจะหมายถึงการพิจารณาด้วยวิปัสสนาในภูมิทั้งสาม เช่นการพิจารณาว่า ภูมิ ๓ ได้รูปขันธ์หรือนามขันธ์ในภูมินั้นว่า ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เพราะทนอยู่ในสภาพนั้นๆ ไม่ได้. ๘. กรุณาอธิบายค่ะ ทำไม ท่านจึงไม่ถือเอาความรู้ชัดที่ถือเอาสิ่งทั้งสามนี้ คือ ความรู้สึก ความรู้จำ ความรู้แจ้ง ในบทเหล่านี้ว่า "ผู้มีอายุ ก็แลความรู้สึก" ความรู้จำ ความรู้แจ้งอันใดด้วยเล่า "เพราะไม่ใช่เป็นการรวบรวมเอามาทั้งหมด." จริงอยู่ เมื่อถือเอาด้วยความรู้ชัด ความรู้สึกเป็นต้นที่ประกอบด้วยความรู้ชัด [ปญฺญาสมฺปยุตฺตเวทนาทโย] จึงจะได้ ที่ไม่ประกอบ [วิปฺปยุตฺตา] หาได้ไม่. แต่เมื่อไม่ถือเอาความรู้ชัดนั้น, เมื่อสิ่งเหล่านั้นได้รับการถือเอาแล้ว. ความรู้สึกเป็นต้นทั้งที่ประกอบด้วยความรู้ชัดทั้งที่ไม่ประกอบ ชั้นที่สุดแม้แต่สิ่งที่ทำหน้าที่รู้แจ้งทั้ง ๑๐ ดวง [เทฺว ปญฺจวิญฺญาณธมฺมา] ก็เป็นอันได้ด้วย. เนื้อความเป็นคำถาม ซึ่งไม่ค่อยเข้าใจนัก จริงอยู่ ... คำนี้ขยายความถึง ความรู้สึก ความรู้จำ ความรู้แจ้ง หรือ เวทนา สัญญา วิญญาณ ที่มีปัญญา (ความรู้ชัด) ร่วมด้วย หรือที่ใช้คำว่า ปญฺญาสมฺปยุตฺตเวทนาทโย หากไม่มีปัญญาร่วมด้วย จะไม่ได้ตามนัยนี้. หากไม่ถือเอาการที่ปัญญาร่วมด้วย จิตหรือวิญญาณ ทั้งหมดก็เป็นอันนับโดยนัยที่ไม่คำนึงว่า ปัญญาจะร่วมด้วยหรือไม่ โดยที่สุด แม้ เทฺว ปญฺจวิญฺญาณธมฺมา 10 ดวง สันนิษฐานว่า เทฺว ปญฺจวิญฺญาณธมฺมา 10 ดวง คือ จักษุวิญญาณ ... กายวิญญาณ 5 ดวง อันเป็นกุศลวิบาก รวมกันจักษุวิญญาณ ... กายวิญญาณ อีก 5 ดวง อันเป็นอกุศลวิบาก. ๙. จิตและเจตสิก เช่น รู้จำ (สัญญาเจตสิก) รู้แจ้ง (วิญญาณ / จิต) รู้ชัด (ปัญญาเจตสิก) จำแนกออกจากกันยาก เหมือนแยกน้ำมัน ๕ ชนิดที่ผสมกัน หรือเหมือนแยกน้ำจากแม่น้ำสายต่างๆ ที่ไหลมารวมกัน ข้อ 9 นี้ เปรยหรืออย่างไรหนอ? นามขันธ์ที่เกิดและดับอยู่นี้ เกิดและดับเร็วมาก ทั้งไม่ได้ทิ้งร่องรอยอะไรไว้ การที่จะบัญญัติว่า นี้คือสิ่งที่ทำหน้าที่กระทบ นี้คือสิ่งที่ทำหน้าที่รู้สึก นี้คือสิ่งที่ทำหน้าที่รู้จำ นี้คือสิ่งที่ทำหน้าที่จงใจ นี้คือสิ่งที่ทำหน้าที่คิด ยากยิ่งกว่าแยกน้ำจากแม่น้ำสายต่างๆ เพราะน้ำในแม่น้ำ ยังเห็นๆ อยู่ ทั้งอาจมีสีหรือกลิ่นที่พอให้แยกออกได้. ความคิดเห็นที่ 3-82 GravityOfLove, 27 พฤษภาคม เวลา 12:42 น. ข้อ 9 นี้ เปรยหรืออย่างไรหนอ? จำไม่ได้ค่ะ ขออ่านทบทวนก่อน ย้ายไปที่ |
แก้วมณีโชติรส
Rss Feed Smember ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?] Group Blog
All Blog
Link |
||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |
เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
๑. ธรรมเทศนาที่ยกพระธรรมเป็นที่ตั้ง (ธัมมาธิษฐาน)
๒. บุคคลเทศนาที่ยกพระธรรมเป็นที่ตั้ง (ธัมมาธิษฐาน) << สาเลยยกสูตร
๓. บุคคลเทศนาที่ยกบุคคลเป็นที่ตั้ง (บุคคลาธิษฐาน) << เวรัญชกสูตร
๔. พระธรรมเทศนาที่ยกบุคคลเป็นที่ตั้ง (บุคคลาธิษฐาน)