13.7 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
13.6 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.

คห ๖-๔๒ ฐานาฐานะ, 16 กุมภาพันธ์ เวลา 00:13 น.
GravityOfLove, 5 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า จูฬทุกขักขันธสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3014&Z=3184

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ถ้าละ โลภะ โทสะ โมหะ ได้เด็ดขาดแล้ว ก็ไม่พึงอยู่ครองเรือน ไม่พึงบริโภคกาม      
             ๒. พวกที่เข้าใจว่าการบำเพ็ญตบะด้วยการทรมานกาย (เช่น ยืนเป็นวัตร) จะสามารถ
ทำให้กรรมเก่าสิ้นสุดได้ ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับกรรมเลย เช่น เมื่อก่อน เราทั้งหลายได้มีแล้ว
ไม่ใช่ไม่ได้มีแล้ว (คำถามที่พระองค์ตรัสถาม ๕ ข้อ)
             ๓. พระเจ้าพี่ของพระอนุรุทธเถระ ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าอาของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
เจ้าทั้ง ๕ พระองค์นี้ คือ พระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้าสุกโกทนะ พระเจ้าสักโกทนะ พระเจ้าโธโตทนะ พระเจ้าอมิโตทนะ
ทรงเป็นพระเจ้าพี่พระเจ้าน้อง พระเทวีพระนามว่าอมิตาทรงเป็นพระภคินีของพระเจ้าเหล่านั้น
             พระติสสเถระเป็นบุตรของพระนางอมิตานั้น พระตถาคตและพระนันทเถระเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ
พระเจ้ามหานามะและพระอนุรุทธเถระเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ พระอานันทเถระเป็นพระโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ
พระอานนทเถระนั้นเป็นพระกนิษฐ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระเจ้ามหานามะทรงแก่กว่า เป็นสกทาคามีอริยสาวก
             ๔. พระอริยสาวกเกิดความสงสัยในสิ่งที่ยังละไม่ได้เพราะความเป็นผู้ไม่ฉลาดในบัญญัต
คือ ยังพิจารณาอย่างไม่สมบูรณ์ว่า กิเลสใดถูกฆ่าด้วยมรรคใด

             ตอบได้ดีครับ แต่เหตุหรือทิฏฐิที่ทำให้พวกนิครนถ์ทรมานตนเองให้ลำบากเปล่า
ก็ควรกล่าวถึงด้วย.
             บัญญัต >> บัญญัติ
----------------------------------------------------------------
             2. อะไรเป็นอนุสนธิ บทเชื่อมไปเรื่องทรงปรารภพวกนิครนถ์ที่ถือการยืนเป็นวัตร
             ได้ทรงแสดงคุณและโทษของกามแล้ว แต่ยังไม่ได้แสดงการสลัดออกซึ่งกาม
             จะทรงจะแสดงการสลัดออกซึ่งกาม อันไม่ใช่ได้ด้วยวิธีการสุดโต่งอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พัวพันความสุขในกามอย่างที่สุด หรือ ทรมานตนให้ลำบากที่สุด (เช่น การถือการยืนเป็นวัตร)

             เฉลยว่า ถูกต้องครับ อรรถกถาแสดงว่า
             เพราะเหตุไร จึงทรงปรารภว่า ดูก่อนมหานาม ในสมัยหนึ่ง เรา ดังนี้.
             เพราะมีอนุสนธิเป็นแผนกดังนี้.
             ทรงแสดงความยินดีบ้าง อาทีนพบ้างแห่งกามทั้งหลายในเบื้องต่ำ ไม่ได้ตรัสถึงความสลัดออก
ทรงปรารภเทศนานี้เพื่อทรงแสดงถึงความสลัดออกนั้น เพราะการประกอบตนให้พัวพันกับสุขในกาม
เป็นที่สุดอันหนึ่ง การประกอบตนให้ลำบากเป็นที่สุดอันหนึ่ง ศาสนาของเราพ้นจากที่สุดเหล่านี้
เพราะฉะนั้น จึงทรงปรารภเทศนานี้ แม้เพื่อทรงแสดงศาสนาทั้งสิ้น ด้วยหัวข้อแห่งผลสมาบัติชั้นสูง.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=209
----------------------------------------------------------------
             3. คำว่า อิสิคิลิ แปลว่า อะไร? หรือมีที่มาอย่างไร?
คำศัพท์ที่ค้นหา อิสิ
ผลการค้นหาพบคำแปลทั้งหมด 1 ศัพท์
คำศัพท์ที่พบ (ศัพท์ที่ 1) :
คำอ่าน (ภาษาบาลี) : อิ-สิ
คำแปลที่พบ : คนผู้แสดง, นักบวช, พระพุทธเจ้าผู้แสวง

คิลิโต
คำอ่าน (ภาษาบาลี) : คิ-ลิ-โต
คำแปลที่พบ : กลืนแล้ว
//www.mahamodo.com/buddict/buddict_pali.asp

             บทว่า อิสิคิลิปสฺเส มีความว่า ภูเขาชื่ออิสิคิลิ ที่ข้างภูเขานั้น.
             ได้ยินว่า ครั้งดึกดำบรรพ์ พระปัจเจกพุทธเจ้าประมาณ ๕๐๐ องค์ เที่ยวไปบิณฑบาตในชนบททั้งหลาย
มีกาสีและโกสลเป็นต้น เวลาภายหลังภัตประชุมกันที่ภูเขานั้น ยังกาลให้ล่วงไปด้วยสมาบัติ. มนุษย์ทั้งหลาย
เห็นท่านเข้าไปเท่านั้น ไม่เห็นออก เพราะเหตุนั้นจึงพูดกันว่า ภูเขานี้กลืนพระฤาษีเหล่านี้. เพราะอาศัยเหตุนั้น
ชื่อภูเขานั้นจึงเกิดขึ้นว่า อิสิคิลิ ทีเดียว. ที่ข้างภูเขานั้นคือ ที่เชิงบรรพต.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=209

             ตอบว่า แปลว่า กลืนนักบวช
             ที่มา ตามอรรถกถาด้านบนค่ะ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=209

             เฉลยว่า ตอบได้ถูกต้อง แต่ควรชัดเจนว่า กลืนฤาษี.
             แต่ว่า url ประกอบคำตอบไม่ถูกต้อง.
             url ประกอบคำตอบควรเป็น
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=79&p=1

             คำถามนี้ ผมตั้งใจถามเพื่อตรวจสอบว่า
             คุณ GravityOfLove ได้อ่านลิงค์ที่มีในอรรถกถาหรือไม่?
             กล่าวคือ อรรถกถาแสดงไว้ว่า
             บทว่า อิสิคิลิปสฺเส ได้แก่ ข้างภูเขาอิสิคิลิ.
             โดยมีลิงค์เชื่อมไปที่พระสูตรชื่อว่าอิสิคิลิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=3647&Z=3723
             ผลการตรวจสอบ ปรากฏว่า
             พระสูตรนี้ คุณ GravityOfLove ไม่ได้อ่านลิงค์ที่มีในอรรถกถา.

             อิสิคิลิสูตร [บางส่วน]
             [๒๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระปัจเจกพุทธ ๕๐๐ องค์
ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานาน พระปัจเจกพุทธเหล่านั้น เมื่อกำลังเข้าไปสู่
ภูเขานี้ คนแลเห็น แต่ท่านเข้าไปแล้ว คนไม่แลเห็น มนุษย์ทั้งหลายเห็นเหตุ
ดังนี้นั้น จึงพูดกันอย่างนี้ว่า ภูเขาลูกนี้ กลืนกินฤาษีเหล่านี้ ชื่อว่า อิสิคิลิ นี้แล
จึงได้เกิดขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักบอก จักระบุ จักแสดงชื่อของพระปัจเจก
พุทธทั้งหลาย พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูล
รับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=3647&Z=3723#249


คห ๖-๔๓ GravityOfLove16 กุมภาพันธ์ เวลา 00:18 น.
พระสูตรนี้ คุณ GravityOfLove ไม่ได้อ่านลิงค์ที่มีในอรรถกถา.

ไม่ได้คลิกเลยค่ะ เห็นตัวอักษรเป็นสีสวยดี ไม่ได้คิดอะไร


คห ๖-๔๔ ฐานาฐานะ16 กุมภาพันธ์ เวลา 00:24 น.
            ไม่ได้คลิกเลยค่ะ เห็นตัวอักษรเป็นสีสวยดี ไม่ได้คิดอะไร
             แปลว่า ไม่รู้ว่า มีลิงค์อยู่หรือ? (จนกระทั่งวันนี้)



คห ๖-๔๕ GravityOfLove16 กุมภาพันธ์ เวลา 00:31 น.
คิดว่าไม่เคยคลิกเลยค่ะ จำไม่ได้ค่ะว่าเคยคลิกลักษณะนี้เหรือเปล่า
อ้อ จำได้แล้วค่ะ เคยเอาเมาส์มาชี้ แล้วจะขึ้นตัวอักษรเล็กๆ ดูเหมือนเป็นการอธิบาย
เพิ่มเติม ไม่ได้เปลี่ยนหน้าไปที่อื่น
หลังจากนั้นก็เลยไม่ค่อยสนใจอะไร

ความคิดเห็นที่ 6-46
ฐานาฐานะ, 16 กุมภาพันธ์ เวลา 00:37 น.

             เป็นอันว่า ดีแล้วที่ตั้งคำถามเพื่อตรวจสอบ ทำให้
คุณ GravityOfLove ได้รู้ว่า มีลิงค์เชื่อมไปยังเนื้อความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
             ผมจำได้ว่า เคยบอกว่า อ่านอรรถกถาจาก 84000
จะมีลิงค์ไปส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแตกต่างจากอ่านจะโปรแกรม.
             คุณ GravityOfLove จำได้ไหมว่า ผมเคยบอก.

คห ๖-๔๗ GravityOfLove, 16 กุมภาพันธ์ เวลา 00:39 น.
จำได้ค่ะ คิดว่าหมายถึงลิงค์ตรงบรรทัดล่างๆ ที่เ็ป็นอักษรย่อนิกาย ฯ

ความคิดเห็นที่ 6-48
ฐานาฐานะ, 16 กุมภาพันธ์ เวลา 00:45 น.  

             รับทราบครับ คุ้มค่ามากที่ตั้งคำถามข้อนี้.

ความคิดเห็นที่ 6-49
GravityOfLove, 16 กุมภาพันธ์ เวลา 00:46 น.

คุ้มค่ามากที่ตั้งคำถามข้อนี้.

ขนาดนั้นเลย ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-50
ฐานาฐานะ, 16 กุมภาพันธ์ เวลา 00:53 น.   

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า จูฬทุกขักขันธสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=3014&Z=3184

             พระสูตรหลักถัดไป คืออนุมานสูตรและเจโตขีลสูตร
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             อนุมานสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=3185&Z=3448
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=221

             เจโตขีลสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3449&Z=3630
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=226

ความคิดเห็นที่ 6-51
GravityOfLove, 16 กุมภาพันธ์ เวลา 01:33 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๒. สีหนาทวรรค          
             ๕. อนุมานสูตร ว่าด้วยความคาดหมาย
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3185&Z=3448&pagebreak=0&bgc=aliceblue

             สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะพำนักอยู่ ณ เภสกฬาวัน อันเป็นสถานที่ให้อภัยแก่เนื้อ
ตำบลสุงสุมารคิระ ภัคคชนบท
             ณ ที่นั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า
             ถ้าภิกษุปวารณาว่า ขอท่านจงว่ากล่าวข้าพเจ้าได้ แต่ภิกษุนั้นเป็นคนว่ายาก มีธรรมที่ทำให้
เป็นคนว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ
             เมื่อเป็นเช่นนี้ เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายย่อมเข้าใจภิกษุนั้นว่า เป็นผู้ไม่ควรว่ากล่าว ไม่ควร
พร่ำสอนและไม่ควรไว้วางใจ
             ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
             ๑. เป็นผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป (ปรารถนาลามก) ตกอยู่ในอำนาจ (ลุอำนาจ) แห่งความ
ปรารถนาที่เป็นบาป
             ๒. เป็นผู้ยกตน ข่มผู้อื่น
             ๓. เป็นผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำแล้ว
             ๔. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุ
             ๕. เป็นผู้มักโกรธ มักระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุ
             ๖. เป็นผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ
             ๗. ถูกโจทแล้วกลับโต้เถียงโจทก์
             ๘. ถูกโจทแล้วกลับรุกรานโจทก์
             ๙. ถูกโจทแล้วกลับปรักปรำโจทก์
             ๑๐. ถูกโจทแล้ว กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย
และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ
             ๑๑. ถูกโจทแล้วไม่ยอมอธิบายพฤติกรรม (ของตน)
             ๑๒. เป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ
             ๑๓. เป็นผู้ริษยา ตระหนี่
             ๑๔. เป็นผู้โอ้อวด เจ้ามายา
             ๑๕. เป็นผู้กระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น
             ๑๖. เป็นผู้ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น ถอนได้ยาก
             คำว่า โจท, โจทก์
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โจท

             แม้ภิกษุไม่ได้ปวารณาไว้ว่า ขอท่านจงว่ากล่าวข้าพเจ้าได้ แต่ภิกษุนั้นเป็นคนว่าง่าย
มีธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย อดทน รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ
             เมื่อเป็นเช่นนี้ เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายย่อมเข้าใจภิกษุนั้นว่า เป็นผู้ควรว่ากล่าว ควรพร่ำสอน
และควรไว้วางใจ
             ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
             (ตรงกันข้ามกับ ๑๖ ข้อข้างบน)

             เทียบเคียงตนด้วยตนเอง
             ในธรรม ๑๖ ประการนั้น ภิกษุควรเทียบเคียงตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า
             ๑. บุคคลผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาป
ย่อมไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของเรา
             ถ้าเราเป็นเช่นนั้น เราก็คงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น
             เมื่อรู้อย่างนี้ ควรคิดว่า เราจะไม่เป็นเช่นนั้น
             ...
             ๑๖.บุคคลผู้ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น ถอนได้ยาก ย่อมไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของเรา
             ถ้าเราเป็นเช่นนั้น เราก็คงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น
             เมื่อรู้อย่างนี้ ควรคิดว่า เราจะไม่เป็นเช่นนั้น

             พิจารณาตนด้วยตนเอง
             ในธรรม ๑๖ ประการนั้น ภิกษุควรพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า
             ๑. เราเป็นผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาปหรือไม่
             ถ้าจริง ควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย
             ถ้าไม่จริง ควรอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์ หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย
             ...
             ๑๖. เราเป็นผู้ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น ถอนได้ยากหรือไม่
             ถ้าจริง ควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย
             ถ้าไม่จริง ควรอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์ หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

             หากภิกษุพิจารณาอยู่ เห็นชัดอกุศลธรรมเหล่านี้ทั้งหมดที่ยังละไม่ได้ในตน ภิกษุนั้นก็ควร
พยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมทั้งหมดเหล่านั้น
             หากพิจารณาอยู่ เห็นชัดอกุศลธรรมทั้งหมดเหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน ภิกษุนั้นควรอยู่ด้วย
ปีติและปราโมทย์ หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

             อุปมาเหมือนสตรีหรือบุรุษแรกรุ่นชอบแต่งตัว ส่องดูใบหน้าของตนในกระจกเงา ถ้าพบธุลี
หรือสิวที่ใบหน้านั้น ย่อมพยายามที่จะกำจัดธุลีหรือสิวนั้น
             หากไม่พบก็จะพอใจว่า เป็นลาภของเราหนอ ใบหน้าของเราบริสุทธิ์สะอาด ฉันใด
             ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าพิจารณาอยู่ย่อมเห็นชัดบาปอกุศลธรรมเหล่านี้ที่ยังละไม่ได้ในตน
ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมทั้งหมดนั้นเสีย
             ถ้าภิกษุพิจารณาแล้วเห็นชัดบาปอกุศลธรรมทั้งหมดเหล่านี้ที่ละได้แล้วในตน  ภิกษุนั้นควร
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์ หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืนในกุศลธรรมทั้งหลาย ฉันนั้น

             ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว
             ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระมหาโมคคัลลานะ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อนุมาน

[แก้ไขตาม คห ๕๒]

ความคิดเห็นที่ 6-52
ฐานาฐานะ, 19 กุมภาพันธ์ เวลา 19:27 น.  

GravityOfLove, วันเสาร์ เวลา 01:33 น.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๒. สีหนาทวรรค
             ๕. อนุมานสูตร ว่าด้วยความคาดหมาย
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3185&Z=3448&pagebreak=0&bgc=aliceblue
...
1:32 AM 2/16/2013
             ย่อความได้ดี รวบรวมประเด็นได้ครบถ้วน
             ติงเล็กน้อยว่า คำว่า โชค ควรแก้ไขเป็นคำว่า ลาภ (ตามเดิม)
             หากไม่พบก็จะพอใจว่า เป็นโชคของเราจริงๆ ใบหน้าของเราบริสุทธิ์สะอาด ฉันใด
ควรแก้ไขเป็น
             หากไม่พบก็จะพอใจว่า เป็นลาภของเราหนอ ใบหน้าของเราบริสุทธิ์สะอาด ฉันใด

             ลาภ ของที่ได้, การได้; ดู โลกธรรม
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ลาภ
             โชค น. สิ่งที่นําผลมาให้โดยคาดหมายได้ยาก เช่น โชคดี โชคร้าย,
มักนิยมใช้ในทางดี เช่น นายแดงเป็นคนมีโชค.
//rirs3.royin.go.th/dictionary.asp

ความคิดเห็นที่ 6-53
ฐานาฐานะ, 19 กุมภาพันธ์ เวลา 19:38 น.  

             คำถามในพระสูตรชื่อว่า อนุมานสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3185&Z=3448

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. อนุมานสูตร ประกอบด้วยข้อ 221 ถึง 225
             คำว่า อนุมาน (ชื่อพระสูตร) ในภาษาบาลี อยู่ในข้อใด?
และในข้อนั้น คำว่า อนุมาน (ชื่อพระสูตร) ว่าอย่างไร?
             3. ในอกุศลธรรม 16 ข้อ คุณ GravityOfLove เห็นว่า
ข้อใดที่ตนเองมีมากที่สุด และข้อใดที่ตนเองมีน้อยที่สุด
(อย่างน้อยอย่างละ 1 ข้อ)


ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=13-03-2013&group=1&gblog=10



Create Date : 13 มีนาคม 2556
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 9:39:03 น.
Counter : 655 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
15
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
13 มีนาคม 2556
All Blog