13.5 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
13.4 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.

คห ๖-๒๑ GravityOfLove, 12 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 08:51 น.
             คำถามต่อเนื่องว่า วาทะทั้ง 6 ของเดียรถีย์ในสามัญญผลสูตรนั้น
             วาทะใดหรือวาทะของผู้ใด เป็นโทษต่อสัตว์ทั้งหลาย มากที่สุด.

             ตอบว่าวาทะของมักขลิ โคศาล
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
             อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
             เกสกัมพลสูตร
             [๕๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผ้ากัมพลที่ทำด้วยผมมนุษย์ บัณฑิต
กล่าวว่าเลวกว่าผ้าที่ช่างหูกทอแล้วทุกชนิด ผ้ากัมพลที่ทำด้วยผมมนุษย์ในฤดูหนาว
ก็เย็น ในฤดูร้อนก็ร้อน สีน่าเกลียด กลิ่นเหม็น สัมผัสไม่สบาย แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วาทะของเจ้าลัทธิชื่อว่ามักขลิ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บัณฑิต
กล่าวว่าเลวกว่าวาทะของสมณะทุกพวก ...
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=7534&Z=7553
--------------------------------------
ทบทวน สามัญญผลสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=09&A=1072&Z=1919

ศาสดาปูรณะ กัสสป : เมื่อบุคคลทำบุญหรือทำบาปเอง หรือใช้ผู้อื่นให้ทำบุญหรือทำบาป ก็ไม่มีผลของการทำบุญหรือทำบาปนั้นแก่เขา

ศาสดามักขลิ โคศาล : ความเป็นอยู่หรือเป็นไปของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ย่อมเป็นไปเอง ไม่อยู่ในวิสัยที่จะทำให้เป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แม้การที่จะบรรลุถึงความบริสุทธิ์พ้นทุกข์สิ้นเชิง ในวัฏสงสารนี้ก็เป็นไปเอง มิใช่ด้วยการกระทำใดๆ เป็นเหตุ << วาทะเลวที่สุด
เป็นอันตรายที่สุดต่อสรรพสัตว์มากที่สุด
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/12/Y11442477/Y11442477.html#239

ศาสดาอชิตะ เกสกัมพล : ผลกรรมไม่มี โลกนี้โลกหน้าไม่มี การรู้แจ้งไม่มี บุคคลและสัตว์ไม่มี เป็นเพียงธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ มารวมกัน ตายแล้วขาดสูญ

ศาสดาปกุธะ กัจจายนะ : สภาวะ ๗ กอง คือ กองดิน กองน้ำ กองไฟ กองลม สุข ทุกข์ ชีวะ นี้ ไม่มีใครทำหรือเนรมิต มีอยู่ยั่งยืนไม่แปรปรวน ไม่มีผู้กระทำการใด ๆ ต่อกัน แม้การเอามีดตัดศีรษะกันก็ไม่มีผู้ใดฆ่าใคร เป็นแต่เอามีดผ่านช่องระหว่างสภาวะ ๗ กองนี้เท่านั้น

ศาสดานิครนถ์ นาฏบุตร : นิครนถ์เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ คือ เป็นผู้ห้ามน้ำทั้งปวง ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยน้ำทั้งปวง ๑ เป็นผู้กำจัดด้วยน้ำทั้งปวง ๑ เป็นผู้ประพรมด้วยน้ำทั้งปวง ๑ จึงเป็นผู้ถึงที่สุด สำรวมและตั้งมั่นแล้ว  (นิครนถ์ = นักบวชนอกพระพุทธศาสนา ที่เป็นสาวกของนิครนถนาฏบุตร, นักบวชในศาสนาเชน)

ศาสดาสญชัย เวลัฏฐบุตร : ถ้าถามปัญหาว่า ข้อนั้นเป็นอย่างนั้นหรือ หากหม่อมฉันเห็นว่าเป็นอย่างนั้น ก็จะตอบว่าเป็นอย่างนั้น แต่หม่อมฉันไม่มีความเห็นตายตัวเช่นนั้น หม่อมฉันมีความเห็นว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ไช่ก็มิใช่  << โง่ งมงายกว่าเขาทั้งหมด
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=09.0&i=91&p=1

คห ๖-๒๒ GravityOfLove, 12 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 08:56 น.
ทำไมวาทะของ อชิตะ เกสกัมพล ไม่ถูกพิจารณาด้วยว่า
เลวที่สุด เป็นอันตรายต่อสรรพสัตว์มากที่สุด เพราะก็คล้ายๆ กัน

คห ๖-๒๓ ฐานาฐานะ, 12 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13:11 น.
GravityOfLove, 4 ชั่วโมงที่แล้ว
             คำถามต่อเนื่องว่า วาทะทั้ง 6 ของเดียรถีย์ในสามัญญผลสูตรนั้น
             วาทะใดหรือวาทะของผู้ใด เป็นโทษต่อสัตว์ทั้งหลาย มากที่สุด.
             ตอบว่า วาทะของมักขลิ โคศาล
             เฉลยว่า ถูกต้องครับ วาทะของมักขลิ โคศาล เป็นโทษต่อสัตว์ทั้งหลาย มากที่สุด.

GravityOfLove, 4 ชั่วโมงที่แล้ว
ทำไมวาทะของ อชิตะ เกสกัมพล ไม่ถูกพิจารณาด้วยว่า
เลวที่สุด เป็นอันตรายต่อสรรพสัตว์มากที่สุด เพราะก็คล้ายๆ กัน

             ตอบว่า สันนิษฐานว่า วาทะว่า กรรมไม่มี กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี
เป็นการคัดค้านพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรง
             ใครเห็นตามวาทะนั้น ก็เป็นอันหมดกำลังที่จะพยายามให้หลุดพ้น
จากทุกข์ กล่าวคือไม่ได้ประโยชน์จากการอุบัติของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.
             เรื่องที่วาทะของ อชิตะ เกสกัมพล แม้จะคล้ายๆ กัน แต่วาทะใด
เลวกว่าวาทะใด เป็นเรื่องละเอียดมาก ดังนั้น เมื่อมีพระพุทธพจน์ชัดเจนแล้ว
ก็ถือเอาตามนั้น.

             เกสกัมพลสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=7534&Z=7553

คห ๖-๒๔ GravityOfLove, 12 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13:21 น.
ขอบพระคุณค่ะ

คห ๖-๒๕ ฐานาฐานะ, 12 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 14:10 น.
             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มหาสีหนาทสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=2296&Z=2783

             พระสูตรหลักถัดไป คือมหาทุกขักขันธสูตรและจูฬทุกขักขันธสูตร.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             มหาทุกขักขันธสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=2784&Z=3013
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=194

             จูฬทุกขักขันธสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=3014&Z=3184
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=209

             อนุมานสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=3185&Z=3448
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=221

คห ๖-๒๖ GravityOfLove, 12 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 14:50 น.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๒. สีหนาทวรรค          
             ๓. มหาทุกขักขันธสูตร ว่าด้วยกองทุกข์ใหญ่
             เรื่องอัญญเดียรถีย์
//84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=2784&Z=3013&bgc=seashell&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี
             ภิกษุจำนวนมากที่จะเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถีคิดว่ายังเช้าอยู่ จึงพากันไป
ยังอารามของอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
             อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกับหมู่ภิกษุนั้นว่า
             พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้กามทั้งหลาย
แม้พวกเราก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้กามทั้งหลาย
             พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้รูปทั้งหลาย
แม้พวกเราก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้รูปทั้งหลาย
             พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้เวทนาทั้งหลาย
แม้พวกเราก็บัญญัติการละเวทนาทั้งหลาย
             แล้วในเรื่องนี้่มีความแตกต่างกันอย่างไร มีความมุ่งหมายอย่างไร และมีการปฏิบัติ
ต่างกันอย่างไร เช่น การแสดงธรรมกับการแสดงธรรม หรืออนุสาสนีกับอนุสาสนี  
             ภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
ครั้นแล้วลุกจากที่นั่งหลีกไปด้วยคิดว่า เราจักทราบข้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของ
พระผู้มีพระภาค.
             ภิกษุเหล่านั้นหลังจากบิณฑบาตและฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ได้เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเพื่อทูลเล่าให้ฟัง
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พึงตอบว่า
             อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการสลัดออก (ถ่ายถอน) ไปจากกามทั้งหลาย
... จากรูปทั้งหลาย ... จากเวทนาทั้งหลาย
             พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อถูกถามอย่างนี้จะโกรธเพราะตอบไม่ได้
             ในโลก เทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ สมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์
ผู้ที่จะตอบคำถามนี้ได้ ก็มีแต่พระองค์ สาวกของพระองค์ หรือบุคคลฟังคำสั่งสอนของพระองค์
เท่านั้น

คุณ โทษ และการสลัดออกจากกามทั้งหลาย
คุณแห่งกามทั้งหลาย (กามคุณ ๕ ) คือ
             ๑. รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
             ๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ...
             ๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ...
             ๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
             ๕. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ ประกอบ
ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
             สุข โสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕  เรียกว่า คุณของกาม

โทษแห่งกามทั้งหลาย คือ
             ๑. การเลี้ยงชีวิตด้วยศิลปะ (เช่น การค้าขาย) การอดทนต่อความร้อนหนาว
และตายเพราะความหิว
             เพราะถ้าเขาขยันแต่ไม่สามารถทำโภคสมบัติให้เกิดได้ ย่อมเศร้าโศก หลงเลือนว่า
ความขยันของเราไม่เป็นผล
             หรือถ้าความขยันของเขาเป็นผล ได้โภคทรัพย์มา เขาก็เป็นทุกข์ โทมนัส ในการ
รักษาโภคทรัพย์นั้น ด้วยกลัวจะถูกพระราชาริบสมบัติ กลัวโจรมาปล้น ถูกไฟไหม้ ถูกน้ำพัดไป
กลัวทายาทที่ไม่เป็นที่รักแย่งเอาไป
             เมื่อพยายามรักษาอยู่นั้น โภคทรัพย์นั้นก็ถูกพระราชาริบสมบัติ ... แย่งเอาไป
             เมื่อเป็นดังนั้นแล้วก็จะหลงเลือนว่า สิ่งใดเคยเป็นของเรา บัดนี้สิ่งนั้นก็ไม่เป็นของเรา
             นี่คือโทษแห่งกามทั้งลาย เป็นกองทุกข์ที่พึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ
มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด
             ๒. พระราชาทรงวิวาทกับพระราชาก็ได้ ฯลฯ สหายวิวาทกับสหายก็ได้ ชนเหล่านั้น
ก่อการทะเลาะ แก่งแย่ง วิวาท ทำร้ายกันและกันจนตาย หรือทุกข์ปางตาย
             นี่คือโทษแห่งกามทั้งหลาย ...
             ๓. ชนทั้งหลายจับอาวุธเข้าสู่สงคราม ปะทะกันทั้ง ๒ ฝ่าย จนถึงความตายบ้าง
ทุกข์ปางตายบ้าง
             นี่คือโทษแห่งกามทั้งหลาย ...
             ๔. ชนทั้งหลายตัดช่องย่องบ้าง ขโมยบ้าง ละเมิดภรรยาผู้อื่นบ้าง พระราชาก็รับสั่ง
ให้จับเขาลงอาญาด้วยประการต่างๆ  (เช่น ให้นอนบนหลาวทั้งเป็น) จนตายหรือทุกข์ปางตาย
             นี่คือโทษแห่งกามทั้งหลาย ...
             ๕. ชนทั้งหลายประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต หลังจากตายแล้วย่อม
ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
             นี่คือโทษแห่งกามทั้งหลาย ...

การสลัดออกจากกามทั้งหลาย
             คือ การกำจัดฉันทราคะ (นิพพาน)
             สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งไม่รู้ชัดคุณแห่งกามทั้งหลายว่า เป็นคุณ
ไม่รู้ชัดโทษแห่งกามทั้งหลายว่า เป็นโทษ และไม่รู้ชัดการสลัดออกจากกามทั้งหลายว่า
เป็นการสลัดออกไปตามความเป็นจริง
             จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาเหล่านั้นจะรอบรู้กามทั้งหลายเอง หรือชักชวนผู้อื่น
เพื่อให้รู้อย่างนั้นและผู้ปฏิบัติแล้วก็จะรอบรู้กามทั้งหลายได้
             ส่วนสมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งรู้ชัดถึงคุณ โทษ การสลัดออกจากกาม
ทั้งหลายตามความเป็นจริง
             เป็นไปได้ที่พวกเขาเหล่านั้นจะรอบรู้กามทั้งหลายได้เอง หรือชักชวนผู้อื่นเพื่อให้
รู้อย่างนั้นและผู้ปฏิบัติตามแล้วจะรอบรู้กามทั้งหลายได้

คุณ โทษ และการสลัดออกจากรูป
คุณแห่งรูปทั้งหลาย คือ
             กษัตริย์สาว พราหมณ์สาว หรือคหบดีสาว ที่เป็นผู้งดงาม เปล่งปลั่ง
             สุข โสมนัสที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความงาม ความเปล่งปลั่ง นี้เรียกว่าเป็นคุณแห่ง
รูปทั้งหลาย
โทษแห่งรูปทั้งหลาย
             ๑. สาวน้อยเหล่านั้นมีอายุมากขึ้น เป็นคนแก่ หลังงอ ถือไม้เท้าเดินงกๆ เงิ่นๆ ฟันหัก
ผมหงอก หัวโกร๋น หนังเหี่ยว ตกกระ
             ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง แต่ก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษก็ปรากฏชัด นี้เรียกว่าเป็น
โทษแห่งรูปทั้งหลาย
             ๒. สาวน้อยเหล่านั้นมีอาพาธ มีทุกข์ เจ็บหนัก นอนจมมูตรคูถของตน ต้องให้ผู้อื่น
พยุงลุกขึ้น ต้องให้ผู้อื่นช่วยประคอง
             ความงดงาม ...
             ๓. สาวน้อยเหล่านั้นเป็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ขึ้นพอง สีเขียวน่าเกลียด
มีหนอนชอนไช
             ความงดงาม ...
             ๔. สาวน้อยเหล่านั้นเป็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ถูกกาจิกกินบ้าง แร้งทึ้งอยู่บ้าง
             ๕. สาวน้อยเหล่านั้นเป็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด
มีเส้นเอ็นผูกรัด เป็นร่างกระดูกไม่มีเนื้อแต่เปื้อนเลือด มีเส้นเอ็นผูกรัด เป็นร่างกระดูก ไม่มีเนื้อ
และเลือดมีเส้นเอ็นผูกรัด เป็นร่างกระดูก ไม่มีเส้นเอ็นผูกรัด กระจัดกระจาย เหลือแต่กระดูกสีขาว
เปรียบเหมือนสังข์ เหลือแต่ท่อนกระดูกเป็นกอง ๆ ตกค้างมาแรมปี เป็นกระดูกผุป่นเป็นผง
             ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง แต่ก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษก็ปรากฏชัด นี้เรียกว่าเป็น
โทษแห่งรูปทั้งหลาย

การสลัดออกจากรูปทั้งหลาย
             คือ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในรูปทั้งหลาย
             สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ไม่รู้ชัดคุณแห่งรูปทั้งหลายว่าเป็นคุณ ไม่รู้ชัดโทษ
แห่งรูปทั้งหลายว่าเป็นโทษ และไม่รู้ชัดการสลัดออกไปจากรูปทั้งหลายว่าเป็นการสลัดออกไป
ตามความเป็นจริงอย่างนั้น
             จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาเหล่าจะรอบรู้รูปทั้งหลายได้เอง หรือชักชวนผู้อื่นเพื่อให้รู้
อย่างนั้นและผู้ปฏิบัติตามแล้วจะรอบรู้รูปทั้งหลายได้
             ส่วนสมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งรู้ชัดคุณ โทษ และการสลัดออกจากรูปทั้งหลาย
ตามความเป็นจริง
             เป็นไปได้ที่พวกเขาเหล่านั้นจะรอบรู้รูปทั้งหลายได้เอง หรือชักชวนผู้อื่นเพื่อให้รู้อย่างนั้น
และผู้ปฏิบัติตามแล้วจะรอบรู้รูปทั้งหลายได้

คุณ โทษ และการสลัดออกจากเวทนา
คุณแห่งเวทนาทั้งหลาย คือ
             ๑. เมื่อสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุข
อันเกิดจากวิเวกอยู่
             จะไม่คิดมุ่งเบียดเบียน (ทำลาย) ตน ไม่คิดมุ่งเบียดเบียนผู้อื่น ทั้งไม่คิดมุ่งเบียดเบียนทั้ง
สองฝ่าย
             จึงเสวยเวทนาซึ่งไม่มีการเบียดเบียน
             ๒. เมื่อวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
             จะไม่คิดมุ่งเบียดเบียนตน ฯลฯ
             ๓. เมื่อปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปิติสิ้นไป บรรลุ
ตติยฌาน
             จะไม่คิดมุ่งเบียดเบียนตน ฯลฯ
             ๔. เมื่อละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน
ที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
             จะไม่คิดมุ่งเบียดเบียนตน ไม่คิดมุ่งเบียดเบียนผู้อื่นทั้งไม่คิดมุ่งเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย
โทษแห่งเวทนาทั้งหลาย คือ
             การที่เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา
การสลัดออกจากเวทนาทั้งหลาย คือ
             การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในเวทนาทั้งหลายได้
             สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งไม่รู้ชัดคุณแห่งเวทนาทั้งหลายว่า เป็นคุณ ไม่รู้ชัด
โทษแห่งเวทนาทั้งหลายว่า เป็นโทษ และไม่รู้ชัดการสลัดออกจากเวทนาทั้งหลายว่าเป็นการ
สลัดออกไปตามความเป็นจริงอย่างนั้น
             จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาเหล่านั้นจะอบรู้เวทนาทั้งหลายได้เอง หรือชักชวนผู้อื่น
เพื่อให้รู้อย่างนั้นและผู้ปฏิบัติตามแล้วก็จะรอบรู้เวทนาทั้งหลายได้
             ส่วนสมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งรู้ชัดถึงสิ่งเหล่านี้
             จึงเป็นไปได้ที่พวกเขาเหล่านั้นจะรอบรู้เวทนาทั้งหลายได้เอง หรือชักชวนผู้อื่นเพื่อให้
รู้อย่างนั้นและผู้ปฏิบัติตามแล้วจะรอบรู้เวทนาทั้งหลายได้
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว
             ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม คห ๖-๒๙]

คห ๖-๒๗ ฐานาฐานะ, 12 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 14:56 น.
GravityOfLove, 11 นาทีที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๒. สีหนาทวรรค
             ๓. มหาทุกขักขันธสูตร ว่าด้วยกองทุกข์ใหญ่
             เรื่องอัญญเดียรถีย์
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=2784&Z=3013&bgc=seashell
2:49 PM 2/12/2013

             ส่งย่อความ โดยไม่มีคำถามในพระสูตรก่อนเลยหรือหนอ?

คห ๖-๒๘ GravityOfLove, 12 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 16:50 น.
ไม่มีคำถามค่ะ

คห ๖-๒๙ ฐานาฐานะ, 13 กุมภาพันธ์ เวลา 01:21 น.
GravityOfLove, 10 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๒. สีหนาทวรรค
             ๓. มหาทุกขักขันธสูตร ว่าด้วยกองทุกข์ใหญ่
             เรื่องอัญญเดียรถีย์
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=2784&Z=3013&bgc=seashell

             ย่อความได้ดี แต่ประเด็นบางอย่างไม่ครบถ้วน
             มีข้อติงดังนี้ :-
             คำว่า อัญญเดียรถีย์ (ญ. หญิง 2 ตัว)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อัญญเดียรถีย์
- - - - - - - - - - - - - - - - - -
             แล้วในเรื่องนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร มีความมุ่งหมายอย่างไร และมีการปฏิบัติ
ต่างกันอย่างไร เช่น การแสดงธรรมกับการแสดงธรรม หรืออนุสาสนีกับอนุสาสนี
             ภิกษุเหล่านั้นหลังจากบิณฑบาตและฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ได้เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเพื่อทูลเล่าให้ฟัง และทูลถามถึงคำตอบ
             ควรเพิ่มให้ย่อความด้วยว่า
ภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
ครั้นแล้วลุกจากที่นั่งหลีกไปด้วยคิดว่า เราจักทราบข้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของ
พระผู้มีพระภาค.

             ภิกษุเหล่านั้นหลังจากบิณฑบาตและฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ได้เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเพื่อทูลเล่าให้ฟัง.
             และตัดคำว่า และทูลถามถึงคำตอบ เพราะไม่ได้ทูลถามเลย.
- - - - - - - - - - - - - - - - - -
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พึงตอบว่า
             อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการสลัดออก (ถ่ายถอน) ไปจากกามทั้งหลาย
รูปทั้งหลาย เวทนาทั้งหลาย
ควรแก้ไขเป็น
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พึงตอบว่า
             อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการสลัดออก (ถ่ายถอน) ไปจากกามทั้งหลาย
             อะไรเป็น ... จากรูปทั้งหลาย
             อะไรเป็น ... จากเวทนาทั้งหลาย
หรือ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พึงตอบว่า
             อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการสลัดออก (ถ่ายถอน) ไปจากกามทั้งหลาย
             แม้รูปทั้งหลาย เวทนาทั้งหลาย ก็นัยนี้.
หรือ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พึงตอบว่า
             อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการสลัดออก (ถ่ายถอน) ไปจากกามทั้งหลาย
... จากรูปทั้งหลาย ... จากเวทนาทั้งหลาย
- - - - - - - - - - - - - - - - - -
             หรือถ้าความขยันของเขาเป็นผล เขาก็เป็นทุกข์ โทมนัส เพราะกลัวจะถูกพระราชา
ริบสมบัติ กลัวโจรมาปล้น ถูกไฟไหม้ ถูกน้ำพัดไป กลัวทายาทที่ไม่เป็นที่รักแย่งเอาไป
             เมื่อเป็นดังนั้นแล้วก็จะหลงเลือนว่า สิ่งใดเคยเป็นของเรา บัดนี้สิ่งนั้นก็ไม่เป็นของเรา
ควรแก้ไขเป็น
             หรือถ้าความขยันของเขาเป็นผล ได้โภคทรัพย์มา เขาก็เป็นทุกข์ โทมนัส ในการ
รักษาโภคทรัพย์นั้น ด้วยกลัวจะถูกพระราชาริบสมบัติ กลัวโจรมาปล้น ถูกไฟไหม้ ถูกน้ำพัดไป
กลัวทายาทที่ไม่เป็นที่รักแย่งเอาไป
             เมื่อพยายามรักษาอยู่นั้น โภคทรัพย์นั้นก็ถูกพระราชาริบสมบัติ ... แย่งเอาไป
             เมื่อเป็นดังนั้นแล้วก็จะหลงเลือนว่า สิ่งใดเคยเป็นของเรา บัดนี้สิ่งนั้นก็ไม่เป็นของเรา

คห ๖-๓๐ ฐานาฐานะ, 13 กุมภาพันธ์ เวลา 14:28 น.
             คำถามในพระสูตรชื่อว่า มหาทุกขักขันธสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=2784&Z=3013

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. เมื่อได้ศึกษาโทษของกามแล้ว สามารถนำไปพิจารณาอย่างไร
ในชีวิตประจำวันบ้าง? ได้แนวทางฝึกฝนตนเองอย่างไร?
             3. ในส่วนของกรรมกรณ์ต่างๆ เช่น เฆี่ยนด้วยแซ่บ้าง ฯลฯ
             เมื่อได้ศึกษาแล้ว นึกถึงพระสูตรใด นอกจากพระสูตรนี้?

คห ๖-๓๑ GravityOfLove, 13 กุมภาพันธ์ เวลา 19:28 น.
             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า มหาทุกขักขันธสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=2784&Z=3013

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. คุณ โทษ และการสลัดออก ซึ่งกาม รูป เวทนา
             ๒. ถ้าไม่รู้ชัดคุณของกามทั้งหลาย โดยเป็นคุณ โทษของกามทั้งหลาย โดยความเป็นโทษ
และการถ่ายถอนของกามทั้งหลายโดยความเป็นการถ่ายถอน ตามความเป็นจริง
             ย่อมไม่สามารถรอบรู้กามทั้งหลายด้วยตนเอง หรือชักจูงผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้วจะรอบรู้กามทั้งหลายได้
             ๓. พระตถาคตทรงบัญญัติความรอบรู้กามทั้งหลายด้วยอนาคามิมรรค
ทรงบัญญัติความรอบรู้รูปและเวทนาทั้งหลายด้วยอรหัตมรรค
             ๔. อธิบายการทํากรรมกรณ์ 26 อย่าง  (อันน่าหวาดเสียวยิ่ง)
------------------------------------------------------------------
             2. เมื่อได้ศึกษาโทษของกามแล้ว สามารถนำไปพิจารณาอย่างไร
ในชีวิตประจำวันบ้าง? ได้แนวทางฝึกฝนตนเองอย่างไร?
             โทษของกาม ได้แก่
             ๑. ถ้าขยันแต่ไม่สำเร็จ ก็โศกเศร้าเสียใจ ถ้าขยันแล้วสำเร็จก็ยังเป็นทุกข์อีกเพราะกลัวสูญหาย  
             ๒. การแก่งแย่ง ทะเลาะ วิวาทกัน
             ๓. สงคราม
             ๔. ขโมย
             ๕. กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย
             กำหนดรู้โทษของกามดังนี้แล้ว ในด้านอาชีพการงานก็จะได้ไม่ต้องหลงระเริงมาก ไม่ต้องผิดหวังมาก
ไม่ต้องเสียใจมาก เพราะคลายการยึดมั่น ถือมั่น ไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่แสวงหาอย่างไม่ถูกต้อง
             รู้ว่าการทะเลาะ สงคราม ขโมย ทุจริต ๓ เป็นโทษของกาม เมื่อยังละกามไม่ได้ ก็จะพยายามเกี่ยวข้องกับ
กามอย่างมีสติ สังวรในอินทรีย์ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการทะเลาะ ฯลฯ
------------------------------------------------------------------
             3. ในส่วนของกรรมกรณ์ต่างๆ เช่น เฆี่ยนด้วยแซ่บ้าง ฯลฯ
             เมื่อได้ศึกษาแล้ว นึกถึงพระสูตรใด นอกจากพระสูตรนี้?
             เทวทูตสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=6750&Z=7030&pagebreak=0
            [๕๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระยายมครั้นปลอบโยน เอาอกเอาใจ
ไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๓ กะสัตว์นั้นแล้ว จึงปลอบโยน เอาอกเอาใจ ไต่ถามถึง
เทวทูตที่ ๔ ว่า ดูกรพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้เห็นเทวทูตที่ ๔ ปรากฏในหมู่
มนุษย์หรือ ฯ
             สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่เห็นเลย เจ้าข้า ฯ
             พระยายมถามอย่างนี้ว่า ดูกรพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้เห็นราชาทั้งหลาย
ในหมู่มนุษย์จับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงกรรมกรณ์ต่างชนิดบ้างหรือ คือ ฯ
             (๑) โบยด้วยแส้บ้าง
...

ย้ายไปที่



Create Date : 13 มีนาคม 2556
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 9:37:03 น.
Counter : 698 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
15
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
13 มีนาคม 2556
All Blog