17.9 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
17.8 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร

ความคิดเห็นที่ 3-94
GravityOfLove, 29 พฤษภาคม เวลา 20:28 น.

             ตอบคำถามในมหาเวทัลลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9220&Z=9419

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
            ๑. บุคคลมีปัญญาทราม คือ บุคคลที่ไม่รู้ชัดในอริยสัจจ์ ๔
             บุคคลมีปัญญา คือ บุคคลที่รู้ชัดในอริยสัจจ์ ๔
             ๒. วิญญาณ คือ ธรรมชาติที่รู้แจ้งว่า นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข (เวทนา ๓)
             ๓. ปัญญาและวิญญาณปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ไม่สามารถแยกออกแล้วบัญญัติหน้าที่ต่างกันได้
             เพราะปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น
             วิญญาณรู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น
             แต่มีกิจที่จะพึงทำต่างกัน คือ ปัญญาควรเจริญ วิญญาณควรกำหนดรู้
             ๔. เวทนา คือ ธรรมชาติที่รู้เวทนา ๓
             ๕. สัญญา คือ ธรรมชาติที่จำ เช่น จำสีต่างๆ
             ๖. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ไม่สามารถแยกออกแล้วบัญญัติหน้าที่ต่างกันได้
             เพราะเวทนารู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้น
             สัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น
             ๗. ประโยชน์ของปัญญา คือ ความรู้ยิ่ง ความกำหนดรู้ และความละ
             ๘.  ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ คือ การได้สดับจากบุคคลอื่น
และการทำไว้ในใจโดยแยบคาย
             ๙. สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย
มีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย
             อันมีองค์ธรรม ๕ ประการสนับสนุน คือ ศีล สุตะ สากัจฉา
สมถะ และวิปัสสนา
             ๑๐. ภพมี ๓ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ
             ความเกิดในภพใหม่ในอนาคต มีได้เพราะมีความยินดียิ่งในอารมณ์นั้นๆ
ของสัตว์ผู้มีอวิชชา และตัณหา
             ความเกิดในภพใหม่ในอนาคตจะไม่มีเพราะความสิ้นแห่งอวิชชา
เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา และเพราะความดับแห่งตัณหา
             ๑๑. อินทรีย์ ๕ ประการ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
             มีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัยอันเป็นโคจรของกันและกัน
             แต่มีใจเป็นที่อาศัย ใจย่อมรับรู้วิสัยอันเป็นโคจรแห่งอินทรีย์เหล่านั้น
             ๑๒. อินทรีย์ ๕ นี้ อาศัยอายุ (ชีวิตินทรีย์) ตั้งอยู่
             อายุ อาศัยไออุ่น (ไฟที่เกิดแต่กรรม) ตั้งอยู่
             ไออุ่น อาศัยอายุตั้งอยู่
             ๑๓. อายุสังขาร (อายุ - ชีวิตินทรีย์) กับเวทนียธรรม (เวทนา) ไม่ใช่อันเดียวกัน
             ๑๔. เมื่อธรรม ๓ ประการ คือ อายุ ไออุ่น และวิญญาณ (หมายถึง จิต)
ละกายนี้ไป กายนี้ก็ถูกทอดทิ้ง นอนนิ่ง เหมือนท่อนไม้ที่ปราศจากเจตนา
             ๑๕. สัตว์ที่ตายกับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีความต่างกันดังนี้คือ
             สัตว์ที่ตาย มีกายสังขาร (ลมหายใจเข้าออก) วจีสังขาร (วิตก วิจาร)
และจิตสังขาร (เวทนา สัญญา) ดับระงับไป
             มีอายุหมดสิ้นไป มีไออุ่นสงบ มีอินทรีย์แตกทำลาย
             ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีกายสังขาร วจีสังขาร และจิตสังขารดับ
ระงับไป
             แต่มีอายุยังไม่หมดสิ้น มีไออุ่นยังไม่สงบ มีอินทรีย์ผ่องใส
             ๑๖. ปัจจัยการเข้าสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติ อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มี ๔ อย่าง
             ๑๗. ปัจจัยการเข้าสมาบัติ การตั้งอยู่ และการออกจากสมาบัติ
ที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต
             ๑๘. ธรรมต่อไปนี้ คือ
             - เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณ (อัปปมาณาเจโตวิมุตติ)
             - เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ (อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ)
             - เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง (สุญญตาเจโตวิมุตติ)
             - เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต (อนิมิตตาเจโตวิมุตติ)
             กล่าวได้ว่า มีอรรถ (ความหมาย) ต่างกัน มีพยัญชนะต่างกันก็ได้
             และกล่าวได้ว่า มีอรรถอย่างเหมือนกัน มีพยัญชนะต่างกันก็ได้

             ๑๙. ในคำเหล่านั้น คำว่า "ผู้มีอายุ" นี้เป็นคำแสดงความเคารพและความยำเกรง.
             ๒๐. การถามนั้นมี ๕ อย่าง คือ
                         ๑. ถามเพื่อส่องสิ่งที่ยังไม่เห็น
                         ๒. ถามเพื่อเทียบเคียงสิ่งที่เห็นแล้ว. << มหาเวทัลลสูตร
                         ๓. ถามเพื่อตัดความสงสัย.
                         ๔. ถามเพื่อซ้อมความเข้าใจ (ให้ยอมรับรู้, ให้อนุมัติ).
                         ๕. ถามเพื่อต้องการแสดงเสียเอง (ถามเอง ตอบเอง).
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=493#การถามนี้มี_๕_อย่าง

             ๒๑. บุคคลที่ตั้งปัญหาขึ้นเอง ตัดสินเอง (ตอบเอง)  ได้แก่
             ท่านพระสารีบุตร - เลิศด้านมีปัญญามาก
             ท่านพระมหากัจจายนะเถระ - เลิศด้านจำแนกอรรถแห่งภาษิต
โดยย่อให้พิสดาร
             ท่านพระปุณณเถระ - เลิศด้านธรรมกถึก
             ท่านพระกุมารกัสสปเถระ - เลิศด้านแสดงธรรมได้วิจิตร
             ท่านพระอานนท์เถระ - ผู้มีสติ, ผู้มีธิติ (ปัญญาเครื่องทรงจำ),
ผู้ได้ฟังมาก (เลิศด้านพหูสูต), ผู้อุปัฏฐาก (รับใช้)
             ท่านพระมหาโกฏฐิกะ - เลิศด้านผู้บรรลุปัญญาที่แตกฉาน (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา)
//84000.org/tipitaka/read/?20/146-152

             ๒๒. ท่านมหาโกฏฐิกะสามารถตั้งปัญหาขึ้นเอง และตอบเองได้
แต่ท่านประสงค์จะให้พระธรรมเทศนา (พระสูตร) นี้มีความหนักแน่นมากขึ้น
มีอุปการะแก่ผู้ฟังสดับมากขึ้น จึงได้ถามเทียบเคียงกับท่านพระสารีบุตร
             ๒๓. ผู้ที่เล่าเรียนพระพุทธพจน์ (จบ) สามปิฎก โดยบาลีบ้าง
โดยอรรถกถาบ้าง โดยอนุสนธิบ้าง โดยก่อนหลังบ้าง
             แต่ไม่มีแม้แต่การกำหนดเอาด้วยอำนาจแห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์
และความไม่มีตัวตนเลยนี้ หาได้ชื่อว่าผู้มีปัญญาไม่
             ๒๔. ของแบบโลกๆ จิตย่อมเป็นใหญ่เป็นหัวหน้า
เมื่อบรรลุสิ่งที่อยู่เหนือโลก [โลกุตตร] ความรู้ชัด (ปัญญา) ย่อมเป็นใหญ่เป็นหัวหน้า
             ๒๕. ทุกข์ สมุทัย เป็นวัฏฏะ
             นิโรธ มรรค เป็นวิวัฏฏะ
             ๒๖. ปัญญาแบบโลกๆ มีความรู้ยิ่งเป็นที่ต้องการ
             มีความกำหนดรู้เป็นที่ประสงค์
             และมีการละโดยการข่มไว้เป็นที่หมาย. ที่

             ปัญญาแบบอยู่เหนือโลก ก็มีความรู้ยิ่งเป็นที่ต้องการ
             มีความกำหนดรู้เป็นจุดประสงค์
             และมีการละโดยการตัดขาดเป็นเป้าหมาย.

             ในปัญญาทั้งสองนั้น ปัญญาแบบโลกๆ ย่อมรู้ชัดทั้งโดยหน้าที่ ทั้งโดยความไม่หลงลืม
             ปัญญาที่อยู่เหนือโลกย่อมรู้ชัดโดยความไม่หลงลืม.
             ๒๗. ไม่มีประมาณ, ความเป็นของไม่มีเครื่องกังวล, ความเป็นของว่าง,
ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมาย" เป็นชื่อของพระนิพพานทั้งนั้น.
---------------------------------
             2. พระสูตรนี้ เข้าใจได้ยาก เพราะเหตุใดบ้าง?
             ๑. เนื้อหาเป็นการถามตอบระหว่างผู้ที่มีปัญญามาก
             ๒. คำศัพท์และเนื้อหาเกี่ยวกับเจโตวิมุตติ
             เพราะสำหรับผู้ที่ไม่ได้สมาธิจิตย่อมทำความเข้าใจตามได้ยาก
             ๓. สำนวนโบราณ เข้าใจยากเข้าไปอีก

ความคิดเห็นที่ 3-95
ฐานาฐานะ, 29 พฤษภาคม เวลา 21:22 น.

GravityOfLove, 29 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในมหาเวทัลลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9220&Z=9419
...
8:27 PM 5/29/2013

             ตอบคำถามได้ดี มีข้อติงดังนี้ :-
             คำถามข้อที่ 1
             ๔. เวทนา คือ ธรรมชาติที่รู้เวทนา ๓
แก้ไขเป็น
             ๔. เวทนา คือ ธรรมชาติที่รู้สึกสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์
หรือที่เรียกว่า เวทนา ๓

             ๒๖. ปัญญาแบบโลกๆ มีความรู้ยิ่งเป็นที่ต้องการ
             มีความกำหนดรู้เป็นที่ประสงค์
             และมีการละโดยการข่มไว้เป็นที่หมาย. ที่ <<<
             ขอถามว่า ที่ อะไร?

             คำว่า
             กล่าวได้ว่า มีอรรถ (ความหมาย) ต่างกัน มีพยัญชนะต่างกันก็ได้
             และกล่าวได้ว่า มีอรรถอย่างเหมือนกัน มีพยัญชนะต่างกันก็ได้
แก้ไขเป็น
             กล่าวได้ว่า มีอรรถ (ความหมาย) ต่างกัน มีพยัญชนะต่างกันก็มี
             และกล่าวได้ว่า มีอรรถอย่างเหมือนกัน มีพยัญชนะต่างกันก็มี
             ควรทราบว่า คำว่า ก็ได้ กับ ก็มี แตกต่างกัน.

             คำว่า แบบโลกๆ ให้เปลี่ยนทั้งหมดเป็น โลกียะ
             คำว่า เหนือโลก ให้เปลี่ยนทั้งหมดเป็น โลกุตตระ

             คำถามข้อที่ 2
             ๓. สำนวนโบราณ เข้าใจยากเข้าไปอีก
             อ่านแล้ว ละม้ายคล้ายคำบ่น/คำตอบ.

ความคิดเห็นที่ 3-96
GravityOfLove, 29 พฤษภาคม เวลา 23:45 น.

ที่ <<< ขอถามว่า ที่ อะไร?
ลืมลบออกค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-97
ฐานาฐานะ, 29 พฤษภาคม เวลา 23:52 น.

             รับทราบครับ.
             ขอถามว่า
             ที่ให้แก้ไขนั้น เข้าใจหรือไม่ว่า ให้แก้ไขเพราะอะไร?
เช่น
             ๔. เวทนา คือ ธรรมชาติที่รู้เวทนา ๓
แก้ไขเป็น
             ๔. เวทนา คือ ธรรมชาติที่รู้สึกสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์
หรือที่เรียกว่า เวทนา ๓

             ถ้าเข้าใจ ตอบด้วยว่า ให้แก้ไขเพราะอะไร?

ความคิดเห็นที่ 3-98
GravityOfLove, 30 พฤษภาคม เวลา 00:05 น.

ให้แก้ไขเพราะ
อ่านดูแล้วงงๆ ว่า เวทนา เป็นคือธรรมชาติที่รู้เวทนา ๓ แปลว่าอะไร
ควรขยายความให้ชัดเจน

ความคิดเห็นที่ 3-99
ฐานาฐานะ, 30 พฤษภาคม เวลา 00:26 น.  

GravityOfLove, 16 นาทีที่แล้ว
ให้แก้ไขเพราะ
อ่านดูแล้วงงๆ ว่า เวทนา เป็นคือธรรมชาติที่รู้เวทนา ๓ แปลว่าอะไร
ควรขยายความให้ชัดเจน
12:04 AM 5/30/2013
             ที่ให้แก้ไข เพราะว่า
             คำว่า ๔. เวทนา คือ ธรรมชาติที่รู้เวทนา ๓

             ในคำว่า ธรรมชาติที่รู้เวทนา ๓ นี้ส่อนัยว่า
เวทนาเป็นอารมณ์ของนามขันธ์อื่นอีก ซึ่งผิดความหมาย
ของคำจำกัดความไป.

ความคิดเห็นที่ 3-100
ฐานาฐานะ, 30 พฤษภาคม เวลา 00:26 น.  

GravityOfLove, 16 นาทีที่แล้ว
ให้แก้ไขเพราะ
อ่านดูแล้วงงๆ ว่า เวทนา เป็นคือธรรมชาติที่รู้เวทนา ๓ แปลว่าอะไร
ควรขยายความให้ชัดเจน
12:04 AM 5/30/2013
             ที่ให้แก้ไข เพราะว่า
             คำว่า ๔. เวทนา คือ ธรรมชาติที่รู้เวทนา ๓

             ในคำว่า ธรรมชาติที่รู้เวทนา ๓ นี้ส่อนัยว่า
เวทนาเป็นอารมณ์ของนามขันธ์อื่นอีก ซึ่งผิดความหมาย
ของคำจำกัดความไป.

ความคิดเห็นที่ 3-101
GravityOfLove, 30 พฤษภาคม เวลา 00:33 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-102
ฐานาฐานะ, 30 พฤษภาคม เวลา 00:39 น.

            เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มหาเวทัลลสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9220&Z=9419

              พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬเวทัลลสูตร [พระสูตรที่ 44].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
              มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
              จูฬเวทัลลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9420&Z=9601
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=505

              จูฬธรรมสมาทานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9602&Z=9700
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=514

              มหาธรรมสมาทานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9701&Z=9903
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=520

ความคิดเห็นที่ 3-103
GravityOfLove, 30 พฤษภาคม เวลา 07:35 น.

           คำถามจูฬเวทัลลสูตร
           กรุณาอธิบายค่ะ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=9420&Z=9601&bgc=papayawhip
             วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอันเดียวกัน หรืออุปาทาน
เป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕?
             ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ หาใช่อันเดียวกันไม่
อุปาทานเป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็หาใช่ไม่ ความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕
เป็นอุปาทาน ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นั้น.
---------------------------------------
             [๕๑๐] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นอย่างไร?
             ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มิได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราจัก
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ว่าเรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ว่าเราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว
ก็แต่ความคิดอันนำเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น อันท่านให้เกิดแล้วตั้งแต่แรก.
----------------------------------------
              วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ผัสสะเท่าไร ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ?
---------------------------------------
              วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ราคานุสัยตามนอนอยู่ในสุขเวทนาทั้งหมด ปฏิฆานุสัยตามนอน
อยู่ในทุกขเวทนาทั้งหมด อวิชชานุสัยตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หรือหนอแล?
             ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัย ตามนอนอยู่ในสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้
ปฏิฆานุสัย ตามนอนอยู่ในทุกขเวทนาทั้งหมด หามิได้ อวิชชานุสัย ตามนอนอยู่ใน
อทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้.
---------------------------------------
            วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ราคานุสัยจะพึงละเสียได้ในสุขเวทนาทั้งหมด ปฏิฆานุสัยจะพึง
ละเสียได้ในทุกขเวทนาทั้งหมด อวิชชานุสัยจะพึงละเสียได้ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หรือ
หนอแล?
             ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัยจะพึงละเสียได้ในสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้
ปฏิฆานุสัยจะพึงละเสียได้ในทุกขเวทนาทั้งหมด หามิได้ อวิชชานุสัยจะพึงละเสียได้ในอทุกขม-
*สุขเวทนาทั้งหมด หามิได้ ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ย่อม
ละราคะด้วยปฐมฌานนั้น ราคานุสัย มิได้ตามนอนอยู่ในปฐมฌานนั้น อนึ่ง ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นอยู่ว่า เมื่อไร เราจะได้บรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายบรรลุแล้วอยู่
ในบัดนี้ ดังนี้ เมื่อภิกษุนั้นเข้าไปตั้งความปรารถนาในวิโมกข์ทั้งหลายอันเป็นอนุตตรธรรมอย่างนี้
โทมนัสย่อมเกิดขึ้น เพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย ท่านละปฏิฆะได้ด้วยความโทมนัสนั้น
ปฏิฆานุสัยมิได้ตามนอนอยู่ในความโทมนัสนั้น อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน
อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็น
เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ย่อมละอวิชชาได้ด้วยจตุตถฌานนั้น อวิชชานุสัยมิได้ตามนอนอยู่ในจตุต
ฌานนั้น.
-------------------------------------------
อรรถกถา
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=505&bgc=papayawhip
กรุณาอธิบายค่ะ
             (ตั้งแต่นี่ ... ถึงนี่)
             คำว่า "ย่อมพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน" คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน ย่อมพิจารณาเห็นรูปและตนเป็นสิ่งไม่ใช่สองว่า "รูปอันใดฉันก็อันนั้น ฉันอันใดรูปก็อันนั้น".
             ...
             ในบทว่า "ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน" นี้ได้แก่ ย่อมพิจารณาว่า "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตน" ด้วยอาการทุกอย่าง คือย่อมไม่พิจารณาเห็น ๕ อย่างเหล่านี้ด้วยแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง อันได้แก่ไม่พิจารณาเห็นรูปว่าเป็นตน แต่พิจารณาเห็นว่า "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตน ไม่พิจารณาเห็นตนมีรูป ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นตนในวิญญาณ" ดังนี้.

             Gravity ก๊อปของเดิมมาวาง พร้อมเติมตามความเข้าใจดังนี้ (กรุณาเติมต่อได้เลยค่ะ)
1 ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน (พิจารณาเห็นรูปและตนเป็นสิ่งไม่ใช่สอง)-ขาดสูญ ไม่มีภพ
ตัวอย่างนายหนูทดลอง

เห็นรูปกายว่าเป็นอะไรสักอย่างที่แท้เที่ยง
ร่างกายของเรานี้ ต่างจากโต๊ะเก้าอี้ ก็เพราะมีอะไรสักอย่างที่แท้เที่ยง

2 ย่อมเห็นตนมีรูป (ร่มเป็นตน)
อะไรสักอย่างที่แท้เที่ยง เป็นเจ้าของร่างกายนี้

3 ย่อมเห็นรูปในตน (กลิ่นดอกไม้)
อะไรสักอย่างที่แท้เที่ยง มีอะไรมากมาย เช่นร่างกายนี้.

อะไรสักอย่างที่แท้เที่ยง ประกอบด้วยสิ่งต่างๆ มากมาย
เช่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เขาจึงเห็นรูปในตน.

4 ย่อมเห็นตนในรูป (กลิ่นดอกไม้)
ร่างกายนี้มีหลายสิ่งหลายอย่าง เช่นอาหารเก่า อาหารใหม่
แต่ก็มีอะไรสักอย่างที่แท้เที่ยง.

ร่ายกายอาจมีอาหารเก่า (อุจจาระ) เส้นผม เล็บ ก้อนสมอง
หรือหัวใจ เป็นต้น แต่เขาอาจเห็นว่า ก้อนสมองหรือหัวใจ (สูบฉีดเลือด)
เป็นตนในรูป อุจจาระไม่ใช่ตน แต่ก้อนสมองหรือหัวใจเป็นต้น
เป็นตนในรูปร่ายกาย.

  ย่อมเห็นตนในรูป เช่น
                 ร่างกายนี้มีหลายสิ่งหลายอย่าง เช่นอาหารเก่า อาหารใหม่
แต่ก็มีอะไรสักอย่างที่แท้เที่ยง.
             อธิบายว่า
             ร่างกายนี้มีหลายสิ่งหลายอย่าง เช่นอาหารเก่า อาหารใหม่
             แน่นอนว่า อาหารเก่า อาหารใหม่ ไม่ใช่ตน
             แต่ว่า ลำใส้ที่ขับเคลื่อนอาหารใหม่ไปสู่ความเป็นอาหารเก่า และ
ทำการย่อยและดูดโอชาจากอาหารใหม่เป็นต้น
             ลำใส้ทำหน้าที่อย่างนี้ เขาเห็นว่า
                  ต้องมีตัวตนในลำใส้นี้ ลำใส้จึงทำหน้าที่นี้ได้.
             ใจความประมาณนี้ครับ

           5 ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน
           6 ย่อมเห็นตนมีเวทนา
           7 ย่อมเห็นเวทนาในตน
           8 ย่อมเห็นตนในเวทนา
9 ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน
10 ย่อมเห็นตนมีสัญญา
11 ย่อมเห็นสัญญาในตน
12 ย่อมเห็นตนในสัญญา
           13 ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตน
           14 ย่อมเห็นตนมีสังขาร
           15 ย่อมเห็นสังขารในตน
           16 ย่อมเห็นตนในสังขาร
17 ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน
18 ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ
19 ย่อมเห็นวิญญาณในตน
20 ย่อมเห็นตนในวิญญาณ
ข้อ - ๒ ๓ ๔ ๕ ๙ ๑๓ ๑๗ - กล่าวถึงอรูปว่าเป็นตนในที่เจ็ดแห่งเหล่านี้

ข้อ ๑ ๕ ๙ ๑๓ ๑๗ - แสดงความเห็นว่าขาดสูญในที่ห้าแห่ง วิภวทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มีไม่เป็น)
นอกนั้นอีก ๑๕ แห่ง - แสดงความเห็นว่าเที่ยง มีภวทิฏฐิ (ความเห็นว่ามีว่าเป็น) ๑๕ อย่าง
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/01/Y11540192/Y11540192.html#174
//2g.pantip.com/cafe/religious/topic/Y12560599/Y12560599.html#78
---------------------------------------
ถ้าไม่รบกวนมาก ก็อยากให้คุณฐานาฐานะอธิบายจนจบอรรถกถาเลยค่ะ (ยกเว้นตอนสุดท้ายเรื่องพระราชลัญชกร) - -"
แต่ถ้าคิดว่า รอความเข้าใจอื่นๆ ก่อน ตอนนี้ข้ามไปก่อนก็ได้
ก็ยังไม่ต้องอธิบายตอนนี้ก็ได้ค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-104
ฐานาฐานะ, 30 พฤษภาคม เวลา 12:04 น.  

             คำถามยาวมาก รอสักหน่อยก่อนครับ.

ความคิดเห็นที่ 3-105
GravityOfLove, 30 พฤษภาคม เวลา 12:10 น.

ค่ะ ดูเหมือนจะยาวกว่าพระสูตรก่อนเสียอีก
นึกว่าตอบแล้ว ตกใจมาก
พอคลิกเข้าดูถึงเห็นว่า ยังไม่ได้ตอบ

ตอนนี้ก็กำลังอ่านเนื้อความพระสูตรอยู่ค่ะ
ตัวเองถามอะไรไป ก็ลืมๆ เหมือนกัน

ย้ายไปที่



Create Date : 26 มิถุนายน 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 7:09:04 น.
Counter : 507 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มิถุนายน 2556

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
27
28
29
30
 
 
All Blog