15.3 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
15.2 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=11-04-2013&group=1&gblog=30
ความคิดเห็นที่ 9-24
GravityOfLove, 16 เมษายน เวลา 21:33 น.

             คำถามมหาหัตถิปโทปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6042&Z=6308
             ปฏิจจสมุปปันนธรรม แปลว่าอะไรคะ

              ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-25
ฐานาฐานะ, 16 เมษายน เวลา 21:56 น.  

             ปฏิจจสมุปปันนธรรม น่าจะแปลว่า สิ่งที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
             ชื่อว่าปฏิจจสมุปปันนะ เพราะอาศัยปัจจัยมีอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาเป็นต้นเกิดขึ้น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=66&p=1

ความคิดเห็นที่ 9-26
GravityOfLove, 16 เมษายน เวลา 22:26 น.

ขอบพระคุณค่ะ
กำลังจัดย่อความอยู่ อีกสักพักจะ่ส่งค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-27
ฐานาฐานะ, 16 เมษายน เวลา 22:31 น.  

             รับทราบครับ
             นึกว่าจัดเตรียมย่อความเรียบร้อยแล้ว
เพราะผมล่าช้าหลายวัน แต่ผิดคาดหนอ.

ความคิดเห็นที่ 9-28
GravityOfLove, 16 เมษายน เวลา 22:46 น.

จัดเตรียมตอนอ่านรอบแรกแ้ล้วค่ะ แต่แบบไม่ค่อยสวยคือแต่ละบรรทัดยาวเกินไป
คิดว่าจะแก้ไขตอนรอคำตอบคุณฐานาฐานะ
ไม่คาดว่า คุณฐานาฐานะจะตอบเร็วเช่นนี้

ความคิดเห็นที่ 9-29
GravityOfLove, 16 เมษายน เวลา 22:58 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๓. โอปัมมวรรค          
             ๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร อุปมาอริยสัจกับรอยเท้าช้าง
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6042&Z=6308&bgc=floralwhite&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า
             รอยเท้าใดๆ ของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง เพราะรอยเท้าช้าง
ใหญ่กว่ารอยเท้าใดๆ ของสัตว์เหล่านั้น ฉันใด
             กุศลธรรมใดๆ ย่อมนับเข้าในอริยสัจ ๔ ฉันนั้นเหมือนกัน
             อริยสัจ ๔ คือ
             ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยสัจ_4

             ทุกขอริยสัจ คือ
             ความเกิด แก่ ตาย โศก รำพัน ทุกข์กาย ทุกข์ใจ คับแค้นใจ  ไม่ได้สิ่งที่ตนอยากได้
             โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

             อุปาทานขันธ์ ๕ คือ
             รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุปาทานขันธ์

             รูป คือ        
             มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=รูป_2#find1 #find1

             มหาภูตรูป ๔ คือ
             ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=[39]_มหาภูต&detail=on#find1 #find1

             ๑. ปฐวีธาตุ คือ
             ปฐวีธาตุที่อยู่ในร่างกายก็มี ที่อยู่ภายนอกร่างกายก็มี
             ปฐวีธาตุที่อยู่ในร่างกาย คือ สิ่งที่เป็นอุปาทินนกรูป (รูปที่เกิดจากกรรม)
อันอยู่ภายในร่างกาย เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบ ได้แก่
             ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด
ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะอย่างนี้ในร่างกาย
             ปฐวีธาตุภายในร่างกาย และปฐวีธาตุภายนอกร่างกายนี้ ก็เป็นปฐวีธาตุนั่นเอง
             บัณฑิตพึงเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
             นั่นไม่ใช่ของเรา (ตัณหา) เราไม่เป็นนั่น (มานะ) นั่นไม่เป็นตนของเรา (ทิฏฐิ)
อย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ในปฐวีธาตุ
             ปฐวีธาตุภายนอกร่่างกาย ย่อมมีบ้างที่กำเริบทำลายสิ่งต่างๆ แล้วก็
(ถูกน้ำ ถูกลมพัด) หายไป
             ปฐวีธาตุภายนอกร่างกายซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้น เป็นของไม่เที่ยง
สิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา แปรปรวนไปเป็นธรรมดา
             ไฉนร่างกายที่ตัณหาเข้าไปถือว่า เรา ของเรา เรามีอยู่
อันตั้งอยู่ในเวลาไ่ม่นาน จะไม่เป็นเช่นนั้นเ่ล่า
             เมื่อเป็นเช่นนี้ ความยึดถือเพราะตัณหา มานะ ทิฏฐิ ในปฐวีธาตุ
ภายในร่างกาย จะไม่มีแ่ก่ผู้นั้นเลย
              ถ้าคนอื่นจะด่า จะตัดพ้อ กระทบกระเทียบ จะเบียดเบียนภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
             ทุกขเวทนาอันเกิดจากโสตสัมผัสนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ทุกขเวทนานั้นอาศัยเหตุ
จึงมีได้ ไม่อาศัยเหตุจะมีไม่ได้ ทุกขเวทนาอาศัยผัสสะจึงมีได้
             ภิกษุนั้นย่อมเห็นว่า ผัสสะ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง
             จิตอันมีธาตุเป็นอารมณ์ของภิกษุนั้น ย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ด้วยดี
ย่อมหลุดพ้น
             ถ้าคนอื่นจะพยายามทำร้ายภิกษุนั้น เช่น ด้วยฝ่ามือ ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
กายนี้เป็นที่รองรับการทำร้ายด้วยฝ่ามือ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในพระโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อย (กกจูปมสูตร) ดังนี้ว่า
             แม้พวกโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้า จะตัดทอนอวัยวะใหญ่น้อยทั้งหลายด้วยเลื่อย
ถ้าภิกษุมีใจประทุษร้ายในพวกโจร ย่อมไม่เรียกว่า เป็นผู้ทำตามคำสั่งสอนของพระองค์
             ให้มีความเพียร มีสติ ทำกายให้สงบ ทำจิตให้ตั้งมั่น แม้ถูกประหารด้วยฝ่ามือ
ก็ทำตามคำสั่งสอนของพระองค์ให้จงได้
             ถ้าภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่อย่างนี้ แต่อุเบกขาอันอาศัย
กุศลธรรมก็ไม่ตั้งมั่นอยู่ได้ ภิกษุนั้นย่อมสลดใจ
             ถ้าภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัย
กุศลธรรมตั้งมั่นอยู่ได้ดี ภิกษุนั้นย่อมปลื้มใจ
             ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุได้ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมากแล้ว
             กกจูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4208&Z=4442
//pantip.com/topic/30108755/comment4-5
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=gravity-of-love&month=03-2013&date=14&group=1&gblog=16
              คำว่า อุปาทินนกรูป, ปปัญจธรรม 3, อักโกสวัตถุ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อุปาทินนกรูป&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปปัญจธรรม_3
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อักโกสวัตถุ

             ๒. อาโปธาตุ คือ
             อาโปธาตุที่อยู่ในร่างกายก็มี ที่อยู่นอกร่างกายก็มี
             อาโปธาตุที่อยู่ในร่างกาย คือ สิ่งที่เป็นอุปาทินนกรูปอันอยู่ในร่างกาย
เป็นของเอิบอาบ ถึงความเอิบอาบ ได้แก่
             ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ
น้ำมูตร หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะอย่างนี้ในร่างกาย
             อาโปธาตุภายในร่างกาย และอาโปธาตุภายนอกร่างกายนี้ ก็เป็นอาโปธาตุนั่นเอง
             บัณฑิตพึงเห็นอาโปธาตุนั้นนั่น ... คลายกำหนัด ในอาโปธาตุ
             อาโปธาตุภายนอกร่่างกาย ย่อมมีบ้างที่ำกำเริบพัดพาสิ่งต่างๆ
น้ำในมหาสมุทรยังมีการเปลี่ยนแปลงความลึก จากลึกมากหลายร้อยโยชน์ จนถึงเหือดแห้ง
             อาโปธาตุภายนอกร่างกายซึ่งมากถึงเพียงนั้น ... จะไม่มีแ่ก่ผู้นั้นเลย
             ถ้าภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธ ... พระพุทธเจ้าเป็นอย่างมากแล้ว

             ๓. เตโชธาตุ คือ
             เตโชธาตุที่อยู่ในร่างกายก็มี ที่อยู่นอกร่างกายก็มี
             เตโชธาตุที่อยู่ในร่างกาย คือ สิ่งที่เป็นอุปาทินนกรูปอันอยู่ในร่างกาย
เป็นของเร่าร้อน ถึงความเป็นของเร่าร้อน
             ได้แก่ สิ่งที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้อบอุ่น ทำให้ร่างกายให้ทรุดโทรม
ทำให้ร่างกายเร่าร้อน ย่อยของที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มรสแล้ว หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ที่มีลักษณะอย่างนี้ในร่างกาย
             เตโชธาตุภายในร่างกาย และเตโชธาตุภายนอกร่างกายนี้ ก็เป็นเตโชธาตุนั่นเอง
             บัณฑิตพึงเห็นเตโชธาตุนั้นนั่น ... คลายกำหนัด ในเตโชธาตุ
             เตโชธาตุภายนอกร่่างกาย ย่อมมีบ้างที่กำเริบไหม้สิ่งต่างๆ เมื่อไม่มีเชื้อก็ดับไป
คนพยายามทำไฟให้เกิดขึ้นด้วยการเสียดสี เป็นต้น ก็มี
             เตโชธาตุภายนอกร่างกายซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้น ... จะไม่มีแ่ก่ผู้นั้นเลย
             ถ้าภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธ ... พระพุทธเจ้าเป็นอย่างมากแล้ว

             ๔. วาโยธาตุ คือ
             วาโยธาตุที่อยู่ในร่างกายก็มี ที่อยู่ภายนอกร่างกายก็มี
             วาโยธาตุที่อยู่ในร่างกาย คือ สิ่งที่เป็นอุปาทินนกรูปอันอยู่ในร่างกาย
เป็นของพัดไปมา ถึงความเป็นของพัดไปมา ได้แก่
             ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมอันอยู่ในท้อง ลมอันอยู่ในลำไส้
ลมอันแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ที่มีลักษณะอย่างนี้ในร่างกาย
             วาโยธาตุภายในร่างกาย และวาโยธาตุภายนอกร่างกายนี้ ก็เป็นวาโยธาตุนั่นเอง
             บัณฑิตพึงเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่เป็นตนของเรา
             อย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในวาโยธาตุ
             วาโยธาตุภายนอกร่่างกาย ย่อมมีบ้างที่กำเริบพัดพาสิ่งต่างๆ
คนพยายามทำให้เกิดลมโดยใช้พัด เป็นต้น ก็มี
             วาโยธาตุภายนอกร่างกายซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้น เป็นของไม่เที่ยง สิ้นไปเป็นธรรมดา
เสื่อมไปเป็นธรรมดา แปรปรวนไปเป็นธรรมดา
             ไฉนร่างกายที่ตัณหาเข้าไปถือว่า เรา ของเรา เรามีอยู่ อันตั้งอยู่ในเวลาไ่ม่นาน
จะไม่เป็นเช่นนั้นเ่ล่า
             เมื่อเป็นเช่นนี้ ความยึดถือเพราะ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ในวาโยธาตุภายในร่างกาย
จะไม่มีแ่ก่ผู้นั้นเลย
             ถ้าคนอื่นจะด่า จะตัดพ้อ กระทบกระเทียบ จะเบียดเบียนภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
             ทุกขเวทนาอันเกิดจากโสตสัมผัสนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ทุกขเวทนานั้นอาศัยเหตุ
จึงมีได้ ไม่อาศัยเหตุจะมีไม่ได้ ทุกขเวทนาอาศัยผัสสะจึงมีได้
             ภิกษุนั้นย่อมเห็นว่า ผัสสะ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง
             จิตอันมีธาตุเป็นอารมณ์ของภิกษุนั้น ย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ด้วยดี
ย่อมหลุดพ้น
             ถ้าคนอื่นจะพยายามทำร้ายภิกษุนั้น เช่น ด้วยฝ่ามือ ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
กายนี้เป็นที่รองรับการทำร้ายด้วยฝ่ามือ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในพระโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยดังนี้ว่า
             แม้พวกโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้า จะตัดทอนอวัยวะใหญ่น้อยทั้งหลายด้วยเลื่อย
ถ้าภิกษุมีใจประทุษร้ายในพวกโจร ย่อมไม่เรียกว่า เป็นผู้ทำตามคำสั่งสอนของพระองค์
             ให้มีความเพียร มีสติ ทำกายให้สงบ ทำจิตให้ตั้งมั่น แม้ถูกประหารด้วยฝ่ามือ
ก็ทำตามคำสั่งสอนของพระองค์ให้จงได้
             ถ้าภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่อย่างนี้ แต่อุเบกขาอันอาศัย
กุศลธรรมก็ไม่ตั้งมั่นอยู่ได้ ภิกษุนั้นย่อมสลดใจ
             ถ้าภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัย
กุศลธรรมตั้งมั่นอยู่ได้ดี ภิกษุนั้นย่อมปลื้มใจ
             ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุได้ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
เป็นอย่างมากแล้ว

(มีต่อ)

ความคิดเห็นที่ 9-30
(ต่อ)

ผู้เห็นธรรม
             อากาศอาศัยไม้ เถาวัลย์ ดินเหนียวและหญ้า มาประกอบเข้ากันจึงนับว่า
เป็น เรือน แม้ฉันใด
             อากาศอาศัยกระดูก เอ็น เนื้อ และหนัง มาประกอบเข้าด้วยกันจึงนับว่า รูป ฉันนั้น      
             ๑. หากจักษุที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย
             แต่รูปที่เป็นอายตนะภายนอกไม่มาสู่คลองจักษุ
             ทั้งความใส่ใจ (ความกำหนด) อันเกิดจากจักษุและรูปนั้นก็ไม่มี
             วิญญาณส่วนที่เกิดจากจักษุและรูปนั้นก็ไม่ปรากฏ

             หากจักษุที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย
             และรูปที่เป็นอายตนะภายนอกมาสู่คลองจักษุ
             แต่ความใส่ใจอันเกิดจากจักษุและรูปนั้นไม่มี
             วิญญาณส่วนที่เกิดจากจักษุและรูปนั้นก็ไม่ปรากฏ

             แต่เมื่อใด จักษุที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย
             รูปที่เป็นอายตนะภายนอกมาสู่คลองจักษุ
             ทั้งความใส่ใจอันเกิดจากจักษุและรูปก็มี
             เมื่อนั้น วิญญาณส่วนที่เกิดจากจักษุและรูปนั้น
ย่อมปรากฏด้วยอาการอย่างนี้
             รูปแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าใน รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)

             เวทนาแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าใน เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
             สัญญาแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าใน สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
             สังขารแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าใน สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
             วิญญาณแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าในวิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)

             ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า การรวบรวม (การสงเคราะห์) การประชุมพร้อม
และหมวดหมู่แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้
             อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า
             ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาทผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท
             อุปาทานขันธ์ ๕ นี้ก็คือ ปฏิจจสมุปปันนธรรม (สิ่งที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น)
             ความพอใจ ความอาลัย ความยินดี ความชื่นชอบในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
ชื่อว่า ทุกขสมุทัย (สมุทัย)
             การกำจัด การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
ชื่อว่า ทุกขนิโรธ (นิโรธ)
             ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุได้ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมากแล้ว
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อายตนะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปฏิจจสมุปบาท

             ๒. หากโสตะที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย ...
             ๓. หากฆานะที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย ...
             ๔. หากชิวหาที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย ...
             ๕. หากกายที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย ...

             ๖. หากมนะที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย
             แต่ธรรมารมณ์ที่เป็นอายตนะภายนอกไม่มาสู่คลอง
             ทั้งความใส่ใจอันเกิดจากมนะและธรรมารมณ์นั้นก็ไม่มี
             วิญญาณส่วนที่เกิดจากมนะและธรรมารมณ์นั้นก็ไม่ปรากฏ

             หากมนะที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย
             และธรรมารมณ์ที่เป็นอายตนะภายนอกมาสู่คลอง
             แต่ความใส่ใจอันเกิดจากมนะและธรรมารมณ์นั้นไม่มี
             วิญญาณส่วนที่เกิดจากมนะและธรรมารมณ์นั้นก็ไม่ปรากฏ

             แต่เมื่อใด มนะที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย
             ธรรมารมณ์ที่เป็นอายตนะภายนอกมาสู่คลอง
             ทั้งความใส่ใจอันเกิดจากมนะและธรรมารมณ์ก็มี
             เมื่อนั้น วิญญาณส่วนที่เกิดจากมนะและธรรมารมณ์นั้น
ย่อมปรากฏด้วยอาการอย่างนี้

             รูปแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าใน รูปูปาทานขันธ์
             เวทนาแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าใน เวทนูปาทานขันธ์
             สัญญาแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าใน สัญญูปาทานขันธ์
             สังขารแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าใน สังขารูปาทานขันธ์
             วิญญาณแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าในวิญญาณูปาทานขันธ์

             ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า การรวบรวม การประชุมพร้อม
และหมวดหมู่แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้
             อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า
             ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท
             อุปาทานขันธ์ ๕ นี้ก็คือ ปฏิจจสมุปปันนธรรม
             ความพอใจ ความอาลัย ความยินดี ความชื่นชอบในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
ชื่อว่า ทุกขสมุทัย (สมุทัย)
             การกำจัด การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
ชื่อว่า ทุกขนิโรธ (นิโรธ)
             ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุได้ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมากแล้ว

             ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แล้ว
             ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร

[แก้ไขตาม 9-41]

ความคิดเห็นที่ 9-31
ฐานาฐานะ, 17 เมษายน เวลา 00:08 น.

             ย่อความพระสูตรชื่อว่า มหาหัตถิปโทปมสูตร รอสักหน่อยก่อนครับ.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6042&Z=6308

ความคิดเห็นที่ 9-32
GravityOfLove, 18 เมษายน เวลา 07:50 น.

             คำถามเพิ่มเติม
             กรุณาอธิบายค่ะ

             จริงอยู่ สิกขาบท ๑๕๐ สิกขาบทที่ให้สำเร็จประโยชน์ย่อมเป็นอธิสีลสิกขาอย่างหนึ่ง ภิกษุแม้ศึกษาอธิสีลสิกขานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ชื่อว่าศึกษาสิกขา ๓ ดังในพระบาลีนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ สิกขาบทที่สำเร็จประโยชน์นี้ ย่อมสวดกันทุกกึ่งเดือนที่เหล่ากุลบุตรผู้หวังประโยชน์ ศึกษากันอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ เหล่านี้คืออธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เพราะสิกขาบท ๑๕๐ สิกขาบทนั้นรวมอยู่ในสิกขาทั้งหลาย. เปรียบเหมือนรอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายมีสุนัขจิ้งจอก กระต่ายและเนื้อเป็นต้นย่อมลงในส่วน ๑ ก็ดี ย่อมลงในส่วน ๒-๓-๔ ก็ดี ชื่อว่าใน ๔ ส่วนแห่งรอยเท้าช้างเชือกหนึ่ง ย่อมรวมลงในรอยเท้าช้างทั้งนั้น ไม่พ้นจากรอยเท้าช้าง เพราะรวมอยู่ในรอยเท้าช้างนั้นเท่านั้นฉันใด
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=340

ความคิดเห็นที่ 9-33
GravityOfLove, 18 เมษายน เวลา 10:08 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ
             - จริงอยู่ กายนี้ท่านกล่าวว่า ในขณะจิตที่เป็นอดีตเป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่จักเป็นอยู่ ในขณะจิตที่เป็นอนาคตจักเป็นอยู่ ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ในขณะจิตที่เป็นปัจจุบันกำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่จักเป็นอยู่.
              เพื่อแสดงว่า กายนี้นี่แลตั้งอยู่นิดหน่อย ท่านจึงกล่าวคำนี้ว่า
              ชีวิตํ อตฺตภาโว จ สุขทุกฺขา จ เกวลา
              เอกจิตฺตสมายุตฺตา ลหุโส วตฺตเต ขโณ
              ชีวิต อัตตภาพและสุขทุกข์ทั้งมวล
              ล้วนประกอบด้วยจิตดวงเดียว ขณะ
              ย่อมเป็นไปฉับพลัน.

             - ทำให้นึุกถึงประโยคว่า จิตดวงเดียวท่องเที่ยวไป  << ผิดถูกอย่างไรคะ

             - ทำให้นึกถึงความคิดเห็นหนึ่งที่บอกว่า จิตไม่เกิดดับ แต่ที่เกิดดับคืออาการของจิต << ผิดถูกอย่างไรคะ

ความคิดเห็นที่ 9-34
ฐานาฐานะ, 18 เมษายน เวลา 13:17 น.

GravityOfLove, 5 ชั่วโมงที่แล้ว
             คำถามเพิ่มเติม
             กรุณาอธิบายค่ะ
7:50 AM 4/18/2013
             จากอรรถกถาบาลี
             ยถา หิ สาธิกมิทํ ภิกฺขเว ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ อนฺวฑฺฒมาสํ
             อุทฺเทสํ อาคจฺฉติ ยตฺถ อตฺถกามา กุลปุตฺตา สิกฺขนฺติ
             ติสฺโส อิมา ภิกฺขเว สิกฺขา อธิสีลสิกฺขา อธิจิตฺตสิกฺขา
             อธิปญฺญาสิกฺขาติ ...

             อธิบายว่า
             สิกขาบทต่างๆ เป็นอธิสีลสิกขา
             สิกขามี 3 คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา
             ดังนั้น จะกล่าวว่า สิกขาบทต่างๆ อยู่ในไตรสิกขาก็ได้
             อุปมาเหมือนว่า
             บ้านคุณ GravityOfLove มีห้อง 3 ห้อง
             หนังสือเล่มหนึ่ง อยู่ในห้องที่หนึ่งในบ้านคุณ GravityOfLove
             จะกล่าวว่า หนังสือเล่มนั้นอยู่ในห้องที่หนึ่ง ก็ได้
             จะกล่าวว่า หนังสือเล่มนั้นอยู่ในบ้านคุณ GravityOfLove ก็ได้

ย้ายไปที่



Create Date : 25 เมษายน 2556
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 11:51:43 น.
Counter : 2287 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



เมษายน 2556

 
1
2
5
6
7
8
9
10
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
27
28
29
30
 
 
All Blog