13.3 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
13.2 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=4

(่ต่อ มหาสีหนาทสูตร)


คห ๖-๑๒
             คติ ๕ คือ
             ๑. นรก ๒. กำเนิดดิรัจฉาน ๓. เปตวิสัย ๔. มนุษย์ ๕. เทวดา
             ทรงรู้ชัดนรก ฯลฯ เทวโลก
             ทางที่นำสัตว์ให้ถึงนรก ฯลฯ เทวโลก
             ข้อปฏิบัติที่นำสัตว์ให้ถึงนรก ฯลฯ เทวโลก
             และรู้ชัดข้อปฏิบัติที่สัตว์ปฏิบัติแล้ว เป็นเหตุให้หลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก ฯลฯ เทวโลก
             ทรงรู้ชัดนิพพาน
             ทางที่นำสัตว์ให้ถึงนิพพาน
             ข้อปฏิบัติที่นำสัตว์ให้ถึงนิพพาน
             และรู้ชัดข้อปฏิบัติที่สัตว์ปฏิบัติแล้วเป็นเหตุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติที่ไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=คติ#find3 #find3

             ทรงกำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า
             ๑. บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
             ต่อมา ทรงเห็นเขาเกิดในอบาย ฯลฯ เสวยทุกขเวทนาโดยส่วนเดียวอันแรงกล้า เผ็ดร้อน
ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
             เหมือนทรงเห็นเขาถูกความร้อนแผดเผา เหนื่อย หิว เดินมุ่งไปยังหลุมถ่านเพลิงที่ลึกมากกว่า
ช่วงตัวบุรุษ แล้วตกลงไปในนั้น เสวยทุกขเวทนาโดยส่วนเดียว
             ๒. ... จะไปเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน
             ต่อมา ทรงเห็นเขาเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า ...
             เหมือนทรงเห็นเขา ... เดินมุ่งไปยังหลุมอุจจาระที่ลึกมากกว่าช่วงตัวบุรุษแล้วตกลงไปในนั้น
เสวยทุกขเวทนา
             ๓. ... จะไปเกิดในเปตวิสัย
             ต่อมา ทรงเห็นเขาไปเกิดในเปตวิสัย เสวยทุกขเวทนาเป็นอันมาก ...
             เหมือนทรงเห็นเขา ... เดินมุ่งไปยังต้นไม้ที่มีใบน้อย ไม่ค่อยมีร่มเงาแล้วนั่งหรือนอนใต้ต้นไม้นั้น
เสวยทุกขเวทนาเป็นอันมาก
             ๔. ... จะไปเกิดในหมู่มนุษย์
             ต่อมา ต่อมาทรงเห็นเขาไปเกิดในหมู่มนุษย์ เสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก ...
             เหมือนทรงเห็นเขา ... เดินมุ่งไปยังต้นไม้ที่มีใบดก มีร่มเงาหนาทึบแล้วนั่งหรือนอนใต้ต้นไม้นั้น
เสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก
             ๕. ... จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
             ต่อมา ทรงเห็นเขาไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว ... ด้วยตาทิพย์
อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
             เหมือนทรงเห็นเขา ... เดินมุ่งไปยังปราสาท แล้วนั่งหรือนอนในปราสาทนั้นเสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว
              ๖. ... จะทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
              ต่อมา ทรงเห็นเขาผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว
              เหมือนทรงเห็นเขาถูกความร้อนแผดเผา เหนื่อย หิว เดินมุ่งเดินมุ่งไปยังสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์
มีแนวป่าทึบอยู่ไม่ไกล แล้วอาบ ดื่ม น้ำในสระระงับความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย แล้วไปนั่งหรือนอน
ที่แนวป่านั้น เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว
             ผู้ที่ว่ากล่าวตถาคตว่า
             สมณโคดมไม่มีญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์
             สมณโคดมแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง
             ผู้นี้หากไม่ละวาจา ไม่ละความคิด ไม่สลัดทิ้งทิฏฐินั้น ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก
             เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา พึงกระหยิ่ม (เที่ยงแท้) อรหัตผลในปัจจุบัน

             การประพฤติพรหมจรรย์ (ทุกกรกิริยา) มีองค์ ๔ คือ
             ๑. ทรงเป็นผู้บำเพ็ญตบะและเป็นเยี่ยมกว่าผู้บำเพ็ญตบะทั้งหลาย
             ทรงเคยเป็นอเจลก (ประพฤติเปลือยกาย) ไม่มีมารยาท เลียมือ ฯลฯ ถือการอาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง
ถือการย่างและการอบกายหลายรูปแบบ
             ๒. ทรงประพฤติเศร้าหมองและเป็นเยี่ยมกว่าผู้ประพฤติเศร้าหมองทั้งหลาย
             ทรงปล่อยให้ละอองธุลีหมักหมมอยู่ในพระวรกายนานนับหลายปีจนเป็นสะเก็ด

             [อรรถกถา]
             พรหมจรรย์ หมายถึงความประพฤติประเสริฐ มีนัย ๑๒ ประการ คือ
             (๑) ทาน การให้ (๒) ไวยาวัจจะ การขวนขวายช่วยเหลือ
             (๓) ปัญจสิกขาบท ศีลห้า (๔) พรหมวิหาร การประพฤติพรหมวิหาร
             (๕) ธรรมเทศนา (๖) เมถุนวิรัติ การงดเว้นจากการเสพเมถุน
             (๗) สทารสันโดษ ความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน (๘) อุโปสถังคะ องค์อุโบสถ
             (๙) อริยมรรค ทางอันประเสริฐ (๑๐) ศาสนาที่รวมไตรสิกขา
             (๑๑) อัธยาศัย (๑๒) วิริยะ ความเพียร
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=159&p=2&bgc=seashell
             เหตุที่ตรัสเรื่องการประพฤติพรหมจรรย์นี้ เพราะสุนักขัตตลิจฉวีบุตรเชื่อว่า บุคคลจะบริสุทธิ์ได้
ด้วยการประพฤติทุกกรกิริยา ทรงมุ่งขจัดความเชื่อนั้น
//www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ทุกรกิริยา

             ๓. ทรงเป็นผู้เกลียดบาปและเป็นเยี่ยมกว่าผู้เกลียดบาปทั้งหลาย
             ทรงระมัดระวังในการเดิน เพื่อไม่ให้ทำร้ายสัตว์ตัวเล็กๆ ในที่ต่างๆ แม้กระทั่งในหยดน้ำ
             ๔. ทรงเป็นผู้สงัดและเป็นเยี่ยมกว่าผู้สงัดทั้งหลาย
             ทรงประทับอาศัยชายป่าแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อใดทรงพบเห็นคน จะทรงหลีกไปที่อื่น
ทรงดำริว่า คนเหล่านั้นอย่าได้พบเรา และเราก็อย่าได้พบคนเหล่านั้นเลย

             ทรงเคยคลานเข้าไปในคอกที่ฝูงโคออกไปแล้ว ไม่มีคนเลี้ยงโคอยู่ เสวยมูลโค (โคมัย) ของ
ลูกโคตัวอ่อนที่ยังดื่มนม กระทั่งเสวยมูตรคูถของพระองค์เอง
             นี่เป็นพรหมจรรย์ในโภชนะมหาวิกัฏ (อาหารที่สกปรก, ไม่สะอาด)
             ทรงเข้าประทับอาศัยแนวป่าน่ากลัวแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ หน้าหนาวทรงประทับในป่าตอน
กลางคืน หน้าร้อนทรงประทับในป่าตอนกลางวัน
             ทรงประทับนอนแอบอิงกระดูกศพในป่าช้า ถูกพวกเด็กเลี้ยงโคถ่มน้ำลายรดบ้าง ถ่ายปัสสาวะ
รดบ้าง โปรยฝุ่นลงบ้าง เอาไม้ยอนที่ช่องหูบ้าง
             แต่พระองค์ก็ไม่รู้สึกเลยว่า มีอกุศลจิตเกิดขึ้นในเด็กเหล่านั้น
             นี้เป็นพรหมจรรย์ในการอยู่ด้วยอุเบกขา

            มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเชื่อว่า ความบริสุทธิ์มีได้เพราะ
             ๑. อาหาร
             จึงดำรงชีวิตด้วยอาหารที่มีขนาดเท่าผลพุทรา ฯลฯ เท่าเมล็ดข้าวสาร
             พระองค์เสวยอาหารที่มีขนาดเท่าผลพุทราผลเดียวเท่านั้น ฯลฯ เท่าเมล็ดข้าวสารเมล็ดเดียว
เท่านั้น จนพระวรกายซูบผอม
             ทรงดำริจะลูบหนังท้อง แต่คลำถูกกระดูกสันหลัง จะลูบกระดูกสันหลัง แต่คลำถูกหนังท้อง
จะถ่ายพระบังคนหนัก พระบังคนเบา ก็ซวนเซล้มลง ณ ที่นั้นนั่นเอง
             เมื่อจะทรงลูบพระวรกายให้สบายตัว พระโลมา (ขน) ทั้งหลายซึ่งมีรากเน่า ก็หลุดร่วงออกมา
เพราะมีอาหารน้อย   
             ตรัสว่า แม้จะทรงปฏิบัติอย่างไม่มีใครสู้เช่นนั้น ด้วยปฏิปทาเช่นนั้น ด้วยความเพียรที่กระทำ
ได้แสนยากเช่นนั้น ก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษพอแก่ความเป็นอริยะ
             ทั้งนี้เพราะไม่ใช่ปฏิปทาที่เป็นเหตุบรรลุปัญญาอันประเสริฐ
             ปัญญานี้แหละที่ได้ทรงบรรลุแล้ว เป็นของประเสริฐ นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เป็นทางสิ้นทุกข์
โดยชอบแก่บุคคลผู้ปฏิบัติตาม
             ๒. สังสารวัฏ (การเวียนว่ายตายเกิด)
             ในกาลอันยาวนานนี้ ที่ๆ พระองค์ไม่เคยเสด็จท่องเที่ยวไปนั้นหาได้ยาก ยกเว้นเทวโลกชั้น
สุทธาวาส เพราะถ้าไปชั้นนี้แล้ว จะไม่กลับมาสู่โลกนี้อีก
             ๓. ความเกิด
             ในกาลอันยาวนานนี้ ความเกิดที่พระองค์ไม่เคยประสบนั้นหาได้ยาก ยกเว้นเทวโลกชั้น
สุทธาวาส เพราะถ้าไปชั้นนี้แล้ว จะไม่กลับมาสู่โลกนี้อีก
             ๔. อาวาส (ขันธ์ทั้งหลาย)
              ในกาลอันยาวนานนี้ ที่ๆ พระองค์ไม่เคยประทับอยู่อาศัยนั้นหาได้ยาก ยกเว้นเทวโลกชั้น
สุทธาวาส เพราะถ้าไปชั้นนี้แล้ว จะไม่กลับมาสู่โลกนี้อีก
             ๕. การบูชายัญ
             ในกาลอันยาวนานนี้ ยัญที่พระองค์ไม่เคยบูชานั้นหาได้ยาก
             ๖. บำเรอไฟ
             ในกาลอันยาวนานนี้ ไฟที่พระองค์ไม่เคยบำเรอนั้นหาได้ยาก
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สุทธาวาส_5&detail=on

(มีต่อ)
ย้ายไปที่



Create Date : 12 มีนาคม 2556
Last Update : 23 มกราคม 2557 18:52:21 น.
Counter : 925 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
15
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog