13.2 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
13.1. พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=3

คห ๖-๑๑ GravityOfLove, 9 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 21:12 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๒. สีหนาทวรรค
             ๒. มหาสีหนาทสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งการบันลือสีหนาท (สมฺมา สีหนาทํ นทถ)
             เรื่องสุนักขัตตลิจฉวีบุตร
//www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=2296&Z=2783&bgc=Seashell&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าด้านตะวันตกนอกพระนคร เขตพระนครเวสาลี
             สมัยนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีพระนามว่าสุนักขัตตะ ลาสิกขาจากพระธรรมวินัยนี้ได้ไม่นาน ได้กล่าว
ในชุมชน ณ กรุงเวสาลีอย่างนี้ว่า
             สมณโคดมไม่มีญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ 
(อุตตริมนุสสธรรม)
             สมณโคดมแสดงธรรมที่ประมวลด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง 
             ธรรมที่สมณโคดมแสดงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่บุคคล นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบสำหรับ
บุคคลผู้ปฏิบัติตามธรรมนั้น
             (ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ หมายถึงมหัคคตโลกุตตรปัญญา (ปัญญาชั้นโลกุตตระ
ที่ถึงความเป็นใหญ่) อันประเสริฐ บริสุทธิ์ สูงสุด สามารถกำจัดกิเลสได้)
             (ธรรมของมนุษย์ ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุตตริมนุสสธรรม
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กุศลกรรมบถ_10

             ครั้นท่านพระสารีบุตรได้สดับข่าวว่า สุนักขัตตลิจฉวีบุตรมีวาจาอย่างนี้ จึงได้เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลเล่าให้ฟัง
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             สุนักขัตตลิจฉวีบุตรเป็นบุรุษเปล่า (โมฆบุรุษ) มักโกรธ กล่าวอย่างนั้นเพราะความโกรธ เขาคิด
ว่า เขาจะพูดติเตียน แต่กลับกล่าวสรรเสริญคุณของตถาคต
             เพราะการสรรเสริญคุณของตถาคต บุคคลจะกล่าวอย่างนี้ว่า 
             ธรรมที่สมณโคดมแสดงเพื่อประโยชน์แก่บุคคล ย่อมดิ่ง (นำ) ไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
สำหรับบุคคลผู้ปฏิบัติตามธรรมนั้น
             สุนักขัตตะโมฆบุรุษไม่มีปัญญารู้ธรรม (ไม่เป็นความเข้าใจถูกต้อง) ในตถาคตว่า 
             ๑. แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ 
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า 
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
             ๒. แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงบรรลุอิทธิวิธา / อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์) 
หลายประการ คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
             ๓. แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสดับเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียง
มนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์ (ทิพพโสต) อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
             ๔. แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงกำหนดรู้ใจของสัตว์และบุคคลอื่นด้วยใจ 
(เจโตปริยญาณ) คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่า จิตมีราคะ ฯลฯ จิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า จิตไม่หลุดพ้น

             กำลังของตถาคต ๑๐ ประการ เป็นเหตุให้ปฏิญาณฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ยังพรหมจักรให้
เป็นไป (ประกาศพรหมจักร) ในบริษัท
             (บริษัท คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท จาตุมหาราชบริษัท 
ดาวดึงสบริษัท มารบริษัท พรหมบริษัท)

             [อรรถกถา]
             พรหมจักร หมายถึงธรรมจักรอันประเสริฐ ยอดเยี่ยม บริสุทธิ์ มี ๒ ประการ คือ 
             (๑) ปฏิเวธญาณ ได้แก่ ญาณระดับโลกุตตระ แสดงถึงพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า 
             (๒) เทสนาญาณ ได้แก่ ญาณระดับโลกิยะ แสดงถึงพระมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้า 
              ญาณทั้ง ๒ นี้ชื่อว่าโอรสญาณ (ญาณส่วนพระองค์) มีเฉพาะพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น 
ไม่มีแก่คนทั่วไป 

             กำลังของตถาคต ๑๐ ประการคือ
             ๑. ตถาคตรู้ชัดฐานะ (เหตุและปัจจัย) โดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะ ในโลกนี้ตาม
ความเป็นจริง
             ๒. ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุ
ตามความเป็นจริง 
             ๓. ตถาคตรู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวง (คติที่ควรไป (คติ) และคติที่ไม่ควรไป(อคติ)) 
ตามความเป็นจริง
             ๔. ตถาคตรู้ชัดโลกที่มีธาตุหลายชนิด (ธาตุ ๑๘ มีจักขุธาตุเป็นต้น) และมีธาตุต่างๆ 
ตามความเป็นจริง 
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธาตุ_18&detail=on

             ๕. ตถาคตรู้ชัดว่า หมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัย (อธิมุตติ) ต่างกัน ตามความเป็นจริง
             ๖. ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์และบุคคลทั้งหลายเหล่าอื่นมีอินทรีย์หย่อน (อ่อน) และยิ่ง (แก่กล้า) 
ตามความเป็นจริง
             ๗. ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง (ธรรมฝ่ายเสื่อม) ความผ่องแผ้ว (ธรรมฝ่ายเจริญ) 
ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ (สมาธิที่มีวิตกและวิจาร สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร สมาธิที่ไม่มี
ทั้งวิตกและวิจาร) และสมาบัติทั้งหลาย  (อนุบุพพวิหาร ๙) ตามความเป็นจริง
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิโมกข์_8
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อนุบุพพวิหาร_9

             ๘. ตถาคตระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติว่า มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น
             ๙. ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ (เกิด) ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ 
รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
             ๑๐. ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญา
อันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน 
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ทศพลญาณ

             ตรัสว่า เวสารัชชญาณ (ญาณเป็นเหตุให้แกล้วกล้า) ๔ ประการ ที่พระองค์ทรงมีแล้วเป็นเหตุ
ให้ปฏิญาณฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
(ไม่ทรงมองเห็นว่า ใครก็ตามจักทักท้วงพระองค์ได้โดยสหธรรม (ชอบธรรม) ในฐานะเหล่านี้)
             เวสารัชชญาณของตถาคต ๔ ประการ คือ
             ๑. เราไม่เห็นนิมิต (ทั้งบุคคลและธรรมที่เป็นเหตุสนับสนุนการทักท้วง) นี้ว่า สมณะ พราหมณ์ 
เทวดา มาร พรหมหรือใคร ๆ ในโลก จะทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุ (คำพูดที่สมเหตุสมผลมีหลักฐาน
พยาน) ว่า ท่านผู้ปฏิญาณว่า เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ แต่ธรรมเหล่านี้ท่านก็ยังไม่ตรัสรู้
             ๒. เราไม่เห็นนิมิต ... ที่จะท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุว่า ท่านผู้ปฏิญาณว่า เป็นพระขีณาสพ 
แต่อาสวะเหล่านี้ของท่านก็ยังไม่สิ้นไป
             ๓. เราไม่เห็นนิมิต ... ที่จะท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุว่า อันตรายิกธรรม (ธรรมที่เป็นอันตราย
ต่อการบรรลุมรรคผล ได้แก่ อาบัติ ๗ กอง ในที่นี้คือเมถุนธรรม) ที่ท่านกล่าว ไม่อาจก่ออันตรายแก่
ผู้เสพได้จริง
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อาบัติ#find3 #find3

             ๔. เราไม่เห็นนิมิต ... ที่จะท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุว่า ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด 
ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้ทำตาม
             ด้วยเหตุนี้ พระองค์นี้จึงทรงถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย แกล้วกล้าอยู่ 
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เวสารัชชญาณ_4

             บริษัท ๘ คือ
             ๑. ขัตติยบริษัท ๒. พราหมณบริษัท ๓. คหบดีบริษัท ๔. สมณบริษัท
             ๕. จาตุมหาราชบริษัท ๖. ดาวดึงสบริษัท ๗. มารบริษัท ๘. พรหมบริษัทบริษัท
             ทรงมีเวสารัชชญาณ ๔ ประการนี้ จึงทรงเข้าไปคบหาบริษัท ๘ จำพวกนี้
             ทรงเข้าไปยังขัตติยบริษัท ฯลฯ พรหมบริษัทหลายร้อยบริษัท ย่อมรู้ว่า แม้ในบริษัทนั้น พระองค์ก็
ทรงเคยนั่งใกล้ เคยทักทาย เคยปราศรัย เคยสนทนากัน 
             ไม่ทรงเห็นนิมิตว่า ความกลัวหรือความสะทกสะท้าน จะกล้ำกรายพระองค์ในบริษัทนั้นได้เลย
             พระองค์เมื่อไม่ทรงเห็นนิมิตแม้นี้ จึงถึงความปลอดภัย ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่

             กำเนิด ๔ คือ
             ๑. กำเนิดอัณฑชะ (การเกิดในไข่)
             ๒. กำเนิดชลาพุชะ (การเกิดในครรภ์)
             ๓. กำเนิดสังเสทชะ (การเกิดในเถ้าไคลหรือที่ชื้นแฉะ)
             ๔. กำเนิดโอปปาติกะ (การเกิดผุดขึ้น)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โยนิ_4

(มีต่อ)

ย้ายไปที่



Create Date : 12 มีนาคม 2556
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 9:33:51 น.
Counter : 738 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
15
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog