13.1 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ ต่อเนื่องมาจาก
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=thanathana&month=12-03-2013&group=2&gblog=9

คห ๖-๑ ฐานาฐานะ, 8 กุมภาพันธ์ เวลา 19:48 น.        เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า จูฬสีหนาทสูตร จบบริบูรณ์.
            เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า จูฬสีหนาทสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=2151&Z=2295

             พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             มหาสีหนาทสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งการบันลือสีหนาท
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=2296&Z=2783
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=159

             มหาทุกขักขันธสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=2784&Z=3013
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=194

คห ๖-๒ GravityOfLove, 8 กุมภาพันธ์ เวลา 19:59 น.
             คำถาม มหาสีหนาทสูตร

             ๑. [๑๖๖] ดูกรสารีบุตร ตถาคตประกอบด้วยกำลังเหล่าใด ย่อมปฏิญาณฐานะแห่งผู้องอาจ
ย่อมบันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป
//www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=2296&Z=2783&bgc=seashell&pagebreak=0

             ในอรรถกถา >> บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส เต ปฏิชานโต ความว่า ท่านปฏิญญาณอย่างนี้ว่า
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมทั้งหมดเราได้ตรัสรู้ยิ่งแล้ว.

             ฉบับมหาจุฬาฯ >> [๑๔๘] สารีบุตร กำลังของตถาคต๑ ๑๐ ประการนี้ที่ตถาคตมีแล้ว เป็น
             เหตุให้ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักร
//www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd12-2.htm

ปฏิญาณ การให้คำมนโดยสุจริตใจ, การยืนยัน
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปฏิญาณ

ปฏิญญา ให้คำมั่น, แสดงความยืนยัน, ให้การยอมรับ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปฏิญญา

             ในย่อความ ควรใช้คำใดคะ

             ๒.  ดูกรสารีบุตรผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย
ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก ดังถูกนำมาฝังไว้
             ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา
พึงกระหยิ่มอรหัตผล ในปัจจุบันทีเดียว ฉันใด
             ดูกรสารีบุตร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น
             ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย
ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก ดังถูกนำมาฝังไว้.

             ไม่เข้าใจอุปมานี้ค่ะ

             ๓. ในที่นี้ แม้ที่เกิดจากไข่ ก็เหมือนภาติยเถระ ๒ รูปผู้เป็นบุตรของโกนตะ.
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=159&p=2
             ตรงนี้หรือเปล่าคะที่ Gravity ได้ฟังจากรายการวิทยุ ที่เคยเล่าให้ฟัง
             ไม่ทราบจะอ่านเรื่องราวได้จากที่ไหนคะ

ขอบพระคุณค่ะ

คห ๖-๓ GravityOfLove, 8 กุมภาพันธ์ เวลา 21:39 น.
เพิ่มเติมคำถาม
             ๔. อีกประการหนึ่ง ปรวาทีพึงถูกถามอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่าทศพลญาณนั้นมีวิตกหรือมีวิจาร สักแต่ไม่มีวิตกมีแต่วิจาร ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นโลกียะ เป็นโลกุตตระ ดังนี้.
             เมื่อรู้ก็จักตอบว่า ญาณ ๗ ตามลำดับมีวิตกมีวิจาร.
             จักตอบว่า ญาณสองอื่นจากญาณ ๗ นั้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร.
             จักตอบว่า อาสวักขยญาณพึงมีวิตกมีวิจาร พึงสักว่าไม่มีวิตกมีวิจาร.
             จักตอบว่า ญาณ ๗ ตามลำดับอย่างนั้น เป็นกามาวจร ญาณสองจากนั้นเป็นรูปาวจร ญาณหนึ่งสุดท้ายเป็นโลกุตตระ.
             จักตอบว่า ส่วนสัพพัญญุตญาณมีวิตกมีวิจารด้วย เป็นกามาวจรด้วย เป็นโลกิยะด้วย.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=159

คห ๖-๔ ฐานาฐานะ, 9 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 19:35 น.
GravityOfLove, 22 ชั่วโมงที่แล้ว
คำถาม มหาสีหนาทสูตร
...
7:59 PM 2/8/2013
             ๑. [๑๖๖] ...
             ในย่อความ ควรใช้คำใดคะ
             ใช้คำว่า ปฏิญาณ ก็ดีครับ.

             ๒.  ดูกรสารีบุตรผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย
ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก ดังถูกนำมาฝังไว้
             ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา
พึงกระหยิ่มอรหัตผล ในปัจจุบันทีเดียว ฉันใด
             ดูกรสารีบุตร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น
             ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย
ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก ดังถูกนำมาฝังไว้.

             ไม่เข้าใจอุปมานี้ค่ะ
             อุปมานี้ คือการที่เหตุพร้อม ย่อมได้ผลแน่นอน
             เหตุพร้อม คือภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา
             เพราะได้ผลแน่นอน พึงกระหยิ่มอรหัตผล ฉันใด
             ถ้าผู้กล่าววาจานั้น (วาจาทุจริต) ไม่ละวาจานั้นเสีย ฯลฯ คือยังยืนยันวาจานั้นด้วย
ก็แน่นอนว่าจะตกนรก เป็นอุปมาถึงความแน่นอน.

             ๓. ในที่นี้ แม้ที่เกิดจากไข่ ก็เหมือนภาติยเถระ ๒ รูปผู้เป็นบุตรของโกนตะ.
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=159&p=2
             ตรงนี้หรือเปล่าคะที่ Gravity ได้ฟังจากรายการวิทยุ ที่เคยเล่าให้ฟัง
             ไม่ทราบจะอ่านเรื่องราวได้จากที่ไหนคะ
             กรณีที่ถามไปทางสถานีหรือไม่?
             ลองค้นในอรรถกถาพระสุตตันตปิฎกและอรรถกถาพระอภิธรรมปิฎก ก็ไม่พบครับ.
             อาจจะเป็นภาติยเถระ ๒ รูปในอรรถกถารถวินีตสูตรก็ได้
แต่เนื้อความเป็นเรื่องอื่น คือไม่ใช่เรื่องกำเนิด ดังนั้นตอบว่า ไม่ทราบจะดีกว่าครับ.
             พระเถระ ๒ พี่น้องอยู่ในเจติยบรรพต. พระเถระองค์น้อง ...
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=292&p=1


คห ๖-๕ ฐานาฐานะ, 9 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 19:47 น.
GravityOfLove, 21 ชั่วโมงที่แล้ว
เพิ่มเติมคำถาม
             ๔. อีกประการหนึ่ง ปรวาทีพึงถูกถามอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่าทศพลญาณนั้นมีวิตกหรือมีวิจาร
สักแต่ไม่มีวิตกมีแต่วิจาร ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นโลกียะ เป็นโลกุตตระ ดังนี้.
             เมื่อรู้ก็จักตอบว่า ญาณ ๗ ตามลำดับมีวิตกมีวิจาร.
             จักตอบว่า ญาณสองอื่นจากญาณ ๗ นั้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร.
             จักตอบว่า อาสวักขยญาณพึงมีวิตกมีวิจาร พึงสักว่าไม่มีวิตกมีวิจาร.
             จักตอบว่า ญาณ ๗ ตามลำดับอย่างนั้น เป็นกามาวจร ญาณสองจากนั้นเป็นรูปาวจร ญาณหนึ่งสุดท้ายเป็นโลกุตตระ.
             จักตอบว่า ส่วนสัพพัญญุตญาณมีวิตกมีวิจารด้วย เป็นกามาวจรด้วย เป็นโลกิยะด้วย.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=159

             ตอบว่า นี้เป็นการแจกแจงทศพลญาณว่า
             ญาณใดเป็นกามาพจรเป็นต้น เป็นโลกียหรือโลกุตตระ.
             อรรถกถาสีหสูตร ได้แจกแจงไว้แล้ว
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=21
             ในยุคนัทธวรรค พลกถา ข้อ 631 เป็นต้นก็น่าจะมีกล่าวไว้
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=9299&Z=9513#631
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=621&p=1#ตถาคตพลนิเทศ #ตถาคตพลนิเทศ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=621&p=1#ทศพลญาณ #ทศพลญาณ

คห ๖-๖ GravityOfLove, 9 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 20:33 น.
ขอบพระคุณค่ะ
ช่องเดียวกันค่ะ แต่คนละรายการ ช่องนี้เหมือนอ่านมาจากอรรถกถา
------------------
มีเรื่องเล่า...
เนื่องจากเครื่องเล่นซีดีในรถพัง ก็เลยจำต้องฟังวิทยุ วันนี้จูนหาเพลงพอดีผ่านช่องหนึ่งเป็นรายการธรรมะ
ถ้าเป็นเมื่อก่อน คงผ่านเลยไป แต่ตอนนี้ หยุดจูน แล้วฟัง
เป็นเรื่อง โยนิ ๔ ฟังไม่ทันตั้งแต่แรก ได้ทันฟังข้อ ๒ ๓ ๔ คือ
>>๒. อัณฑชะ เกิดในไข่ (ได้ฟังกลางๆ เรื่อง) มีเอ่ยชื่อพระเถระ ๒ ท่านที่เป็นพี่น้องกัน (จำชื่อไม่ได้)
พระเถระผู้พี่โดนพิษอะไรสักอย่าง ผึ้งหรือบุ้งประมาณนี้ ทุกขเวทนาแรงกล้า สุดท้ายดับขันธ์ปรินิพพานบนอากาศ
ได้เปิดมาฟังกลางๆ เรื่องจึงไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับอัณฑชะอย่างไร
    ๓. สังเสทชะ เกิดในไคล คือที่ชื้นและสกปรก เช่น พราหมณ์โปกขรสาติ
คราวนี้หูผึ่งเลย เพราะกำลังอ่านพระสูตรที่มีท่านอยู่พอดี (อัมพัฏฐสูตร) ท่านเกิดในดอกบัว ก็จัดว่าเป็น
กำเนิดแบบสังเสทชะด้วย ตอนที่ฟัง ก็คิดว่า เอ๊ะ ทำไมตอนเรียน ไม่เห็นมีกล่าวเลยว่าท่านเกิดในดอกบัว
เมื่อกี้อ่านอรรถกถาอัมพัฏฐสูตร ถึงตอนนี้ ก็คิดได้ว่า มีกล่าวนี่นา แต่ตัวเองลืมเอง
    ๔. โอปปาติกะ เกิดผุดขึ้น เช่น เทวดา เช่น นางอัมพปาลี ...(ประวัติ)
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/05/Y12106258/Y12106258.html#199
-----------------------------------
มีแจกแจงดังนี้ค่ะ
             ทศพลญาณที่ ๑ เริ่มรู้เหตุและมิใช่เหตุ.
             ทศพลญาณที่ ๒ ย่อมรู้ระหว่างกรรมและระหว่างวิบาก.
             ทศพลญาณที่ ๓ ย่อมรู้กำหนดของกรรม.
             ทศพลญาณที่ ๔ ย่อมรู้เหตุของความต่างแห่งธาตุ.
             ทศพลญาณที่ ๕ ย่อมรู้อัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลาย.
             ทศพลญาณที่ ๖ ย่อมรู้ความแก่กล้าและความอ่อนของอินทรีย์ทั้งหลาย.
             ทศพลญาณที่ ๗ ย่อมรู้ความเศร้าหมองเป็นต้นแห่งญาณเหล่านั้น พร้อมกับฌานเป็นต้น.
             ทศพลญาณที่ ๘ ย่อมรู้ความสืบต่อของขันธ์ที่อยู่อาศัยในก่อน.
             ทศพลญาณที่ ๙ ย่อมรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย.
             ทศพลญาณที่ ๑๐ ย่อมรู้กำหนดสัจจะเท่านั้น.
แต่ไม่ได้แจกแจงว่า ญาณใดเป็นกามาพจรเป็นต้น เป็นโลกียหรือโลกุตตระ ใช่ไหมคะ
หรือว่า Gravity หาไม่เจอ

คห ๖-๗ ฐานาฐานะ, 9 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 20:42 น.
GravityOfLove, 4 นาทีที่แล้ว
...
แต่ไม่ได้แจกแจงว่า ญาณใดเป็นกามาพจรเป็นต้น เป็นโลกียหรือโลกุตตระ ใช่ไหมคะ
หรือว่า Gravity หาไม่เจอ
8:32 PM 2/9/2013

             น่าจะหาไม่เจอครับ เนื้อความถัดจากที่ถามลงมาเล็กน้อยเท่านั้นเอง.
- - - - - - - -
             อนึ่ง ท่านปรวาทีพึงถูกถามอย่างนี้ว่า ธรรมดาพระทศพลญาณนี้มีวิตก มีวิจาร ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร หรือไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เป็นกามาวจร รูปาวจรหรืออรูปาวจร เป็นโลกิยะหรือโลกุตระ
             เมื่อรู้ ก็จักตอบว่า พระญาณ ๗ ตามลำดับมีวิตกมีวิจาร จักตอบว่าพระญาณ ๒ นอกจากพระญาณ ๗ นั้นไม่มีวิตกไม่มีวิจาร. จักตอบว่า อาสวักขยญาณมีวิตกมีวิจารก็มี. จักตอบว่า พระญาณ ๗ ตามลำดับก็เหมือนกัน เป็นกามาวจร พระญาณ ๒ นอกจากพระญาณ ๖ นั้นเป็นรูปาวจร พระญาณหนึ่งสุดท้ายเป็นโลกุตระ. ส่วนพระสัพพัญญุตญาณมีวิตกมีวิจารเท่านั้น เป็นกามาวจรเท่านั้น เป็นโลกิยะเท่านั้น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=21

             อีกอย่างหนึ่ง ควรถามปรวาทีอย่างนี้ว่า ชื่อว่าทศพลญาณนี้ มีวิตกมีวิจาร หรือไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร หรือไม่มีทั้งวิตกไม่มีทั้งวิจาร เป็นกามาวจร หรือรูปาวจร หรืออรูปาวจร เป็นโลกิยะหรือโลกุตระ.
             เมื่อรู้ก็จักตอบฌาน ๗ มีวิตกมีวิจารตามลำดับ จักตอบว่า ฌาน ๒ นอกจากนั้นไม่มีวิตก มีเพียงวิจารก็มี ไม่มีทั้งวิตกไม่มีทั้งวิจารก็มี.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=621&p=1


คห ๖-๘ GravityOfLove9 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 20:46 น.
อ่านแล้วยังไม่เข้าใจค่ะ แจกแจงไม่เป็น 
กรุณาแจกแจงให้ดูได้ไหมคะ ครบทั้ง ๑๐ ญาณเลย 
เผื่อถูกถามเป็นคำถามจะได้ตอบได้

คห ๖-๙ ฐานาฐานะ, 9 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 20:52 น.
             น่าจะแจกแจงไม่ยาก ดังนี้ :-
             ญาณที่ 1-7 เป็นกามาวจร มีวิตกมีวิจาร
             ญาณที่ 8-9 เป็นรูปาวจร ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
             ญาณที่ 10 เป็นโลกุตตระ มีวิตกมีวิจารก็มี ไม่มีวิตกไม่มีวิจารก็มี.

๖-๑๐ GravityOfLove, 9 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 20:55 น.
โอ้ ยอดเยี่ยมเลยค่ะ
Gravity อ่านสำนวนในอรรถกถาไม่ออก


ย้ายไปที่



Create Date : 12 มีนาคม 2556
Last Update : 20 มิถุนายน 2557 21:42:18 น.
Counter : 2996 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
15
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog