14.9 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร. การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก 14.8 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร. ความคิดเห็นที่ 4-71 ความคิดเห็นที่ 4-72 GravityOfLove, 23 มีนาคม เวลา 22:05 น. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ๓. โอปัมมวรรค ๕. นิวาปสูตร อุปมาพรานปลูกหญ้าล่อเนื้อ //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=5109&Z=5383&bgc=floralwhite สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น พระองค์ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า พรานเนื้อไม่ได้ปลูกหญ้าไว้สำหรับให้ฝูงเนื้อกิน แต่ที่แท้ไว้ล่อให้ฝูงเนื้อเข้ามาแล้วลืมตัวกิน แล้วก็มัวเมา แล้วก็ประมาท เมื่อประมาทก็จะถูกพรานจับเอาได้ตามชอบใจ มีฝูงเนื้อ ๔ ฝูง ฝูงแรกเข้าไปกินหญ้าที่พรานเนื้อปลูกล่อไว้ เมื่อเข้าไปก็ลืมตัวกิน ฯลฯ ถูกพรานเนื้อจับได้ ฝูงเนื้อฝูงที่ ๒ เห็นฝูงแรกเป็นเช่นนั้น จึงคิดว่าพวกเราจะไม่ทำตามฝูงแรก คือจะไม่เข้าไป กินหญ้าของพรานเนื้อ แต่จะเข้าไปหากินในป่า พอถึงท้ายฤดูร้อน หญ้าและน้ำก็ร่อยหรอหมดไป ฝูงเนื้อนั้นก็มีร่างกายซูบผอม จึงพากันกลับ มาเข้าป่าหญ้าของพรานเนื้อ ฯลฯ ถูกพรานเนื้อจับได้ ฝูงเนื้อฝูงที่ ๓ เห็นฝูงเนื้อฝูงแรกและฝูงที่ ๒ เป็นเช่นนั้น จึงคิดว่าพวกเราจะไม่ทำตามสอง ฝูงแรก แต่จะซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ๆ ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น พรานเนื้อและบริวารเห็นดังนั้นก็คิดว่า ฝูงเนื้อฝูงที่ ๓ นี้ แกมโกงคล้ายกับมีฤทธิ์ ไม่ใช่สัตว์ ธรรมดา จึงกินหญ้าที่ปลูกไว้นี้ได้ โดยที่ตนไม่ทราบทางมาทางไปของพวกมัน ดังนั้นจึงใช้วิธีเอาตาข่ายขัดไม้หลายๆ อัน ล้อมป่าหญ้าที่ปลูกไว้นี้ให้รอบไปทั้งป่า จึงทำให้ พบที่อยู่ของฝูงเนื้อฝูงนี้ พรานเนื้อจึงจับฝูงเนื้อไปได้ ฝูงเนื้อฝูงที่ ๔ เห็นฝูงเนื้อสามฝูงแรกเป็นเช่นนั้น จึงคิดว่าพวกเราจะไม่ทำตามสามฝูงแรกนั้น แต่จะเข้าไปอาศัยอยู่ในที่ซึ่งพรานเนื้อกับบริวารไปไม่ถึง พรานเนื้อและบริวารเห็นดังนั้นก็คิดว่า ฝูงเนื้อฝูงที่ ๔ นี้ แกมโกงคล้ายกับมีฤทธิ์ ไม่ใช่สัตว์ ธรรมดา จึงกินหญ้าที่ปลูกไว้นี้ได้ โดยที่ตนไม่ทราบทางมาทางไปของพวกมัน ดังนั้นจึงใช้วิธีเอาตาข่ายขัดไม้หลายๆ อัน ล้อมป่าหญ้าที่ปลูกไว้นี้ให้รอบไปทั้งป่า แต่ก็ไม่พบ ที่อยู่ของฝูงเนื้อฝูงนี้ พรานเนื้อจับฝูงเนื้อฝูงนี้ไม่ได้ ทรงอุปมาดังนี้ว่า ป่าหญ้า คือ ปัญจกามคุณ (กามคุณ ๕) พรานเนื้อ คือ มารผู้มีบาปธรรม บริวารของพรานเนื้อ คือ บริวารของมาร ฝูงเนื้อ คือ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กามคุณ_5 สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่ง เข้าไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสแล้วลืมตัว บริโภค ปัญจกามคุณ แล้วก็มัวเมา แล้วก็ประมาท เมื่อประมาทก็ถูกมารทำเอาได้ตามใจชอบในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนั้น ก็ไม่พ้นอำนาจของมารไปได้ //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โลกามิส สมณพราหมณ์พวกที่ ๒ งดเว้นจากการบริโภคปัญจกามคุณอันเป็นโลกามิส เข้าไปอาศัยอยู่ ในป่า เยียวยาอัตภาพด้วยอาหารเท่าที่หาได้ในป่า พอถึงเดือนท้ายฤดูร้อน อาหารและน้ำก็ร่อยหรอหมดไป ร่างกายก็ซูบผอม เรี่ยวแรงหมด เจโตวิมุตติ (อัธยาศัยในการละการครองเรือนแล้วออกมาอยู่ป่า) ก็เสื่อม จึงกลับหันเข้าสู่ปัญจกามคุณ อันเป็นโลกามิสนั้นอีก ฯลฯ ก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ สมณพราหมณ์พวกที่ ๓ อาศัยอยู่ใกล้ๆ ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้น แต่ว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นมีความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง สัตว์ตายแล้วเกิด สัตว์ตายแล้วไม่เกิด สัตว์ตายแล้วเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี สัตว์ตายแล้วเกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่สามนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้ สมณพราหมณ์พวกที่ ๔ อาศัยอยู่ในที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง จึงไม่เข้าไปหา ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้น จึงไม่ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ จึงไม่มัวเมา จึงไม่ประมาท ก็หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้ ที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง คือ การที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ แต่ละขั้น เท่ากับทำให้มารตาบอดคือ มารมองไม่เห็นร่องรอย (เพราะจิตของภิกษุผู้เข้าฌานซึ่งเป็นบาทของวิปัสสนา ทำให้จักษุของมารไม่ได้อารมณ์) จนภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะเห็นด้วยปัญญา มีอาสวะสิ้นไป ภิกษุนี้ได้ทำมารให้ ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม เป็นผู้ข้ามพ้น ตัณหาอันข้องอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ในโลกเสียได้ //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อนุบุพพวิหาร_9 พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีความยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค [แก้ไขตาม #73] ความคิดเห็นที่ 4-73 ฐานาฐานะ, 26 มีนาคม เวลา 17:12 น. GravityOfLove, 58 นาทีที่แล้ว พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ๓. โอปัมมวรรค ๕. นิวาปสูตร อุปมาพรานปลูกหญ้าล่อเนื้อ //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=5109&Z=5383&bgc=floralwhite 10:05 PM 3/23/2013 ย่อความได้ดี เก็บรวมรวมประเด็นได้ครบถ้วน. ขอติงเล็กน้อย ในประโยคว่า การที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ แต่ละขั้น เท่ากับทำให้มารตาบอดคือ มารมองไม่เห็นร่องรอย (เพราะจิตของภิกษุผู้เข้าฌานซึ่งเป็นบาทของวิปัสสนา ปราศจากอารมณ์) น่าจะมาจากเนื้อความอรรถกถาว่า บทว่า อปทํ วธิตฺวา มารจกฺขุ ํ ความว่า โดยปริยายนี้เอง เธอจึงฆ่าโดยประการที่จักษุของมารไม่มีทาง หมดหนทาง ไม่มีที่พึ่ง ปราศจากอารมณ์. ดังนั้น จะควรแก้ไขว่า การที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ แต่ละขั้น เท่ากับทำให้มารตาบอดคือ มารมองไม่เห็นร่องรอย (เพราะจิตของภิกษุผู้เข้าฌานซึ่งเป็นบาทของวิปัสสนา ทำให้จักษุของมารไม่ได้อารมณ์) ------------- กล่าวคือ จิตอย่างนั้นของพระภิกษุ มารมองไม่เห็น มารไม่ได้ช่องทาง. ความคิดเห็นที่ 4-74 ฐานาฐานะ, 26 มีนาคม เวลา 17:44 น. คำถามในนิวาปสูตร //84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=5109&Z=5383 เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง? ความคิดเห็นที่ 4-75 GravityOfLove, 26 มีนาคม เวลา 18:14 น. ดังนั้น จะควรแก้ไขว่า การที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ แต่ละขั้น เท่ากับทำให้มารตาบอดคือ มารมองไม่เห็นร่องรอย (เพราะจิตของภิกษุผู้เข้าฌานซึ่งเป็นบาทของวิปัสสนา ทำให้จักษุของมารไม่ได้อารมณ์) ขอบพระคุณค่ะ --------------------------------------- ตอบคำถามในนิวาปสูตร //84000.org/tipitakav.php?B=12&A=5109&Z=5383 เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง? ๑. สมณพราหมณ์ ๓ กลุ่มแรก ไม่รอดพ้นอำนาจของมารไปได้ เพราะบริโภคกามคุณ ๕ อย่างมัวเมา ประมาท สมณพราหมณ์กลุ่มที่ ๒ เช่น การบรรพชาพร้อมด้วยบุตรและภรรยา สมณพราหมณ์กลุ่มที่ ๓ เช่น สมณพราหมณ์ที่อยู่ในบ้านนิคมและราชธานี สร้างอาศรมอยู่ในอารามและสวนนั้นๆ ให้เด็กในตระกูลทั้งหลายศึกษาศิลปะต่างๆ เช่น ศิลปะช้าง ม้า และรถเป็นต้น สมณพราหมณ์กลุ่มที่ ๔ รอดพ้นอำนาจมารไปได้ มารไม่เห็นอารมณ์ เพราะท่านเข้าสมาบัติ ๒. สมาบัติ ๘ แม้เป็นโลกียะอยู่ แต่กิเลสก็เบาบางไปมากจนมารไม่สามารถครอบงำได้ เพราะมารมองไม่เห็นอารมณ์ของท่านผู้เข้าสมาบัติ ๓. นิวาปํ แปลว่า พืชที่พึงปลูก คำว่า นิวาปะก็ดี คำว่า โลกามิสานิก็ดี เป็นชื่อของกามคุณ ๕ ที่เป็นหยื่อของวัฏฏะ ความคิดเห็นที่ 4-76 ฐานาฐานะ, 26 มีนาคม เวลา 19:31 น. GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว 6:14 PM 3/26/2013 ดังนั้น จะควรแก้ไขว่า แก้ไขของแก้ไขดังนี้ว่า ดังนั้น จึงควรแก้ไขว่า - - - - - - - - - - - - - - คำว่า สมณพราหมณ์กลุ่มที่ ๒ เช่น การบรรพชาพร้อมด้วยบุตรและภรรยา ผมเข้าใจว่า สมณพราหมณ์กลุ่มที่ ๒ คือ กลุ่มที่บวชแล้ว มีการออกจากกามบ้าง แต่ภายหลังเวียนกลับมาบริโภคกามอีก กล่าวคือ บวชแล้วฝึกฝนบ้าง แล้วสึกมาครองเรือน. อรรถกถากล่าวไว้ว่า จริงอยู่ พราหมณ์ทั้งหลายประพฤติโกมารพรหมจรรย์ ๔๘ ปี คิดว่าจักสืบประเพณี เพราะกลัววัฏฏะขาด แสวงหาทรัพย์ ได้ภรรยา ครองเรือน เมื่อเกิดบุตรคนหนึ่ง คิดว่า เรามีบุตรแล้ว วัฏฏะไม่ขาดแล้ว สืบประเพณีแล้ว จึงออกบวชอีกหรือมีเมียตามเดิม. //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=301 ความคิดเห็นที่ 4-77 GravityOfLove, 26 มีนาคม เวลา 19:39 น. Gravity ตอบผิดข้อหรือคะ ความคิดเห็นที่ 4-78 ฐานาฐานะ, 26 มีนาคม เวลา 19:48 น. GravityOfLove, 5 นาทีที่แล้ว Gravity ตอบผิดข้อหรือคะ 7:39 PM 3/26/2013 ไม่น่าจะผิดข้อ แต่อาจเข้าใจความหมายผิดไป. อย่างไรก็ตาม ถามให้แน่นอนเลยว่า คำว่า สมณพราหมณ์กลุ่มที่ ๒ เช่น การบรรพชาพร้อมด้วยบุตรและภรรยา คุณ GravityOfLove นำมาจากเนื้อความส่วนใด? ความคิดเห็นที่ 4-79 GravityOfLove, 26 มีนาคม เวลา 19:52 น. นำมาจากส่วนนี้ค่ะ นี้เป็นการเปรียบเทียบด้วยการบรรพชาพร้อมด้วยบุตรและภรรยา. ชื่อว่า เจโตวิมุตติ ในคำว่า เจโตวิมุตติ ปริหายิ นั้นได้แก่ อัธยาศัยที่เกิดขึ้นว่า พวกเราจักอยู่ในป่า. อธิบายว่า อัธยาศัยนั้นเสื่อมแล้ว. ข้อว่า ตถูปเม อหํ ภิกฺขเว อิเม ทุติเย นี้เป็นการเปรียบเทียบด้วยการบรรพชาประกอบด้วยธรรมของพราหมณ์. จริงอยู่ พราหมณ์ทั้งหลายประพฤติโกมารพรหมจรรย์ ๔๘ ปี คิดว่าจักสืบประเพณี เพราะกลัววัฏฏะขาด แสวงหาทรัพย์ ได้ภรรยา ครองเรือน เมื่อเกิดบุตรคนหนึ่ง คิดว่า เรามีบุตรแล้ว วัฏฏะไม่ขาดแล้ว สืบประเพณีแล้ว จึงออกบวชอีกหรือมีเมียตามเดิม. ความคิดเห็นที่ 4-80 ฐานาฐานะ, 26 มีนาคม เวลา 20:11 น. คำว่า นี้เป็นการเปรียบเทียบด้วยการบรรพชาพร้อมด้วยบุตรและภรรยา. น่าจะเป็นคำสรุปของข้อแรก กล่าวคือตั้งแต่บรรพชา ก็ไม่ได้ห่างจากกามเลย จากนั้น บรรทัดถัดลงมา จึงเป็นการอธิบายข้อถัดไป (คือข้อ 2) สรุปว่า นำคำสรุปของข้อ 1 ซึ่งเป็นบรรทัดสุดท้ายของข้อ 1 มาเป็นคำอธิบายสรุปของข้อ 2. ความคิดเห็นที่ 4-81 GravityOfLove, 26 มีนาคม เวลา 20:30 น. นั่น ตอบผิดจริงๆ ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 4-82 ฐานาฐานะ, 26 มีนาคม เวลา 20:36 น. คำว่า นี้เป็นการเปรียบเทียบด้วยการบรรพชาพร้อมด้วยบุตรและภรรยา. ๑. เรื่องบรรพชิต ๓ รูป [๑๖๕] น่าจะใกล้เคียงคำนี้มาก //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=26&p=1 ความคิดเห็นที่ 4-83 ฐานาฐานะ, 26 มีนาคม เวลา 20:43 น. เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า นิวาปสูตร จบบริบูรณ์. //84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=5109&Z=5383 พระสูตรหลักถัดไป คือปาสราสิสูตรและจูฬหัตถิปโทปมสูตร. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ปาสราสิสูตร //84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=5384&Z=5762 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=312 จูฬหัตถิปโทปมสูตร //84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=5763&Z=6041 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=329 มหาหัตถิปโทปมสูตร //84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=6042&Z=6308 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=340 ย้ายไปที่ |
แก้วมณีโชติรส
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() Group Blog
All Blog
Link |
||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |
ขอบพระคุณค่ะ
นิวาปสูตร ไม่มีคำถามค่ะ