13.4 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
13.3 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.

(่ต่อ มหาสีหนาทสูตร)
คห ๖-๑๓
             มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเชื่อว่า คนหนุ่มจะมีปัญญาเฉลียวฉลาด แต่เมื่อชราขึ้น ปัญญาก็จะ
เสื่อมไปตามวัยด้วย
             แต่พระองค์และสาวกบริษัท ๔ แม้อายุมาก ก็มีสติ มีคติ มีธิติอันยอดเยี่ยม และมีปัญญา
เฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง
             (มีสติ เพราะสามารถเล่าเรียนตั้ง ๑๐๐ บท ๑,๐๐๐ บท)
             (มีคติ เพราะสามารถทรงจำและรวบรวมเรียบเรียงไว้ได้)
             (มีธิติ เพราะมีความเพียรที่สามารถทำการสาธยายสิ่งที่เล่าเรียนมา ทรงจำมาไว้ได้)
             ดุจนักแม่นธนูได้รับการฝึกหัด ช่ำชอง ยิงได้อย่างแม่นยำ
             หากทูลถามปัญหาอิงสติปัฏฐาน ๔  พึงทรงจำคำที่พระองค์ทรงตอบแล้วโดยแจ่มแจ้ง ไม่ควร
ทูลถามพระองค์เกินกว่า ๒ ครั้ง
             ธรรมเทศนาของพระองค์นั้นไม่รู้จักจบสิ้น (คือดำเนินไปได้ติดต่อกัน ยกเว้นยามเสวย ฯลฯ)
             ธรรมบรรยาย บทและพยัญชนะ ความแจ่มแจ้งแห่งปัญหาของพระองค์นั้นไม่มีจบสิ้น ปัญญา
ความเฉลียวฉลาดของพระองค์ย่อมไม่เป็นอย่างอื่นไปได้
             บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยถูกต้องจะพึงกล่าวคำนั้นกับพระองค์เท่านั้นว่า
             สัตว์ผู้มีความไม่ลุ่มหลงเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วในโลก เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่
คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
             ท่านพระนาคสมาละยืนถวายงานพัดอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์
             ได้กราบทูลความอัศจรรย์ ความเืลื่อมใส เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาจบจนขนลุก พร้อมทั้งทูลถาม
ว่า ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร
             ตรัสว่า ธรรมบรรยายนี้ชื่อว่าโลมหังสนบรรยาย (เรื่องที่ทำให้ขนลุก)
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว
             ท่านพระนาคสมาละมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม คห ๑๗]

คห ๖-๑๔ GravityOfLove, 11 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13:10 น.
          [๖๘๗] พ. ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงยังเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์
ก่อน เบื้องต้นของกุศลธรรมคืออะไร? คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นตรง เมื่อใด ศีล
ของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นของเธอจักตรง เมื่อนั้น เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว
พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

          โดยส่วน ๓ แปลว่าอะไรคะ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=19&item=687#687


คห ู-๑๕ ฐานาฐานะ, 11 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13:26 น.
             สันนิษฐานว่า
             โดยส่วน ๓ น่าจะหมายถึงมีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
ไม่ใช่ว่า ย่อหย่อน ไร้สัมปชัญญะ ไร้สติหลงลืม
             เพราะเหตุใด?
             เพราะว่า อารมณ์ใดๆ ของคนย่อหย่อน ไร้สัมปชัญญะ ไร้สติหลงลืม
หรือของสัตว์ติรัจฉานเป็นต้น เมื่อจะนับเข้าในหมวดของสติปัฏฐาน 4 หมวดใด
หมวดหนึ่ง ก็สามารถสงเคราะห์ได้ทั้งนั้น แต่ก็ไม่ใช่การเจริญสติสติปัฏฐาน.

คห ๖-๑๖ GravityOfLove, 11 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13:34 น.
ขอบพระคุณค่ะ

คห ๖-๑๗ ฐานาฐานะ, 11 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 23:09 น.
GravityOfLove, วันเสาร์ เวลา 21:12 น
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๒. สีหนาทวรรค
             ๒. มหาสีหนาทสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งการบันลือสีหนาท (สมฺมา สีหนาทํ นทถ)
             เรื่องสุนักขัตตลิจฉวีบุตร
//84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=2296&Z=2783&bgc=Seashell
9:10 PM 2/9/2013

             ย่อความได้ดี เก็บรวบรวมประเด็นต่างๆ ได้มาก
             มีข้อแก้ไข เช่นการสะกดเป็นต้น ดังนี้ :-

             ๓. แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสดับเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์
และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์ (ทิพพจักษุ) อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
             คำว่า ด้วยหูทิพย์ (ทิพพจักษุ)
             ควรแก้ไขเป็น ด้วยหูทิพย์ (ทิพพโสต)
- - - - - - - - - - - - - - -

เหมือนทรงเห็นเขาถูกความร้อนแผดเผา เหนื่อย หิว เดินมุ่งไปยังหลุมถ่านเพลิงที่ลึกมากกว่า
ช่วงตัวบุรุษ แล้วตกลงไปในนั้น เสวยทุกขเวทนา
             ควรเพิ่มเติม :-
เหมือนทรงเห็นเขาถูกความร้อนแผดเผา เหนื่อย หิว เดินมุ่งไปยังหลุมถ่านเพลิงที่ลึกมากกว่า
ช่วงตัวบุรุษ แล้วตกลงไปในนั้น เสวยทุกขเวทนาโดยส่วนเดียว.
             เอกนฺตทุกฺขา
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=12&item=171&Roman=0
- - - - - - - - - - - - - - -

             ๕. ... จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
             ต่อมา ทรงเห็นเขาไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว ... ด้วยตาทิพย์
อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
             เหมือนทรงเห็นเขา ... เดินมุ่งไปยังปราสาท แล้วนั่งหรือนอนในปราสาทนั้นเสวยสุขเวทนา
             ๖. ... จะทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
             ต่อมา ทรงเห็นเขาผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เสวยสุขเวทนา
             เหมือนทรงเห็นเขาถูกความร้อนแผดเผา เหนื่อย หิว เดินมุ่งเดินมุ่งไปยังสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์
มีแนวป่าทึบอยู่ไม่ไกล แล้วอาบ ดื่ม น้ำในสระระงับความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย แล้วไปนั่งหรือนอน
ที่แนวป่านั้น เสวยสุขเวทนา
             ควรเพิ่มเติม :-
             ๕. ... จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
             ต่อมา ทรงเห็นเขาไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว ... ด้วยตาทิพย์
อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
             เหมือนทรงเห็นเขา ... เดินมุ่งไปยังปราสาท แล้วนั่งหรือนอนในปราสาทนั้นเสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว.
             ๖. ... จะทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
             ต่อมา ทรงเห็นเขาผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว
             เหมือนทรงเห็นเขาถูกความร้อนแผดเผา เหนื่อย หิว เดินมุ่งเดินมุ่งไปยังสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์
มีแนวป่าทึบอยู่ไม่ไกล แล้วอาบ ดื่ม น้ำในสระระงับความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย แล้วไปนั่งหรือนอน
ที่แนวป่านั้น เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว.

             เอกนฺตสุขา
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=12&item=175&Roman=0

คห ๖-๑๘ ฐานาฐานะ, 11 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 23:34 น.
             คำถามในพระสูตรชื่อว่า มหาสีหนาทสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=2296&Z=2783

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. คำว่า เวสาลี เป็นชื่อเมืองหนึ่ง จากประวัติของเมือง
             พอสันนิษฐานได้หรือไม่ว่า คำว่า เวสาลี แผลงเป็นภาษาไทยว่าอะไร?
             3. พอทราบหรือไม่ว่า
             เพราะเหตุใด สุนักขัตตะจะไม่สามารถทำทิพพโสตให้เกิดขึ้นได้?
             4. คำว่า บริษัท ๘ ได้เคยพบในพระสูตรหลักอะไรบ้าง?
             อรรถกถากล่าวเหตุที่พระผู้มีพระภาคเข้าไปหาบริษัท ๘ จำพวก เพื่ออะไร?
             5. ลัทธิว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยสังสารวัฏ ในข้อ 187
ละม้ายคล้ายลัทธิของใคร ในสมัยพุทธกาล?

คห ๖-๑๙ GravityOfLove, 12 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 01:24 น.
             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า มหาสีหนาทสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=2296&Z=2783

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. มีผู้ว่ากล่าว (ตำหนิ) พระตถาคต แต่คำกล่าวบางประการกลับเป็นการสรรเสริญ
             พระสมณโคดมไม่มีญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ << แท้จริง ทรงมี
             สมณโคดมแสดงธรรมที่ประมวลด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง << สรรเสริญ
             ธรรมที่สมณโคดมแสดงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่บุคคล นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบสำหรับ
บุคคลผู้ปฏิบัติตามธรรมนั้น << สรรเสริญ

             ๒. เขาว่ากล่าวพระตถาคต เพราะเขาไม่รู้ว่า พระองค์ทรงเป็นพระอรหันต์ ทรงมีอิทธิวิธิ มีทิพพจักษู และ
มีเจโตปริยญาณ

             ๓. พระตถาคตทรงมีทศพลญาณ ๑๐ จึงประกาศธรรมจักรในบริษัท ๘ ได้อย่างองอาจ

             ๔. ผู้ใดว่าพระตถาคตว่า ไม่มีคุณธรรมอันยิ่ง พอแก่ความเป็นพระอริยะ ถ้าผู้นั้นไม่ละวาจานั้น ไม่ละความคิดนั้น
ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก

             ๕. การบำเพ็ญทุกรกิริยามีองค์ ๔, การประพฤติพรหมจรรย์มีองค์ ๑๒

             ๖.. พรหมจรรย์และวัตรที่พระโพธิสัตว์เคยบําเพ็ญ เป็นเยี่ยมกว่าผู้บําเพ็ญตบะทั้งหลาย     

             ๗. สังสารวัฏที่พระพุทธองค์ไม่เคยเที่ยวไป ความอุบัติ (การเกิด) ที่พระพุทธองค์ไม่เคยเข้าถึงแล้ว
อาวาสที่พระพุทธองค์ ไม่เคยอยู่อาศัยแล้ว โดยกาลยืดยาวนานนี้ เว้นจากเทวโลกชั้นสุทธาวาสเป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก  

             ๘. พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เรียกบุรุษผู้ไม่มีอุปนิสัยแห่งมรรค และผล ในอัตภาพนั้นว่า โมฆบุรุษ (สุนักขัตตะกรณีนี้)
ครั้นเมื่ออุปนิสัยแม้มีอยู่ แต่มรรค หรือผล ไม่มีในขณะนั้นก็เรียกว่า โมฆบุรุษ เหมือนกัน

             ๙. ข้อแตกต่างของทศพลญาณและสัพพัญญุตญาณ
             ทศพลญาณย่อมรู้เฉพาะกิจของตนๆ เท่านั้น สัพพัญญุตญาณย่อมรู้กิจของตนๆ นั้นบ้าง
กิจที่เหลือจากกิจของตนๆ นั้นบ้าง
ทศพลญาณ
             ญาณที่ ๑ ย่อมรู้เฉพาะเหตุและไม่ใช่เหตุเท่านั้น.
             ญาณที่ ๒ ย่อมรู้ลำดับแห่งกรรมและลำดับแห่งวิบากเท่านั้น.
             ญาณที่ ๓ ย่อมรู้การกำหนดกรรมเท่านั้น.
             ญาณที่ ๔ ย่อมรู้เหตุแห่งความที่ธาตุเป็นต่างๆ กันเท่านั้น.
             ญาณที่ ๕ ย่อมรู้อัธยาศัย และอธิมุตติของสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น.
             ญาณที่ ๖ ย่อมรู้ความที่อินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้าและอ่อนเท่านั้น.
             ญาณที่ ๗ ย่อมรู้กิจมีความเศร้าหมอง เป็นต้น แห่งอินทรีย์เหล่านั้นพร้อมกับฌาน เป็นต้น เท่านั้น.
             ญาณที่ ๘ ย่อมรู้ความสืบต่อแห่งขันธ์ที่เคยอยู่ในชาติปางก่อนเท่านั้น.
             ญาณที่ ๙ ย่อมรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น.
             ญาณที่ ๑๐ ย่อมรู้การกำหนดสัจจะเท่านั้น.

             ญาณที่ 1-7 เป็นกามาวจร มีวิตกมีวิจาร
             ญาณที่ 8-9 เป็นรูปาวจร ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
             ญาณที่ 10 เป็นโลกุตตระ มีวิตกมีวิจารก็มี ไม่มีวิตกไม่มีวิจารก็มี.

             ๑๐. กองอาบัติ 7 กอง แม้ทุกกฏและทุพภาษิตก็ทําอันตรายแก่มรรคและผลทั้งหลายได้

             ๑๑. เหล่าพระญาติและบริวารของพระเจ้าพิมพิสาร ของเจ้าลิจฉวี เคยบังเกิดในจักรวาลอื่น
             พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เคยเสด็จไปจักรวาลอื่นๆ

             ๑๒. พระพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้ทรงพระชนม์มากขึ้นก็ไม่มีลักษณะชราบางประการ เช่น ฟันหลุด
พระฉวีวรรณเปลี่ยน
---------------------------------------------------------------------------------------
             2. คำว่า เวสาลี เป็นชื่อเมืองหนึ่ง จากประวัติของเมือง
             พอสันนิษฐานได้หรือไม่ว่า คำว่า เวสาลี แผลงเป็นภาษาไทยว่าอะไร?
             สันนิษฐานว่า คือคำว่า ไพศาล

             ในมหาสีหนาทสูตรนั้น บทว่า เวสาลิยํ ความว่า ใกล้พระนครซึ่งมีชื่ออย่างนั้น.
ได้ยินว่า พระนครนั้นถึงอันนับว่า เวสาลี เพราะเป็นนครเจริญไพศาลบ่อยๆ.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=159
---------------------------------------------------------------------------------------
             3. พอทราบหรือไม่ว่า
             เพราะเหตุใด สุนักขัตตะจะไม่สามารถทำทิพพโสตให้เกิดขึ้นได้?

ก็ในอดีตกาล สุนักขัตตะนี้ตีกกหูภิกษุผู้มีศีลรูปหนึ่ง ทำให้เป็นพระหูหนวก
เพราะฉะนั้น แม้เธอจะทำบริกรรม ก็ไม่สามารถบรรลุถึงทิพยโสตได้.
             เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสบอกบริกรรม.
             อรรถกถา มหาลิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=239
---------------------------------------------------------------------------------------
             4. คำว่า บริษัท ๘ ได้เคยพบในพระสูตรหลักอะไรบ้าง?
             มหาปรินิพพานสูตร
             [๙๙] ดูกรอานนท์ บริษัท ๘ พวกเหล่านี้แล ๘ พวกเป็นไฉน คือ
ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท จาตุมหาราชิกบริษัท
ดาวดึงสบริษัท มารบริษัท พรหมบริษัท ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1888&Z=3915

             สังคีติสูตร
  [๓๔๘] บริษัท ๘ อย่าง
                          ๑. บริษัทกษัตริย์
                          ๒. บริษัทพราหมณ์
                          ๓. บริษัทคฤหบดี
                          ๔. บริษัทสมณะ
                          ๕. บริษัทพวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกา
                          ๖. บริษัทพวกเทพชั้นดาวดึงส์
                          ๗. บริษัทพวกเทพชั้นนิมมานรดี
                          ๘. บริษัทพรหม ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=4501&Z=7015
------------------------------------
             อรรถกถากล่าวเหตุที่พระผู้มีพระภาคเข้าไปหาบริษัท ๘ จำพวก เพื่ออะไร?
             เพื่อแสดงธรรมแก่พวกเขาให้เป็นปัจจัยในการบรรลุธรรมแม้ในอัตภาพนี้ไม่ได้บรรลุ
ก็เป็นปัจจัยเพื่อบรรลุในอนาคต

             ถามว่า ทรงแสดงธรรมแก่บุคคลทั้งหลายผู้ไม่รู้อย่างนี้เพื่ออะไร.
             ตอบว่า เพื่อประโยชน์แก่วาสนา. พระองค์ทรงแสดงมุ่งอนาคตว่า ธรรมแม้ได้ฟังอย่างนี้
ย่อมเป็นปัจจัยในอนาคตนั้นเทียว.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=159
---------------------------------------------------------------------------------------
             5. ลัทธิว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยสังสารวัฏ ในข้อ 187
ละม้ายคล้ายลัทธิของใคร ในสมัยพุทธกาล?
             คล้ายวาทะของศาสดามักขลิ โคศาล

             สามัญญผลสูตร
             ... พาลและบัณฑิตเร่ร่อน ท่องเที่ยวไป จักทำที่สุดทุกข์ได้เอง
เหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไป ย่อมคลี่หมดไปเอง ฉะนั้น ดังนี้
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามถึงสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ครูมักขลิ โคศาล
กลับพยากรณ์ถึงความบริสุทธิ์ด้วยการเวียนว่าย ...
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=1072&Z=1919&pagebreak=0

คห ๖-๒๐ ฐานาฐานะ, 12 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 02:22 น.
GravityOfLove, 1 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า มหาสีหนาทสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=2296&Z=2783

             โดยรวมๆ แล้ว ตอบได้ดีและรวดเร็วมาก
             อีกทั้งสามารถนำพระสูตรหลักที่ได้ศึกษาผ่านมาแล้ว มาตอบคำถามได้
             อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อติงและข้อเพิ่มเติม ดังนี้ :-

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. มีผู้ว่ากล่าว (ตำหนิ) พระตถาคต แต่คำกล่าวบางประการกลับเป็นการสรรเสริญ
             พระสมณโคดมไม่มีญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ << แท้จริง ทรงมี
             สมณโคดมแสดงธรรมที่ประมวลด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง << สรรเสริญ
             ธรรมที่สมณโคดมแสดงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่บุคคล นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบสำหรับ
บุคคลผู้ปฏิบัติตามธรรมนั้น << สรรเสริญ
ขอติงว่า
             คำว่า สมณโคดมแสดงธรรมที่ประมวลด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง
เป็นการตำหนิ แปลง่ายๆ ว่า ตำหนิติเตียนว่า ไม่มีญาณอะไรๆ เพียงนึกคิดเอาเองครับ.
             ข้อสังเกตุว่า เป็นคำตำหนิติเตียน ก็คือ
             ดูกรสารีบุตร ผู้ใดแลพึงว่าซึ่งเราผู้รู้อยู่อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์
ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษพอแก่ความเป็นอริยะของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรง
แสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง

             ดูกรสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย
ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรกดังถูกนำมาฝังไว้.
             ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา
พึงกระหยิ่มอรหัตผลในปัจจุบันทีเดียว ฉันใด
             ดูกรสารีบุตร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย
ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรกดังถูกนำมาฝังไว้.
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=2296&Z=2783#168top #168top

             ๒. เขาว่ากล่าวพระตถาคต เพราะเขาไม่รู้ว่า พระองค์ทรงเป็นพระอรหันต์ ทรงมีอิทธิวิธิ มีทิพพจักษู และ
มีเจโตปริยญาณ
ขอติงว่า มีทิพพจักษู สะกดว่า มีทิพพจักษุ.

             ๓. พระตถาคตทรงมีทศพลญาณ ๑๐ จึงประกาศธรรมจักรในบริษัท ๘ ได้อย่างองอาจ
             ๔. ผู้ใดว่าพระตถาคตว่า ไม่มีคุณธรรมอันยิ่ง พอแก่ความเป็นพระอริยะ ถ้าผู้นั้นไม่ละวาจานั้น
ไม่ละความคิดนั้น ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก
             ๕. การบำเพ็ญทุกรกิริยามีองค์ ๔, การประพฤติพรหมจรรย์มีองค์ ๑๒
             ๖. พรหมจรรย์และวัตรที่พระโพธิสัตว์เคยบําเพ็ญ เป็นเยี่ยมกว่าผู้บําเพ็ญตบะทั้งหลาย
             ๗. สังสารวัฏที่พระพุทธองค์ไม่เคยเที่ยวไป ความอุบัติ (การเกิด) ที่พระพุทธองค์ไม่เคยเข้าถึงแล้ว
อาวาสที่พระพุทธองค์ ไม่เคยอยู่อาศัยแล้ว โดยกาลยืดยาวนานนี้ เว้นจากเทวโลกชั้นสุทธาวาสเป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก  
             ๘. พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เรียกบุรุษผู้ไม่มีอุปนิสัยแห่งมรรคและผล ในอัตภาพนั้นว่า โมฆบุรุษ (สุนักขัตตะกรณีนี้)
ครั้นเมื่ออุปนิสัยแม้มีอยู่ แต่มรรค หรือผล ไม่มีในขณะนั้นก็เรียกว่า โมฆบุรุษ เหมือนกัน

             เพิ่มเติมว่า
             มีอุปนิสัยอยู่ แต่ยังไม่บรรลุ เช่น ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตร ถูกพระผู้มีพระภาคตำหนิ
ด้วยคำว่า ดูกรโมฆบุรุษ ... ภายหลังพระเถระเพียรพยายามกระทำให้แจ้งซึ่งอภิญญา ๖ ด้วยคิดว่า
แม้เราก็จักประคองความเพียรเห็นปานนั้นทำมรรคผลให้เกิด.
             อรรถกถาอลคัททูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=274&p=1
             ประวัติพระอุปเสนวังคันตบุตรเถระ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=148&p=5

             พระอุปเสนวังคันตบุตรอุปสมบทสัทธิวิหาริก
[บางส่วน]
             ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ
             ดูกรโมฆบุรุษ เธอยังเป็นผู้อันผู้อื่นพึงโอวาทอนุศาสน์อยู่ ไฉนจึงสำคัญตนเพื่อโอวาทอนุศาสน์ผู้อื่นเล่า
เธอเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ซึ่งมีความพัวพันด้วยหมู่เร็วเกินนัก การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ครั้นแล้วทรงทำ
ธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๑๐ ไม่พึงให้อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุมีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ให้อุปสมบท.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=1988&Z=2021

             ๙. ข้อแตกต่างของทศพลญาณและสัพพัญญุตญาณ
             ทศพลญาณย่อมรู้เฉพาะกิจของตนๆ เท่านั้น สัพพัญญุตญาณย่อมรู้กิจของตนๆ นั้นบ้าง
กิจที่เหลือจากกิจของตนๆ นั้นบ้าง
             ทศพลญาณ
             ญาณที่ ๑ ย่อมรู้เฉพาะเหตุและไม่ใช่เหตุเท่านั้น.
             ญาณที่ ๒ ย่อมรู้ลำดับแห่งกรรมและลำดับแห่งวิบากเท่านั้น.
             ญาณที่ ๓ ย่อมรู้การกำหนดกรรมเท่านั้น.
             ญาณที่ ๔ ย่อมรู้เหตุแห่งความที่ธาตุเป็นต่างๆ กันเท่านั้น.
             ญาณที่ ๕ ย่อมรู้อัธยาศัย และอธิมุตติของสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น.
             ญาณที่ ๖ ย่อมรู้ความที่อินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้าและอ่อนเท่านั้น.
             ญาณที่ ๗ ย่อมรู้กิจมีความเศร้าหมอง เป็นต้น แห่งอินทรีย์เหล่านั้นพร้อมกับฌาน เป็นต้น เท่านั้น.
             ญาณที่ ๘ ย่อมรู้ความสืบต่อแห่งขันธ์ที่เคยอยู่ในชาติปางก่อนเท่านั้น.
             ญาณที่ ๙ ย่อมรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น.
             ญาณที่ ๑๐ ย่อมรู้การกำหนดสัจจะเท่านั้น.

             ญาณที่ 1-7 เป็นกามาวจร มีวิตกมีวิจาร
             ญาณที่ 8-9 เป็นรูปาวจร ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
             ญาณที่ 10 เป็นโลกุตตระ มีวิตกมีวิจารก็มี ไม่มีวิตกไม่มีวิจารก็มี.

             ๑๐. กองอาบัติ 7 กอง แม้ทุกกฏและทุพภาษิตก็ทําอันตรายแก่มรรคและผลทั้งหลายได้
             ๑๑. เหล่าพระญาติและบริวารของพระเจ้าพิมพิสาร ของเจ้าลิจฉวี เคยบังเกิดในจักรวาลอื่น
             พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เคยเสด็จไปจักรวาลอื่นๆ
             ๑๒. พระพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้ทรงพระชนม์มากขึ้นก็ไม่มีลักษณะชราบางประการ เช่น ฟันหลุด
พระฉวีวรรณเปลี่ยน
             เพิ่มเติมว่า
             ฟันหลุดร่วง ไม่ปรากฎว่ามี,
             พระฉวีวรรณเปลี่ยน ปรากฎว่ามีในพระสูตรชื่อว่าชราสูตร กล่าวคือ ปรากฎบ้างแก่ผู้อยู่ใกล้ชิด.
             ชราสูตร ว่าด้วยความแก่
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=5669&Z=5692
---------------------------------------------------------------------------------------
             2. คำว่า เวสาลี เป็นชื่อเมืองหนึ่ง จากประวัติของเมือง
             พอสันนิษฐานได้หรือไม่ว่า คำว่า เวสาลี แผลงเป็นภาษาไทยว่าอะไร?
             สันนิษฐานว่า คือคำว่า ไพศาล

             ในมหาสีหนาทสูตรนั้น บทว่า เวสาลิยํ ความว่า ใกล้พระนครซึ่งมีชื่ออย่างนั้น.
ได้ยินว่า พระนครนั้นถึงอันนับว่า เวสาลี เพราะเป็นนครเจริญไพศาลบ่อยๆ.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=159

             เฉลยว่า น่าจะเป็นคำว่า ไพศาล นี้เอง.
---------------------------------------------------------------------------------------
             3. พอทราบหรือไม่ว่า
             เพราะเหตุใด สุนักขัตตะจะไม่สามารถทำทิพพโสตให้เกิดขึ้นได้?

             ก็ในอดีตกาล สุนักขัตตะนี้ตีกกหูภิกษุผู้มีศีลรูปหนึ่ง ทำให้เป็นพระหูหนวก
เพราะฉะนั้น แม้เธอจะทำบริกรรม ก็ไม่สามารถบรรลุถึงทิพยโสตได้.
             เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสบอกบริกรรม.
             อรรถกถา มหาลิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=239

             เฉลยว่า ถูกต้องครับ.
---------------------------------------------------------------------------------------
             4. คำว่า บริษัท ๘ ได้เคยพบในพระสูตรหลักอะไรบ้าง?
             มหาปรินิพพานสูตร
             [๙๙] ดูกรอานนท์ บริษัท ๘ พวกเหล่านี้แล ๘ พวกเป็นไฉน คือ
ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท จาตุมหาราชิกบริษัท
ดาวดึงสบริษัท มารบริษัท พรหมบริษัท ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1888&Z=3915

             สังคีติสูตร
             [๓๔๘] บริษัท ๘ อย่าง
                   ๑. บริษัทกษัตริย์
                   ๒. บริษัทพราหมณ์
                   ๓. บริษัทคฤหบดี
                   ๔. บริษัทสมณะ
                   ๕. บริษัทพวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกา
                   ๖. บริษัทพวกเทพชั้นดาวดึงส์
                   ๗. บริษัทพวกเทพชั้นนิมมานรดี
                   ๘. บริษัทพรหม ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=4501&Z=7015

             เฉลยว่า ถูกต้องครับ.
------------------------------------
             อรรถกถากล่าวเหตุที่พระผู้มีพระภาคเข้าไปหาบริษัท ๘ จำพวก เพื่ออะไร?
             เพื่อแสดงธรรมแก่พวกเขาให้เป็นปัจจัยในการบรรลุธรรมแม้ในอัตภาพนี้ไม่ได้บรรลุ
ก็เป็นปัจจัยเพื่อบรรลุในอนาคต

             ถามว่า ทรงแสดงธรรมแก่บุคคลทั้งหลายผู้ไม่รู้อย่างนี้เพื่ออะไร.
             ตอบว่า เพื่อประโยชน์แก่วาสนา. พระองค์ทรงแสดงมุ่งอนาคตว่า ธรรมแม้ได้ฟังอย่างนี้
ย่อมเป็นปัจจัยในอนาคตนั้นเทียว.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=159
             เฉลยว่า ถูกต้องครับ.
---------------------------------------------------------------------------------------
             5. ลัทธิว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยสังสารวัฏ ในข้อ 187
ละม้ายคล้ายลัทธิของใคร ในสมัยพุทธกาล?
             คล้ายวาทะของศาสดามักขลิ โคศาล

             สามัญญผลสูตร
             ... พาลและบัณฑิตเร่ร่อน ท่องเที่ยวไป จักทำที่สุดทุกข์ได้เอง
เหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไป ย่อมคลี่หมดไปเอง ฉะนั้น ดังนี้
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามถึงสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ครูมักขลิ โคศาล
กลับพยากรณ์ถึงความบริสุทธิ์ด้วยการเวียนว่าย ...
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=1072&Z=1919&pagebreak=0

             เฉลยว่า ถูกต้องครับ คล้ายวาทะของศาสดามักขลิ โคศาล.
             คำถามต่อเนื่องว่า วาทะทั้ง 6 ของเดียรถีย์ในสามัญญผลสูตรนั้น
             วาทะใดหรือวาทะของผู้ใด เป็นโทษต่อสัตว์ทั้งหลาย มากที่สุด.

ย้ายไปที่



Create Date : 13 มีนาคม 2556
Last Update : 20 มิถุนายน 2557 21:47:04 น.
Counter : 2832 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
15
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
13 มีนาคม 2556
All Blog