13.8 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
13.7 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.

ความคิดเห็นที่ 6-54
GravityOfLove, 19 กุมภาพันธ์ เวลา 20:29 น.

             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า อนุมานสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3185&Z=3448

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. บางคนปวารณาตัวว่า มีอะไรก็ว่ากล่าวกันได้ แต่เอาเข้าจริงๆ  กลับเป็นคนว่ายาก
มีธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ จึงเป็นผู้ไม่ควรว่ากล่าว
ไม่ควรพร่ำสอน ไม่ควรไว้วางใจ
             บางคนแม้ไม่ได้ปวารณาตัวเองเช่นนั้น แต่กลับเป็นคนว่าง่าย มีธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย
อดทน รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ จึงเป็นผู้สมควรว่ากล่าวได้ ควรพร่ำสอน วางใจได้
             ๒. ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก ๑๖ ประการ และธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย ๑๖ ประการ
             ๓. จากธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก ๑๖ ประการนั้น ให้เทียบเคียงด้วยตนเองว่า
ถ้าเราเป็นอย่างนั้น คนอื่นจะคิดอย่างไร ถ้าเขาคิดในแง่อกุศลธรรม ก็หาทางละเสีย
             ให้พิจารณาตัวเองว่า เราเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ถ้าใช่ ก็หาทางละเสีย
ถ้าไม่ใช่ก็มีความปราโมทย์ แล้วเพียรศึกษากุศลธรรมธรรมทั้งหลาย
             ๔. โบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า สูตรนี้ ชื่อว่า ภิกขุปาฏิโมกข์ ภิกษุควรพิจารณาวันละ ๓ ครั้ง
             ๕. ท่านพระมหาโมคคัลลานะแสดงปหานในพระสูตรนี้ครบทั้ง ๕ ประการ คือ
             แสดงปฏิสังขานปหานะแก่ภิกษุผู้ยังการพิจารณาให้เกิดขึ้นว่า อกุศลธรรมประมาณเท่านี้ไม่สมควรแก่บรรพชิต
             แสดงวิกขัมภนปหานะแก่ภิกษุผู้ทำศีลให้เป็นปทัฏฐานแล้ว ปรารภกสิณบริกรรม ยังสมาบัติแปดให้เกิดขึ้น
             แสดงตทังคปหานะแก่ภิกษุผู้ทำสมาบัติให้เป็นปทัฏฐานแล้ว เจริญวิปัสสนา
             แสดงสมุจเฉทปหานะแก่ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนาแล้ว อบรมมรรค
             แสดงปฏิปัสสัทธิปหานะ เมื่อผลมาแล้ว
             แสดงนิสสรณปหานะ เมื่อนิพพานมาแล้ว
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปหาน
-------------------------------------------------------------------------
             2. อนุมานสูตร ประกอบด้วยข้อ 221 ถึง 225
             คำว่า อนุมาน (ชื่อพระสูตร) ในภาษาบาลี อยู่ในข้อใด?
             ตอบว่า อยู่ในข้อ ๒๒๔
             [๒๒๔]  ตตฺราวุโส  ภิกฺขุนา อตฺตนาว อตฺตานํ เอวํ อนุมานิตพฺพํ
            โย   ขฺวายํ   ปุคฺคโล   ปาปิจฺโฉ   ปาปิกานํ   อิจฺฉานํ  วสงฺคโต  อยํ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=12&item=224&Roman=0

             และในข้อนั้น คำว่า อนุมาน (ชื่อพระสูตร) ว่าอย่างไร?
             ตอบว่า ให้เทียบเคียงด้วยตนเอง เช่น ถ้าเราเป็นเช่นนั้น เราก็คงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น
             "เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น" เป็นการคาดหมาย (ชื่อพระสูตร) ว่า ผู้อื่นจะคิดอย่างไรต่อเรา

-------------------------------------------------------------------------
             3. ในอกุศลธรรม 16 ข้อ คุณ GravityOfLove เห็นว่า
ข้อใดที่ตนเองมีมากที่สุด และข้อใดที่ตนเองมีน้อยที่สุด
(อย่างน้อยอย่างละ 1 ข้อ)
             ข้อที่ตนเองมีมากที่สุด คือ  ๖. เป็นผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ
             ข้อที่ตนเองมีน้อยที่สุด คือ
              ๒. เป็นผู้ยกตน ข่มผู้อื่น
             ๘. ถูกโจทแล้วกลับรุกรานโจทก์
             ๙. ถูกโจทแล้วกลับปรักปรำโจทก์
             ๑๐. ถูกโจทแล้ว กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ
ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ
             ๑๑. ถูกโจทแล้วไม่ยอมอธิบายพฤติกรรม (ของตน)
             ๑๔. เป็นผู้โอ้อวด เจ้ามายา
8:28 PM 2/19/2013
             ๑๕. เป็นผู้กระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น

ความคิดเห็นที่ 6-55
ฐานาฐานะ, 19 กุมภาพันธ์ เวลา 21:31 น.   

GravityOfLove, 4 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า อนุมานสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3185&Z=3448
8:28 PM 2/19/2013
             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ตอบคำถามได้ดีครับ
             พระสูตรนี้และพระสูตรชื่อว่าอนังคณสูตรเป็นต้น จะทำให้พอเห็นสภาพ
ต่างๆ ของพุทธบริษัทได้ โดยเฉพาะ บริษัทของพระภิกษุ.
             กล่าวคือ ในหมู่พระภิกษุย่อมมีบางรูปมากไปด้วยความขัดเกลา
และบางรูปมากไปด้วยอกุศลธรรม เห็นแล้วอาจพิจารณาว่า หากเราเป็นพระภิกษุ
ก็ควรถือเอาส่วนแห่งการขัดเกลาเป็นต้น.
             อนังคณสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=752&Z=1023

             2. อนุมานสูตร ประกอบด้วยข้อ 221 ถึง 225
             คำว่า อนุมาน (ชื่อพระสูตร) ในภาษาบาลี อยู่ในข้อใด?
และในข้อนั้น คำว่า อนุมาน (ชื่อพระสูตร) ว่าอย่างไร?
             ตอบได้ดีครับ น่าจะคล้ายๆ คำที่กล่าวกันว่า
             เอาใจเขามาใส่ใจเรา.

             3. ในอกุศลธรรม 16 ข้อ คุณ GravityOfLove เห็นว่า
ข้อใดที่ตนเองมีมากที่สุด และข้อใดที่ตนเองมีน้อยที่สุด
(อย่างน้อยอย่างละ 1 ข้อ)
             ข้อที่ตนเองมีมากที่สุด คือ  ๖. เป็นผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ
             รับทราบครับ.

             ๑๔. เป็นผู้โอ้อวด เจ้ามายา
8:28 PM 2/19/2013
             ๑๕. เป็นผู้กระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น
             ลงเวลาแล้ว ยังมีแถมด้วยหนอ.

ความคิดเห็นที่ 6-56
GravityOfLove, 19 กุมภาพันธ์ เวลา 21:40 น.

ลงเวลาแล้ว ยังมีแถมด้วยหนอ.

ระลึกถึงคำว่า ตอบอย่างน้อย ๑ ข้อ
ก็เลยตอบเพิ่มอีกค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-57
ฐานาฐานะ, 19 กุมภาพันธ์ เวลา 22:21 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อนุมานสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3014&Z=3184

             พระสูตรหลักถัดไป คือเจโตขีลสูตรและวนปัตถสูตร.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             เจโตขีลสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3449&Z=3630
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=226

             วนปัตถสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3631&Z=3751
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=234

ความคิดเห็นที่ 6-58
GravityOfLove, 24 กุมภาพันธ์ เวลา 21:16 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๒. สีหนาทวรรค          
             ๖. เจโตขีลสูตร ว่าด้วยตะปูตรึงใจ
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3449&Z=3630

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุมาตรัสว่า
             ข้อที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังไม่ละกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู (ตะปูตรึงใจ)
5 ประการ ยังไม่ถอนกิเลสเครื่องผูกพันใจ 5 ประการแล้ว จะถึงความความเจริญ
งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้เป็นไปไม่ได้เลย
             กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
             ๑. สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา
             จิตของภิกษุผู้สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสใน
พระศาสดานั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
(สงสัยในพระสรีระหรือพระคุณของพระศาสดามีอยู่หรือไม่)
             ๒. ... ในพระธรรม ...
(สงสัยในปริยัติธรรม ปฏิบัติธรรมและปฏิเวธธรรมมีอยู่หรือไม่)
             ๓. ... ในพระสงฆ์ ...
(พระอริยบุคคลมีอยู่หรือไม่)
             ๔. ... ในสิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา) ...
(อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขามีอยู่หรือไม่)
             ๕. เป็นผู้โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะกระทบกระทั่ง
มีใจดุจตะปู (แข็งกระด้าง) ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
             จิตของภิกษุผู้โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะกระทบ
กระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ
ความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร

             กิเลสเครื่องผูกพันใจ ๕ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
             ๑. เป็นผู้ยังมีความกำหนัด ความพอใจ ความรัก
ความกระหาย ความเร่าร้อน ความทะยานอยากในกาม
             ภิกษุผู้นี้ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
             ๒. เป็นผู้ยังมีความกำหนัดในกาย ...
             ๓. เป็นผู้ยังมีความกำหนัดในรูป ...
             ๔. ฉันอาหารตามความต้องการแล้ว ประกอบความสุขใน
การนอน ความสุขในการเอน ความสุขในการหลับอยู่ ...
             ๕. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกาย
อันใดอันหนึ่งว่า ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้า
หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง
             ภิกษุผู้นี้ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร

             เป็นไปได้ที่กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ
ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละได้แล้ว กิเลสเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ
ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตัดขาดแล้ว จะถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์
ในธรรมวินัยนี้
             กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ
ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละได้แล้ว กิเลสเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ
ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตัดขาดแล้ว คือ ...
             (ตรงกันข้ามกับที่ตรัสข้างบน)

             ภิกษุที่เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วย
             ๑. ฉันทสมาธิปธานสังขาร (ฉันทสมาธิ หมายถึง
สมาธิที่เกิดจากฉันทะ ปธานสังขาร หมายถึงความเพียรที่มุ่งมั่น)
             ๒. วิริยสมาธิปธานสังขาร
             ๓. จิตตสมาธิปธานสังขาร
             ๔. วิมังสาสมาธิปธานสังขาร
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อิทธิบาท_4
             และภิกษุที่มีความเพียรยิ่ง (ขะมักเขม้น)

             ภิกษุผู้มีองค์ ๑๕ (ละกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕
ตัดกิเลสเครื่องผูกพันใจ ๕ อิทธิบาท ๔ และมีความเพียรอันยิ่ง ๑)
อย่างนี้นั้น
             ย่อมเป็นผู้ควรแก่ความเบื่อหน่าย (ทำลายกิเลสด้วยญาณ)
ควรแก่การตรัสรู้ และควรแก่การบรรลุธรรม อันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
อันยอดเยี่ยม
             เปรียบเหมือนไข่ที่แม่ไก่ตั้งใจกกไว้อย่างดี แม้ว่าแม่ไก่จะไม่
ปรารถนาว่า ขอให้ลูกไก่เจาะทำลายเปลือกไข่ออกมาโดยสวัสดิภาพ
ถึงอย่างนั้น ลูกไก่ก็จะทำลายเปลือกไข่ออกมาได้โดยสวัสดิภาพ ฉันใด
             ภิกษุผู้มีองค์ ๑๕ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ควรแก่ความ
เบื่อหน่าย ควรแก่การตรัสรู้ และควรแก่การบรรลุธรรมอันเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว
             ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม ๖-๕๙]

ความคิดเห็นที่ 6-59
ฐานาฐานะ, 25 กุมภาพันธ์ เวลา 02:20 น.

GravityOfLove, 4 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๒. สีหนาทวรรค
             ๖. เจโตขีลสูตร ว่าด้วยตะปูตรึงใจ
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3449&Z=3630

             ย่อความได้ดีครับ รวบรวมประเด็นได้ครบถ้วน
             ข้อติงเล็กน้อยดังนี้ :-
             ประโยคว่า :-
             เป็นไปไม่ได้เลยที่กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู (ตะปูตรึงใจ)  
๕ ประการที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังละไม่ได้ กิเลสเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ
ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังตัดไม่ขาด เธอจะถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์
ในธรรมวินัยนี้
             การผูกประโยคข้างต้นดูแปลกๆ คือขึ้นต้นด้วยคำว่า เป็นไปไม่ได้เลย
และมีคำว่า ที่ ถึง 3 ครั้ง.
             ถ้าเป็นประโยคสั้น อาจเข้าใจได้ง่าย ถ้าประโยคยาว จะเข้าใจยาก.
             ประโยคง่ายๆ ดังนี้ :-
             ข้อที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังไม่ละกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู (ตะปูตรึงใจ)
5 ประการ ยังไม่ถอนกิเลสเครื่องผูกพันใจ 5 ประการแล้ว จะถึงความความเจริญ
งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้เป็นไปไม่ได้เลย.
-----------------------------------------------------------------------------
             ๑.สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา
แก้ไขเป็น
             ๑. สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
(อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขามีอยู่หรือไม่ )
             แก้ไขเป็น
(อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขามีอยู่หรือไม่)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
             ๔. ฉันอาหารตามความต้องการแล้ว ประกอบความสุขใน
การนอน ความสุขในการเอนความสุขในการหลับอยู่ ...
             แก้ไขเป็น
             ๔. ฉันอาหารตามความต้องการแล้ว ประกอบความสุขใน
การนอน ความสุขในการเอน ความสุขในการหลับอยู่ ...

ความคิดเห็นที่ 6-60
ฐานาฐานะ, 25 กุมภาพันธ์ เวลา 02:31 น.   

             คำถามในพระสูตรชื่อว่า เจโตขีลสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3449&Z=3630

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. คำว่า และมีความขะมักเขม้นเป็นที่ ๕ พระไตรปิฎกภาษาบาลี ใช้คำว่าอะไร?
             3. อุปมาเหมือนแม่ไก่ฟักไข่ อุปมานี้เคยได้อ่านจากพระสูตรใด ในกระทู้ใด หรือไม่?

ความคิดเห็นที่ 6-61
GravityOfLove, 25 กุมภาพันธ์ เวลา 11:50 น.

ขอบพระคุณค่ะ แก้ไข ๔ จุด
-------------------
             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า เจโตขีลสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3449&Z=3630

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ถ้ายังละกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการไม่ได้ จะถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ไม่ได้
             ๒. กิเลสเครื่องผูกพันใจ ๕
             ๓. ผู้มีองค์ ๑๕ (ละกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕, ตัดกิเลสเครื่องผูกพันใจ ๕, อิทธิบาท ๔, และมีความเพียรอันยิ่ง ๑)
ย่อมเป็นผู้ควรแก่ความเบื่อหน่าย (ทำลายกิเลสด้วยญาณ) ควรแก่การตรัสรู้ และควรแก่การตรัสรู้
             ๔. พระองค์ทรงแสดงปหานะ ๔ อย่างในพระสูตรคือ
             - ปฏิสังขาปหานะด้วยการละตะปูตรึงใจทั้งหลาย ละกิเลศเครื่องรึงรัดใจทั้งหลาย
             - วิขัมภนปหานะ ด้วยอิทธิบาททั้งหลาย
             - สมุจเฉทปหานะ เมื่อมรรคมาแล้ว
             - ปฏิปัสสัทธิปหานะ เมื่อผลมาแล้ว
------------------------------------------------------------------------------------------------
             2. คำว่า และมีความขะมักเขม้นเป็นที่ ๕ พระไตรปิฎกภาษาบาลี ใช้คำว่าอะไร?
[๒๓๓]   โส  ฉนฺทสมาธิปธานสงฺขารสมนฺนาคตํ  อิทฺธิปาทํ  ภาเวติ
วิริยสมาธิจิตฺตสมาธิวีมํสาสมาธิปธานสงฺขารสมนฺนาคตํ อิทฺธิปาทํ
ภาเวติ   อุสฺโสฬฺหิเยว   ปญฺจมี   ฯ << คำตอบ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=12&item=233&Roman=0
------------------------------------------------------------------------------------------------
             3. อุปมาเหมือนแม่ไก่ฟักไข่ อุปมานี้เคยได้อ่านจากพระสูตรใด ในกระทู้ใด หรือไม่?
             ตอบว่า เคยอ่านจากนาวาสูตร
กระทู้ที่ ๑ //topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/12/Y11442477/Y11442477.html#208
กระทู้ที่ ๒ //topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/01/Y11540192/Y11540192.html#223
กระทู้ที่ ๖ //topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/05/Y12045944/Y12045944.html#222
            ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้นพึงเป็นของอัน
แม่ไก่ไม่นอนทับด้วยดี ไม่กกด้วยดี ไม่ฟักด้วยดี แม่ไก่นั้นถึงจะเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า
ไฉนหนอ ขอลูกของเราพึงทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปากออกมาโดย
ความสวัสดี ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ลูกไก่เหล่านั้นก็ไม่สามารถจะทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า
หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยความสวัสดีได้ ...
             นาวาสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=3354&Z=3406#261

ความคิดเห็นที่ 6-62
ฐานาฐานะ, 25 กุมภาพันธ์ เวลา 12:30 น.   

             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า เจโตขีลสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3449&Z=3630

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ถ้ายังละกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการไม่ได้ จะถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ไม่ได้
             ๒. กิเลสเครื่องผูกพันใจ ๕
             แก้ไขให้สอดคล้องกับข้อ 1
             ๒. ถ้ายังละกิเลสเครื่องผูกพันใจ ๕ ไม่ได้ จะถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ไม่ได้

             ๓. ผู้มีองค์ ๑๕ (ละกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕, ตัดกิเลสเครื่องผูกพันใจ ๕, อิทธิบาท ๔, และมีความเพียรอันยิ่ง ๑)
ย่อมเป็นผู้ควรแก่ความเบื่อหน่าย (ทำลายกิเลสด้วยญาณ) ควรแก่การตรัสรู้ และควรแก่การตรัสรู้
             ๔. พระองค์ทรงแสดงปหานะ ๔ อย่างในพระสูตรคือ
             - ปฏิสังขาปหานะด้วยการละตะปูตรึงใจทั้งหลาย ละกิเลศเครื่องรึงรัดใจทั้งหลาย
             - วิขัมภนปหานะ ด้วยอิทธิบาททั้งหลาย
             แก้ไขคำสะกด
             - ปฏิสังขาปหานะด้วยการละตะปูตรึงใจทั้งหลาย ละกิเลสเครื่องรึงรัดใจทั้งหลาย
             - วิกขัมภนปหานะ ด้วยอิทธิบาททั้งหลาย

             - สมุจเฉทปหานะ เมื่อมรรคมาแล้ว
             - ปฏิปัสสัทธิปหานะ เมื่อผลมาแล้ว

             ตอบได้ดีครับ.
------------------------------------------------------------------------------------------------
             2. คำว่า และมีความขะมักเขม้นเป็นที่ ๕ พระไตรปิฎกภาษาบาลี ใช้คำว่าอะไร?
[๒๓๓]   โส  ฉนฺทสมาธิปธานสงฺขารสมนฺนาคตํ  อิทฺธิปาทํ  ภาเวติ
วิริยสมาธิจิตฺตสมาธิวีมํสาสมาธิปธานสงฺขารสมนฺนาคตํ อิทฺธิปาทํ
ภาเวติ   อุสฺโสฬฺหิเยว   ปญฺจมี   ฯ << คำตอบ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=12&item=233&Roman=0

             ตอบถูกต้องครับ ถามเพื่อฝึกการเทียบคำในภาษาบาลีไปด้วย.
------------------------------------------------------------------------------------------------
             3. อุปมาเหมือนแม่ไก่ฟักไข่ อุปมานี้เคยได้อ่านจากพระสูตรใด ในกระทู้ใด หรือไม่?
             ตอบว่า เคยอ่านจากนาวาสูตร
กระทู้ที่ ๑ //topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/12/Y11442477/Y11442477.html#208
กระทู้ที่ ๒ //topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/01/Y11540192/Y11540192.html#223
กระทู้ที่ ๖ //topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/05/Y12045944/Y12045944.html#222
            ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้นพึงเป็นของอัน
แม่ไก่ไม่นอนทับด้วยดี ไม่กกด้วยดี ไม่ฟักด้วยดี แม่ไก่นั้นถึงจะเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า
ไฉนหนอ ขอลูกของเราพึงทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปากออกมาโดย
ความสวัสดี ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ลูกไก่เหล่านั้นก็ไม่สามารถจะทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า
หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยความสวัสดีได้ ...
             นาวาสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=3354&Z=3406#261
             รับทราบครับ เคยอ่านถึง 3 ครั้งเลย.

ความคิดเห็นที่ 6-63
GravityOfLove, 25 กุมภาพันธ์ เวลา 12:39 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่



Create Date : 13 มีนาคม 2556
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 9:01:05 น.
Counter : 748 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
15
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
13 มีนาคม 2556
All Blog