Bloggang.com : weblog for you and your gang
14.5 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
14.4 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=03-04-2013&group=1&gblog=20
ความคิดเห็นที่ 4-38
GravityOfLove, 9 มีนาคม เวลา 01:50 น.
ตอบคำถามในอลคัททูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4443&Z=4845
1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
๑. ถ้ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค และมีมิจฉาทิฏฐิมั่นคงเหมือนอริฏฐภิกษุ เป็นไปได้ยากที่จะบรรลุธรรม
๒. เป็นไปไม่ได้ที่จะเสพกามโดยไม่มีความกำหนัด ไม่มีความสำคัญว่าน่าใคร่
๓. บุรุษเปล่าเรียนธรรมคือ ผู้ที่เรียนสุตตะ เคยยะ ฯลฯ แต่ไม่ไตร่ตรองด้วยปัญญา เรียนเพื่อข่มผู้อื่น
ธรรมที่เรียนมาย่อมไ่ม่เป็นประโยชน์ เหมือนจับงูพิษไม่ถูกวิธี
ตรงข้ามกับกุลบุตรเรียนธรรม
๔. ธรรมเปรียบเหมือนแพ ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงนั้น ทรงแสดงเพื่อให้สลัดออก ไม่ใช่ให้ยึดถือ
พึงละแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย (ด้วยการกำจัดฉันทราคะ) จะป่วยกล่าวไปไยถึงอธรรม
๕. ปุถุชนที่ไม่ได้สดับ ไม่เห็น ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ย่อมยึดถือขันธ์ ๕ และโลก
ด้วยอำนาจตัณหา ทิฏฐิ (สักกายทิฏฐิ ๒๐, ทิฏฐิ ๖๒) มานะ และเห็นว่าเที่ยง (ทิฏฐิ ๖ ประการ) ย่อมหวาดกลัวจะมีภัยจากตัณหา
ย่อมเิกิดกองทุกข์ตามา
พระอริยสาวกผู้สดับ ฯลฯ แล้ว จะไม่มีทิฏฐิเหล่านั้น
๖. พาลธรรม คือ คนที่ยึดถือในอัตตาและสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาด้วยอำนาจตัณหา ทิฏฐิ มานะ
ทั้งๆ ที่ตามความเป็นจริงแล้ว บุคคลถือเอาไม่ได้ เพราะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จึงไม่ควรยึดถือ
๗. ทรงให้วางใจเป็นกลางในคำชม/ลาภสักการะ และคำตำหนิติเตียน
เมื่อได้รับคำชม หรือลาภสักการะ ก็ไม่เย่อหยิ่ง ไม่หลงใหลในลาภ
เมื่อได้รับคำตำหนิติเตียน ทรงให้พิจารณาพระโอวาทเปรียบด้วยเลื่อย คือให้อดทนโดยไม่ด่าหยาบคาย
ไม่ทำร้าย
๘. ผลแห่งการละกิเลส คือได้บรรลุพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ ตามลำดับ
๙. ธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว บุคคลเหล่าใด มีเพียงความเชื่อ เพียงความรักในพระองค์
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด จะได้ไปสวรรค์ในภายหน้า
เหล่าภิกษุผู้นั่งเริ่มวิปัสสนาเกิดความเชื่อ ความรักในพระพุทธองค์ ก็เป็นเสมือนกับว่า
ความเชื่อนั้น ความรักนั้น เป็นมือที่จับไปวางไว้ในสวรรค์
นัยว่า ภิกษุเหล่านั้นมีคติที่แน่นอน ส่วนเหล่าพระเถระเก่าๆ เรียกภิกษุเหล่านั้นว่า พระจุลลโสดาบัน
๑๐. ธรรมเป็นอันตราย (อันตรายิกธรรม) หมายถึงธรรมเป็นอันตรายต่อสวรรค์และนิพพาน มี ๕ อย่าง
อนันตริยกรรม เป็นการทำอันตรายต่อทั้งสวรรค์และนิพพาน
การทําร้ายภิกษุณี เป็นการทําอันตรายต่อนิพพาน ไม่ทําอันตรายต่อสวรรค์
การเข้าไปว่าร้ายพระ อริยะย่อมทําอันตรายตลอดเวลาที่ยังไม่ให้พระอริยเจ้าอดโทษ
อาบัติ 7 กองที่ภิกษุจงใจล่วงละเมิดแล้วย่อมทําอันตราย ตลอดเวลาที่ภิกษุต้องอาบัติแล้วยังปฏิญญาตนว่า
เป็นภิกษุอยู่ก็ดี ไม่อยู่ปริวาสกรรมก็ดี ไม่แสดงอาบัติก็ดี
๑๑. กาม อุปมาด้วยร่างกระดูก เพราะอรรถว่ามีอัสสาทะ (ส่วนดี ส่วนอร่อย) น้อย
อุปมาด้วยชิ้นเนื้อ เพราะอรรถว่าเป็นของทั่วไปแก่คนเป็นอันมาก
อุปมาด้วยคบเพลิงหญ้า เพราะอรรถว่าตามเผา
อุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่าทำให้เร่าร้อนมาก
อุปมาด้วยความฝัน เพราะอรรถว่าปรากฏนิดหน่อย
อุปมาด้วยของที่ขอยืมเขามา เพราะอรรถว่าเป็นไปชั่วคราว
อุปมาด้วยผลต้นไม้มีพิษ เพราะอรรถว่าทำลายทั่วสรรพางค์
อุปมาด้วยคมดาบ เพราะอรรถว่าตัดรอน
อุปมาด้วยหอกและหลาว เพราะอรรถทิ่มแทง
อุปมาด้วยหัวงู เพราะอรรถว่าน่ารังเกียจ และมีภัยเฉพาะหน้า
๑๒. ความหมายของคำว่า ปริยัติ (การเล่าเรียน) มี ๓ อย่าง
๑๓. ของที่แสวงหาแล้วพบ ชื่อว่า ปัตตะ (แสวงหาแล้ว)
ของที่แสวงหาแล้วไม่พบชื่อว่า ปัตตะ (แสวงหาแล้ว) / ปริเยสิตะ
ของที่ไม่แสวงหาแล้วพบ และของที่ไม่แสวงหาแล้วไม่พบ ชื่อว่า มนสานุจริตะ
๑๓. วุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาอันให้ถึงความออกจากความยึดถือตัณหา และยังมีชื่อเรียกอื่นๆ ได้แก่
สัญญัคคะ ธรรมฐีติญาณ ปาริสุทธิปธานิยังคะ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ตัมมยปริยาทาน
๑๔. ด้วยอานุภาพของพระพุทธเจ้า ชื่อว่า ผู้สามารถจะกล่าวคํา 2 คํา (พูดไม่ตรงกัน)
ต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี
-----------------------------------------------------------------
2. ประทับใจบทธรรมส่วนใดมากที่สุด และรองที่สุด.
ประทับใจ บุรุษเปล่าเรียนธรรม และกุลบุตรเรียนธรรม มากที่สุดค่ะ
ประทับใจรองที่สุด คือ ไม่มีค่ะ ประทับใจหมด
ความคิดเห็นที่ 4-39
GravityOfLove, 9 มีนาคม เวลา 08:38 น.
เรียนถามคุณฐานาฐานะด้วยค่ะว่า ประทับใจบทธรรมส่วนใดมากที่สุด และรองที่สุดคะ
ความคิดเห็นที่ 4-40
ฐานาฐานะ, 9 มีนาคม เวลา 14:41 น.
GravityOfLove, 11 ชั่วโมงที่แล้ว
ตอบคำถามในอลคัททูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4443&Z=4845
1:50 AM 3/9/2013
ตอบคำถามได้ดีครับ
ประทับใจบทธรรมส่วนใดมากที่สุด คือกุลบุตรเรียนธรรม
เอาไว้เป็นตัวอย่างที่ดี ที่ควรประพฤติตาม
ประทับใจบทธรรมส่วนใดมากรองลงมา คือบุรุษเปล่าเรียนธรรม
เอาไว้เตือนตนเองว่า อย่าได้เป็นเช่นบุรุษเปล่าเรียนธรรม.
ความคิดเห็นที่ 4-41
ฐานาฐานะ, 9 มีนาคม เวลา 14:47 น.
คำถามชุดที่ 2 ในอลคัททูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4443&Z=4845
1. อริฏฐภิกษุกล่าวตู่ก็ตาม หรือคัดค้านพระพุทธพจน์ก็ตาม
เข้าข้อใดในเวสารัชชญาณ 4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เวสารัชชญาณ_4
2. คำว่า ภิกษุณีทูสกกรรม หรือการทําร้ายภิกษุณี คืออะไร?
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
มหาวรรค ภาค ๑
เรื่องห้ามอุปสมบทคนประทุษร้ายภิกษุณีเป็นต้น
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=3588&Z=3602
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=131
ความคิดเห็นที่ 4-42
GravityOfLove, 9 มีนาคม เวลา 21:40 น
เข้าใจคำถามคุณฐานาฐานะผิด
คือเข้าใจว่า
รองที่สุด = ประทับใจน้อยที่สุด
-----------------------------------
ตอบคำถามชุดที่ 2 ในอลคัททูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4443&Z=4845
1. อริฏฐภิกษุกล่าวตู่ก็ตาม หรือคัดค้านพระพุทธพจน์ก็ตาม
เข้าข้อใดในเวสารัชชญาณ 4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เวสารัชชญาณ_4
ตอบว่า ข้อ ๓ อันตรายิกธรรมวาทะ (ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าเป็นอันตราย ธรรมเหล่านั้น
ไม่อาจก่ออันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง)
2. คำว่า ภิกษุณีทูสกกรรม หรือการทําร้ายภิกษุณี คืออะไร?
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=3588&Z=3602
ในพระสูตรตรัสว่า ทำร้ายภิกษุณีคือแย่งชิงภิกษุณี ทำร้ายภิกษุณี
ในอรรถกถา กล่าวว่า ทำร้ายภิกษุณีคือ ทำนางภิกษุณีให้นุ่งผ้าขาวแล้ว
ประทุษร้ายนางผู้ไม่ยินยอมเลยทีเดียวด้วยพลการ
ตอบว่า ไม่ค่อยแน่ใจค่ะว่าทำร้าย กินความขนาดไหน
สันนิษฐานว่า แย่งชิงภิกษุณี คือ แย่งชิง คร่าไปทำมิดีมิร้าย
บังคับให้นุ่งผ้าขาว คงหมายความว่า บังคับให้ลาสิกขา ถ้าขัดขืนก็จะทำร้ายร่างกาย
-----------------------------------------------------
บุรุษใดประทุษร้ายนางภิกษุณีผู้มีตนเป็นปกติ ในบรรดามรรค ๓ มรรคใดมรรคหนึ่ง << แปลว่าอะไรคะ
บุรุษนี้ชื่อภิกขุนีทูสกะ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=131
ความคิดเห็นที่ 4-43
ฐานาฐานะ, 9 มีนาคม เวลา 22:03 น.
GravityOfLove, 10 นาทีที่แล้ว
เข้าใจคำถามคุณฐานาฐานะผิด
คือเข้าใจว่า รองที่สุด = ประทับใจน้อยที่สุด
-----------------------------------
ตอบคำถามชุดที่ 2 ในอลคัททูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4443&Z=4845
1. อริฏฐภิกษุกล่าวตู่ก็ตาม หรือคัดค้านพระพุทธพจน์ก็ตาม
เข้าข้อใดในเวสารัชชญาณ 4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เวสารัชชญาณ_4
ตอบว่า ข้อ ๓ อันตรายิกธรรมวาทะ (ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าเป็นอันตราย
ธรรมเหล่านั้น ไม่อาจก่ออันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง)
เฉลยว่า ถูกต้องครับ ข้อ ๓ อันตรายิกธรรมวาทะ.
2. คำว่า ภิกษุณีทูสกกรรม หรือการทําร้ายภิกษุณี คืออะไร?
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=3588&Z=3602
ในพระสูตรตรัสว่า ทำร้ายภิกษุณีคือแย่งชิงภิกษุณี ทำร้ายภิกษุณี
ในอรรถกถา กล่าวว่า ทำร้ายภิกษุณีคือ ทำนางภิกษุณีให้นุ่งผ้าขาวแล้ว
ประทุษร้ายนางผู้ไม่ยินยอมเลยทีเดียวด้วยพลการ
ตอบว่า ไม่ค่อยแน่ใจค่ะว่าทำร้าย กินความขนาดไหน
สันนิษฐานว่า แย่งชิงภิกษุณี คือ แย่งชิง คร่าไปทำมิดีมิร้าย
บังคับให้นุ่งผ้าขาว คงหมายความว่า บังคับให้ลาสิกขา ถ้าขัดขืนก็จะทำร้ายร่างกาย
-----------------------------------------------------
บุรุษใดประทุษร้ายนางภิกษุณีผู้มีตนเป็นปกติ ในบรรดามรรค ๓ มรรคใดมรรคหนึ่ง << แปลว่าอะไรคะ
บุรุษนี้ชื่อภิกขุนีทูสกะ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=131
ขอบพระคุณค่ะ
9:40 PM 3/9/2013
เฉลยว่า ภิกษุณีทูสกกรรม คือ ข่มขืนพระภิกษุณี หรือเสพเมถุนกับพระภิกษุณี
ในอรรถกถาที่ยกมานี้ คือข่มขืนพระภิกษุณี
ส่วนในภิกขุนีวิภังค์ ปาราชิกกัณฑ์ สิกขาบทที่ ๑ เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา
คือเสพเมถุนกับพระภิกษุณี.
สารบัญ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์
//84000.org/tipitaka/read/?index_3
ในบรรดามรรค ๓ มรรคใดมรรคหนึ่ง << แปลว่าอะไรคะ
มรรค แปลว่า ทาง ; ในที่นี้คือ ทางปาก มุขมรรค,
ทางทวารเบา ปัสสาวมรรค, ทางทวารหนัก วัจจมรรค.
ความคิดเห็นที่ 4-44
GravityOfLove, 9 มีนาคม เวลา 22:06 น.
เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
ความคิดเห็นที่ 4-45
ฐานาฐานะ, 9 มีนาคม เวลา 22:16 น.
เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อลคัททูปมสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4443&Z=4845
พระสูตรหลักถัดไป คือวัมมิกสูตรและรถวินีตสูตร.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
วัมมิกสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4846&Z=4937
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=289
รถวินีตสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4938&Z=5108
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=292
ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=04-04-2013&group=1&gblog=22
Create Date : 03 เมษายน 2556
Last Update : 23 มกราคม 2557 19:09:22 น.
Counter : 974 Pageviews.
0 comments
Share
Tweet
แก้วมณีโชติรส
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [
?
]
Group Blog
สนทนาธรรม 1 ทีฆนิกาย ~ มัชฌิมนิกาย
สนทนาธรรม 2 มัชฌิมนิกาย
สนทนาธรรม 3 มัชฌิมนิกาย
สนทนาธรรม 4 สังยุตตนิกาย
<<
เมษายน 2556
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
3 เมษายน 2556
14.5 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
14.4 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
14.3 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
14.2 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
All Blog
19.2 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1]
19.1 พระสูตรหลักถัดไป คือกันทรกสูตร [พระสูตรที่ 1]
18.10 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45]
18.9 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45]
18.8 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45]
18.7 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45]
18.6 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45]
18.5 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45]
18.4 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45]
18.3 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45]
18.2 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45]
สารบัญย่อย ๓
18.1 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45]
17.12 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร
17.11 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร
17.10 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร
17.9 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร
17.8 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร
17.7 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร
17.6 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร
17.5 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร
17.4 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร
17.3 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร
17.2 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร
17.1 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร [พระสูตรที่ 38]
16.9 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร
16.8 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร
16.7 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร
16.6 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร
16.5 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร
16.4 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร
16.3 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร
16.2 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร
16.1 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร [พระสูตรที่ 31].
15.8 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.
15.7 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.
15.6 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.
15.5 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.
15.4 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.
15.3 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.
15.2 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.
15.1 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.
14.12 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
14.11 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
14.10 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
14.9 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
14.8 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
14.7 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
14.6 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
14.5 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
14.4 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
14.3 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
14.2 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
สารบัญย่อย ๒
14.1 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
13.13 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
13.12 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
13.11 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
13.10 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
13.9 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
13.8 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
13.7 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
13.6 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
13.5 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
13.4 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
13.3 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
13.2 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
13.1 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
สารบัญย่อย ๑
สารบัญสนทนาธรรม
Friends Blog
Webmaster - BlogGang
[Add แก้วมณีโชติรส's blog to your weblog]
Link
Bloggang.com
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.
ตอบคำถามในอลคัททูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4443&Z=4845
1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
๑. ถ้ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค และมีมิจฉาทิฏฐิมั่นคงเหมือนอริฏฐภิกษุ เป็นไปได้ยากที่จะบรรลุธรรม
๒. เป็นไปไม่ได้ที่จะเสพกามโดยไม่มีความกำหนัด ไม่มีความสำคัญว่าน่าใคร่
๓. บุรุษเปล่าเรียนธรรมคือ ผู้ที่เรียนสุตตะ เคยยะ ฯลฯ แต่ไม่ไตร่ตรองด้วยปัญญา เรียนเพื่อข่มผู้อื่น
ธรรมที่เรียนมาย่อมไ่ม่เป็นประโยชน์ เหมือนจับงูพิษไม่ถูกวิธี
ตรงข้ามกับกุลบุตรเรียนธรรม
๔. ธรรมเปรียบเหมือนแพ ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงนั้น ทรงแสดงเพื่อให้สลัดออก ไม่ใช่ให้ยึดถือ
พึงละแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย (ด้วยการกำจัดฉันทราคะ) จะป่วยกล่าวไปไยถึงอธรรม
๕. ปุถุชนที่ไม่ได้สดับ ไม่เห็น ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ย่อมยึดถือขันธ์ ๕ และโลก
ด้วยอำนาจตัณหา ทิฏฐิ (สักกายทิฏฐิ ๒๐, ทิฏฐิ ๖๒) มานะ และเห็นว่าเที่ยง (ทิฏฐิ ๖ ประการ) ย่อมหวาดกลัวจะมีภัยจากตัณหา
ย่อมเิกิดกองทุกข์ตามา
พระอริยสาวกผู้สดับ ฯลฯ แล้ว จะไม่มีทิฏฐิเหล่านั้น
๖. พาลธรรม คือ คนที่ยึดถือในอัตตาและสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาด้วยอำนาจตัณหา ทิฏฐิ มานะ
ทั้งๆ ที่ตามความเป็นจริงแล้ว บุคคลถือเอาไม่ได้ เพราะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จึงไม่ควรยึดถือ
๗. ทรงให้วางใจเป็นกลางในคำชม/ลาภสักการะ และคำตำหนิติเตียน
เมื่อได้รับคำชม หรือลาภสักการะ ก็ไม่เย่อหยิ่ง ไม่หลงใหลในลาภ
เมื่อได้รับคำตำหนิติเตียน ทรงให้พิจารณาพระโอวาทเปรียบด้วยเลื่อย คือให้อดทนโดยไม่ด่าหยาบคาย
ไม่ทำร้าย
๘. ผลแห่งการละกิเลส คือได้บรรลุพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ ตามลำดับ
๙. ธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว บุคคลเหล่าใด มีเพียงความเชื่อ เพียงความรักในพระองค์
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด จะได้ไปสวรรค์ในภายหน้า
เหล่าภิกษุผู้นั่งเริ่มวิปัสสนาเกิดความเชื่อ ความรักในพระพุทธองค์ ก็เป็นเสมือนกับว่า
ความเชื่อนั้น ความรักนั้น เป็นมือที่จับไปวางไว้ในสวรรค์
นัยว่า ภิกษุเหล่านั้นมีคติที่แน่นอน ส่วนเหล่าพระเถระเก่าๆ เรียกภิกษุเหล่านั้นว่า พระจุลลโสดาบัน
๑๐. ธรรมเป็นอันตราย (อันตรายิกธรรม) หมายถึงธรรมเป็นอันตรายต่อสวรรค์และนิพพาน มี ๕ อย่าง
อนันตริยกรรม เป็นการทำอันตรายต่อทั้งสวรรค์และนิพพาน
การทําร้ายภิกษุณี เป็นการทําอันตรายต่อนิพพาน ไม่ทําอันตรายต่อสวรรค์
การเข้าไปว่าร้ายพระ อริยะย่อมทําอันตรายตลอดเวลาที่ยังไม่ให้พระอริยเจ้าอดโทษ
อาบัติ 7 กองที่ภิกษุจงใจล่วงละเมิดแล้วย่อมทําอันตราย ตลอดเวลาที่ภิกษุต้องอาบัติแล้วยังปฏิญญาตนว่า
เป็นภิกษุอยู่ก็ดี ไม่อยู่ปริวาสกรรมก็ดี ไม่แสดงอาบัติก็ดี
๑๑. กาม อุปมาด้วยร่างกระดูก เพราะอรรถว่ามีอัสสาทะ (ส่วนดี ส่วนอร่อย) น้อย
อุปมาด้วยชิ้นเนื้อ เพราะอรรถว่าเป็นของทั่วไปแก่คนเป็นอันมาก
อุปมาด้วยคบเพลิงหญ้า เพราะอรรถว่าตามเผา
อุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่าทำให้เร่าร้อนมาก
อุปมาด้วยความฝัน เพราะอรรถว่าปรากฏนิดหน่อย
อุปมาด้วยของที่ขอยืมเขามา เพราะอรรถว่าเป็นไปชั่วคราว
อุปมาด้วยผลต้นไม้มีพิษ เพราะอรรถว่าทำลายทั่วสรรพางค์
อุปมาด้วยคมดาบ เพราะอรรถว่าตัดรอน
อุปมาด้วยหอกและหลาว เพราะอรรถทิ่มแทง
อุปมาด้วยหัวงู เพราะอรรถว่าน่ารังเกียจ และมีภัยเฉพาะหน้า
๑๒. ความหมายของคำว่า ปริยัติ (การเล่าเรียน) มี ๓ อย่าง
๑๓. ของที่แสวงหาแล้วพบ ชื่อว่า ปัตตะ (แสวงหาแล้ว)
ของที่แสวงหาแล้วไม่พบชื่อว่า ปัตตะ (แสวงหาแล้ว) / ปริเยสิตะ
ของที่ไม่แสวงหาแล้วพบ และของที่ไม่แสวงหาแล้วไม่พบ ชื่อว่า มนสานุจริตะ
๑๓. วุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาอันให้ถึงความออกจากความยึดถือตัณหา และยังมีชื่อเรียกอื่นๆ ได้แก่
สัญญัคคะ ธรรมฐีติญาณ ปาริสุทธิปธานิยังคะ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ตัมมยปริยาทาน
๑๔. ด้วยอานุภาพของพระพุทธเจ้า ชื่อว่า ผู้สามารถจะกล่าวคํา 2 คํา (พูดไม่ตรงกัน)
ต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี
-----------------------------------------------------------------
2. ประทับใจบทธรรมส่วนใดมากที่สุด และรองที่สุด.
ประทับใจ บุรุษเปล่าเรียนธรรม และกุลบุตรเรียนธรรม มากที่สุดค่ะ
ประทับใจรองที่สุด คือ ไม่มีค่ะ ประทับใจหมด