18.1 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
17.12 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร

ความคิดเห็นที่ 3-149
ฐานาฐานะ, 7 มิถุนายน เวลา 19:45 น.

GravityOfLove, 22 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในจูฬเวทัลลสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=9420&Z=9601
7:13 PM 6/7/2013

             ตอบคำถามได้ดี แต่มีข้อสงสัยดังนี้ :-
             ๑๕. เวทนาหนึ่งๆ ตั้งอยู่เพราะเหตุใด
             ตั้งอยู่เพราะเหตุใด?

             ๘. การจัดอริยมรรคมีองค์ ๘ เข้าในขันธ์ ๓ คือ ในกองศีล กองสมาธิ กองปัญญา)
             วงเล็บปิด ไม่มีวงเล็บเปิด.

             สถานที่ในคำว่า พุทธกิจ น่าจะเป็นสถานที่ที่ทรงจำพรรษา
เมื่อออกพรรษาแล้ว อาจทรงจาริกไปสถานที่อื่น.
             พระสูตรนี้ แสดงว่ามีพระภิกษุณีแล้ว จึงน่าจะเกิดหลังพรรษาที่ 5.

             คำว่า พุทธกิจ [บางส่วน]
             พ.๕ กูฎาคารในป่ามหาวัน นครเวสาลี (โปรดพุทธบิดาปรินิพพานที่กรุงกบิลพัสดุ์
โปรดพระญาติที่วิวาทเรื่องแม่น้ำโรหิณี มหาปชาบดีผนวช เกิดภิกษุณีสงฆ์)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=พุทธกิจ

ความคิดเห็นที่ 3-150
GravityOfLove, 7 มิถุนายน เวลา 19:53 น.

ขอบพระคุณค่ะ
             ๑๕. เวทนาหนึ่งๆ ตั้งอยู่เพราะเหตุใด
             ตั้งอยู่เพราะเหตุใด?
             สุขเวทนา เป็นสุขเพราะตั้งอยู่ เป็นทุกข์เพราะแปรไป
             ทุกขเวทนา เป็นทุกข์เพราะตั้งอยู่ เป็นสุขเพราะแปรไป
             อทุกขมสุขเวทนา เป็นสุขเพราะรู้ชอบ เป็นทุกข์เพราะรู้ผิด

             ๘. การจัดอริยมรรคมีองค์ ๘ เข้าในขันธ์ ๓ คือ ในกองศีล กองสมาธิ กองปัญญา
             วงเล็บปิด ไม่มีวงเล็บเปิด.
              ลบวงเล็บปิดออกค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-151
ฐานาฐานะ, 7 มิถุนายน เวลา 21:12 น.

             คำว่า
             สุขเวทนา เป็นสุขเพราะตั้งอยู่ เป็นทุกข์เพราะแปรไป
             ทุกขเวทนา เป็นทุกข์เพราะตั้งอยู่ เป็นสุขเพราะแปรไป
             อทุกขมสุขเวทนา เป็นสุขเพราะรู้ชอบ เป็นทุกข์เพราะรู้ผิด
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=9420&Z=9601#511
น่าจะแปลว่า
             สุขเวทนา ดี/ประเสริฐ เพราะตั้งอยู่, ไม่ดี/แย่ เพราะแปรไป
             ทุกขเวทนา ไม่ดี/แย่ เพราะตั้งอยู่,  ดี/ประเสริฐ เพราะแปรไป
             อทุกขมสุขเวทนา ดี/ประเสริฐ เพราะรู้ชอบ, ไม่ดี/แย่ เพราะรู้ผิด

ความคิดเห็นที่ 3-152
GravityOfLove, 7 มิถุนายน เวลา 21:40 น.

ก็เข้าใจอย่างที่คุณฐานาฐานะอธิบายค่ะ เพราะ
คำว่า เวทนาหนึ่งๆ หมายถึง สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาค่ะ
สรุปว่า Gravity เข้าใจถูกใช่ไหมคะ แต่ระบุไม่ชัดเจน

ความคิดเห็นที่ 3-153
ฐานาฐานะ, 7 มิถุนายน เวลา 22:20 น.

             คำว่า ก็เข้าใจอย่างที่คุณฐานาฐานะอธิบายค่ะ
             << แต่ว่า ใช้การผูกประโยคผิด.
             คำว่า
             ๑๕. เวทนาหนึ่งๆ ตั้งอยู่เพราะเหตุใด
             แปลว่า รู้เหตุของการตั้งอยู่.
ส่วนคำว่า
             สุขเวทนา เป็นสุขเพราะตั้งอยู่ เป็นทุกข์เพราะแปรไป
             ทุกขเวทนา เป็นทุกข์เพราะตั้งอยู่ เป็นสุขเพราะแปรไป
             อทุกขมสุขเวทนา เป็นสุขเพราะรู้ชอบ เป็นทุกข์เพราะรู้ผิด
แปลว่า
             เวทนาหนึ่งๆ ดี/ประเสริฐ เพราะอะไร
             เวทนาหนึ่งๆ ไม่ดี/แย่ เพราะอะไร
             ข้อนี้ ควรใช้คำว่า
             เวทนาหนึ่งๆ ดี/ประเสริฐ ไม่ดี/แย่ เพราะเหตุใด?

ความคิดเห็นที่ 3-154
GravityOfLove, 7 มิถุนายน เวลา 22:22 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-155
ฐานาฐานะ, 7 มิถุนายน เวลา 22:29 น.

             พอเห็นหรือยังว่า ผูกประโยคผิด?

ความคิดเห็นที่ 3-156
ฐานาฐานะ, 7 มิถุนายน เวลา 22:31 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
             << ไม่ทันเห็นครับ.

ความคิดเห็นที่ 3-157
ฐานาฐานะ, 7 มิถุนายน เวลา 22:37 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า จูฬเวทัลลสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9420&Z=9601

              พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
              มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
              จูฬธรรมสมาทานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9602&Z=9700
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=514

              มหาธรรมสมาทานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9701&Z=9903
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=520

ความคิดเห็นที่ 4-1
ฐานาฐานะ, 7 มิถุนายน เวลา 22:40 น.

              พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
              มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
              จูฬธรรมสมาทานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9602&Z=9700
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=514

              มหาธรรมสมาทานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9701&Z=9903
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=520

ความคิดเห็นที่ 4-2
GravityOfLove, 7 มิถุนายน เวลา 22:52 น.

             คำถามจูฬธรรมสมาทานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9602&Z=9700

             ๑. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ครั้นถึงความเป็นผู้ดื่มในกามทั้งหลายว่า <<
             ดื่มในกามคืออย่างไรคะ จนถึงกับตกนรก
             เข้าใจว่า ปุถุชนจนถึงพระสกทาคามียังบริโภคกามอยู่
ดังนั้น คำว่าดื่มในกาม คือบริโภคกามอย่างผิดศีล อย่างอกุศลธรรมใช่ไหมคะ
             ๒. ปริพาชกทำให้กายตนลำบากเดือนร้อน ก็ตกนรกหรือคะ
             ๓. อรรถกถา
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=514&bgc=papayawhip
            กรุณาอธิบายค่ะ (ตั้งแต่ตรงนี้เป็นต้นไป จนจบ)
            ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในโลกนี้ บางคนจึงเป็นผู้มีราคะเป็นต้นค่อนข้างกล้า
บางคนจึงไม่ใช่เป็นผู้มีราคะเป็นต้นค่อนข้างกล้า?
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 4-3
ฐานาฐานะ, 8 มิถุนายน เวลา 00:47 น.

GravityOfLove, 17 นาทีที่แล้ว
             คำถามจูฬธรรมสมาทานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9602&Z=9700

              ๑. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ครั้นถึงความเป็นผู้ดื่มในกามทั้งหลายว่า <<
              ดื่มในกามคืออย่างไรคะ จนถึงกับตกนรก
              เข้าใจว่า ปุถุชนจนถึงพระสกทาคามียังบริโภคกามอยู่
ดังนั้น คำว่าดื่มในกาม คือบริโภคกามอย่างผิดศีล อย่างอกุศลธรรมใช่ไหมคะ

              ตอบว่า ที่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุ 2 อย่างคือ
              1. เห็นผิดไปว่า โทษในกามทั้งหลายมิได้มี
              2. เสพเมถุนธรรม ในเพศบรรพชิต กล่าวคือ เมื่อถือเพศนี้แล้ว
เป็นเหมือนปฏิญญาว่า ตนเป็นสมณะ เว้นเมถุนธรรม ดังนั้น การที่เสพเมถุน
ก็เหมือนลวงผู้อื่น (เช่น ลวงทายกทายิก เหมือนบริโภคปัจจัยโดยอาการแห่งขโมย)
              อัคคิขันธูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=23&A=2629

              ๒. ปริพาชกทำให้กายตนลำบากเดือนร้อน ก็ตกนรกหรือคะ
              ตอบว่า เพราะความเห็นผิดนั้น คือเห็นผิดในทางที่ไม่ใช่ทาง
และสมาทานด้วยการกระทำนั้นๆ จัดว่า เห็นผิดมีกำลัง.
              อุปมาเหมือนกับว่า
              ความเห็นผิดบางอย่างเกิดขึ้นในบุคคล 2 คน เช่นเห็นผิดไปว่า
การปลอมบวชแล้วบริโภคปัจจัยที่เขาถวายให้ด้วยศรัทธา ไม่มีโทษ.
              คนแรกเห็นผิด ก็ผิดอยู่แล้ว
              อีกคนหนึ่งเห็นผิดด้วย ทำการปลอมบวชด้วย ก็ผิดหนักกว่า
เพราะเห็นผิดเหมือนคนแรก และสมาทานกรรมนั้นด้วย.

              ๓. อรรถกถา
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=514&bgc=papayawhip
              กรุณาอธิบายค่ะ (ตั้งแต่ตรงนี้เป็นต้นไป จนจบ)
              ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในโลกนี้ บางคนจึงเป็นผู้มีราคะเป็นต้นค่อนข้างกล้า
บางคนจึงไม่ใช่เป็นผู้มีราคะเป็นต้นค่อนข้างกล้า?
              ขอบพระคุณค่ะ
10:51 PM 6/7/2013

              อธิบายว่า อรรถกถากล่าวถึงอกุศลมูล 3 และกุศลมูล 3 คือ
              อกุศลมูล 3 คือ โลภะ โทสะ โมหะ
              กุศลมูล  3 คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ
              อธิบายโดยรวมๆ ก็คือ
              การสะสมกรรม ก็คือ กุศลกรรม อกุศลกรรมนั้น
              หากขณะแห่งอกุศลกรรม โลภะมีกำลังมากกว่าโทสะและโมหะ
ก็จะเป็นคนราคะมาก โลภะมาก.
              หากขณะแห่งอกุศลกรรม โทสะมีกำลังมากกว่าโลภะและโมหะ
ก็จะเป็นคนมักโกรธ แต่ไม่ค่อยโง่ และไม่ค่อยโลภะ หรืออีกนัยก็คือ
โกรธเด่นกว่า โง่และโลภะ.
              ส่วนธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กันโดยตรง เช่น
              โลภะและอโลภะ อันเป็นอกุศลและกุศล ควรพิจารณาว่า
ในเวลาสะสมกรรมต่างๆ หรือกล่าวง่ายๆ ว่า ตามปกติในวัฏฏะแล้ว
กุศลหรืออกุศล เกิดบ่อยกว่ากัน อย่างใดเกิดบ่อย ก็เป็นการสะสมอย่างนั้น.
              อธิบายพอเข้าใจหรือไม่หนอ?

ความคิดเห็นที่ 4-4
GravityOfLove, 8 มิถุนายน เวลา 18:54 น.

ข้ออื่นๆ เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
แต่ข้อ ๒ ยังสงสัยอยู่ค่ะ ตัวอย่างที่คุณฐานาฐานะยกมาคือ
การปลอมบวชแล้วบริโภคปัจจัยที่เขาถวายให้ด้วยศรัทธา เขาก็ไม่ได้ทำตนให้ลำบากเดือดร้อนนี่คะ
เขาน่าจะมีสุขในปัจจุบัน

ความคิดเห็นที่ 4-5
ฐานาฐานะ, 8 มิถุนายน เวลา 22:38 น.

              ข้อ 2 นั้น อธิบายเพื่อให้เห็นว่า
              การเห็นผิด + เข้าไปสมาทานด้วยตัวเอง
แสดงว่า ผิดหนักกว่า เห็นผิดแต่ไม่ได้สมาทานเท่านั้นเอง.

ความคิดเห็นที่ 4-6
GravityOfLove, 8 มิถุนายน เวลา 22:49 น.

ค่ะ
ส่วนปริพาชกที่ทรมานกาย (ทุกข์ในปัจจุบัน) แล้วมีทุกข์เป็นวิบาก (ครั้นตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก)
อธิบายอย่างไรคะ คือยังสงสัยว่า แค่ทรมานกายตัวเอง ถึงขนาดไปอบาย ฯลฯ เลยหรือคะ

ความคิดเห็นที่ 4-7
ฐานาฐานะ, 8 มิถุนายน เวลา 22:54 น.

       ลองนึกดีๆ ครับ
       1. เห็นผิด
       2. เมื่อทรมานกาย แสดงว่า ปรารถนาความทุกข์
เมื่อสมาทานวัตร เช่นเดินกินอย่างสุนัข ก็เป็นอันยก
วัตรของติรัจฉานว่า ดี/ประเสริฐ ถึงกับสมาทาน.
       3. วัตรอื่นๆ เป็นทุกข์ชัดเจน แต่กลับเห็นว่า ควรกระทำ.
       โทษเพราะมิจฉาทิฏฐิ เป็นของหนักครับ.

ความคิดเห็นที่ 4-8
GravityOfLove, 8 มิถุนายน เวลา 22:57 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่

สารบัญ ๑



Create Date : 26 มิถุนายน 2556
Last Update : 23 มกราคม 2557 19:28:21 น.
Counter : 1147 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มิถุนายน 2556

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
27
28
29
30
 
 
All Blog