14.12 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
14.11 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.

ความคิดเห็นที่ 4-108
ฐานาฐานะ, 9 เมษายน เวลา 01:32 น.

GravityOfLove, 5 นาทีที่แล้ว
           จากที่คุณ GravityOfLove ยกมานั้น เป็นเหตุการณ์หลังจากนี้
คือหลังจากนี้นานเป็นปี กล่าวง่ายๆ คือ ได้ทำความรู้จักกันแล้ว.
            แต่คำว่า
            อุปกะอาชีวกทูลถามว่า เพราะเหตุใดท่านจึงปฏิญาณว่า เป็นอรหันต์อนันตะชินะ? << งงแล้วค่ะ ประโยคนี้แปลว่าอะไรคะ

            แก้ไขโดยตัดวงเล็บออกใช่ไหมคะ
            กรุณาเล่าลำดับเหตูการณ์ย่อๆ ให้ฟังได้ไหมคะ
            พระอรหันต์อนันตะชินะมีตัวตนหรือเปล่าคะ หรือท่านอุปกะเข้าใจไปเองว่าเป็นชื่อบุคคล

            ตอบว่า คำว่า อนันตะชินะ น่าจะแปลว่า ผู้ชนะอย่างไม่มีสิ้นสุด.
            ความก็คือ อุปกะอาชีวกทูลถามว่า ทำไมท่านจะปฏิญาณว่า เป็นอรหันต์ เป็นผู้ชนะอย่างไม่มีสิ้นสุด.
            เป็นคำถามถึงอาการ ไม่ใช่ชื่อเฉพาะอะไรเลย.

            เราจึงกล่าวคาถาตอบว่า ผู้ที่ถึงอาสวักขัยเช่นเรา ย่อมเป็นผู้มีนามว่า ชินะเพราะบาปธรรมทั้งหลาย
เราได้ชนะแล้ว ฉะนั้น เราจึงมีนามว่า ชินะ.
            ดังนั้น จากนามที่มีที่มาจากอาการ จึงกลายเป็นชื่อเฉพาะของพระผู้มีพระภาค สำหรับอุปกะอาชีวก.
            คืออุปกะอาชีวก แม้ได้ฟังได้สดับความหมาย แต่จำด้วยความเป็นชื่อเฉพาะ.
            แก้ไขโดยตัดวงเล็บออกใช่ไหมคะ?
            ใช่ครับ.

อนันต, อนันต์ [อะนันตะ, อะนัน] ว. ไม่มีสิ้นสุด, มากล้น, เช่น อนันตคุณ
คุณอนันต์. (ป.).
ชิน ๔ [ชินะ, ชินนะ] น. ผู้ชนะ, พระพุทธเจ้า, ใช้ประกอบกับคําอื่นเป็น
ชินวร ชิเนนทร์ หมายความว่า พระพุทธเจ้า. (ป., ส.).
//rirs3.royin.go.th/dictionary.asp

ความคิดเห็นที่ 4-109
GravityOfLove, 9 เมษายน เวลา 01:35 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 4-110
ฐานาฐานะ, 9 เมษายน เวลา 13:17 น.

             คำถามในปาสราสิสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=5384&Z=5762

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 4-111
GravityOfLove, 9 เมษายน เวลา 15:56 น.

             ตอบคำถามในปาสราสิสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=5384&Z=5762

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?

             ๑. เมื่อประทับที่อยู่พระนครสาวัตถี ทรงเสด็จไปๆ มาๆ ระหว่างพระเชตวัน (ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี)
และบุพพาราม (ของนางวิสาขา) เพื่ออนุเคราะห์ ๒ ตระกูล
             จากพจนานุกรม ตอนเกิดพระสูตรนี้น่าจะอยู่ในพรรษาที่ ๒๑-๔๔
             พ.๒๑-๔๔ ประทับสลับไปมา ณ พระเชตวันกับบุพพาราม พระนครสาวัตถี
(รวมทั้งคราวก่อนนี้ด้วย อรรถกถาว่าพระพุทธเจ้าประทับที่เชตวนาราม ๑๙ พรรษา ณ บุพพาราม ๖ พรรษา)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=พุทธกิจ_๔๕_พรรษา

             ๒. พระผู้มีพระภาคเหมือนครู (ใหญ่) การเข้าเฝ้าพระองค์ไม่ใช่เรื่องง่าย
พระภิกษุที่ประสงค์จะเข้าเฝ้าพระองค์ ด้วยความเคารพในพระองค์ จึงสอบถามกับท่านพระอานนท์
ผู้เป็นพุทธอุปฐากก่อนว่า จะได้เข้าเฝ้าในตอนใด เวลาใด
ด้วยความเคารพในพระศาสดา ภิกษุเหล่านั้นจึงไม่สามารถจะกราบทูลว่า
พระเจ้าข้า ขอพระองค์โปรดแสดงธรรมีกถาแก่พวกข้าพระองค์เถิด.
เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นครู ยากที่จะเข้าพบ
เหมือนพญาราชสีห์ตัวเที่ยวไปตามลำพัง เหมือนกุญชรที่ตกมัน เหมือนอสรพิษที่แผ่พังพาน เหมือนกองไฟใหญ่

             ๓. พระนครสาวัตถีในสมัยพุทธกาล แบ่งท่าอาบน้ำเป็น ๔ ส่วนดังนี้
             เป็นท่าอาบน้ำสำหรับกษัตริย์ ชาวเมือง พวกภิกษุ และพระผู้มีพระภาค

             ๔. พระผู้มีพระภาคไม่ทรงถือพระองค์ แม้ยามเสด็จมาหาผู้ที่รอเฝ้าพระองค์อยู่ แต่ผู้ที่รอเฝ้านั้น
ยังสนทนาไม่เสร็จ ทรงรอให้สนทนาเสร็จก่อนแล้วจึงกระิแอม แล้วทรงเคาะบานประตู

             ๕. ภิกษุสงฆ์เมื่อประชุมกัน ควรทำิกิจ ๒ อย่างคือ
                 ๑. สนทนาธรรมกัน (สนทนาเรื่องกถาวัตถุ ๑๐)
                 ๒. นั่งนิ่งตามแบบพระอริยะ (อริยดุษณีภาพ - นั่งเข้าทุติยฌาน หรือนั่งกำหนดมูลกรรมฐาน
(ตจปัญจกกัมมัฏฐาน) เป็นอารมณ์)

             ๖. การแสวงหามี ๒ อย่าง คือ
                 ๑. การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ (อนริยปริเยสนา) คือ ตนเองมีชาติ ฯลฯ  สังกิเลส เป็นธรรมดา
ก็ยังแสวงหาสิ่งมีชาติ ฯลฯ สังกิเลส เป็นธรรมดา
                 ๒. การแสวงหาที่ประเสริฐ (อริยปริเยสนา) คือ แสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่เกิด ฯลฯ ไม่เศร้าหมอง

             ๗. พระผู้มีพระภาคทรงเล่าถึงตอนที่พระองค์ทรงแสวงหาทางตรัสรู้จนได้ตรัสรู้และแสดงธรรมแก่
ภิกษุปัญจวัคคีย์ อันเป็นตัวอย่างของการแสวงหาที่ประเสริฐ

             ๘. ทรงมีพระปัญญามาก เรียนกับพระอาจารย์ทั้งสองภายในเวลาไม่นานนัก ก็รู้ทั่วถึงความรู้ที่พระอาจารย์
สอน จนอาจารย์ก็ยกย่องให้เท่าเทียมกับตน

             ๙. ตรัสว่า พระอาจารย์เป็นผู้เสื่อมใหญ่ เพราะพระอาจารย์ทั้งสองได้เสียชีวิตไปก่อนที่พระองค์จะทรง
ตรัสรู้และเสด็จไปโปรด โดยไปบังเกิดในอรูปภพและเป็นภพที่อายุยืนทำให้ไม่สามารถที่จะเรียนพระธรรมของพระองค์

             ๑๐. ทรงอุปมาหมู่สัตว์เหมือนกอบัว (บัว ๓ เหล่า) เรื่องนี้เกิดตอนนี้สหัมบดีพรหมทูลอาราธนาพระองค์ให้แสดงธรรม
ด้วยพระกรุณาของพระองค์ๆ จึงทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ (ทรงท้อพระทัยที่จะแสดงธรรม ในสัปดาห์ที่ 8 หลังตรัสรู้)
             เหตุการณ์นี้น่าจะเป็นที่มาของพิธีอาราธนาพระสงฆ์แสดงธรรม

ความลึกซึ้งของพระธรรมที่กว่าพระองค์จะตรัสรู้ได้ จนมีพระทัยขวนขวายจะแสดงธรรมน้อย ดังนี้คือ
แม้ด้วยอานุภาพแห่งการพิจารณาถึงการยึดกิเลส ก็ธรรมนี้ พึงทราบว่าลึกเหมือนลำน้ำที่รองแผ่นดิน เห็นได้ยาก
เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดที่เอาภูเขามาวางปิด รู้ตามได้แสนยาก เหมือนปลายแห่งขนทรายที่แบ่งออกเป็น ๗ ส่วน
ชื่อว่าทานที่เราพยายามเพื่อแทงตลอดธรรมนี้ไม่ให้แล้วไม่มี ชื่อว่าศีลที่เราไม่ได้รักษาแล้วก็ไม่มี.
ชื่อว่าบารมีไรๆ ที่เรามิได้บำเพ็ญก็ไม่มี
เมื่อเรานั้นกำจัดกำลังของมารที่เหมือนไร้อุตสาหะ แผ่นดินก็ไม่ไหว เมื่อระลึกถึงปุพเพนิวาสญาณในปฐมยามก็ไม่ไหว
เมื่อชำระทิพจักษุในมัชฌิมยามก็ไม่ไหว
แต่เมื่อแทงตลอดปฏิจจสมุปบาทในปัจฉิมยาม หมื่นโลกธาตุจึงไหว
ดังนั้น ผู้ที่มีญาณกล้าแม้เช่นเรายังแทงตลอดธรรมนี้ได้โดยยากทีเดียว โลกิยมหาชนจักแทงตลอดธรรมนั้นได้อย่างไร

             ๑๑.  หากใครใฝ่ฝัน ลุ่มหลง ติดพัน ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาที่จะคิดนำตนออก (ในที่นี้หมายถึง
ปัจจเวกขณญาณ) ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ นี้
             บัณฑิตพึงทราบว่า ผู้นี้เป็นผู้ถึงความเสื่อม ความพินาศ ถูกมารผู้ใจบาปทำได้ตามต้องการ

             ๑๒. เจดียสถานอันติดแน่น 4 แห่ง คือ สถานที่ตั้งมหาโพธิบัลลังก์ สถานที่ประกาศพระธรรมจักรในป่าอิสิปตนะ
สถานที่เป็นที่ประดิษฐานบันได ครั้งเสด็จลงจากเทวโลก ณ สังกัสสนคร และ สถานที่ตั้งพระแท่น (ปรินิพพาน)

             ๑๓. ในครั้งพุทธกาล ภิกษุถึงจะอยู่รูปเดียวในที่ใดๆ ก็จัดพุทธอาสน์ไว้ในที่นั้นๆ เผื่อพระองค์เสด็จมา

             ๑๔. พระพุทธรัศมีมีปรากฏหลังจากที่พระองค์ทรงพิจารณาอภิธรรมในสัปดาห์ที่ 5 หลังการตรัสรู้

             ๑๕. นอกจากบัวจมอยู่ในน้ำ บัวอยู่เสมอน้ำ บัวพ้นน้ำ ๓ เหล่านี้ อรรถกถาได้กล่าวถึงบัวเหล่าที่ ๔ คือ
บัวที่มีโรคยังไม่พ้นน้ำ เป็นอาหารของปลาและเต่า (ทรงแสดงธรรมแก่ทั้ง ๔ เหล่า)
                 (๑) อุคฆฏิตัญญู เป็นเหมือนบัวพ้นน้ำที่พอต้องแสงอาทิตย์แล้วก็บานในวันนี้
บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลายกหัวข้อธรรม
                 (๒) วิปจิตัญญู เป็นเหมือนบัวอยู่เสมอน้ำที่จะบานในวันรุ่งขึ้น
บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมแม้เมื่อได้ฟังความหมายของภาษิตโดยสังเขปก็สามารถแจกแจงโดยพิศดารได้
                 (๓) เนยยะ เป็นเหมือนบัวจมอยู่ในน้ำที่จะขึ้นมาบานในวันที่ ๓
บุคคลที่ต้องใส่ใจโดยแยบคายทั้งโดยอุเทศทั้งโดยปริปุจฉา ส้องเสพคบหาเข้าใกล้กัลยาณมิตร จึงตรัสรู้ธรรม
                 (๔) ปทปรมะ เปรียบเหมือนบัวที่มีโรคยังไม่พ้นน้ำ ไม่มีโอกาสขึ้นมาบาน เป็นอาหารของปลาและเต่า
บุคคลที่แม้ฟังมาก กล่าวมาก ทรงจำมาก สอนมาก แต่ก็ยังไม่ตรัสรู้ธรรมในชาตินั้น (แต่ก็เป็นปัจจัยในการบรรลุธรรมในอนาคต)

             ๑๖. ภัพพบุคคลและอภัพพบุคคล (ทรงแสดงธรรมแก่ทั้ง ๒ ประเภท)
             (๑) อภัพพบุคคล เหล่าสัตว์ผู้ประกอบด้วยการห้ามกรรม ห้ามวิบาก ห้ามกิเลส ไม่มีศรัทธา ตัดไม่ขาด ไม่มีปัญญา ไม่ควรก้าวลงสู่ความชอบในกุศลธรรมแน่นอน
                 1. ถูกกั้นไว้ด้วยกรรม เช่นพระเจ้าอชาตศัตรู ทำปิตุฆาต สรุปคือ ทำอนันตริยกรรมไว้
                 2. ถูกกั้นไว้ด้วยวิบาก เช่นกำเนิดเป็นเด็กปัญญาอ่อน หูหนวก ตาบอดหรือกำเนิดติรัจฉาน สรุปกำเนิดไม่สมบูรณ์
                 3. ถูกกั้นไว้ด้วยกิเลส เช่น พวกมิจฉาทิฏฐิดำดิ่ง เรียกนิยตมิจฉาทิฏฐิ
             (๒) ภัพพบุคคล คือเหล่าสัตว์ผู้ไม่ประกอบด้วยการห้ามกรรมห้ามวิบาก ห้ามกิเลส ฯลฯ มี ๖ ประเภท คือ
                   มีราคจริต โทสจริต โมหจริต วิตกจริต ศรัทธาจริตและพุทธิจริต
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=จริต_6

             ๑๗. ปัญจวัคคีย์คือใครบ้าง
             มาจากพราหมณ์ ๘ คน ผู้ทำนายพระสุบิน และทำนายพระลักษณะในเวลาที่พระโพธิสัตว์เกิด
             ครั้งนั้น ได้มีพราหมณ์ ๘ คน คือ
             รามะ ธชะ ลักษณะ
             โชติมันติ ยัญญะ สุโภชะ สุยามะ สุทัตตะ
             บรรดาพราหมณ์ ๘ คนนั้น ๓ คนพยากรณ์เป็น ๒ คติว่า
ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่านี้ ถ้าอยู่ครองเรือน ก็จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าออกบวชก็จะเป็นพระพุทธเจ้า.
             พราหมณ์ ๕ คนพยากรณ์คติเดียวว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่านี้จะไม่ครองเรือน จะเป็นพระพุทธเจ้าอย่างเดียว
             ปัญจวัคีย์ คือ ๕ คนนี้
             (เคยได้ิยินจากไหนไม่ทราบค่ะว่า ปัญจวัคคีย์มีบางส่วนเป็นรุ่นลูกของ ๕ คนนี้ เช่น พระอัญญาโกณทัญญะ)

             ๑๙. เรื่องในอดีตชาติของท่านพระอัญญาโกณทัญญะ
             ๒๐. เรื่้องของท่านอุปกาชีวกะ


ความคิดเห็นที่ 4-112
ฐานาฐานะ, 9 เมษายน เวลา 23:26 น.

GravityOfLove, 7 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในปาสราสิสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=5384&Z=5762
             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
...
3:55 PM 4/9/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ.

             คำว่า
                  เหตุการณ์นี้น่าจะเป็นที่มาของพิธีอาราธนาพระสงฆ์แสดงธรรม
             น่าจะเป็นอย่างนั้น.
             คำอาราธานาธรรม (จากหนังสือมนต์พิธี)
             พรัหมา จะ โลกาธิปะตี  สะหัมปะติ
             กัตอัญชะลี  อันธิวะรัง  อะยาจะถะ
             สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา
             เทเสตุ  ธัมมัง  อะนุกัมปิมัง ปะชัง

             คำว่า
(เคยได้ยินจากไหนไม่ทราบค่ะว่า ปัญจวัคคีย์มีบางส่วนเป็นรุ่นลูกของ ๕ คนนี้ เช่น พระอัญญาโกณทัญญะ)
             ขยายความว่า พราหมณ์ชื่อโกณทัญญะ เป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์นั้น.
             เรื่องพระอัญญาโกณฑัญญะเถระ
             สมัยนั้น พราหมณ์อีก ๗ คน ได้ไปตามกรรม. ส่วนโกณฑัญญมาณพผู้ตรวจพระลักษณะ หนุ่มกว่าเขาทั้งหมด เป็นผู้ปราศจากป่วยไข้. ท่านทราบว่า พระมหาบุรุษทรงผนวชแล้ว จึงเข้าไปหาพวกบุตรพราหมณ์เหล่านั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า พระสิทธัตถราชกุมารทรงผนวชแล้ว ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า โดยไม่ต้องสงสัย ถ้าบิดาของพวกท่านไม่ป่วยไข้สบายดี วันนี้ก็พึงออกบวช ถ้าแม้ท่านทั้งหลายปรารถนาไซร้ มาเถิด พวกเราจะบวชตามเสด็จพระมหาบุรุษนั้น.
             บุตรพราหมณ์เหล่านั้นก็ไม่อาจจะมีฉันทเป็นอันเดียวกันได้หมดทุกคน. ๓ คนไม่บวช. อีก ๔ คนมีโกณฑัญญพราหมณ์เป็นหัวหน้า บวชแล้ว. บรรพชิตทั้ง ๕ นี้เที่ยวภิกษาในคามนิคมและราชธานีได้ไปยังสำนักพระโพธิสัตว์. บรรพชิตเหล่านั้น เมื่อพระโพธิสัตว์เริ่มตั้งความเพียรใหญ่ตลอด ๖ ปี คิดว่า บัดนี้พระโพธิสัตว์จักเป็นพระพุทธเจ้า บัดนี้พระโพธิสัตว์จักเป็นพระพุทธเจ้า จึงบำรุงพระมหาสัตว์ ได้เป็นผู้เที่ยวไปเที่ยวมาในสำนักพระโพธิสัตว์นั้น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=146&p=2

ความคิดเห็นที่ 4-113
GravityOfLove, 10 เมษายน เวลา 09:51 น.

ขอบพระคุณค่ะ
เมื่อคืนสะลึมสะลือตื่นมาอ่านคำอาราธนาแล้วหลับต่อ
ไม่ทราบมีคำแปลไหมคะ

เรื่องพระอัญญาโกณทัญญะจำสลับกันอีกเช่นเคยเป็นปกติ

คำถามพระสูตรถัดไปรอบ่ายๆ หรือค่ำๆ นะคะ

ความคิดเห็นที่ 4-114
ฐานาฐานะ, 10 เมษายน เวลา 12:16 น.

             คำอาราธนาธรรม
             ท้าวสหัมบดี แห่งโลก ได้ประคองอัญชลีทูลวิงวอนพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐว่า
สัตว์ผู้มีธุลี ในดวงตาน้อย มีอยู่ในโลกนี้ ขอพระคุณเจ้าโปรดแสดงธรรม อนุเคราะห์ด้วยเถิด
//www.fungdham.com/pray/pray17.html << แต่บาลี pray17.html เขียนผิด

ความคิดเห็นที่ 4-115
GravityOfLove, 10 เมษายน เวลา 14:10 น.

ยอดเยี่ยมเลยค่ะ tsm

ความคิดเห็นที่ 4-116
ฐานาฐานะ, 9 เมษายน เวลา 23:32 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ปาสราสิสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=5384&Z=5762

             พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             จูฬหัตถิปโทปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=5763&Z=6041
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=329

             มหาหัตถิปโทปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6042&Z=6308
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=340

ย้ายไปที่



Create Date : 04 เมษายน 2556
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 11:39:34 น.
Counter : 810 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



เมษายน 2556

 
1
2
5
6
7
8
9
10
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
27
28
29
30
 
 
All Blog