Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
 
26 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 

ตู้หยอดเหรียญทำงานได้อย่างไร



เราอาจจะซื้อสินค้าและใช้บริการนานาชนิดด้วยการหยอดเหรียญ
เช่น ใช้โทรศัพท์ ซื้อตั๋วรถไฟ ซื้อเครื่องดื่มและของว่างหรือเล่นตู้พนันแบบคันโยก

ก่อนที่ตู้หยอดเหรียญจะให้สิ่งของหรือบริการแก่เรา
เครื่องจะสำรวจ และทดสอบ เหรียญอย่างถี่ถ้วนด้วยวิธีต่างๆ และจะไม่ยอมรับเหรียญที่มีค่าไม่ตรงกับที่กำหนด
เช่น เหรียญต่างประเทศ เหรียญปลอมหรือแขวนใส่ตะปูควง

เงินเหรียญทุกชนิดในโลกจะมีลักษณะเฉพาะตัว
มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ความหนา และน้ำหนักต่างกันไป และองค์ประกอบทางเคมีก็ยังต่างกันอีกด้วย

ตู้หยอดเหรียญจะตรวจสอบคุณสมบัติเหล่านี้ และต่อเมื่อเหรียญไหลไปตาม ช่องทางที่ถูกต้องในเครื่องเท่านั้น
จึงจะไปกระตุ้นให้กลไกของเครื่องทำงานได้

ถึงจะมีเพี้ยนแปรไปหลายแบบ แต่ตู้หยอดเหรียญโดยทั่วไปก็จะทำงานตามหลัก ต่อไปนี้คือ
เริ่มแรกช่องหยอดเหรียญจะตรวจสอบโดยไม่ยอมให้เหรียญที่กว้าง หนาหรือคดงอเกินไปผ่านเข้าไปในช่องได้

เหรียญที่ผ่านเข้าไปได้ อาจผ่านเครื่องตรวจอีกว่ามีรูตรงกลางหรือไม่ (เครื่องจะจับได้ ถ้าหยอดห่วงเข้าไป)
ถ้าเป็นเหรียญก็จะตกลงไป ที่คานกระดกที่ถ่วงน้ำหนักไว้พอดี
ถ้าเหรียญหนักพอ คานจะกระดกลงทำให้มันกลิ้งไปที่รางวิ่ง
ถ้าเบาไปคานไม่กระดกมันจะตกสู่ช่องคายเหรียญคืน

เหรียญที่เครื่องรับไว้
ณ จุดนี้จะกลิ้งตามคานวิ่งไปผ่านแม่เหล็ก
ขณะผ่านสนามแม่เหล็ก ก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นในเหรียญเล็กน้อยทำให้วิ่งช้าลง
ปริมาณของกระแสไฟฟ้านี้ ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของเหรียญ
เนื่องจากโลหะที่ต่างกัน จะตอบสนอง พลังของแม่เหล็กต่างกัน

ถ้าเหรียญนั้นมีส่วนประกอบที่ถูกต้อง มันก็จะชะลอความเร็วลงพอเหมาะ
ทำให้ตกจากราง วิ่งลงไปในทิศทางที่ไม่กระทบกับคานเบี่ยงซึ่งเป็นเครื่องกีดขวาง
แต่จะไปกระทบคานแยกเหรียญ ซึ่งอยู่ต่ำลงมาในมุมตกกระทบอันเหมาะสม ส่งเหรียญให้ลงสู่ช่อง "ยอมรับ"
ส่วนเหรียญที่หนักไปและที่ได้รับผลกระทบ จากพลังแม่เหล็กน้อยเกินไปจะตกไปกระทบคานเบี่ยง
แล้วกระดอนไปอีกด้าน ของคานแยก ไหลลงสู่ช่องคายเหรียญคืน


ตู้หยอดเหรียญอิเล็กทรอนิก
ตู้หยอดเหรียญรุ่นล่าสุด ใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิก ตรวจสอบ ความเป็นตัวนำไฟฟ้า ของเหรียญว่า
ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้มากน้อยเพียงใด

เหรียญที่ผ่านการทดสอบในขั้นนี้ จะเข้าไปในช่องหนึ่งแล้วกลิ้งตามทางลาด ที่อยู่ระหว่างแม่เหล็กสองชิ้น
ความเร็วของเหรียญขณะผ่านแม่เหล็กออกมาจะขึ้นอยู่กับ ส่วนประกอบทางโลหะของมัน

อุปกรณ์ที่ใช้วัดความเร็วของเหรียญนั้นประกอบด้วย ไดโอดเปล่งแสงและเครื่องวัดแสง
ถ้าวัดความเร็วได้ค่าตรงกับที่อยู่ในความจำของเครื่อง ช่องก็จะเปิดรับเหรียญนั้น
ถ้าไม่ตรงกัน เครื่องก็จะคายเหรียญออกมา
บางตู้อาจตั้งโปรแกรมให้ตรวจเหรียญได้ถึง 8 ชนิด

ตู้หยอดเหรียญ ยังอาจตั้งโปรแกรมให้ทอนเงินได้ด้วย
ระบบตรวจสอบจะระบุค่าของเหรียญ ในขณะที่มันกลิ้งผ่านไป เมื่อเหรียญไปสุดทางแล้ว
ไมโครชิปก็จะปล่อย เงินทอนที่ถูกต้องจากที่เตรียมไว้ในตู้ ล้วนเป็นเหรียญที่มีค่าน้อยกว่า เหรียญที่หยอด เข้าไป


ที่มา //www.vcharkarn.com/vblog/60609
ภาพจาก //www.thefreedictionary.com




 

Create Date : 26 พฤศจิกายน 2552
1 comments
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2552 16:57:39 น.
Counter : 1594 Pageviews.

 

เอาโปรมแกรมให้หน่อยครับ

 

โดย: toe_love_koy@windowlife.com IP: 192.168.8.130, 119.42.82.187 22 กุมภาพันธ์ 2553 8:13:07 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.