Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2552
 
24 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 
เหตุใดกลิ่นเหงื่อ จึงกระตุ้นให้ยุงกัด

ยุงกัด,เรื่องน่ารู้

ในบรรดาสัตว์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์นั้น ยุงนับเป็นสัตว์ที่มีบทบาทสำคัญอย่างมาก
เนื่องจาก ยุงแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วในแหล่งน้ำทั่วไป จึงมีพบได้ตามอาคารบ้านเรือน หรือแหล่งที่พักอาศัย
ยุง จึงก่อให้เกิดปัญหาอย่างมาก

ปัญหาที่ไม่รุนแรงก็คือ ก่อให้เกิดความรำคาญเมื่อถูกยุงกัด
ส่วนปัญหาที่รุนแรงก็ได้แก่การเป็นพาหะนำโรคร้ายต่าง ๆ มากมาย
โรคสำคัญที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากในแต่ละปีและเป็นปัญหาสาธารณสุขของประชากรโลก
ได้แก่ มาลาเรีย ไข้เลือดออกและไข้เหลือง

ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการรณรงค์กำจัดยุง ด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง
เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตการเจริญของยุงนั่นเอง และมักไม่นิยมใช้สารเคมีทำลายยุง
เพราะจะมีสารเคมีเป็นพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์อีกด้วย

ตามปกติแล้ว ยุงจะบินมาตอมบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแล้วจึงกัดหรือดูดเลือด
ยุงที่กัดเราทุกวันนี้ เป็นยุงตัวเมีย และยุงมักจะกัดในผู้ที่มีเหงื่อมากกว่าบุคคลอื่น
ทำให้เป็นที่สงสัยกันมานานว่า เพราะเหตุใด จึงเป็นเช่นนี้ จึงได้มีการศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี้มาเป็นเวลานาน
จนกระทั่งพบว่า กลิ่นเหงื่อจะกระตุ้นให้ยุงมากัด
แต่ยังไม่ทราบว่าสารเคมีชนิดใดในเหงื่อที่มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้ยุงมากัด

เมื่อไม่นานมานี้ นายจอห์น คาร์สันและคณะนักวิจัยจากภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา
ได้ศึกษาพบว่า สารเคมีจากเหงื่อของเราเป็นตัวการสำคัญที่กระตุ้นให้ยุงตัวเมียมากัด
เนื่องจากสารเคมีนี้ มีผลต่อประสาทรับกลิ่นของยุง

ต่อมา ได้ศึกษาพบว่าในเหงื่อจะมีสารเคมี 2 ชนิดที่ไปกระตุ้นให้ยุงกัด ชนิดแรก ได้แก่
4 – เมธิลฟีนอล (4-methylphenol) ไปกระตุ้นตัวรับจากหนวดของยุงที่เรียกว่าเอจีโออาร์ -1 (AgOr 1)
และสารเคมีชนิดที่สอง ได้แก่ 2-เมธิลฟีนอล (2-methylphenol) ไปกระตุ้นตัวรับจากหนวดของยุงที่เรียกว่า
เอจีโออาร์ – 2 (AgOr -2)

การศึกษาดังกล่าวถือว่า เป็นการค้นพบครั้งแรกที่ทำให้ทราบว่า
อวัยวะรับสัมผัสสารเคมีของยุงตัวเมีย สามารถตอบสนองต่อกลิ่นเหงื่อของมนุษย์
จึงทำให้เกิดแนวคิดที่จะนำไปสู่การพัฒนาสารเคมีป้องกันยุงในรูปสเปรย์กระป๋องในอนาคต

ยุงเป็นสัตว์ที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อเราอย่างมาก เราไม่สามารถจะกำจัดยุงให้หมดไปได้วิธีที่ดีที่สุด ก็คือ
การป้องกันไม่ให้ยุงกัด รวมทั้งช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
เพื่อลดจำนวนประชากรของยุงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ยุงเป็นปัญหาของสังคมที่เราทุกคนต้องร่วมกันแก้ไข
ถ้าทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างจริงจังก็สามารถแก้ไขปัญหาการเพิ่มประชากรของยุงได้อย่างแน่นอน
และช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคที่มียุงเป็นพาหะอีกด้วยครับ

โดย รศ.บัญญัติ สุขศรีงาม


Create Date : 24 มิถุนายน 2552
Last Update : 24 มิถุนายน 2552 18:16:47 น. 0 comments
Counter : 1354 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.