Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
17 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
"ฮอว์ก อาย" ไลน์แมนดิจิตอลในโลกเทนนิส



แฟนเทนนิสคงคุ้นเคยกับระบบ "ฮอว์ก-อาย" ดี
เพราะเทคโนโลยีดังกล่าวมีใช้กันในวงการโทรทัศน์ ที่ถ่ายทอดสดรายการเทนนิส ต่างๆ มานานแล้ว
อย่างไรก็ตาม ฮอว์ก-อาย สร้างความฮือฮาให้กับวงการเทนนิสโลก เพราะสหพันธ์เทนนิสนานาชาติ (ไอทีเอฟ)
ทดสอบแล้วยอมรับให้ใช้เทคโนโลยีนี้ ในการตัดสินชี้ขาดระหว่างแมตช์แข่งขัน ต่างๆ อย่างเป็นทางการ

นั่น อาจไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับวงการอื่น แต่ในโลกของเทนนิสแล้วนี่
เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่น้อยครั้งจะเกิดขึ้นกับวงการ
การเปลี่ยนแปลงครั้งหลังสุดที่เกิดขึ้นกับวงการเทนนิส ก็คือการนำเอาระบบ ไท-เบรก
(ระบบการนับคะแนนแบบแต้มต่อแต้ม เพื่อชี้ขาดการแข่งขันโดยเร็ว) มาใช้ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อนเลยทีเดียว

อันที่จริงการพัฒนาของเกมการเล่นเทนนิส ที่เปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยเป็นเมื่อหลาย ปีก่อนนั่นแหละ
เป็นตัวการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การนำเอาเทคโนโลยี มาใช้ในวงการเทนนิส

เทนนิส ในยุคปัจจุบันเล่นด้วยพละกำลัง ผู้เล่นสามารถเสิร์ฟลูกได้ด้วยความเร็วมากกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ตีโฟร์แฮนด์ได้ในระดับความเร็วลูกไม่น้อยกว่า 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ด้วยระดับความเร็วดังกล่าว เรื่องที่จะบอกให้แม่นยำว่า จุดตกของลูกอยู่ในหรือนอกเส้นที่กำหนดไว้
กลายเป็นเรื่องที่นอกเหนือความสามารถของสายตามนุษย์ไปแล้ว

มี ผู้เปรียบเปรยไว้ว่า มันเหมือนกับการพยายามอ่านข้อความบนป้ายทะเบียนเสียภาษี ที่ติดอยู่หน้ากระจกรถยนต์
ขณะที่กำลังวิ่งฉิวด้วยความเร็วราว 144 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ยังไงยังงั้นเลยทีเดียว

ระบบฮอว์ก-อาย เกิดขึ้นเมื่อปี 2544 ที่ผ่านมานี่เองจากการคิดค้นพัฒนาของดอกเตอร์พอล ฮอว์กินส์ ชาวอังกฤษ
ที่เป็นทั้งผู้ก่อตั้ง และปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท ฮอว์ก-อาย ขึ้นในประเทศอังกฤษ
เดิมมีจุดประสงค์เพื่อใช้สำหรับเสริมในการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์
เป็นการขยายภาพ รีเพลย์ เพื่อแสดงตำแหน่งจุดตกของลูกให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

สถานีโทรทัศน์เริ่มนำเอาภาพอินสแตนท์ รีเพลย์ ของฮอว์ก-อาย มาใช้เมื่อปี 2545
และได้รับความนิยมแทบจะในทันที ส่งผลให้ในปี 2546 ถัดมา ฮอว์ก-อาย ได้รับรางวัลสำคัญของวงการโทรทัศน์
2 รางวัล คือรางวัลเอ็มมี่ (ของสหรัฐอเมริกา) และรางวัลของราชสมาคมด้านกิจการโทรทัศน์ของอังกฤษ
ในฐานะนวัตกรรมดีเด่นทางเทคโนโลยี

ความ นิยมดังกล่าวทำให้ ฮอว์ก-อาย ได้รับการกล่าวขวัญถึงอย่างมากในปีถัดมา
บริษัทผู้คิดค้นระบบดังกล่าวได้พัฒนาเพื่อให้ระบบ มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ทำให้หลายฝ่ายเริ่มมองเทคโนโลยีนี้ ในฐานะเป็นเครื่องมือในการช่วยให้การ ตัดสินเกมการแข่งขันเทนนิส
มีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น คลายความกังวลและอารมณ์ของผู้เล่นเรื่องความผิดพลาดของการตัดสินลง
และลดความขัดแย้ง โต้เถียงระหว่างเกมลง

ในเดือนกรกฎาคมปี 2548 พอล ฮอว์กินส์ นำเอาระบบฮอว์ก-อาย ไปทดสอบมาตรฐานของไอทีเอฟ
การทดสอบทำกันที่อาเธอร์ แอช สเตเดียม ในฟลัชชิ่ง เมโดวส์ สถานที่จัดการแข่งขันจริงของรายการเทนนิส
ระดับแกรนด์สแลมอย่าง "ยูเอส โอเพ่น" ฮอว์ก-อาย ไม่ผ่านการทดสอบมาตรฐานในครั้งแรก
ประการหนึ่งเนื่องจากไอทีเอฟตั้งมาตรฐานไว้สูงมาก
อีกประการหนึ่งเนื่องจากในระหว่างการทดสอบ มีการเปิดไฟจ้าเกินความเป็นจริง
อย่างไรก็ตาม ในการทดสอบดังกล่าว
ฮอว์ก-อาย ก็ขานลูกที่ถูกยิงออกมา ด้วยความเร็วสูงจากเครื่องยิงได้ถูกต้องมากกว่า 90 ลูกจากจำนวนทั้งหมด
มีผิดพลาดเพียงแค่ 3 ลูกเท่านั้น และ 1 ในจำนวนนั้นเป็นความคลาดเคลื่อนเพียง 1 มิลลิเมตรเท่านั้นเอง


ดอกเตอร์ Paul Hawkins ผู้ประดิษฐ์ฮอว์ก-อายขึ้น (Hawk-Eye inventor)

อีก 4 เดือนให้หลัง ฮอว์ก-อาย ที่ได้รับการพัฒนาใหม่ ผ่านการทดสอบมาตรฐานของไอทีเอฟแบบสบายๆ
ทำให้มีการนำมาใช้อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในการแข่งขัน แนสแด็ก 100 รายการระดับมาสเตอร์ซีรีส์
ที่เมืองไมอามี สหรัฐ โดยให้โอกาสผู้เล่นสามารถแย้งคำตัดสินของกรรมการด้วยการขอดู ฮอว์ก-อาย ได้ 2 ครั้ง
ใน 1 เซ็ต และจะเสียสิทธิในการแย้ง 1 ครั้งทุกๆ ครั้งที่ ฮอว์ก-อาย ชี้ขาดว่า
ผู้เล่นเป็นฝ่ายผิดและผู้ตัดสินตัดสินถูกต้องแล้ว

ระบบฮอว์ก-อาย เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่เข้าด้วยกันอย่างชาญฉลาด ตัวระบบประกอบด้วย
กล้องถ่ายภาพโทรทัศน์ความเร็วสูงจำนวน 5-6 ตัวที่ครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่คอร์ตเทนนิส
สำหรับทำหน้าที่เป็นตัวจับความเคลื่อนไหว ของทั้งผู้เล่นและลูกเทนนิส

ข้อมูล ดังกล่าวจะถูกป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ที่มีซอฟต์แวร์เพื่อการประมวลผลทรงพลัง
ที่มีทั้งขีดความสามารถในการคำนวณและมีความรวดเร็วในการประมวลผล
จนสามารถพล็อตออกมาเป็นภาพจำลอง 3 มิติของความเคลื่อนไหวของลูก
จากเริ่มต้นกระทบหน้าไม้ไปจนถึงจุดตก และการกระดอนของลูกได้อย่างแม่นยำ

ซอฟต์แวร์ ดังกล่าวมีศักยภาพขนาดสามารถคำนวณ และประมวลผลการตีตอบโต้ระหว่างผู้เล่นชุด หนึ่งๆ
ในรูปของสมการได้สูงสุดถึง 1,000 ล้านชุด และถ่ายทอดออกมาเป็นภาพจำลอง 3 มิติ ขนาด 60 เฟรมต่อวินาที

ฮอว์ก-อาย สามารถคำนวณได้ แม้กระทั่งค่าการบิดตัวของลูกเทนนิสเมื่อกระแทกกับพื้นคอร์ต
ซึ่งจะส่งผลให้จุดศูนย์กลางของลูกเบี่ยงเบนไป
ทำให้ค่าของความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่ภายในระยะแค่ 3 มิลลิเมตรเท่านั้น

ฮอว์ก-อาย ใช้เวลาในการติดตั้งระบบก่อนหน้าการแข่งขันประมาณ 2 วัน
และคิดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบประมาณ 15,000-20,000 ดอลลาร์ (ราว 600,000-800,000 บาท)
ต่อ 1 คอร์ตเทนนิสต่อระยะเวลา 1 สัปดาห์


ข้อมูลจาก มติชน
ที่มา : //artsmen.net



Create Date : 17 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2553 14:38:27 น. 1 comments
Counter : 2177 Pageviews.

 
What i do not realize is in truth how you're not really much more neatly-preferred than you may be right now. You're very intelligent. You understand thus significantly relating to this subject, made me for my part consider it from numerous various angles. Its like women and men don't seem to be interested unless it??s one thing to accomplish with Woman gaga! Your personal stuffs nice. At all times maintain it up!
Louis Vuitton outlet online //www.ledpoollight.com/


โดย: Louis Vuitton outlet online IP: 94.23.252.21 วันที่: 2 สิงหาคม 2557 เวลา:8:45:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.