Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2552
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
27 พฤษภาคม 2552
 
All Blogs
 
ภารกิจเอฟบีไอกับซีไอเอ ต่างกันตรงไหน?



ภารกิจของเอฟบีไอกับซีไอเอ มีความแตกต่างกัน ดังนี้
เอฟบีไอเป็นหน่วยงานข่าวกรองของกระทรวงยุติธรรม สหรัฐฯ ที่มีอำนาจและหน้าที่ในการสืบสวนคดี
อาชญากรรมสำคัญที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐฯ จากหน่วยข่าวกรองต่างชาติและผู้ก่อการร้าย
โดยมีหน้าที่หลัก 5 ประการ ได้แก่ การต่อต้านการก่อการร้าย ปราบปรามอาชญากรรมเกี่ยวกับยาเสพติด
ต่อต้านหน่วยข่าวกรองต่างชาติ ปราบปรามอาชญากรรมรุนแรง และอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ


เอฟบีไอถูกพัฒนาขึ้นจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษที่ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1908 ตอนแรกได้ชื่อว่า "สำนักงานสืบสวน"
(Bureau of Investigation: BOI) ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นเอฟบีไอ (Federal Bureau of Investigation: FBI)
ในปี 1935

เจ้าหน้าที่พนักงานของหน่วยข่าวกรองหลายคนถูกส่งไปประจำอยู่ในต่างประเทศและทำงานในสถานทูตสหรัฐฯ
ทั่วโลก ในฐานะผู้ช่วยทูตด้านกฎหมาย เจ้าหน้าที่เอฟบีไอทั้งเก่าและใหม่ต้องเข้ารับการฝึกเป็นประจำ ที่
สถาบันเอฟบีไอในรัฐเวอร์จิเนีย


ตั้งแต่เดือนมิถุนายนปี 2002 ปฏิบัติการหลักของเอฟบีไอคือการต่อต้านการก่อการร้าย กฎหมายของสหรัฐฯ ให้
อำนาจเอฟบีไอในการดักฟังโทรศัพท์ และตรวจสอบการใช้อินเทอร์เน็ต
นอกจากนี้ยังสามารถเข้าไปตรวจค้นบ้านเวลาที่ประชาชนไม่อยู่ได้

ขณะที่ สำนักงานสืบราชการลับกลาง หรือซีไอเอ (Central Intelligence Agency: CIA)
รับผิดชอบงานด้านการสืบราชการลับ และการต่อต้านการสืบราชการลับนอกสหรัฐฯ
โดยจะรวบรวมข้อมูลจากทั้งหน่วยงานรัฐ บริษัท หรือบุคคลต่างชาติ แล้วรายงานไปยังหน่วยงานต่างๆ ของ
ทางการสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังทำงานราชการลับหลายอย่าง
รวมถึงปฏิบัติการให้ร้ายรัฐบาล ผู้นำ และพลเรือนต่างชาติอย่างลับๆ ในช่วงสงครามเย็นด้วย

หน่วยงานนี้ถูกตั้งขึ้นโดยประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมน เมื่อปี 1947 เพื่อปฏิบัติงานแทนหน่วย OSS (Office of
Strategic Services) ที่ปฏิบัติงานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
สองปีต่อมารัฐบาลผ่านกฎหมายอนุญาตให้ซีไอเอใช้จ่ายเงินทุนได้เอง
และมีสิทธิเต็มที่ในการคัดเลือกพนักงานของหน่วยงาน โดยไม่ต้องนำเสนอข้อมูลรายงานต่อทางการ

พนักงานซีไอเอจะมีบุคคลากรจากหลากหลายสาขาอาชีพ ตั้งแต่นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร นักเศรษฐศาสตร์
นักภาษาศาสตร์ เลขานุการ นักบัญชี หรือผู้เชี่ยวชาญคอมพิวเตอร์
เนื่องจากภารกิจของซีไอเอไม่ใช่แค่การเป็นสายสืบนอกเครื่องแบบเท่านั้น หากแต่งานของพวกเขามีทั้งการวิจัย
การเขียนรายงาน รวมทั้งต้องมีคนจัดการงานเอกสารด้วย
หลักเกณฑ์พื้นฐานในการคัดคนก็คือ ต้องเรียนเก่ง และต้องเต็มใจที่จะย้ายมาอยู่ในวอชิงตัน ดีซี
อีกทั้งจะต้องสุขภาพดี และมีคุณสมบัติอื่นๆ ประกอบอีกมากมาย

ซีไอเอขึ้นอยู่กับคณะกรรมาธิการรัฐสภาสหรัฐฯ แต่ก็รายงานตรงต่อประธานาธิบดีด้วย
โดยมากซีไอเอจะทำงานอย่างลับๆ และเชื่อกันว่า น่าจะใช้ประโยชน์จากดาวเทียมลาดตระเวน ความสามารถใน
การตรวจจับสัญญาณ และเครื่องบินลาดตระเวนจากกองกำลังสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม ซีไอเอถูกกล่าวหาว่า แทรกซึมไปทำการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศพันธมิตรสหรัฐฯ
อีกทั้งยังมีส่วนร่วมในการลักลอบค้ายาเสพติดในลาว อัฟกานิสถาน และนิการากัว
นอกจากนี้ ยังเคยพยายามลอบสังหารผู้นำต่างชาติ อาทิ ฟิเดล คาสโตร ผู้นำคิวบา

ซีไอเอถูกตำหนิเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการรวบรวมข้อมูล โดยเฉพาะวิธีการหาข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผย
ความล้มเหลวที่ทำให้ซีไอเอถูกตำหนิมาก คือความล้มเหลวในการทำนายการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
นอกจากนี้ ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากความบกพร่องในการแจ้งเตือนภัยในเหตุวินาศกรรมวันที่ 11
กันยายน 2001 และการทำสงครามในอิรัก ซึ่งซีไอเอระบุว่าอิรักมีอาวุธอำนาจทำลายล้างสูงในครอบครอง
แต่จนบัดนี้สหรัฐฯ ยังไม่สามารถหาหลักฐานเกี่ยวกับอาวุธดังกล่าวได้

เครือข่ายข่าวกรองของสหรัฐฯ นั้น ประกอบไปด้วยหน่วยงานต่างๆ ถึง 15 หน่วยงาน
และขณะนี้ผู้อำนวยการซีไอเอก็รั้งตำแหน่งผู้อำนวยการข่าวกรองกลาง (director of central intelligence)
หรือดีซีไอ เพื่อทำหน้าที่ประสานงานระหว่าง 15 หน่วยงาน

ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการข่าวกรองกลางคนปัจจุบัน ต่อจาก จอร์จ เทเน็ต ผอ.ผู้อื้อฉาวที่ลาออกจากตำแหน่ง
ด้วยเหตุผลส่วนตัวเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2004 คือ พอร์เตอร์ กอซ อดีตสายลับซีไอเอวัย 65 ปี

เขาได้รับการเสนอชื่อให้ขึ้นดำรงตำแหน่งดังกล่าว ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายเดโมแครตที่ตั้งข้อ
สังเกตว่า การที่กอซเป็นบุคคลที่มาจากฝ่ายริพับลิกันนั้นอาจจะทำให้ภาพลักษณ์ของหน่วยข่าวกรอง
ซึ่งเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางหมดความน่าเชื่อลงไปอีก

ทั้งนี้ ภารกิจหลักที่กอซได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ คือ การปฏิรูปหน่วยงานข่าวกรอง
หลังจากถูกโจมตีมากจากความล้มเหลวเกี่ยวเนื่องจากเหตุวินาศกรรม 11 กันยา
รวมทั้งรายงานที่มีความบกพร่องที่ระบุว่า อิรักมีอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง ก่อนที่สหรัฐฯ จะบุกอิรัก

ที่มา : ผู้จัดการ


Create Date : 27 พฤษภาคม 2552
Last Update : 27 พฤษภาคม 2552 15:04:40 น. 0 comments
Counter : 781 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.