Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
5 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
ซูเปอร์มด



มดแดง (Oecophylla Smaragdina) มดที่เราทุกคนรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี สามารถพบเห็นได้ทั่วไป
ไม่ว่าจะเป็นในบ้านเรือนหรือสนามหญ้า และที่สำคัญที่สุดก็คือมดตัวน้อยตัวนี้ต่อยเจ็บ

เรื่องราวความน่าสนใจของแมลงตัวนี้ยังมีอีกมาก
และที่สำคัญก็คือเป็นเรื่องราวที่ไม่คาดคิดว่ามันจะสามารถทำได้...

ลองมาทำความรู้จักกับสังคมมดกันสักเล็กน้อยก่อน แม้ว่าหลายคนจะรู้กันเป็นอย่างดีอยู่แล้วว่า
ในรังมด ประกอบไปด้วยมดอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด ก็คือ มดงาน หรือมดแดง ที่ทำหน้าที่สร้างรัง หาอาหาร
ซึ่งก็คือมดตัวเมียที่เป็นหมัน ชนิดต่อมาก็คือมดตัวผู้ที่เกิดมา ก็เพื่อผสมพันธุ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
หลังจากทำหน้าที่ของมันเสร็จแล้วมันก็จะตาย

มดชนิดที่สำคัญที่สุดในรัง ก็คือ มดนางพญา หรือมดแม่รัง
มดแดงตัวเมียที่สลัดปีกทิ้งหลังจากที่ได้รับการผสมพันธุ์ โดยมดนางพญามีความสามารถในการเก็บน้ำเชื้อมดตัวผู้
ซึ่งได้รับในขณะผสมพันธุ์เพียงแค่วันเดียวเท่านั้น แล้วนำมาใช้ได้ตลอดชีวิตของมด
หน้าที่เดิมๆ ทุกวันก็คือ วางไข่โดยเฉลี่ยแล้ววันละกว่า 500 ฟอง
อายุเฉลี่ยมดนางพญานั้นยาวนานกว่ามดงานทั่วไป อายุประมาณ 2-4 ปี
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกที่ในรังมดมีจำนวนประชากรมากมายเหลือเกิน
และเรื่องที่เหลือเชื่อก็คือ มดนางพญา มีความสามารถในการกำหนดเพศของผึ้งที่จะฟักตัวออกมาได้อีกด้วย
นั่นก็เป็นผลมาจากไข่ที่ได้รับการผสมจากเชื้อตัวผู้ จะเกิดเป็นมดตัวเมีย หรือมดงาน
ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสม (ปล่อยน้ำเชื้อตัวผู้ออกมาน้อย) จะเกิดมาเป็นผึ้งตัวผู้
ดังนั้นโดยทั่วไป ที่ยังไม่ถึงฤดูกาลแห่งการผสมพันธุ์ เชื่อได้เลยว่าจำนวนประชากรมดตัวผู้คงมีไม่มากนัก
เพราะยังไม่ถึงเวลาในการทำหน้าที่ และเป็นการสิ้นเปลืองอาหาร
รวมไปถึงการดูแลความเรียบร้อยในรังอีกต่างหาก

มดแดง แบ่งเป็น มดแดงขนาดเล็ก มีขนาดตัวยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร
และมดแดงขนาดโต มีขนาดตัวยาวประมาณ 7-9 มิลลิเมตร ทั้งสองชนิดทำหน้าที่เป็นมดงานในรัง
วงจรชีวิตมดแดงเหล่านี้กินเวลาประมาณ 30 วัน และมีอายุยืนยาว 3-4 เดือน
นอกจากนั้นรังของมดแดงยังสามารถแบ่งเป็น 2 แบบ นั่นก็คือ รังถาวรและรังชั่วคราว

โดยรังถาวรนั้นถูกใช้เป็นที่เลี้ยงดูมดตัวอ่อน และที่เก็บสะสมอาหาร
โดยการเลี้ยงเพลี้ยไว้กินน้ำหวานที่เพลี้ยขับถ่ายออกมา รังถาวรอาจมีจำนวน 20-45 รัง
ส่วนรังชั่วคราวนั้นถูกใช้เป็นที่พักชั่วคราวในการออกหาอาหาร และเก็บสะสมอาหารสำรอง
มีมากมายถึง 20-60 รัง โดยระหว่างรังจะมีทางเดินเชื่อมต่อกันอาณาบริเวณรัศมีประมาณ 30 เมตร
หรือครอบคลุมพื้นที่มากมายถึง 2,400-3,800 ตารางเมตร

นอกจากพฤติกรรมการสร้างอาณาจักรที่สุดแสนกว้างใหญ่แล้ว เรื่องของอาหารก็สำคัญด้วยเหมือนกัน
ยิ่งจำนวนประชากรมดที่มากมายนับหมื่นในรังด้วยแล้ว นั่นก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ

มดแดงกินอาหารเหลวจากพืชที่ขับออกมา ซึ่งเรียกว่าอาหารเหลว
และอาหารแข็งที่ได้จากพืชและแมลงชนิดต่างๆ ตลอดจนสัตว์เล็ก
โดยความจุในกระเพาะมดนั้นกินน้ำหวานได้ครั้งละ 1.2 มิลลิกรัม
แต่ถ้าจะให้เสาะแสวงหาจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คงไม่เพียงพอสำหรับสมาชิกในรังจริงไหม?

พฤติกรรมอันสุดแสนฉลาดของมดแดงนั่นก็คือ การเลี้ยงแมลงเอาไว้กินน้ำหวาน
ลองมาดูทำเนียบแมลงกันบ้างว่า เจ้ามดแดงเลือกเลี้ยงแมลงชนิดใดเป็นพิเศษ และมีสัดส่วนอย่างไรบ้าง

คุณสมบัติหลักของแมลงที่จะได้รับการเลี้ยงดูเป็นพิเศษ อันดับแรกก็คือ ต้องขับถ่ายน้ำหวานออกมาได้
ซึ่งก็คงไม่พ้นแมลงจำพวกเพลี้ยทั้งหลาย ยกตัวอย่างเช่น เพลี้ยหอยสีเขียว เพลี้ยอ่อนสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นมะม่วง
เพลี้ยแป้งส้ม จักจั่นเขา หรือแม้แต่หนอนผีเสื้อสีน้ำเงิน

โดยมดจะใช้ปลายหนวดเคาะบนตัวเพลี้ย
เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เพลี้ยปล่อยน้ำหวานออกมาทางท่อ หรือต่อมบริเวณส่วนท้ายของร่างกาย

นอกจากจะกินน้ำหวานจากแมลงเหล่านี้แล้ว มันยังได้รับสิทธิพิเศษ
นั่นก็คือมดแดงที่เป็นแมลงสุดแสนดุร้าย จะไม่ทำร้ายทำอันตรายเพลี้ยเหล่านี้
แถมยังคอยปกป้องดูแลเป็นอย่างดีจากศัตรูที่มารบกวน เท่านั้นยังไม่เพียงพอ
ยังอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายเพลี้ยเหล่านั้น ไปยังแหล่งอาหารใหม่ๆ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่อื่น
และนั่นก็เป็นการได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่ายอย่างแท้จริง แถมยังปลอดภัยอย่างแน่นอนอีกด้วย




นอกจากอาหารเหลวเพียงอย่างเดียวแล้ว อาหารแข็งก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน และมีความยุ่งยากกว่าเสียด้วย
เพราะต้องใช้แรงกำลังมหาศาลในการยกอาหารเหล่านั้นกลับเข้ามาในรัง
ซึ่งก็เป็นภาพที่คุ้นตาสำหรับเราที่มักพบเห็นว่ามดตัวเล็กๆ กำลังแบกอาหารชิ้นใหญ่เบ้อเริ่ม
เหยื่อซึ่งเป็นสัตว์หรือแมลงด้วยกันนั้นเองคืออาหารอันโอชะของมดแดง
โดยเรียงลำดับความโปรดปราน จากความชอบมากที่สุดไปจนถึงน้อยที่สุดก็คือ แมลงปีกแข็งหรือด้วง
หนอนผีเสื้อ ต่อ แตน ผึ้ง ตั๊กแตน จิ้งหรีด แมลงปอ
ที่สำคัญคือต้องเป็นเหยื่อที่ใกล้เสียชีวิต หรือเสียชีวิตไปแล้วเท่านั้น
ขนาดของแมลงที่มดแดงใช้เป็นอาหารอยู่ในช่วง 0.1-3.5 เซนติเมตร
โดยเฉลี่ยแล้วมดแดงหนึ่งตัวจะสามารถขนของหนักประมาณ 2.8 มิลลิกรัม
ถ้าหากจะเทียบกับน้ำหนักตัวอันเบาหวิวของมันแล้วก็ต้องบอกเลยว่า มันก็คือ ซูเปอร์มด นั่นเอง

เมื่อได้เห็นพฤติกรรมอันแปลกประหลาด และไม่น่าเชื่ออย่างนี้แล้ว
ไม่แปลกใจเลยจริงๆ ใช่ไหมว่า
ทำไมประชากรที่มากมายนับไม่ถ้วนในรัง จึงมีอาหารการกินและความเป็นอยู่ที่สุขสบายเสียเหลือเกิน


ข้อมูลโดย : //www.posttoday.com
ที่มา : //variety.thaiza.com




Create Date : 05 กรกฎาคม 2553
Last Update : 5 กรกฎาคม 2553 17:15:17 น. 1 comments
Counter : 2201 Pageviews.

 
โอโฮ่


โดย: ทามิคุอาลียะ IP: 49.230.248.199 วันที่: 4 เมษายน 2554 เวลา:7:21:37 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.