The power of an authentic movement lies in the fact that
it originates in naming and claiming one's identity and integrity
-- rather than accusing one's "enemies" of lacking the same.
- Parker J. Palmer, The Courage to Teach
Group Blog
 
All blogs
 
สมองสองซีกกับความเป็นจริงของนักเขียน: ฝึกสมองซีกขวา(1)

เมื่อกี้นี้ได้คุยกับพี่วัสส์ และพี่วัสส์ให้ความเห็นมาว่า ที่จริงแล้วก็มีคนที่เกิดมาเขียนได้และเกิดมาเขียนไม่ได้จริง ๆ เหมือนมีคนที่เกิดมาแล้วจะเป็นนักกีฬาได้ กับไม่ได้ เพราะการพัฒนาด้านสมองหรือร่างกายไม่เหมือนกัน คือถึงแม้ว่าฝึกกีฬาแล้ว ก็พัฒนาได้เพียงถึงระดับหนึ่ง ไปต่อไม่ได้อีก จะด้วยเหตุว่าร่างกายหรือสมองไม่เอื้อ หรือไม่มีความสนใจพอจะอดทนทำไปให้สุดก็แล้วแต่

พอพี่วัสส์บอกแบบนี้แล้ว ก็เห็นด้วย ดังนั้นจึงอยากจะบอกจุดยืนที่เราเขียนบทความนี้เอาไว้ก่อนว่า สำหรับเรา เราเชื่อว่า คนอยากเขียนควรจะได้เขียน ส่วนคนไม่อยากเขียน เราก็ไม่ได้คิดว่าเขาต้องเขียน ดังนั้นเวลาเราพูดถึงเรื่องความสามารถ เรื่องพรสวรรค์ เขาจึงคิดอยู่แต่ในขอบเขตของคนที่อยากเขียนเท่านั้น ไม่ได้คิดถึงคนที่ไม่อยากเขียน

ส่วนเรื่องคนเขียนแล้วจะพัฒนาไปได้เพียงระดับหนึ่ง อันนี้อาจจะต้องคุยกันอีกที ตอนนี้กำลังอ่านหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Mastery ซึ่งน่าสนใจมาก แต่ยังอ่านไม่จบจึงยังไม่ควรขยายต่อ เขียนเท่าที่รู้มาแล้วก่อนน่าจะดีกว่า

มีอีกเรื่องหนึ่งที่อยากอธิบายให้ฟัง คือการเขียนบทความเหล่านี้ก็เป็นการทดลองของเราเหมือนกัน ดังนั้นเราจึงไม่ได้เขียนโดยมีข้อจำกัดแน่นอน และไม่ได้เขียนโดยคิดว่าจะต้องให้ได้ผลอย่างนั้นอย่างนี้ คนอ่านบางคนอาจจะรออยู่ว่าเมื่อไรยายนี่จะเขียนถึงเรื่องที่อยากอ่านเสียที แต่ยายนี่จนแล้วจนรอดก็ไม่เขียน ที่จริงคือเราไปตามจังหวะของเราเองอยู่ นึกถึงเรื่องอะไรที่ควรบอกก็บอกออกมาเลย ดังนั้นถ้ารออยู่แล้วไม่เขียนเสียที ให้บอกได้เลยว่าอยากคุยกันเรื่องอะไร เราอาจจะตอบไม่ได้ก็ได้ (แต่จะพยายามไปค้นหรือไปคิดไตร่ตรองดู) หรือคำตอบของเราอาจจะไม่ถูกใจก็ได้ แต่อยากให้ถือว่าคุยกัน เพราะเราไม่ได้รู้เรื่องทุกเรื่อง อย่างที่มีคนชวนคุยมาเรื่อย ๆ นั้น เราดีใจมาก เพราะชวนให้มีอะไรคิดดี ที่คุณยาคูลท์ชวนคุยมาบทความที่แล้ว ถึงจะตอบไปแล้ว แต่ตอนนี้ก็ยังคิดอยู่ เราคิดว่ายิ่งมีคนชวนคุยมุมของตัวเองจะยิ่งดี เพราะอาจจะทำให้เห็นอะไร ๆ มากขึ้น ส่วนเห็นอะไร ๆ มากขึ้นแล้วจะมีประโยชน์หรือไม่อย่างไรนั้น เราก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะประโยชน์ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่การที่เราได้เขียน และได้คุยกับทุกคนนี้ ทำให้เราเห็นอะไรหลายอย่างกระจ่างขึ้น ซึ่งเรารู้สึกดี

กำลังคิดว่าอาจจะต้องเปลี่ยนชื่อหัวข้อที่เขียนใหม่ แต่อาจจะทำเมื่อมีการจัดระเบียบทีหลัง ตอนนี้จะทำอย่างอิสระไปเรื่อย ๆ ก่อน

มีคนถามว่า เรื่องฝึกสมองซีกซ้ายนั้นพอรู้แล้ว แต่ฝึกสมองซีกขวาจะให้ทำอย่างไร อันนี้มีหลายฉบับ ซึ่งคงต้องเอาไปปรับใช้กันเอง จะบอกที่เรารู้มา และอธิบายสั้น ๆ ให้เข้าใจ แต่ถ้าอยากรู้มากขึ้นให้ไปเสิร์ชชื่อคนที่เราบอกไว้ หรือไม่ก็หลังไมค์มาหา จะให้รายชื่อหนังสือจริง ๆ ไปอ่านเพิ่มต่อ

คนที่เราอ่านเจอ และจำได้เป็นคนแรก ๆ ว่าพูดถึงการเขียนกับอย่างอื่นที่ไม่ใช่โครงสร้างนั้น คือ วิลเลียม ซาโรยัน (William Saroyan) ในหนังสือของซาโรยัน เป็นเรื่องของเขากับลูกชาย (ชื่อเรื่อง Papa You Are Crazy) ลูกถามว่าเป็นนักเขียนต้องทำอย่างไร ซาโรยันเอาเม็ดถั่วออกมาให้ห้าเม็ด บอกให้ไปนั่งดูเม็ดถั่วจนกว่าจะเห็นว่าแต่ละเม็ดมันเป็น individual มันแตกต่างกัน กระบวนการนี้อาจจะดูไร้สาระมาก ๆ แต่จริง ๆ แล้วมันคือการฝึกประสาทสัมผัสให้คมชัด ถ้าหากมองเม็ดถั่วให้ต่างกันได้แล้ว ต่อไปเดินไปท่ามกลางฝูงชนก็จะเห็นความต่างเหมือนกัน มองธรรมชาติก็จะเห็นความต่าง จะสัมผัสได้ถึงสิ่งที่คนทั่วไปละเลย คนที่สัมผัสถึงสิ่งเหล่านั้นได้ เวลาเขียนหนังสือก็จะเขียนได้เป็นจริง จะเขียนได้ชัดเจน

สิ่งที่ซาโรยันทำนี้ แม้เขาไม่รู้ตัว แต่ที่จริงแล้วเป็นการฝึกสมองซีกขวา โดยให้สมองซีกขวามานำสมองซีกซ้าย และฐานสมองบ้าง สมองซีกซ้ายจะเป็นตัวบันทึกเหตุการณ์และกฎเกณฑ์เดิม ๆ ไว้ ส่วนฐานสมองเป็นสมองส่วนที่พัฒนาเป็นส่วนแรกในการวิวัฒนาการ เป็นสมองของสัตว์เลื้อยคลาน ตรงฐานสมองนี้ใช้คิดเกือบไม่ได้ มีแต่สัญชาติญาณ รู้แต่ว่าต้องมีชีวิตรอด เราจะเห็นว่าสัตว์เลื้อยคลานกินลูกตัวเองได้ไม่รู้สึกอะไร แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะไม่กินลูกตัวเองถ้าไม่จำเป็น ถ้าแมวที่บ้านทำลูกหายไป มันจะออกร้องตาม เศร้าโศกให้เห็นจริง ๆ ที่เป็นแบบนี้เพราะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพัฒนาสมองชั้นกลางขึ้นมาแล้ว มีความรู้สึกแล้ว

ปรกติมนุษย์เราจะใช้ฐานสมองเวลาทำงานรูทีน เหมือนระบบออโต้ไพล็อต คือทำ ๆ ไปไม่ได้คิดอะไรเลย ถ้าเห็นใครทำงานแบบซังตาย หรือทำแบบไม่ใช้ความคิด นั่นแสดงว่าเขากำลังใช้ฐานสมองกับสมองซีกซ้าย (จดจำรูปแบบเดิม) ร่วมกันอยู่ ถ้าเขียนหนังสือด้วยฐานสมองกับสมองซีกซ้าย เวลาบรรยาย หรือเวลาเขียนบทสนทนา จะไม่ได้ใช้ประสบการณ์จริง แต่จะรูปแบบที่จำได้ต่อ ๆ กันมา (stock) หรือที่ทำแล้วเคยได้ผลดี พวกบทบรรยายที่ใช้จนเฝือ หรือเรื่องที่เขียนตามพล็อตจนเฝือนั้น (หมายถึงเขียนไปโดยไม่ได้คิดพิจารณา หรือไม่มีตัวตนของคนเขียนอยู่เลย...เราอธิบายให้เห็นชัดเจนไม่ถนัด แต่ถ้าลองนึกดูจากประสบการณ์การอ่านของตัวเอง บางทีอาจจะเห็นภาพกว่า) แสดงว่าใช้สมองซีกซ้ายกับฐานสมองเขียนอยู่ ถ้าเขียนอย่างนี้แล้ว ก็เขียนได้ ไม่ผิดกติกาอะไร แต่งานที่ออกมาจะไม่ "สด" เพราะเพียงแต่เขียนตามระบบออโต้ไพล็อตเท่านั้นเอง

อีกอย่างที่อยากบอกคือ แม้คนใช้สมองซีกขวามาก บางทีก็ยังใช้ระบบออโต้ไพล็อตในบางจุดเช่นเดียวกัน ไม่ได้ใช้สมองซีกขวาตลอดเวลา อันนี้ไม่ได้บังคับว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น และไม่ได้บอกด้วยว่าเรื่องที่เขียนด้วยระบบออโต้ไพล็อตไม่ดี อ่านไม่ได้ เพียงแต่ถ้าไม่เอาสมองซีกขวาออกมาเลย เรื่องมันก็จะเป็นอย่างนั้น มันจะไม่มีวิญญาณ ไม่มีความสดอะไรเลย

พรุ่งนี้จะพูดถึงวิธีของจูเลีย คาเมรอน, นาตาลี โกลด์เบิร์ก, โดโรธีอา แบรนเด้ และแบรนด้า ยูแลนด์ (ที่จริงยังมีอีกคนหนึ่ง แต่หนังสือยังมาไม่ถึง จึงขอติดไว้ก่อน)

ในจำนวนคนที่บอกมานี้ มีของนาตาลี โกลด์เบิร์ก ที่แปลเป็นไทยแล้ว ชื่อเรื่อง "เชื่อในหัวใจ เขียนให้ถึงแก่น" ใครอยากอ่านไปหามาได้ แต่ถ้าถามเรา เราคิดว่านาตาลี โกลด์เบิร์กยังไม่คลิกเราเท่าโดโรธีอา แบรนเด้ กับแบรนด้า ยูแลนด์ แต่หนังสือแต่ละเล่มจะคลิกคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ใครอ่านโกลด์เบิร์กแล้วถูกใจ เราก็ดีใจเหมือนกัน



Create Date : 27 กรกฎาคม 2551
Last Update : 27 กรกฎาคม 2551 2:33:59 น. 15 comments
Counter : 1474 Pageviews.

 
พูดถึงฝึกสมองซีกขวา นึกถึงอันนึง ไม่รู้ใช่เปล่า

เคยอ่านกฤษณมูรติ แกบอกให้มองต้นไม้โดยไม่คิดว่ามันเป็นต้นไม้ ไม่คิดว่ามันเป็นอะไรเลย แล้วเราถึงจะเห็นต้นไม้จริง ๆ

เราว่ามันใช้ได้กับทุกอย่างเลยนะ ไม่ใช่แค่การเขียน


โดย: คุณม้าม วันที่: 27 กรกฎาคม 2551 เวลา:2:50:17 น.  

 
อืม...น่าสนใจมาก ๆ เลยค่ะ

ลบความทรงจำเดิม ๆ ออกไปให้หมด ไม่คาดหมายล่วงหน้า แต่ใช้สัมผัสขณะนั้นจริง ๆ เป็นการใช้สมองซีกขวาค่ะ

ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าใช้ได้กับอย่างอื่นอะไรบ้าง เพราะตั้งใจศึกษาแต่เรื่องเขียนอย่างเดียว เดี๋ยวลองไปนึก ๆ ดูก่อนนะคะ


โดย: ลวิตร์ วันที่: 27 กรกฎาคม 2551 เวลา:2:54:10 น.  

 
อย่างเช่นใช้กับดนตรีครับ ดนตรีมีตัวโน้ต แต่สัมผัสจริง ๆ ไม่มีตัวโน้ต

ใช้ตอนดื่มเหล้าด้วยครับ มันทำให้เราไม่เมา หรือเมายากขึ้น หรือสนุกกับการเมา แล้วแต่ครับ


โดย: คุณม้าม วันที่: 27 กรกฎาคม 2551 เวลา:3:05:30 น.  

 

หลายครั้งที่รู้สึกว่าทำอะไรโดนใช้ฐานสมอง ส่วนใหญ่จะเป็นเวลาที่เหนื่อยมากเกินไป...
ป.ล. อ้างอิงเยอะจัง พวกนี้นี่เป็นหนังสือที่อ่านตอนทำโปรเจคงั้นรึ
หรือว่ามีที่เคยอ่านๆแล้วจดจำไว้ได้


โดย: อสิตา-แมวแป้ง (อสิตา ) วันที่: 27 กรกฎาคม 2551 เวลา:4:54:21 น.  

 
ก็มีช่วงที่ตัน (แบบเขียนได้แต่ลำบากมาก จิตตกมาก) ไม่รู้จะทำยังไง แต่ไม่อยากเลิก อยากเขียนหนังสือให้ดีกว่านี้ เลยพยายามหาทางต่าง ๆ อะ หาไปหามาก็ค่อย ๆ มีพวกนี้มาทีละเล่มสองเล่มแหละ

ถามว่าได้ผลไหม ก็ได้ผลนะ


โดย: เคียว IP: 128.86.158.253 วันที่: 27 กรกฎาคม 2551 เวลา:4:59:39 น.  

 
หลายครั้งที่รู้สึกว่าทำอะไรโดย*ใช้ฐานสมอง
พิมพ์ผิด


โดย: แมวแป้ง (อสิตา ) วันที่: 27 กรกฎาคม 2551 เวลา:5:00:23 น.  

 
เป็นนักเขียนยากน่ะเนี๊ย

ได้เขียนในสิ่งที่ชอบ แค่นี้ก็สุขแล้ว

ขอบคุณที่นำข้อคิดดีๆ มาฝากจ๊ะ


โดย: บ้าได้ถ้วย วันที่: 27 กรกฎาคม 2551 เวลา:6:16:15 น.  

 
เหมือนจะป่วยทั้งสองซีก.. ทำไงดีคะ -_-;


โดย: Warabimochi วันที่: 27 กรกฎาคม 2551 เวลา:7:24:19 น.  

 
เคยใช้สมองคิด แล้วเขียนไม่ออกค่ะ
แต่พอใช้ใจคิด สมองมันจะทำหน้าที่ตามมาต้อย ๆ จะซ้ายจะขวามันก็ตามมาตามความเหมาะควรของเรื่องที่เขียนเอง

ใจในที่นี้หมายถึงสภาวะแรกที่มากระทบใจ
ก่อนเริ่มเขียนจะรู้สึกว่าว่าง
แล้วมันไม่ออโต้พล็อตค่ะ
มันออโตเมติกโดยออโต้มายด์..
อิ อิ เล่นคำไปเรื่อยเปื่อยค่ะ
คิดแล้วมักเขียนไม่ออก


โดย: kangsadal วันที่: 27 กรกฎาคม 2551 เวลา:11:01:59 น.  

 
ปล. ขออนุญาต add บล็อกนะคะ
ไว้จะแวะมาอ่านเพิ่มเติมอีกค่ะ
(ฝึกซีกซ้ายหรือซีกขวาก็ไม่รู้เนอะ)


โดย: kangsadal วันที่: 27 กรกฎาคม 2551 เวลา:11:03:23 น.  

 
ที่คุณ kangsadal บอกนี่คือรูปแบบที่เราใช้เขียนบล็อคนี่เลยค่ะ ไม่แน่ใจว่าเป็นซีกไหนแน่เหมือนกัน (หรืออาจะเป็นสมองส่วนหน้า?) กำลังหาคนถามอยู่ว่ามันเกิดขึ้นได้ยังไง เพราะที่เขาสอนบอกเหมือนกันหมดว่าให้ใช้วิธีนี้ด้วยค่ะ

บางทีเราใช้ซ้ายมากไปหน่อย เลยหาไม่เจอแบบคุณ kangsadal กว่าจะเจอต้องอ่านหนังสือเอา (._.')

ดีใจที่แอดค่ะ เป็นเพื่อนกันนุ ^^


โดย: เคียว IP: 128.86.158.253 วันที่: 27 กรกฎาคม 2551 เวลา:14:13:02 น.  

 
อ้า ผมเองก็เป็นคนชอบคิดชอบเขียนเลยบังเอิญแวะเข้ามาครับ

อ่านไปอ่านมาก็พบว่าเจ้าของบล๊อคคือคนที่เขียน มาโอ แมวมนตรา นี่เอง

เรื่องสมองซีกขวาที่ยกเรื่องของการแยกแยะถั่วออกมา อืม ความสามารถในการแยกแยะ จับจุดเด่น มองเห็นความแตกต่าง นี่ น่าสนใจนะครับ ผมเองเป็นคนที่ชอบล้อคนอื่นด้วยการหยิบเอาสิ่งต่างๆมาเปรียบเทียบกับจุดเด่น ความแตกต่างของบุคคลคนนั้นนี่ถือว่าใช้ซีกขวามั้ยเอ่ย

การเขียนของผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าเขียนได้อย่างไร แต่เหมือนเราคิดถึงอะไรเข้าอย่างหนึ่ง ประเด็นหนึ่งเราก็คิดไป คิดไปคิดมามันก็แตกสาขาขึ้นมากมายภายในหัว ตัวเราเหมือนเป็นผู้นั่งชมสิ่งที่เกิดขึ้นและบรรยายสิ่งต่างๆเหล่านั้น

สนุกดีครับ


โดย: Alovera วันที่: 27 กรกฎาคม 2551 เวลา:16:05:57 น.  

 
น่าจะใช่นะคะ เพราะคุณสังเกตแล้วจับจุดได้น่ะค่ะ

กำลังสงสัยว่าคุณจะชอบเขียนบทความหรือเรื่องสั้น ใช่ไหมหนอ :)


โดย: ลวิตร์ วันที่: 28 กรกฎาคม 2551 เวลา:1:48:24 น.  

 
เข้ามาขำ 'นักเขียนออโต้ไพล็อต'

อาจไม่เกี่ยวกับบล็อกเท่าไหร่ แต่อยากเล่าว่า..
ก่อนหน้านี้ เพื่อนเล่าถึงบทสัมภาษณ์นักเขียนคนหนึ่ง โดยนักเขียนเล่าว่าเขาเขียนทุกวันหลังเลิกงาน วันละกี่ชั่วโมง กี่เดือนได้หนังสือเล่ม เป็นตารางแน่นอนเลย (เป็นเวลาสั้นมากสำหรับการปั่นนิยายออกมาหนึ่งเล่ม)

... ฟังแล้วก็ถึงบางอ้อ มิน่า ผลงานถึงแข็งโป๊ก อ่านแล้วไม่เกิดอารมณ์อะไรเลย งานของมือใหม่บางเรื่องยังมีสีสัน(อารมณ์)กว่าเลย

systematic writer กับ passionate writer บางทีก็แสดงออกผ่านงานเขียนได้นะ


โดย: ยาคูลท์ วันที่: 28 กรกฎาคม 2551 เวลา:4:00:28 น.  

 
ชอบจัง
ขออนุญาติ แอดนะคะ


โดย: แร่ใยหิน วันที่: 30 กรกฎาคม 2551 เวลา:4:32:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ลวิตร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




ลวิตร์ = พัณณิดา ภูมิวัฒน์ = เคียว

รูปในบล็อค
เป็นมัสกอตงาน Expo ของญี่ปุ่น
เมื่อปี 2005
น่ารักดีเนอะ

>>>My Twitter<<<



คุณเคียวชอบเรียกตัวเองว่า คุณเคียว
แต่ที่จริง
คุณเคียวมีชื่อเยอะแยะมากมาย

คุณเคียวมีชื่อเล่น มีชื่อจริง
มีนามปากกา
มีสมญาที่ได้มาตามวาระ
และโอกาส

แต่ถึงอย่างนั้น
ไส้ในก็ยังเป็นคนเดียวกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินข้าวแฝ่ (กาแฟ ) เหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินอาหารญี่ปุ่นเหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบสัตว์ (ส่วนใหญ่)
ไส้ในก็ยังชอบอ่านหนังสือ ชอบวาดรูป
ชอบฝันเฟื่องบ้าพลัง
และชอบเรื่องแฟนตาซีกับไซไฟ
(โดยเฉพาะที่มียิงแสง )

ไส้ในก็ยังรู้สึกถึงสิ่งต่าง ๆ
และใช้ถ้อยคำเดียวกันมาอธิบายโลกภายนอก

ไส้ในก็ยังคิดเสมอว่า
ไม่ว่าเรียกฉัน
ด้วยชื่ออะไร

ก็ขอให้เป็นเพื่อนกันด้วย




Friends' blogs
[Add ลวิตร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.