The power of an authentic movement lies in the fact that
it originates in naming and claiming one's identity and integrity
-- rather than accusing one's "enemies" of lacking the same.
- Parker J. Palmer, The Courage to Teach
Group Blog
 
All blogs
 
สัญญะ

สัญวิทยา ( semiotics ต้องมี s เพราะมีหลายสำนัก ) เป็นแนวคิดทางสังคมและวรรณกรรมที่มีรากฐานมาจากวิชาภาษาศาสตร์

แนวคิดสัญญะแบบง่าย ๆ ตั้งอยู่พื้นฐานของความเชื่อที่ว่า มนุษย์เข้าใจภาษาได้โดยมีองค์ประกอบสามประการ ได้แก่ ไอ้นั่น ไอ้ที่แทนไอ้นั่น และคนที่จะมาเข้าใจไอ้นั่น

สมมุติว่า ไอ้นั่น เป็นเมฆ ( ก้อนขาว ๆ ลอยอยู่บนท้องฟ้า )

ไอ้ที่แทนไอ้นั่น ก็คือ คำว่า "เมฆ"

และคนที่จะมาเข้าใจไอ้นั่น ก็คือ คนที่มาอ่านคำว่าเมฆ หรือคนที่เราพูดคำว่าเมฆให้เขาได้ยิน

ประเด็นที่สำคัญคือ "คนที่จะมาเข้าใจไอ้นั่น" เพราะว่าถ้าหากคนคนนี้ไม่เข้าใจว่าไอ้นั่นคือเมฆ ความพยายามทั้งหมดจะกลายเป็นไร้ความหมายในพริบตา

การที่คนคนนั้นจะไม่เข้าใจคำว่าเมฆ อาจจะเป็นไปด้วยประการต่าง ๆ เช่นคนคนนั้นไม่เข้าใจภาษาไทย ( รวมทั้งภาษาอินเดีย ซึ่งเป็นที่มาของคำว่าเมฆในภาษาไทย ) หรือคนคนนั้นหูหนวก อ่านเขียนไม่ได้ แต่โดยทั่วไปแล้ว จะเป็นกรณีแรกมากกว่า คือคนคนนั้นไม่เข้าใจคำว่าเมฆ เพราะไม่ได้ "ร่วมภาษา" และในการที่ไม่ได้ร่วมภาษา ก็คือไม่ได้ร่วมวัฒนธรรมด้วย

"วัฒนธรรม" เป็นการตกลงกันของมนุษย์ภายในกลุ่ม การที่จะเข้าไปอยู่ในวัฒนธรรมได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจโค้ดบางประการของวัฒนธรรม เช่น ในคณะต่าง ๆ ของแต่ละมหาลัยจะมีคำแสลง ( สมัยที่เราอยู่มีคำว่า "ติ่ง" ) การที่เราสามารถเข้าใจแสลงนั้น ๆ รวมทั้งเข้าใจธรรมเนียมปฏิบัติของวัฒนธรรมนั้น ๆ จะทำให้เรากลายเป็น "คนใน" และสามารถตีความความหมายที่สื่อสารกันในวัฒนธรรมได้

ถ้าหากเราไม่เข้าใจโค้ด "ภายใน" เหล่านี้ เราก็จะ "ตีความผิด" และทำให้คำที่ควรจะมีความหมายอย่างหนึ่งกลายเป็นอีกความหมายหนึ่งในทันที

อย่างเช่น หลายปีก่อนเราดูหนังเรื่องมหาภารตะ มีตัวละครตัวหนึ่งใช้นิ้วกลางชี้แทนนิ้วชี้

แต่เดี๋ยวก่อน! หนังเรื่องนี้ทำมาก่อนที่วัฒนธรรมตะวันตกจะมีการชูนิ้วกลางกันอย่างแพร่หลาย ซ้ำยังเป็นเรื่องมหาภารตะซึ่งเป็นเรื่องอินเดียโบราณ ยิ่งห่างจากวัฒนธรรมอเมริกันไปไกล

ดังนั้นการที่จะดึงโค้ดของวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา แล้วตีความว่าบุคคลคนนั้นกำลังด่าชาวบ้านด้วยการใช้นิ้วกลางชี้แทนนิ้วชี้จึงเป็นการตีความที่ผิด

เราไม่รู้ว่าทำไมเขาจึงใช้นิ้วกลางในหนังอินเดีย ดังนั้นเราจะละคำตอบที่ถูกต้องเอาไว้ก่อน

แต่เราจะให้ดูว่ามีอีกกรณีหนึ่ง คือการเข้าใจวัฒนธรรมแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ

สมมุติว่ามีคนคนหนึ่ง เข้าใจเป็นอันดีว่าวัฒนธรรมฮินดูนั้นมีการบูชาศิวลึงค์ เมื่อเห็นว่าตัวละครในมหาภารตะชูนิ้วกลาง จึงตีความว่านี่คือการบูชาลึงค์

ถามว่านี่เป็นการตีความที่ถูกไหม เราก็ต้องบอกว่าถ้ามองตามหลักความจริงแล้วมันไม่ถูก เพราะในวัฒนธรรมตะวันตกต่างหากที่นิ้วกลางใช้แทนความคิดเรื่องเพศ ดังนั้นการตีความแบบนี้จึงเป็นการตีความที่เอาสองวัฒนธรรมมาปะปนกัน

ถึงแม้ว่าตัวอย่างที่เราเสนอจะฟังดูง่าย แต่ในความเป็นจริง การเข้าใจผิด การตีความข้ามวัฒนธรรม และการสร้างความหมายใหม่ให้คำนั้นมีอยู่เสมอ และเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าใจโลกของมนุษย์ ( ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตเพิ่มพูนทางวัฒนธรรมด้วย )

ดังนั้นถ้าถามว่าการตีความผิดไปจากวัฒนธรรมเป็นสิ่งผิดไหม ก็ต้องบอกว่ามันอาจจะผิดไปจากเดิม แต่มันอาจจะ "วัฒนะ" ขึ้นเป็นสิ่งอื่นที่น่าสนใจยิ่งกว่า

แต่ในทางวรรณกรรม การดึงโค้ดที่ผิดเข้ามา และถ้าโค้ดนั้นแตกต่างจากโค้ดในหนังสือที่คนเขียนคิดไว้มากเกินไป มันจะทำให้อ่านวรรณกรรมไม่รู้เรื่อง

สมมุติว่าเราเขียนเรื่องเรียลลิสต์ แต่ใช้โค้ดเรื่องรักเข้ามาจับ หาอยู่นั่นแล้วว่าเมื่อไหร่ไอ้คนนั้นจะรักไอ้คนนี้ แล้วจนจบเรื่องมันก็ไม่รัก เราก็โกรธและไม่เข้าใจ

สัญวิทยาบางแขนงจึงสนใจในเรื่องการหาโค้ดของชุดความหมายบางชุด ว่ามันใช้โค้ดอะไร และไขไปแล้วจะเกิดอะไร

และสัญวิทยาบางแขนงก็สนใจระบบความเกี่ยวโยงระหว่างโค้ดต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดความหลากหลายเหมือนข่ายใยแมงมุมของสัญญะเพียงอันเดียว

ในแต่ละเวลา สถานที่ สถานการณ์ สัญญะแต่ละอันไม่เคยมีความหมายเหมือนกันอย่างแท้จริง และในบางขณะ สัญญะของมนุษย์แต่ละคนก็ไม่ได้เหมือนกันอย่างแท้จริง เป็นต้นว่าเมฆของเราก็อาจจะเหมือนเมฆของคนอ่านในลักษณะโดยรวม ๆ แต่อาจจะหยักน้อยกว่าอะไรแบบนั้นก็ได้


Create Date : 18 มกราคม 2549
Last Update : 18 มกราคม 2549 21:58:19 น. 6 comments
Counter : 1466 Pageviews.

 
อืม....จะมาบอกว่า...อ่านบทความนี้ไปแล้วเห็นแต่น้องเมฆน้อยล่องลอยไปมา

ลั้นลา ลั้นลา

...

คงเป็นเพราะว่าหนูใช้โค้ดแปลกๆ ที่ไม่อยู่ในข้อตกลงร่วมกันภายในบทความนี้มาจับแน่ๆ เลย



จะตายอยู่แล้ว !!!


โดย: สาวน้อยที่ถูกถล่มโดย mutiny และ Homi Bhabha (แมวเหมียวอ้วนกลมสีชมพู ) วันที่: 18 มกราคม 2549 เวลา:22:21:23 น.  

 
น้องเมฆก็สวยดีนี่นา...เนอะ


โดย: เคียวที่จะตายแล้วเหมือนกัน (ลวิตร์ ) วันที่: 18 มกราคม 2549 เวลา:22:30:44 น.  

 
มึนงงแหละสับสน
ไม่ค่อยเข้าใจน่ะค่ะ
คือเข้าใจในความคิดของตัวเองที่อาจจะไม่ตรงกับที่พี่สื่อ
หนูออกจะเข้าในในคำที่พี่ต้องการะจะสื่อเป๋นแนวเหใอนกับต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม ต่างชนชาติ ต่างชั้น อะไรประมาณนี้อ่าค่ะ ใช่รึเปล่าค่ะ?
ส่วนคำว่าเมฆ คำจำกัดความมันคือก้อนไอน้ำทีเจอความกดอากาศมากๆแล้วมารวมตัวกันต่อมาก็จะกลายเป็นฝนแล้วระเหยขึ้นไปรวมตัวกันใหม่ไม่ใช่หรอค่ะ?
คือในความหมายของหนูก็คือ
ถ้าพี่บอกแบบนี้ งั้นภาษาทางวิทยศาสตร์ที่ให้ทั้งโลกเข้าใจเหมือนกัน แล้วภาษาอังกฤษอะไรพวกนี้ จะตั้งมาทำไมล่ะค่ะ?
อย่างแค่ในประเทศไทยก็พอ
ภาษาอีสานไม่เหมือนภาษากลางก็จริง
แต่ภาษาภาคกลางก็มีความสำคัญทำให้คนไทยทุกคนเข้าใหมือนกันถูกมั้ยล่ะค่ะ?
(คิดเองเออเองไมเกี่ยวพาดพิงถึงไคคร้าบ!!)


โดย: Or[A]nGe IP: 61.47.100.122 วันที่: 9 มิถุนายน 2549 เวลา:13:34:19 น.  

 
เข้าใจเรื่องที่พูกครับ
แต่ไม่เข้าใจที่ comment สามพูดครับ
หาโค๊ดไม่เจอ ดูหมือนจะพูดกันคนละเรื่องนะ

อยากทราบต่อว่า สรุปแล้ว คำว่าสัญญะ นี่ใช้แทน คำในภาษาอังกฤษได้ว่าอะไรครับ symbol , symbolism , symbolic ?
ผมละไม่ค่อยมีความรู้ด้านภาษา


โดย: sora IP: 124.120.169.65 วันที่: 11 สิงหาคม 2549 เวลา:15:09:23 น.  

 
Signified


โดย: Barthes IP: 202.28.180.202 วันที่: 21 สิงหาคม 2551 เวลา:8:34:37 น.  

 
ขอบคุณที่ทำให้เข้าใจความหมายของสัญวิทยาค่ะ
เข้าใจว่ามันน่าจะเป็นปรัชญาแขนงหนึ่ง
และกำลังทำความเข้าใจเวลามีคนนำไปอ้างถึงในการทำศิลปะ


โดย: rina.exteen.com IP: 118.172.194.51 วันที่: 5 ตุลาคม 2552 เวลา:19:36:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ลวิตร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




ลวิตร์ = พัณณิดา ภูมิวัฒน์ = เคียว

รูปในบล็อค
เป็นมัสกอตงาน Expo ของญี่ปุ่น
เมื่อปี 2005
น่ารักดีเนอะ

>>>My Twitter<<<



คุณเคียวชอบเรียกตัวเองว่า คุณเคียว
แต่ที่จริง
คุณเคียวมีชื่อเยอะแยะมากมาย

คุณเคียวมีชื่อเล่น มีชื่อจริง
มีนามปากกา
มีสมญาที่ได้มาตามวาระ
และโอกาส

แต่ถึงอย่างนั้น
ไส้ในก็ยังเป็นคนเดียวกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินข้าวแฝ่ (กาแฟ ) เหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินอาหารญี่ปุ่นเหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบสัตว์ (ส่วนใหญ่)
ไส้ในก็ยังชอบอ่านหนังสือ ชอบวาดรูป
ชอบฝันเฟื่องบ้าพลัง
และชอบเรื่องแฟนตาซีกับไซไฟ
(โดยเฉพาะที่มียิงแสง )

ไส้ในก็ยังรู้สึกถึงสิ่งต่าง ๆ
และใช้ถ้อยคำเดียวกันมาอธิบายโลกภายนอก

ไส้ในก็ยังคิดเสมอว่า
ไม่ว่าเรียกฉัน
ด้วยชื่ออะไร

ก็ขอให้เป็นเพื่อนกันด้วย




Friends' blogs
[Add ลวิตร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.