The power of an authentic movement lies in the fact that
it originates in naming and claiming one's identity and integrity
-- rather than accusing one's "enemies" of lacking the same.
- Parker J. Palmer, The Courage to Teach
Group Blog
 
All blogs
 
สมองสองซีกกับความเป็นจริงของนักเขียน: ฝึกสมองซีกขวา(เก็บประเด็น)

เรามานั่งพลิกดูหนังสือ เพื่อเก็บรายละเอียดในจุดนี้ให้หมด พบว่ามีเรื่องน่าจะพูดอีกนิดหน่อย คือสิ่งที่จะเขียนในมอร์นิ่งเพจ กับเจอร์นัลสิบห้านาที

คือถึงเราจะเขียนมอร์นิ่งเพจอยู่ได้หลายอาทิตย์ แต่กลับไม่ถึงแปดอาทิตย์ (แก้ไขใหม่ ในหนังสือเขียนว่าแปดอาทิตย์) อย่างที่คุณคาเมรอนบอก ดูจากเรคคอร์ดแล้วน่าจะประมาณสี่ถึงห้าอาทิตย์ ที่เป็นอย่างนี้เพราะขณะเขียนมอร์นิ่งเพจนั้น ถึงแม้จะได้ผล แต่เราหงุดหงิดว่าตัวเอง unproductive ต่อจนมาเขียนเจอร์นัลสิบห้านาทีเป็นบทความพวกนี้แล้ว จึงพบว่าดีกว่า และเลิกเขียนมอร์นิ่งเพจไป เพราะเรารู้สึกว่าตัวเองได้ทำอะไรบ้าง ว่าอีกอย่างคือเราเป็นพวกประโยชน์นิยม ถ้าสมมุติว่าทำแล้วรู้สึกไม่ได้ประโยชน์อะไรออกมา บางทีจะทำไม่ตลอดเอง

แต่ถามว่ามอร์นิ่งเพจนั้นดีอย่างไร คืออย่างที่บอกแล้ว มอร์นิ่งเพจเป็นสิ่งที่เราไม่ให้คนอื่นดู ดังนั้นเราจึงมีสิทธิ์บ้าได้เต็มที่ และเมื่อเราบ้าได้เต็มที่แล้ว เราจะได้ยินเสียงบ่นของสมองซีกซ้าย (รวมทั้งตั้งคำถามกับมัน) ได้ชัดเจนขึ้น ถ้าเขียนบทความแบบเราเป็นเจอร์นัลสิบห้านาทีจริง แต่ว่าเอามาให้มนุษยชาติอ่าน แน่นอนว่าบ้าไม่เต็มที่ ต้องมีการเซนเซอร์อะไรไปบ้าง มอร์นิ่งเพจเป็นตัวตนของเราเต็มที่ อยากเป็นอะไรก็เป็นได้เต็มที่ (แม้เขียนเจอร์นัลสิบห้านาทีแต่ไม่ให้ใครดู ก็เป็นตัวเราเต็มที่เหมือนกัน)

ดังนั้นใครจะลองทำจึงน่าจะเลือกดูว่าจะทำแบบเรา คือทำแบบรู้สึกว่าได้ประโยชน์ยิงนกหลายตัว หรือจะทำแบบเขียนเก็บไว้อ่านคนเดียว หรือจะลองทำสองอย่างไปพร้อม ๆ กัน

นอกจากนั้นแล้ว เรื่องเขียนบันทึกยังมี variation ของอีกสองคน คือคุณนาตาลี โกลด์เบิร์ก (Natalie Glodberg) ในเรื่อง Writing Down the Bones กับของคุณ Branda Ueland ใน If You Want to Write

ของคุณโกลด์เบิร์กนี้คล้าย ๆ มอร์นิ่งเพจกับเจอร์นัลสิบห้านาที แต่แกใช้กะด้วยสมุดบันทึกแทน คือซื้อสมุดมาเล่มหนึ่ง คร่าว ๆ น่าจะเท่ากับสมุดเลคเชอร์ที่เราใช้กันเวลาอยู่มหาลัย แล้วสัญญากับตัวเองว่าเดือนหนึ่งจะเขียนให้เต็มเล่ม ไม่ได้กำหนดว่าจะเขียนตอนไหน ที่ไหน ยังไง คุณโกลด์เบิร์กแกเห็นว่าสิ่งที่แกเขียนนั้นเป็นกองปุ๋ย คือถึงแม้ตอนเขียนมันจะเป็นขยะอะไรก็ไม่รู้ แต่ในจังหวะของการเขียนไปเรื่อย ๆ นั่นเอง ก็เป็นการสำรวจตัวเอง เมื่อสำรวจไปเรื่อย ๆ แล้ว กองปุ๋ยอันอุดมสมบูรณ์จะก่อให้เกิดต้นไม้ดอกไม้ เป็นผลงานที่ดีขึ้นมาได้ ว่าจริง ๆ คือแกมีความเข้าใจเกี่ยวกับการปลดปล่อยสมองซีกขวาเหมือนคุณคาเมรอนและคุณแบรนเด้ แต่แกอธิบายเคลียร์ไม่เท่า คนที่อ่านของแกคนเดียวอาจจะงงว่าคุณคนนี้จะให้มานั่งเขียนบันทึกไปเรื่อย ๆ ทำไม แต่เอาเป็นว่าจำวิธีของแกไว้แล้วกัน ใครชอบอย่างไหนก็ไปปรับใช้กับตัวเอง

ของคุณยายแบรนด้า (คนเขียนขอเรียกคุณยายแบรนด้าด้วยความลำเอียง เพราะอ่านหนังสือแล้วรักตัวแกมาก) แกไม่ได้พูดถึงบันทึก หรือพูดเหมือนกันไม่แน่ใจ เพราะไม่โดดเด่น จำไม่ได้เลยว่ามี แกจะพูดถึงสิ่งที่แกให้ลูกศิษย์แกเขียนในห้องเรียนมากกว่า อย่างไรก็ตาม หัวข้อที่คุณยายให้นักเรียนเขียนนั้น เราคิดว่าน่าจะดีสำหรับคนที่เริ่มต้นเขียนหนังสือใหม่ ๆ หรือคนที่อยากจะค้นพบตัวเอง สำหรับเอาไปเป็นหัวข้อเวลาเขียนมอร์นิ่งเพจ หรือเจอร์นัลสิบห้านาทีได้เวลานึกไม่ออกว่าจะเขียนอะไร

คุณยายแบรนด้าแกให้เขียนอยู่สองอย่าง คือเขียนเรื่องของตัวเอง (เรื่องของครอบครัว ฯลฯ) และให้เขียนบรรยายคนที่เรารู้จักดี (หรือของที่เรารู้จักดีก็ได้) โดยไม่เติมแต่งอะไรเลย คือคิดอะไรออกก็เขียนไปอย่างนั้น ไม่ต้องไปคิดให้มันวิลิศมาหรา ครอบครัวตูรักกันประหนึ่งในนิยาย เขียนอะไรที่เรารู้จริง ๆ และเห็นว่าเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ที่ให้เขียนอย่างนี้ เพราะคุณแบรนด้าแกถือว่าคนที่เขียนไม่ได้เป็นเพราะไม่ได้ใช้ "ความจริง" ในการเขียน คือเขียนเพราะตัวเองอยากให้เป็นอย่างนั้น เขียนจาก "ความทรงจำ" ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น พอเขียนจากความทรงจำ ก็ไม่ได้อยู่ในปัจจุบันขณะ ก็พยายามจะไปเค้นออกมา มันจึงไม่ออกมา

ว่าอีกอย่าง วิธีของคุณยายนี้คล้าย ๆ กับที่ซาโรยันให้ลูกชายดูเม็ดถั่ว คนที่เขียนจาก "ความทรงจำ" โดยไม่ได้ไปพินิจดูเม็ดถั่วจริง ๆ ก็จะคิดไปเองว่าเม็ดถั่วนี้เขียว ๆ กลม ๆ แต่ถ้าไปนั่งดูนาน ๆ จึงจะเห็นความจริง เช่นว่าบางเม็ดอาจจะมีร่อง บางเม็ดอาจจะมีรอยแตก อะไรก็ว่ากันไป คนเขียนหนังสือก็เหมือนกัน เขียนจากความทรงจำของตัว (จากฐานสมอง+สมองซีกซ้าย) พระเอกนางเอกมันจึงมือหนามือบางอยู่นั่นแล้ว แต่ถ้าขุดลงไปในตัวเอง ถ้าเขียนเรื่องของครอบครัว หรือเรื่องของ/คนที่ตัวเองรู้จัก และให้เขียนออกมาจากความรู้สึกที่เรารู้สึกกับมันจริง ๆ มันจะทำให้เราพบว่าที่จริงมันมีวิธีเขียนแบบอื่นอยู่ วิธีนี้มันช่วยให้เราสัมผัสตัวตนของเราจริง ๆ และค้นพบวิธีการของตัวเองจริง ๆ มันปลุกความรู้สึก passion ของเราขึ้นมา (ไม่ใช่แค่ทำตาม ๆ กัน) โดยไม่ต้องไปพยายามดัดปั้นให้เป็นอย่างที่ตัวเองคิดว่าดีว่าสวยเสมอไป

คุณยายนี้แกเชื่อในความจริงมาก จนแกเกือบไม่อ่านนิยายเลย เพราะรู้สึกว่านิยายส่วนใหญ่พรีเซนต์ความจริงออกมาได้ไม่เต็มที่ แต่เราคิดว่านิยายไม่เหมือนบบทความหรืออัตชีวประวัติ เป็นวิธีการเขียนอีกแบบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เราเห็นว่าแม้เขียนนิยายที่แต่งขึ้น แต่ถ้าคนเขียนสัมผัสความจริง บรรยายด้วยความรู้สึกจริง ๆ จากภายในได้ นิยายนั้นก็จะเป็นนิยายที่ดีขึ้นได้เช่นเดียวกัน

ในจำนวนหนังสือทั้งหมดที่อ่านมานี้ เราคิดว่าเล่มอื่นยังไม่กระไรมาก เพราะเราสามารถคั้นเอาวิธีการมาบอกคนที่อ่านบทความเราได้ (แต่ถ้าใครอยากไปหาอ่านเองเราก็ดีใจเหมือนกัน) แต่มีเล่มของคุณยายแบรนด้าเล่มเดียว ซึ่งเราเห็นว่าควรแปล ที่จริงคุณยายแบรนด้านั้นเขียนจากสมองซีกขวา จากความรู้สึกภายในล้วน ๆ จึงไม่มีการจัดเรียงดีเท่ากับของคุณแบรนเด้หรือคุณคาเมรอน แต่ความรู้สึกในหนังสือของคุณยายแกแรงมาก ๆ คนที่อยากเขียนหนังสือ หรือคนที่เขียนไม่ได้แล้วตัน ควรจะได้ลองอ่านกันสักคนละครั้ง คุณยายเป็นคนที่ full of light อย่างแท้จริง และมีความรักในสิ่งที่ตัวเองทำอย่างแท้จริง แกเชื่อในการแสดง "ความจริง" ในศิลปะ และเชื่อว่าความจริงเป็นสิ่งสวยงามได้โดยไม่ต้องปั้นแต่ง (ความอัปลักษณ์ก็มีความงามในตัวมันเองได้) อ่านที่แกเขียนแล้วจะรู้สึกได้ว่าแกใช้ชีวิตอยู่ในปัจจุบันขณะ อยู่ในความจริง แกเป็นคนแบบที่ถึงแม้พูดอะไรที่ขัดกับความเชื่อของเราบ้าง เราก็จะไม่ว่าอะไร เพราะรู้ว่าแกพูดออกมาด้วยความหวังดีล้วน ๆ ด้วยความเป็นตัวแกล้วน ๆ ใช้ชีวิตโดยเมตตาและไม่เสแสร้งเลย คนอย่างนี้เราไม่ได้เจอมานานแล้ว และเราคิดว่าสักวันหนึ่งจะเป็นอย่างแกให้ได้

ส่วนท้ายบทความวันนี้เลยกลายเป็นรีวิวหนังสือของคุณยายไป แต่คิดว่าเก็บประเด็นเกี่ยวกับมอร์นิ่งเพจ และเจอร์นัลสิบห้านาทีหมดแล้ว ต่อไปจะได้พูดถึงประเด็นอื่น (แต่ถ้าใครยังคิดว่าน่าจะคุยอะไรอีกก็บอกได้)


Create Date : 01 สิงหาคม 2551
Last Update : 1 สิงหาคม 2551 2:46:29 น. 5 comments
Counter : 480 Pageviews.

 
อ้าว..ตกลง 8 อาทิตย์

แบบคุณยายฯ ก็น่าสนใจ

อาจารย์เคยสอนว่าองค์ประกอบของศิลปะ (หรือของอะไรสักอย่างนี่แหละ แหะๆ) มีสามอย่างคือ ความจริง ความงาม และความดี

ของคุณยายนี่เน้นที่ความจริงเนาะ


ว่าแล้ว..ก็น่าสนใจไปทุกวิธีน่ะแหละ ต้องลองว่าอันไหนเหมาะกับจริตข้าพเจ้าน่ะนะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 1 สิงหาคม 2551 เวลา:11:44:01 น.  

 
จริง ๆ ของคุณยายแกเน้นหมดแหละคับ แต่มันรวมเป็นหนึ่งเดียวกันหมดแล้ว ต้องลองอ่านดูเอง เพราะเขียนให้พาวเวอร์ฟูลเท่าแกไม่ได้เลย^^'


โดย: เคียว IP: 128.86.158.253 วันที่: 1 สิงหาคม 2551 เวลา:13:35:53 น.  

 
ไม่เคยอ่านงานของคุณยายเลย


โดย: แก้วกังไส วันที่: 1 สิงหาคม 2551 เวลา:18:52:13 น.  

 
ขอบคุณค่ะ!


โดย: kangsadal วันที่: 2 สิงหาคม 2551 เวลา:5:03:12 น.  

 
คุณเคียวแปลสิครับ (ยุยง)


โดย: ม้าม IP: 203.107.202.30 วันที่: 2 สิงหาคม 2551 เวลา:23:58:36 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ลวิตร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




ลวิตร์ = พัณณิดา ภูมิวัฒน์ = เคียว

รูปในบล็อค
เป็นมัสกอตงาน Expo ของญี่ปุ่น
เมื่อปี 2005
น่ารักดีเนอะ

>>>My Twitter<<<



คุณเคียวชอบเรียกตัวเองว่า คุณเคียว
แต่ที่จริง
คุณเคียวมีชื่อเยอะแยะมากมาย

คุณเคียวมีชื่อเล่น มีชื่อจริง
มีนามปากกา
มีสมญาที่ได้มาตามวาระ
และโอกาส

แต่ถึงอย่างนั้น
ไส้ในก็ยังเป็นคนเดียวกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินข้าวแฝ่ (กาแฟ ) เหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินอาหารญี่ปุ่นเหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบสัตว์ (ส่วนใหญ่)
ไส้ในก็ยังชอบอ่านหนังสือ ชอบวาดรูป
ชอบฝันเฟื่องบ้าพลัง
และชอบเรื่องแฟนตาซีกับไซไฟ
(โดยเฉพาะที่มียิงแสง )

ไส้ในก็ยังรู้สึกถึงสิ่งต่าง ๆ
และใช้ถ้อยคำเดียวกันมาอธิบายโลกภายนอก

ไส้ในก็ยังคิดเสมอว่า
ไม่ว่าเรียกฉัน
ด้วยชื่ออะไร

ก็ขอให้เป็นเพื่อนกันด้วย




Friends' blogs
[Add ลวิตร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.