The power of an authentic movement lies in the fact that
it originates in naming and claiming one's identity and integrity
-- rather than accusing one's "enemies" of lacking the same.
- Parker J. Palmer, The Courage to Teach
Group Blog
 
All blogs
 
สมองสองซีกกับความเป็นจริงของนักเขียน: เก็บประเด็น

วันนี้ค่อนข้างหมดพลังงาน เพราะอย่างนั้นจะพูดถึงประเด็นสั้น ๆ แค่สองประเด็น อีกอย่างหนึ่งคือเรายกหนังสือ Becoming a Writer ให้เพื่อนที่อยากเขียนหนังสือสักครั้งไปแล้ว เพื่อนคนนี้ช่วยเหลือเรามามาก เราไม่รู้จะตอบแทนเขาอย่างไรดีเลยยก If You Want to Write, Becoming a Writer และ Mastery (เป็นสามเล่มที่เราคิดว่าช่วยได้มากที่สุด) ให้เขาไป ตอนนี้สั่งมาใหม่ If You Want to Write กับ Mastery มาแล้ว เหลือ Becoming a Writer ดังนั้นหลังจากพูดประเด็นนี้ กับประเด็นจาก Mastery หมด เราจะหยุดเขียนบทความจนกว่าหนังสือจะมา เพื่อจะได้เช็คว่ามีอะไรตกค้างอีกบ้าง หลังจากนั้นก็คิดว่าน่าจะหมดชุดแล้ว

ประเด็นที่อยากเล่าให้ฟังวันนี้ เรื่องหนึ่งคือเรื่องการตรวจต้นฉบับ หลังจากที่เอา "เด็ก" เขียนออกมาได้ร่างแรกแล้ว และถึงเวลาจะให้ "ผู้ใหญ่" ช่วยตรวจ เราอยากเน้นว่า แม้เมื่อถึงขั้นตอนนี้แล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องให้สมองซีกซ้าย "จับผิด" เพราะมันจะไม่ต่างอะไรกับเอาสมองซีกซ้ายเขียนนั่นเอง แก้ไปแก้มา ไอ้ที่สด ที่แรง ที่มีจินตนาการ ก็ถูกแก้หายไปหมดไม่เหลืออยู่ดี

เรื่องตรวจร่างแรกนี้ คุณนาตาลี โกลเบิร์ก ในเรื่อง Writing Down the Bone (เชื่อในหัวใจ เขียนให้ถึงแก่น) แกพูดน่าฟังดี แกว่าให้ทำเหมือนซามูไร คือเมื่อจะลงมือตรวจงาน ให้ทำจิตว่าง ๆ ไว้ อย่าไปผูกพันติดยึด ให้รู้สึกเสมือนว่าตรงหน้านี้เป็นงานของคนอื่น เป็นเรื่องของคนอื่น เมื่อคิดแบบนี้ได้แล้ว ก็จะกล้าตัดที่ควรตัด และจะไม่รู้สึกกังวลกับเรื่องอื่น ๆ ซึ่งทั้งไม่ได้เกี่ยวข้องและทั้งไม่ได้ช่วยให้งานดีขึ้น แถมยังทำให้ประสาทเสียหนักกว่าเดิมจนงานไม่ออกมาด้วย เช่น เขียนแบบนี้คนอ่านจะว่าอย่างไร เขียนอย่างนี้นี่ดีไหม ดีจริงแน่หรือ เขียนอย่างนี้แล้วจะได้มาตรฐานเท่างานเก่า ๆ ของฉันหรือเปล่า ถ้าไม่ได้มาตรฐานฉันจะทำอย่างไร ต่อไปฉันจะเป็นนักเขียนได้อีกหรือเปล่า อาชีพการงานของฉันมาถึงหายนะแล้วหรือ ฯลฯ ฯลฯ (ทั้งหมดนี้เราเคยคิดมาแล้วทั้งนั้น และบางทีก็ยังคิดอยู่ แต่อย่างที่บอกคือมันไม่ได้ช่วยอะไร)

อย่างไรก็ตาม ความไม่กังวลที่พูดมา ไม่ได้หมายความว่าหลั่นล้ามาก อะไรเละ ๆ เทะ ๆ ไว้ก็ส่งออกไปให้โลกภายนอกดูได้ แต่หมายความว่าไม่กังวลต่อเรื่องที่เรายกตัวอย่างข้างบน ไม่แบกน้ำหนักแห่งอัตตาซึ่งไม่ควรจะแบกไว้ตอนทำงาน ตรวจไปตามที่เห็น ที่ไม่สวยก็แก้ ที่ซ้ำก็ตัด จิตนิ่ง ๆ ไว้เหมือนพิจารณาของนอกกาย แบบนี้สมองซีกซ้ายจะทำงานได้ดีกว่ามาก

อีกอย่างหนึ่ง ถ้าทำแบบซามูไรแล้ว ที่ควรตัดก็จะกล้าตัด ที่ว่ากล้าตัดคือ บางทีมีจุดที่เราเขียนออกมาด้วยความยากลำบาก ได้คิดตรึกตรองมาเกือบตายกว่าจะได้ หรือย่อหน้านี้นี่ละเป็นแก่นความคิดสุดยอดที่เราอยากบอกคนอ่านเต็มแก่ แต่มันดันบังเอิญไม่เข้ากับเนื้อหาตรงนั้น หรือเอาเข้าจริงพอมาอ่านอีกทีมันก็ไม่ได้ "โดน" อย่างที่เราคิด (เรื่องโดนไม่โดนนี้คนเขียนหนังสือมาสักพักจะรู้เอง แต่คนเขียนหนังสือใหม่ ๆ อาจจะยังไม่ชัวร์ และต้องการคำวิจารณ์) เมื่อไม่โดนแล้วมันก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น มันอยู่ตรงนั้นก็เป็นติ่ง และอยู่เพียงเพราะว่าเราตัดไม่ขาด แต่เมื่อทำใจเป็นซามูไรเสียแล้ว ก็จะตัดมันไปได้ คุณนาตาลีแกว่าตัดแล้วก็อย่าเสียใจเลย เพราะอะไรที่เราเขียนไปมันก็ยังอยู่ในตัวเรา พอถูกที่ถูกเวลา มันก็จะมาปรากฎในรูปแบบอื่น ในลักษณะที่เข้าที่เข้าทาง ชัดเจนกระจ่างกว่าเอง ให้คิดเสียว่ามันเป็นหนึ่งในสิ่งที่เราถมลงในกองปุ๋ย เพื่อรอให้ต้นไม้งอกงามก็แล้วกัน

มีอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ มาจากของคุณคาเมรอน คือวิธีดีลกับ "ความอิจฉา" คุณคาเมรอนแกว่าความอิจฉานี้เป็นแผนที่ชั้นดี ดังนั้นเวลารู้สึกอิจฉาขึ้นมา อย่าไปกดมันไว้ ไม่ต้องพยายามลืม หรืออย่าคิดแต่จะทำร้ายคนที่ตัวอิจฉา (ตบมัน!) แต่ให้เอาความอิจฉาของตัวมาพิจารณาดู ปรกติแล้ว เรามันจะอิจฉาสิ่งที่เราอยากเป็นอยากได้ หรือบางทีเป็นสิ่งที่เด็กของเราเรียกร้อง แต่ตัวเราเองไม่ยอมทำให้ เช่น เราอิจฉาว่าคนนั้นเขามีชื่อเสียงกว่าเรา หรืออิจฉาว่าคนนั้นเขามีที่ทำงานเพียบพร้อมกว่าเรา อันนี้ไม่ใช่ว่าอิจฉาแล้วก็กัดผ้าเช็ดหน้าอยู่อย่างนั้น แต่ให้มาดูแก่นของความอิจฉา และให้หาปรับแก่นนั้นเข้ากับตัวเรา สมมุติว่าอิจฉาที่เขามีห้องทำงานสวย เราก็ค่อย ๆ แต่งห้องทำงานของเราขึ้นมาบ้าง ไม่ต้องแพง ๆ อย่างเขาก็ได้ แต่ให้ถูกใจเรา พอห้องทำงานของเราดี เราก็มีความพอใจ ก็มีบรรยากาศการทำงานที่ดี

เราพูดอย่างนี้คงมีคนพูดเรื่องความอิจฉาให้ฟังอีกมาก เช่นว่าบางทีไปอิจฉาคนที่เขาห่างไกลกับเรามาก ๆ จะไปถึงที่อย่างเขาได้อย่างไร เราก็ว่าคนเรามันมีหนทางไม่เหมือนกัน ถ้าเดินมันก็คงไปที่ไหนสักแห่ง แต่ถ้านั่งกัดผ้าเช็ดหน้าอยู่ ก็ไม่มีอะไรนอกจากนั่งกัดผ้าเช็ดหน้าอยู่ตามเดิม

แต่คนเรามีจังหวะชีวิตไม่เหมือนกัน เพราะอย่างนั้นถ้าเดินได้ช้า หรือเริ่มเดินลำบากนัก ก็อย่าเพิ่งท้อ เรื่องนี้จะพูดในหัวข้อหน้า ที่เอามาจากหนังสือเรื่อง Mastery อีกที



Create Date : 05 สิงหาคม 2551
Last Update : 5 สิงหาคม 2551 4:08:43 น. 4 comments
Counter : 505 Pageviews.

 
อื้มมมมม

เป็นนักเขียน..มันเหนื่อย


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 5 สิงหาคม 2551 เวลา:11:12:18 น.  

 
เป็นอะไรก็เหนื่อยทั้งนั้นคับ แต่ถ้าชอบก็ต้องพยายามกันไปนุ^^


โดย: เึึคียว IP: 128.86.158.253 วันที่: 5 สิงหาคม 2551 เวลา:12:29:50 น.  

 
เหนื่อยจริงๆ ด้วย หง่าๆ
แต่ก็ต้องพยายาม


โดย: ตุ๊กตาไล่ฝนจากดวงตา วันที่: 7 สิงหาคม 2551 เวลา:23:47:02 น.  

 
^-v-^ อ่านเก็บหมดทุกตอนแล้ว ชอบตอนนี้มาก รู้สึกว่าน่าจะมีประโยชน์กับตัวเอง
เอาละ... ฉันจะจับดาบซามูไรขึ้นมา หงิงๆๆ


โดย: อสิตา-แมวแป้ง IP: 124.121.58.99 วันที่: 8 สิงหาคม 2551 เวลา:12:50:37 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ลวิตร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




ลวิตร์ = พัณณิดา ภูมิวัฒน์ = เคียว

รูปในบล็อค
เป็นมัสกอตงาน Expo ของญี่ปุ่น
เมื่อปี 2005
น่ารักดีเนอะ

>>>My Twitter<<<



คุณเคียวชอบเรียกตัวเองว่า คุณเคียว
แต่ที่จริง
คุณเคียวมีชื่อเยอะแยะมากมาย

คุณเคียวมีชื่อเล่น มีชื่อจริง
มีนามปากกา
มีสมญาที่ได้มาตามวาระ
และโอกาส

แต่ถึงอย่างนั้น
ไส้ในก็ยังเป็นคนเดียวกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินข้าวแฝ่ (กาแฟ ) เหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินอาหารญี่ปุ่นเหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบสัตว์ (ส่วนใหญ่)
ไส้ในก็ยังชอบอ่านหนังสือ ชอบวาดรูป
ชอบฝันเฟื่องบ้าพลัง
และชอบเรื่องแฟนตาซีกับไซไฟ
(โดยเฉพาะที่มียิงแสง )

ไส้ในก็ยังรู้สึกถึงสิ่งต่าง ๆ
และใช้ถ้อยคำเดียวกันมาอธิบายโลกภายนอก

ไส้ในก็ยังคิดเสมอว่า
ไม่ว่าเรียกฉัน
ด้วยชื่ออะไร

ก็ขอให้เป็นเพื่อนกันด้วย




Friends' blogs
[Add ลวิตร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.