วัยทอง / เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
วัยทอง / เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ จากเมล์ที่ได้รับ
สตรีวัยทอง สตรีวัยทองหรือสตรีวัยหมดประจำเดือนหรือวัยหมดระดู คือ สตรีในวัยที่มีการสิ้นสุดของการมีประจำเดือนอย่างถาวร เนื่องจากรังไข่หยุดทำงาน มีสาเหตุมากจากการที่จำนวนไข่ใบเล็กๆในรังไข่มีปริมาณลดลง ซึ่งมีผลทำให้การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง จนหยุดการสร้างไปในที่สุด
วัยทองเป็นระยะซึ่งสตรีส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นด้านครอบครัว หน้าที่การงาน และฐานะความเป็นอยู่ โดยเฉลี่ยสตรีไทยเริ่มเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดระดู โดยธรรมชาติเมื่ออายุประมาณ 50 ปี ในกรณีที่หมดระดูเมื่ออายุน้อยกว่า 40 ปี เรียกว่า หมดระดูก่อนเวลาอันควร ซึ่งจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆมากขึ้น เช่นเดียวกับสตรีที่หมดระดูจากการผ่าตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง อายุขัยเฉลี่ยของสตรีไทยประมาณ 71 ปี ดังนั้นช่วงเวลาที่สตรีต้องอยู่ในสภาวะวัยหมดระดูนั้น มีประมาณ 1 ใน 3 ของช่วงชีวิตทั้งหมดของสตรี ซึ่งเป็นระยะเวลานานกว่า 20 ปี
มีอาการอย่างไร ?
เมื่อสตรีย่างเข้าสู่วัยทอง อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกายและจิตใจ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขาดฮอร์โมนเพศ คือ เอสโตรเจน เช่น รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ อาจห่างออกไปหรือสั้นเข้า อาจมีเลือดประจำเดือนน้อยลง หรือมากขึ้น เกิดอาการซึมเศร้า, หงุดหงิด, กังวลใจ, ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง, ความจำเสื่อม, ความต้องการทางเพศ หรือการตอบสนองทางเพศลดลง ช่องคลอดแห้ง, คันบริเวณปากช่องคลอด, มีการอักเสบของช่องคลอด, เจ็บเวลาร่วมเพศ, อาจมีการหย่อนยานของมดลูก และช่องคลอด, มีการหย่อนของกระเพาะปัสสาวะ, ปัสสาวะบ่อย, กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ขณะไอหรือจาม หรือขณะยกของหนัก ผิวหนังแห้ง, เหี่ยวย่น, คัน, ช้ำและเป็นแผลได้ง่าย, ผมแห้ง, ผมร่วง เต้านมมีขนาดเล็กลง, หย่อน, นุ่มกว่าเดิม เกิดโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด พบว่าสตรีก่อนวัยหมดประจำเดือนอัตราส่วนของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันในชาย จะสูงกว่าหญิงในอัตรา 9:3 แต่เมื่อสตรีเข้าสู่วัยหมดระดู จะเริ่มมีอัตราการเกิดโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้น จนมีอัตราไกล้เคียงกับชายเมื่ออายุ 70 ปี ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในสตรีวัยทอง ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน การขาดเอสโตรเจน โดยเฉพาะในระยะแรกของวัยหมดระดู อาจทำให้มีการสูยเสียเนื้อกระดูกได้ถึงร้อยละ 3-5 ต่อปี จนทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน และอาจมีการหักของกระดูกในส่วนต่างๆ ได้แก่ กระดูกข้อมมือ, กระดูกสันหลัง, กระดูกสะโพก เป็นต้น
การดูแลตัวเอง
สตรีควรตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงในวัยนี้ ควรหาความรู้เพิ่มเติมพร้อมดูแลตนเองให้มีสุขภาพกายและใจที่ดีโดย
ควรรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันสัตว์ หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และบุหรี่ ควรได้รับแคลเซียมประมาณวันละ 1,000-1,500 มิลลิกรัม อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น กุ้งแห้ง, ปลาเล็กปลาน้อย, ผักใบเขียว รับประทานอาหารที่มีเอสโตรเจนธรรมชาติ เช่น ถั่วเหลือง, ข้าวโพด, ข้าวโอ๊ด, ข้าวสาลี, ข้าวบาร์เล่ย์, มันฝรั่ง, มันเทศ, มะละกอ เป็นต้น
การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ควรกระทำในสตรีวัยหมดระดู เพราะมีผลต่อการสร้างเนื้อกระดูก มีผลดีต่อการลดไขมัน และการแข็งตัวของเลือด นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่า การออกกำลังกายสามารถลดอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ และภาวะซึมเศร้าในวัยหมดระดูได้
ในรายที่มีอาการต่างๆรุนแรง ได้รับความทุกข์ทรมาน รบกวนความสุขในชีวิต หรือมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และ หลอดเลือด, โรคกระดูกพรุน ควรพบแพทย์เพื่อพิจารณาการให้ฮอร์โมนทดแทน
ชายวัยทอง
ภาวะการพร่องฮอร์โมนใน...ชายวัยทอง
ความเชื่อที่มีกันมานานว่า ผู้ชายจะคงความเป็นชายหรือมีการสร้างฮอร์โมนเพศชายไปตลอดชีวิต ส่วนผู้หญิงนั้นเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้วรังไข่จะหยุดการสร้างฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้เกิดกลุ่มอาการต่างๆ ทั้งทางด้านร่างกายจิตใจ และอารมณ์
แท้ที่จริงแล้ว เมื่ออายุย่างเข้าวัย 40 ปีขึ้นไป การสร้างฮอร์โมนเพศชายจะลดลงอย่างสม่ำเสมอทุกปี เมื่อระดับของฮอร์โมนเพศชายลดลงถึงระดับหนึ่งจะเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายไปบางส่วน ทำให้เกิดอาการต่างๆคล้ายกับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
ภาวะการพร่องฮอร์โมนเพศชายดังกล่าว มักจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อผู้ชายย่างเข้าสู่วัยกลางคน และอาการต่างๆจะแสดงออกเมื่อระดับฮอร์โมนเพศชายลดลงกว่าระดับปกติของร่างกายประมาณ 20 เปอร์เซนต์ การพร่องฮอร์โมนเพศชายไปบางส่วนนี้จึงมีชื่อเรียกว่า " พา - ดาม " ตรงกับคำในภาษาอังกฤษคือ PADAM ซึ่งย่อมาจากคำว่า PARTIAL ANDROGEN DEFICIENCY OF THE AGING MALE
ผลการศึกษาวิจัยที่เชื่อถือได้มาจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยบอสตันประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าเมื่อผู้ชายอายุย่างเข้า 40 ปี การสร้างฮอร์โมนเพศชายจะลดลงปีละ 1 เปอร์เซนต์ และอาการต่างๆ อันเป็นผลมาจากการขาดฮอร์โมนเพศชายนั้น จะค่อยเป็นค่อยไป ไม่เกิดขึ้นรวดเร็วและอาการมากเหมือนผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
อาการ ! ที่บ่งบอกถึง " ภาวะการพร่องฮอร์โมนเพศชาย "
อาการระยะแรก : เมื่อร่างกายเริ่มพร่องฮอร์โมนเพศชาย อวัยวะต่างๆ ที่มีส่วนสัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศชายจะเริ่มเสื่อมลง ทำงานลดลงและเกิดอาการทางด้านจิตใจและอารมณ์ตามมา
อาการทางด้านร่างกาย : จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัวโดยไม่มีสาเหตุ ไม่กระฉับกระเฉง กล้ามเนื้อต่างๆลดขนาดลง ไม่มีแรง และอวัยวะเพศเริ่มไม่แข็งตัวในช่วงตื่นตอนเช้า
อาการทางด้านสติปัญญาและอารมณ์ : เครียดและหงุดหงิดง่าย โกรธง่าย เฉื่อยชา ขาดสมาธิในการทำงาน ความจำลดลง โดยเฉพาะความจำระยะสั้น
อาการทางด้านระบบไหลเวียนโลหิต : บางคนอาจมีอาการ ร้อนวูบวาบหรือมีเหงื่อออกในตอนกลางคืน
อาการทางด้านจิตและเพศ : จะมีอาการนอนไม่หลับ ตื่นตกใจง่าย สมรรถภาพทางเพศและความต้องการทางเพศลดลง หรือ ไม่มีอารมณ์เพศ บางคนเกิดอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศด้วย ปัจจุบันพบว่าชายไทยหลังอายุ 40 ปีไปแล้ว มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศเพิ่มขึ้น เพราะไม่มีอารมณ์เพศ เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอารมณ์เพศเมื่อระดับฮอร์โมนเพศชายลดลง จึงไม่เกิดอารมณ์ที่จะมีเพศสัมพันธ์ รวมทั้งอวัยวะเพศชายเมื่อขาดฮอร์โมนเพศชายไปกระตุ้นแล้วก็มักจะเสื่อมลงตามไปด้วย
.... ภัย...ที่รุกรานในระยะยาว ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
ผลของการขาดฮอร์โมนเพศชายจะทำให้กระดูกบางลง เป็นโรคกระดูกพรุนได้ เช่นเดียวกับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ทำให้เกิดกระดูกหักในผู้ชายสูงวัยได้ นอกจากนี้กล้ามเนื้อจะค่อยๆลดขนาดลง โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ชอบออกกำลังกาย มีผลให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง
ระบบหลอดเลือดและหัวใจ
ฮอร์โมนเพศชายมีหน้าที่ช่วยการเผาผลาญไขมันในร่างกาย ทำให้กระจายตัวของไขมันเป็นปกติ เมื่อขาดฮอร์โมนเพศชายจะทำให้ไขมันเลือดสูง มีผลทำให้ไขมันไปเกาะที่ผนังของเส้นเลือด ทำให้ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางเส้นเลือดลดลงและทำให้ผนังเส้นเลือดไม่ยืดหยุ่นเท่าที่ควร ทำให้เลือดไหลผ่านเส้นเลือดได้น้อยลง โดยเฉพาะถ้าเลือดไปเลี้ยงหัวใจน้อยหัวใจน้อยลง เป็นผลให้หัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง
สมรรถภาพทางเพศ
เมื่อร่างกายขาดฮอร์โมนเพศชายไปนานๆเข้า นอกจากอารมณ์เพศและการตอบสนองทางเพศลดลงแล้ว ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ ความถี่ในการถึงจุดสุดยอด รวมทั้งความพึงพอใจในการมีเพศสัมพันธ์ จะลดลงไปตามระดับของฮอร์โมนเพศชายที่ขาดหายไป รวมทั้งระยะเวลาที่ขาดหายไปด้วย
คุณภาพชีวิต
ผู้ชายส่วนใหญ่แล้วมักจะนำเอาความสามารถ และสมรรถภาพทางเพศมาเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต ดังนั้น เมื่อความสามารถในด้านนี้ลดลงจึงทำให้คุณภาพชีวิตลดลงไปด้วย
นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งทางด้านร่างกายจิตใจและอารมณ์ที่เกิดขึ้นในผู้ชายวัยทอง จะเป็นสิ่งที่ซ้ำเติมให้คุณภาพชีวิตลดลงไปอีก
เตรียมกายเตรียมใจเข้าสู่วัยทอง การเตรียมตัวที่ดีย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง บางคนกล่าวว่าชีวิตเริ่มต้นเมื่อพ้นสี่สิบ ในวัยทองนี้จะต้องหมั่นรักษาสุขภาพกาย สุขภาพใจให้ได้ ใช้ชีวิตอย่างสุขุมรอบคอบ เดินสายกลาง ปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม ทั้งการทำงาน การพักผ่อนสันทนาการ การออกกำลังกาย รวมทั้งการทำจิตใจให้สงบ ควบคุมอาหารการกินให้ได้สัดส่วนและเหมาะสมกับวัย และแน่นอนว่าถ้าระดับฮอร์โมนเพศชายที่ลดลงไปนั้น ทำให้คุณภาพชีวิตเลวลงแล้ว การไปขอคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ และรับฮอร์โมนเพศชายเสริมให้ได้ระดับปกติ อาจทำให้อาการต่างๆ อันไม่พึงประสงค์หมดไปและคุณภาพชีวิตดีขึ้น
โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในปัจจุบัน หมายถึง โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในเพศชาย คือการที่อวัยวะเพศ ไม่แข็งตัว หรือการแข็งตัวไม่สมบูรณ์ของอวัยวะเพศ คำเดิมที่ใช้คือ การหมดสมรรถภาพทางเพศ
สาเหตุ
มีหลาย ระดับ หากไม่นับโรคทางกาย เช่น อัมพฤก อัมพาต โรคเกี่ยวกับ ระบบเส้นเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูงหัวใจ โรคเหล่านี้ ทำให้เกิดอาการเสื่อมได้ทั้งสิ้น เนื่องจากสุขภาพทางกายไม่แข็งแรง
ในคนปกติทั่วไป หากมีโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศเกิดขึ้น มีปัจจัยทั้งด้านจิตใจและสิ่งแวดล้อมเข้ามา เกี่ยวข้องในการวิจัยที่ต่างประเทศ
การเสื่อมในผู้ชายที่แข็งแรง อายุเฉลี่ย 40-60 ปี พบว่าการเสื่อมมีสูงถึงประมาณใกล้เคียง 50 % คือ 1 ใน 2 คนมีภาวะเสื่อม การเสื่อมมีหลายระดับ เช่น เสื่อมเล็กน้อย หรือเสื่อมบางครั้งบางคราว เสื่อมปานกลาง คือ เริ่มมีกิจกรรมทางเพศไม่ได้ และการเสื่อมสมบูรณ์แบบ คือ ไม่สามารถมีกิจกรรมทางเพศได้อีกเลย เป็นที่น่าสังเกตว่าการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศเริ่มแฝงตัวในคนปกติมากขึ้นเรื่อย ๆ
วิธีรักษา
แพทย์จะซักประวัติผู้ป่วยทั้งประวัติส่วนตัว ประวัติการเจ็บป่วย ประวัติการผ่าตัดแพทย์จะตรวจร่างกาย เพื่อดูระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ตรวจอวัยวะเพศเพื่อหาความผิดปกติ อะไรที่มีส่วนเกี่ยวข้องบางครั้ง มีการเจาะเลือด เอ็กซเรย์ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับแพทย์ในการเลือก
Create Date : 13 พฤศจิกายน 2551 |
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2551 10:55:41 น. |
|
1 comments
|
Counter : 2309 Pageviews. |
|
|
|
โดย: sleeppy98@gmail.com IP: 182.93.237.15 วันที่: 19 สิงหาคม 2553 เวลา:9:50:58 น. |
|
|
|
|
|
1.ต้นโคนตาย ปลายเป็น 1 กก.
2.ต้นลูกใต้ใบ 1 กก.
3.รากกระดูกไก่ 1 ต้น
4.ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง 1 ต้น
นำไปผึ่งแดดให้แห้งแล้วบดให้เป็นผง รับประทาน
ชงด้วยน้ำร้อนวันละ 2 เวลา รับรอง 100 /100
หายแน่นอน