ไซนัส / หืดหอบ / เอดส์
ไซนัส / หืดหอบ / เอดส์ จากเมล์ที่ได้รับ
ไซนัสอักเสบ หมายถึงการอักเสบของโพรงอากาศ (sinus) รอบๆ จมูกและตา ซึ่งมีสาเหตุมากจาการอุดตันของโพรงอากาศจากการติดเชื้อ แพ้หรือระคายเคือง (เช่น ควันบุหรี่) แบคทีเรียเป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อนี้
อาการ
น้ำมูกเรื้อรังนานเกิน 10 วัน น้ำมูกอาจมีลักษณะเหลืองเขียว ในเด็กมักมีอาการไอร่วมด้วย บางคนลมหายใจเหม็น ในรายที่มีอาการมากอาจมีไข้ บวมบริเวณรอบขอบตาและปวดบริเวณโหนกแก้ม
สาเหตุ
เมื่อเป็๋นหวัดหรือมีแผลติดเชื้อ อักเสบที่ฟันบน เชื้อโรคจะเข้าสู่ท่อเล็กๆที่เชื่อมต่อระหว่างโพรงอากาศ(sinus) ทำให้มีการติดเชื้อและอักเสบของเยื่อบุภายในในโพรงอากาศ ท่อต่อเชื่อมตีบตันทำให้ มูกจึงไหลออกมาไม่ได้ หรืออาจเกิดจากการแพ้อาหารบางชนิด การแพ้สารบางชนิด เช่น ควันบุหรี่ ฝุ่นละออง ขนสัตว์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสาเหตุให้แน่ชัด
คำแนะนำ 1. หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำลายสุขภาพเมื่อมีความผิดปกติในจมูกควรปรึกษาแพทย์ ควรงดการว่ายน้ำดำน้ำ เมื่อเป็นหวัด หรือโรคภูมิแพ้ของจมูก 2. รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ โดยเฉพาะในฤดูหนาว 3. ดื่มน้ำสะอาดให้พอเพียงทุกวัน 4. หลีกเลี่ยงจากสิ่งมีพิษในอากาศ เช่น ฝุ่นละออง, สารเคมีต่าง ๆ เช่น ยาฆ่าแมลง, ควันบุหรี่, ทินเนอร์ผสมสี เป็นต้น 5. เมื่อเป็นหวัดอย่าปล่อยไว้นานเกิน 1 สัปดาห์ ควรรีบปรึกษาแพทย์ 6. ในกรณีที่มีฟันผุ โดยเฉพาะฟันบนพึงระวังว่าจะมีโอกาสติดเชื้อเข้าสู่ไซนัสได้ 7. รักษาสุขภาพช่องปากและฟันให้ดีอยู่เสมอ 8. ออกกำลังกายพอสมควรโดยสม่ำเสมอ 9. รับประทานอาหารที่มีคุณประโยชน์ครบถ้วน และไม่มาก หรือน้อยเกินไป 10. ถ้ามีโรคประจำตัวอยู่ ควรได้รับการรักษาแพทย์โดยสม่ำเสมอ
โรคหอบหืด (ASTHMA) คือโรคของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดจากความไวผิดปกติของหลอดลม ต่อสิ่งกระตุ้น ทำให้ท่อทางหายใจเกิดการตีบแคบ และทำให้หายใจลำบาก
อาการ
เมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นหลอดลมจะเกิดอาการอักเสบ เยื่อบุหลอดลมจะบวมทำให้หลอดลมตีบแคบลง ขณะเดียวกันการอักเสบทำให้หลอดลมมีความไวต่อการกระตุ้นและตอบสนองโดยการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลอดลม ทำให้หลอดลมตีบแคบลงไปอีก นอกจากนี้หลอดลมที่อักเสบจะมีการหลั่งเมือกออกมามาก ทำให้ท่อทางเดินหายใจตีบแคบ นอกจากนี้กล้ามเนื้อท่อทางเดินหายใจยังเกิดการหดตัว ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดอาการ หายใจลำบาก ไอ หายใจมีเสียงวี๊ซ หายใจถี่ และรู้สึกแน่นหน้าอก ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจพบริมฝีปากและเล็บมีสีเขียวคล้ำ
สาเหตุ
หลอดลมของผู้เป็นโรคหอบหืดมีความไวผิดปกติต่อสิ่งกระตุ้น (STIMULI) สิ่งกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดอาการหอบหืดได้แก่ สารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น , ไรฝุ่น , ขนสัตว์ , ละอองเกสร สารระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ , มลพิษในอากาศ , กลิ่น , ควัน การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ความเครียด , ความโกรธ , ความกลัว , ความดีใจ การออกกำลังกาย การเปลี่ยนแปลงของอากาศ การติดเชื้อไวรัสของระบบทางเดินหายใจ ยา เช่น ยาแอสไพริน , ยาลดความดันบางกลุ่ม อาหาร เช่น อาหารทะเล , ถั่ว , ไข่ , นม , ปลา , สารผสมในอาหาร เป็นต้น
คำแนะนำ 1. เด็กควรกินปลาที่มีไขมันมากเป็นประจำ เช่นปลาค็อด จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นหอบหืด 2. รับประทานอาหารที่มี แมกนีเซียมสูง ได้แก่ เมล็ดทานตะวัน 3. ค้นหาว่าแพ้อะไร และพยายามหลีกเลี่ยง 4. งดอาหารที่กระตุ้นอาการหอบหืด ขึ้นอยู่กับแต่ละคน เช่น อาหารที่ใส่สารกันบูดเช่น เบนโซเอท ซัลไฟท์ 5. งดอาหารที่ใส่สีสังเคราะห์ เช่น tartrazine , brilliant blue 6. งดนมวัว ธัญพืช ไข่ ปลา ถั่วลิสง 7. รับประทานยาและออกกำลังกายตามที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ
โรคเอดส์ โรคเอดส์ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Acquired Immune Deficiency Syndrome มีชื่อโดยย่อว่า AIDS = เอดส์
โรคเอดส์ คือ โรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่องจนไม่สามารถต่อสู้เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ง่ายกว่าคนปกติ
ขณะนี้โรคเอดส์กำลังระบาดในทวีปอเมริกา ยุโรป อาฟริกา แคนนาดา โรคนี้ได้ติดต่อมาถึงบางประเทศในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย
โรคเอดส์เกิดจากอะไร
โรคเอดส์เกิดจากเชื้อไวรัส มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Human Immunodeficiency Virus (HIV)
โรคเอดส์เป็นกับใครบ้าง
โรคเอดส์ส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทย มักเกิดในพวกรักร่วมเพศ ชายที่เปลี่ยนคู่บ่อย ๆ ปัจจุบันพบว่าเกิดในพวกรักต่างเพศได้ โดยเฉพาะในเพศชายที่ชอบเที่ยวโสเภณี
โรคเอดส์ติดต่อกันได้อย่างไร
โรคเอดส์ติดต่อกันได้หลายทาง แต่ที่สำคัญ และพบบ่อย ได้แก่
การร่วมเพศกับผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือมีเชื้อโรคเอดส์ การรับถ่ายเลือดจากผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือมีเชื้อโรคเอดส์ การใช้เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด หรือร่วมกับผู้ป่วยโรคเอดส์ จากแม่ที่ตั้งครรภ์ป่วยเป็นโรคเอดส์ ติดต่อไปถึงลูกที่อยู่ในครรภ์
โรคเอดส์ไม่ติดต่อโดยการเล่นด้วยกัน รับประทานอาหารร่วมกัน เรียนร่วมกัน ไปเที่ยวด้วยกัน หรืออยู่ในครัวเรือนเดียวกัน หากไม่มีความเกี่ยวข้องทางเพศ
อาการของโรค
หลังจากได้รับเชื้อโรคเอดส์เข้าไปในร่างกายแล้ว จะมีระยะฟักตัวประมาณ 2-3 เดือน จึงตรวจพบเลือดบวกต่อโรคเอดส์ ผู้ที่ติดเชื้อไม่จำเป็นต้องมีอาการทุกคน ระยะฟักตัวก่อนมีอาการแตกต่างกันมากจาก 2-3 เดือน ถึง 5-6 ปี ประมาณกันว่า 25-30% ของผู้ที่ติดเชื้อจะแสดงอาการภายใน 5 ปี อีก 70% จะไม่มีอาการ แต่จะเป็นพาหะของโรค และแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้
อาการที่พบในผู้ป่วยโรคเอดส์
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีไข้นานเป็นเดือน ๆ ต่อมน้ำเหลืองโต ท้องเดินเรื้อรังจากโรคพยาธิ มีแผลในปาก และตามผิวหนัง มีอาการทางสมอง เช่น ชัก อัมพาต โรคติดเชื้อต่าง ๆ โดยเฉพาะปอดบวมจากพยาธิ เชื้อรา วัณโรค ฯลฯ มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง เม็ดเลือด และสมอง ฯลฯ
การวินิจฉัย
โรคเอดส์วินิจฉัยได้จากอาการข้างต้น ประกอบกับการตรวจเลือดบวกต่อโรคเอดส์ วิธีการตรวจเลือดมี 2 วิธี วิธีแรกเรียกว่า Elisa ถ้าพบว่าเลือดบวก จะตรวจยืนยันโดยวิธี Western Blot การตรวจเลือดนี้ไม่จำเป็นต้องทำในคนทั่วไป แต่ควรตรวจในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคนี้สูง ซึ่งได้แก่พวกรักร่วมเพศ ผู้หญิง และชายบริการ ผู้ที่ได้รับการถ่ายเลือดบ่อย ๆ ผู้ติดยาทางเส้นเลือด
การรักษา
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ การรักษาจึงเป็นการรักษาโรคติดเชื้ออื่น ๆ ที่แทรกซ้อนซึ่งไม่ค่อยได้ผลนัก เพราะผู้ป่วยขาดภูมิต้านทาน และมักเสียชีวิตเนื่องจากโรคติดเชื้อ
การป้องกัน
ไม่สำส่อนทางเพศ ควรสวมถุงยางอนามัยเวลาร่วมเพศกับคนแปลกหน้า พยายามอย่าเปลี่ยนคู่นอนในหมู่รักร่วมเพศ อย่าร่วมเพศกับผู้ป่วย หรือสงสัยว่าเป็นโรคเอดส์ ก่อนรับการถ่ายเลือด ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้บริจาคเลือดไม่มีเชื้อโรคเอดส์ อย่าใช้เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด หรือร่วมกับผู้ติดยาเสพติด
Create Date : 13 พฤศจิกายน 2551 |
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2551 18:17:45 น. |
|
0 comments
|
Counter : 1881 Pageviews. |
|
|
|
|
|