งมงาย ผิดตรงไหน
พิธีกรรม งมงายไหม?
                 เราต้องรู้ว่าเขาใช้วิธีอะไร ใช้วิธีของพระพุทธเจ้าปรับเปลี่ยนวิธีคิดของเขา ยกตัวอย่าง ในครั้งสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังต้องเข้าไปหาพราหมณ์ที่มีความคิดที่ผิด พระองค์ยังต้องอาศัยไปพูดคุย สนทนา แล้วให้เขากลับตัวมานับถือพระพุทธเจ้า และพระมหาโมคคัลลานะก็เข้าไปยังลัทธิต่างๆ ให้หันกลับมานับถือพระพุทธศาสนา เป็นต้น แล้วปัจจุบันเราใช้วิธีการอย่างนี้ มันผิดตรงไหน 
                สำคัญอยู่ที่ว่า ท่านใช้วิธีการอย่างไร
               ถ้าถามว่า ทำไมต้องมีพิธีอาบน้ำมนต์? ก็เพราะว่าจะต้องมีการชำระร่างกายให้สะอาดแล้วค่อยมารับของดี
                ไม่ชำระร่างกายก่อนได้ไหม? ก็ไม่ได้ ทุกคนย่อมมีวิธีแตกต่างกันไป มีวิธีของเขา ยกตัวอย่าง ทางพระสงฆ์ไม่นุ่งห่มผ้าจีวร แล้วไปทำวัตรเช้า-เย็น จะได้ไหม? ก็ไม่ได้ นี่แหละ เช่นเดียวกัน แต่ละคนย่อมมีวิธีที่แตกต่างกันไป
              คนเราต้องเคารพซึ่งกันและกัน เขามีกติกา หรือมีวิธีการต่างๆ

ฤกษ์-ยาม งมงายไหม?
              ถูกต้องแล้ว เวลานี้คุณต้องทำดี คุณทำดีถึงจะได้ดี เช่น ณ เวลา ๙ โมงคุณทำตัวให้ดี ทำจิตใจให้ผ่องใส ทำจิตใจให้ดี ระลึกถึงแต่พระพุทธเจ้าสิ่งนั้น ณ เวลา ๙ โมงนั้นคือฤกษ์ดีของคุณ แล้วอย่างนี้มันผิดตรงไหน?
              แล้วทำไมเราต้องมาดูฤกษ์ด้วย เพราะว่าจะต้องมีการกำหนดว่าเวลานั้นคุณจะต้องทำดีเป็นพิเศษ สิ่งนั้นก็จะเป็นฤกษ์ดีของคุณ แล้วมันผิดตรงไหน?
              ทำไมถึงไม่ทำเวลานั้นเลย ทำไมถึงต้องทำเวลานี้?
              แล้วทำไมพระอาทิตย์ไม่เกิดเที่ยงคืน แสดงว่าข้างในเขามีศาสตร์ แล้วทำไมเราถึงปฏิเสธพระอาทิตย์ เรานับถือพระพุทธเจ้าแล้วไม่ต้องยุ่งกับพระอาทิตย์ใช่ไหม? แน่ได้หรือไม่?
              พระอาทิตย์ก็ต้องหมุนโคจรไปตามดวงอาทิตย์
              พระอาทิตย์ก็มีวิถีของอาทิตย์ เราจึงเอาวีถีการโคจรตรงนี้มาบวกวิถีพุทธเข้าไป มันผิดตรงไหน เราต่างหากที่ไม่เข้าใจ

คนเรา...ทำชั่วได้ทุกนาที พอจะทำดีต้องดูฤกษ์ยาม?
              ไม่ใช่เลย เพียงแต่ว่าเราทำดีตรงนี้ เป็นการทำดีพิเศษ คุณทำชั่วทุกนาทีแต่คุณทำชั่วตลอด เสมอกันไหม? ๑๐ ชั่วโมงเราทำชั่วเสมอกันไหม?
            ก็ไม่เสมอกัน บางเวลาเราทำชั่วมากกว่าปกติ บางเวลาทำชั่วน้อยกว่าปกติ ก็เหมือนกัน ในเมื่อเราจะถือว่าเป็นฤกษ์ อันนั้นถือว่าเป็นการเริ่มต้นขอให้ทำดีเป็นพิเศษ แล้วอย่างนี้มันผิดตรงไหน? หรือว่าเราจะบอกว่าเราทำชั่วสม่ำเสมอ? เลยไม่มีขึ้นลง? แต่ถ้าหากตอบว่าไม่มีการขึ้นลง แสดงว่าขาดพระไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) จบเลย จะต้องเคลื่อนอยู่ตลอด ไม่มีคำว่าเสมอ
              บางคนบอกว่า เราทำดีเวลาไหนก็ดีเวลานั้น
              ถูกต้อง ทำได้แค่ไหน ก็แค่นั้น คุณทำดี ดีแค่ไหน คุณก็ได้ดีแค่นัั้น
               ทำไมถึงไม่พูดว่า คุณเวลาไหนทำดีแค่ไหน ก็ได้แค่นั้น


ปีชง (冲) งมงายไหม?
                 เราต้องแปลคำว่า "ปีชง" (冲chōng) ให้ถูกต้อง เพราะว่าแปลคำว่า "ปีชง" ไม่ถูกเอง เราอย่ามีซี้ซัววิจารณ์
                บางคนบอกว่า ปีชงไม่มีหรอก ชงกันขึ้นมาเอง สร้างกันขึ้นมาเอง สมมติกันขึ้นมาเอง ดีหรือชั่วไม่ได้อยู่ที่วันเดือนปี มันอยู่ที่การกระทำของเรา?
                เราชงไม่มี แต่ปีชงอยู่ในจิตใจของทุกคน หมายความว่า สมมติว่า เราเคยถูกของแหลมแทง แล้วเรากลัวความแหลมไหม? นี่แหละปีชง เราแปลไม่เป็นเอง
                "ชง" ก็คือสิ่งที่เราปฏิฆะขัดเคืองอยู่ในใจของเรา เป็นวิบากกรรมของเรา ถ้าเราถูกงูกัด แม้แต่เชือกบางทีก็ยังกลัวเลย บางคนเจอใส้เดือน จิตใจเหมือนกับเจองูพิษ นี่แหละ เป็นปีชงของเขา
                วิธีแก้ ยกตัวอย่าง ถ้าเรากลัวงู เราก็จะต้องทำดีกับงู แล้วเราจะหายชงไหมล่ะ? ถ้าเราไม่เข้าใจว่าชงคืออะไร แล้วเรามาวิจารณ์ว่าเขาทำไม่ได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ บางคนก็ว่า มันเป็นเดียรัจฉานจะไปดีกับมันทำไม? นี่แหละเข้าใจผิดแล้ว ยกตัวอย่างบางคนตกใจกับความมืด แล้วเราจะทำให้เขาหายกลัวได้ยังไง? เราจะต้องไปเติมน้ำมันตะเกียงให้สว่างไหม? เราสว่างไว้แล้วเราจะกลัวไหม? เราจุดเทียนขึ้นมา แล้วเกิดความสว่าง นี่แหละแก้ปีชง เราชงความมืด ถ้ามีความสว่างเราก็หายกลัว
                ปีชงเฉพาะกิจ เฉพาะบุคคล เป็นปัจเจกบุคคล แก้ความคิดของเขา แก้จิตของเรา แก้วิบากกรรมของเขา
                พระพุทธเจ้าสอนให้ดูบัวมีตั้ง ๔ เหล่า เพราะว่าแต่ละคนมีวิบากไม่เหมือนกัน



Create Date : 12 กันยายน 2564
Last Update : 12 กันยายน 2564 22:47:41 น.
Counter : 408 Pageviews.

0 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณhaiku, คุณnewyorknurse, คุณนายแว่นขยันเที่ยว

ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
กันยายน 2564

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
13
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30