bloggang.com mainmenu search
ความแตกต่างในการเลี้ยงดู

สดจากจิตวิทยา

นฤภัค ฤธาทิพย์ /กรมสุขภาพจิต



เขียน ได้พูดคุยกับเพื่อนคนหนึ่ง ในเรื่องการเลี้ยงดูลูก เมื่อพูดคุยกันไปเพื่อนก็ได้เล่าให้ฟังว่า เขาไม่อยากให้ลูกของเขามีพฤติ กรรมเหมือนหลานทั้งสองคนที่มีลักษณะเหมือนคนสองบุคลิก ภาพ นั่นคือเวลาอยู่กับแม่ ทั้งสองจะเป็นเด็กดีสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเอง แต่เมื่ออยู่กับยายเด็กจะเปลี่ยนเป็นอีกคนหนึ่งคือจะค่อนข้างเกเร อ้อน และไม่ยอมทำอะไรด้วยตนเองเลย เมื่อพูดคุยกันไปจึงได้ทราบว่า การเลี้ยงดูของบ้านนี้มีความขัดแย้งกันอยู่ระหว่างแม่และยาย ที่มีความคิดมีแนวทางการเลี้ยงดูเด็กไม่เหมือนกัน และความขัดแย้งนั้นก็แสดงออกมาให้เด็กเห็นโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการโต้เถียงกันต่อหน้าเด็ก พูดหรือบ่นกับเด็กเวลาอีกคนหนึ่งไม่อยู่

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัย หนึ่งที่เด็กสามารถรับรู้ความต้องการและความรู้สึกของผู้ใหญ่ได้ทั้งสิ้น เด็กจะเรียนรู้ว่าแม่ชอบแบบไหนคาดหวังและเลี้ยงดูเขาแบบใด เมื่ออยู่กับแม่ เด็กจึงพยายามปรับตัวในแบบที่แม่พอใจแม่จะได้รัก เช่นเดียวกันเด็กก็จะรับรู้ว่ายายมีรูปแบบการเลี้ยงดูตนแบบใด ตนเองสามารถเรียกร้องหรือแสดงพฤติกรรมใดที่ยายยอมรับได้ เด็กก็จะแสดงพฤติกรรมนั้นให้ยายพอใจ เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการปรับตัวของเด็กก็ว่าได้

ดังนั้น การที่พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กมีแนวคิดหรือวิธีการเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน ไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพียงแต่ในการพูดคุยทำความเข้าใจกันไม่ควรที่จะให้เด็กรับรู้ ที่สำคัญการบ่นหรือต่อว่าอีกฝ่ายให้เด็กฟังก็ไม่ใช่สิ่งที่ถูกเพราะเด็กจะ สับสนและไม่แน่ใจว่าตนควรแสดงพฤติกรรมอย่างไร ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลเสียขึ้นกับเด็กได้ทั้งสิ้น

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNekE0TURrMU1RPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09DMHdPUzB3T0E9PQ==
Create Date :08 กันยายน 2551 Last Update :13 พฤษภาคม 2557 13:36:16 น. Counter : Pageviews. Comments :1