bloggang.com mainmenu search



ภาพจากเวบ big5.elong


หลายวันก่อนแวะไปอ่าน บล็อกคุณ tui/Laksi ที่อัพเพลงจากเรื่องเปาบุ้นจิ้นแล้วชอบมาก ๆ มานึกได้ว่าไม่ได้อัพบล็อกหยกใสฯ เป็นนานสองนาน เลยกลับมาอัพให้อ่านกัน อ่านประวัติของกวีท่านนี้แล้วเหมือนดูละครจีนเลยค่ะ ท่านลู่โหวยมีความรัก ถึงจะได้แต่งงานกันแต่ก็มีปัญหาเรื่องแม่ผัวลูกสะใภ้จนต้องหย่ากัน แต่ทั้งคู่ยังรักกันมาก ต่างฝ่ายต่างแต่งบทกวีให้แก่กัน อ่านแล้วซึ้งมาก กวีบทนี้เป็นที่นิยมจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ มีคนเอามาทำเป็นละครด้วย เจอคลิปจากละคร ไม่แน่ใจว่าเป็นของจีนแผ่นดินใหญ่หรือว่าฮ่องกง นักแสดงหน้าตาคุ้น ๆ แต่ไม่รู้ว่าเป็นเรื่องอะไร เพลงเพราะได้ใจมาก งวดนี้หารูปได้ตรึมแล้วงาม ๆ ทั้งนั้น เลยแปะแบบไม่ยั้ง อิ อิ


钗头凤 童丽
























ไชโถวเฟิ่ง

ลู่โหยว


มือเนียนแดงระเรื่อ เหล้าหวงเถิง

สีสันชุนเทียนทั่วเมือง หลิวรายกำแพงวัง

ลมตะวันออกโหดร้าย ความรักใคร่เปราะบาง

ใจระทมเต็มอก จากกันนานปี

ผิด ผิด ผิด


ชุุนเทียนเหมือนเก่า คนผอมอ้างว้าง

คราบน้ำตาสีแดงเปียกชุ่มผ้าเช็ดหน้าไหม

ดอกท้อร่วง หอริมสระว่างเปล่า

แม้สัญญาดังขุนเขายังคงอยู่ มิอาจไหว้วานส่งจดหมาย

ไม่ ไม่ ไม่










ภาพจากเวบ blog.udn


หมายเหตุ


ไชโถวเฟิ่ง เป็นชื่อฉือทำนองหนึ่ง แปลว่ายอดปิ่นของนกเฟิ่ง (ไช = ปิ่น โถว = ศีรษะ เฟิ่ง = นกเฟิ่ง เป็นนกในตำนาน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Phoenix) เดิมเรียกกันว่า เสียฟังฉือ ชื่อนี้มาจากชื่อ สวนเสียฟัง ในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ




นกเฟิ่ง หรือ นกฟินิกซ์
ภาพจากเวบ nipic.com


ต่อมามีกวีนำเสียงฟังฉือไปประพันธ์บทร้อง ในบทร้องมีคำว่า ไชโถวเฟิ่ง อยู่ด้วย ลู่โหยวเอาคำนี้มาใช้เป็นชื่อฉือ ทำนองเสียฟัง พอลู่โหยวเอามาใช้ จึงนิยมเรียกฉือทำนองนี้ว่า ไชโถวเฟิ่ง นอกจากนั้นยังมีชื่ออื่น ๆ คือ เจ๋อหงอิง และสีเฟินไช เป็นฉือทำนองเดียวกัน แต่เรียกชื่อต่างกัน




ภาพจากเวบ yhqgzl.blot.163.com


ฉือ ไชโถวเฟิ่ง มีฉันทลักษณ์การแต่งแบ่งเป็น ๒ ท่อน อักษร ๖o ตัว บาทสุดท้ายของแต่ละท่อนจะใช้ตัวอักษรเดียวกันซ้ำกัน ๓ ครั้ง สัมผัสนอกด้วยวรรณยุกต์เสียงที่ ๓ เสียงที่ ๔ และตัวสะกด




กวีเอกลู่โหยว
ภาพจากเวบ gate.sionvision.net


ลู่โหยว (ค.ศ. ๑๑๒๕ - ๑๒๑o) กวีเอกคนหนึ่งในสมัยราชวงศ์ซ่ง มีอีกชื่อหนึ่งว่า ลู่ฟั่งอง เป็นชาวเย่ว์โจว ปัจจุบันคือเมืองเซ่าซิ่ง มณฑลเจ้อเจียง ชีวิตในวัยเยาว์เติบโตขึ้นมาในช่วงที่จีนทำสงครามต้านการรุกรานของพวกกิมก๊ก จึงรู้ซึ้งถึงภัยสงคราม ในขณะเดียวกันก็เพาะบ่มให้เกิดความรักชาติ และความรู้สึกนี้ฝังแน่นอยูในจิตใจของลู่โหยว




ภาพจากเวบ hanyu.iciba.com


เมื่ออายุ ๒๙ ปี สอบได้ที่ ๑ ของบัณฑิตประจำเมืองหังโจว แต่ถูกยกเลิกผลสอบ เพราะฉินฮุ่ยเห็นว่าลู่โหยวชอบพูดเรื่องกู้ชาติ เมื่อฉินฮุ่ยตาย ลู่โหยวจึงได้เข้ารับราชการเป็นขุนนางท้องถิ่น แล้วเลื่อนขึ้นเป็นขุนนางส่วนกลาง เป็นคนซื่อสัตย์ แต่เคยถูกพักราชการ ๓ ครั้ง เพราะถูกกลุ่มขุนนางขายชาติกลั่นแกล้ง แต่ก็ไม่หวั่นไหวเปลี่ยนแปลง ยังยึดมั่นในหลักการและความรักชาติ




ภาพจากเวบ hanyu.iciba.com


เมื่ออายุ ๘๕ ปี เขียนกลอนบทหนึ่งให้ลูก มีความว่า คนเราในที่สุดก็ต้องตาย แต่เสียใจที่จีนยังรวมเป็นหนึ่งเดียวไม่ได้ หากถึงคราวที่กองทัพหลวงบุกตีเอาแผ่นดินที่เสียไปกลับคืนมาได้ ทุกปีวันที่ไหว้ระลึกถึงวันตายของพ่อ อย่าลืมบอกพ่อด้วย




ภาพจากเวบ hanyu.iciba.com


ลู่โหยวประพันธ์บทกลอนไว้มาก ส่วนใหญ่เป็นซือ เหลือตกทอดถึงปัจจุบัน ๙,๓oo กว่าบท แต่ซือส่วนใหญ่ที่แต่งประมาณร้อยละ ๖o เขียนถึงความรักชาติ การกู้ชาติ ส่วนฉือนั้นเขียนไว้ไม่มาก เหลือตกทอดถึงปัจจุบัน ๑๓o กว่าบทเท่านั้น




รูปปั้นท่านลู่โหยว
ภาพจากเวบ nipic.com


ส่วนเกร็ดประวัติการแต่งฉือบทนี้มีความเป็นมาว่า ลู่โหยว เดิมมีภรรยาซึ่งเป็นกวีเหมือนกัน ชื่อถังหว่าน เป็นลูกพี่ลูกน้องกััน ทั้งสองรักใคร่กันมาก เมื่ออายุ ๒o ปี ลู่โหยวแต่งงานกับถังหว่าน แต่มารดาของลู่โหยวไม่ชอบลูกสะใภ้ บีบบังคับให้ลู่โหยวเลือกระหว่างแม่และภรรยา ลู่โหยวจึึงหย่ากับถังหว่าน แยกทางชีวิตจากกัน




ถังหว่าน
ภาพจากเวบ lantingfeng.com


พ่อแม่ของถังหว่านให้ลูกสาวแต่งงานใหม่กับลูกชายขุนนางเมืองเซ่าซิ่ง ลู่โหยวเองก็แต่งงานใหม่ตามที่พ่อแม่จัดการให้ เมื่ออายุ ๓๑ ปีหลังจากหย่ากันหลายปีแล้ว ลู่โหยวไปเที่ยวสวนสกุลเสิ่น (เป็นสวนสาธารณะ) พบถังหว่านในสวน ทั้งสองต่างรู้สึกดีใจมาก ถังหว่านเอาอาหารและเหล้ามาเลี้ยง ส่วนลู่โหยวโศกเศร้ารำลึกถึงชีวิตรักเมื่อวันวาน จึงเขียนฉือบทนี้ที่กำแพงสวนสกุลเสิ่น




ภาพจากเวบ bbs.ylmf.net


สวนสกุลเสิ่นในปัจจุบัน



ภาพจากเวบ tupian.hudong.com




ภาพจากเวบ bbs.ylmf.net




ภาพจากเวบ jiayi.sky.blog.163.com




ภาพจากเวบ jiayi.sky.blog.163.com


ต่อมาถังหว่านก็เขียนตอบโดยใช้ฉือไชโถวเฟิ่งเช่นกัน หลังจากพบกันที่สวนสกุลเสิ่นไม่กี่ปี ถังหว่านก็ถึงแก่กรรม ลู่โหยวยิ่งโศกเศร้าและฝังใจกับความรักที่มีต่อถังหว่าน ไม่เคยลืมเลือน รำพึงรำพันถึงถังหว่านอยู่เสมอ ตอนอายุ ๗๕ ปียังไปเขียนซืออาลัยรักถังหว่านบนกำแพงสกุลเสิ่น ประวัติชีวิตรักฝังใจของลู่โหยวทำให้มีผู้พูดว่า คนที่มีจิตใจมุ่งมั่นในความรัก แท้จริงแล้วก็เป็นชายชาตรีได้




กำแพงที่เขียนบทกวีของลู่โหยวและถังหว่าน (กดที่ภาพดูไซสืใหญ่ได้ค่ะ)
ภาพจากเวบ readnovel.com


บาทที่ ๑ เหล้าหวงเถิงเป็นชื่อของเหล้าชั้นดี เป็นเหล้าที่ดื่มกันในวัง

บาทที่ ๒ แคว้นเย่ว์ในสมัยชุนชิวเคยตั้งเมืองหลวงที่เซ่าซิ่ง เมืองเซ่าซิ่งจึงมีกำแพงวัง




ภาพจากเวบ yhqgzl.blot.163.com


บาทที่ ๒ นี้กวีเปรียบถังหว่านเหมือนหลิวนอกกำแพงวัง มีกำแพงวังระหว่างกวีกับถังหว่าน อยู่ใกล้ก็เหมือนไกลกัน มองเห็นกันแต่เข้าใกล้กันไม่ได้

บาทที่ ๓ ลมตะวันออก หมายถึง มารดาของลู่โหยว ความโหดร้ายของมารดาทำให้ความรรักของเขาทั้งสองต้องเปราะบางแตกไป




บาทที่ ๕ ตอนนี้มาคิดดูแล้ว ระหว่างแม่และภรรยา ลู่โหยวเลือกแม่ คิดผิดไปจริง ๆ กวีเล่นคำซ้ำว่า cuo cuo cuo (ชั่ว ชั่ว ชั่ว) ฉบับแปลรักษาอรรถรสเดิมว่า ผิด ผิด ผิด

บาทที่ ๖ ลู่โหยวผอมและอ้างว้าง ที่ผอมก็เพราะโศกเศร้าระทมใจ คิดถึงแต่ความรักเมื่อวันวาน




ภาพจากเวบ yhqgzl.blot.163.com


บาทที่ ๗ คราบน้ำตาสีแดง ตีความได้ ๒ อย่าง

๑. ผู้หญิงแต่งหน้าทาแป้ง เวลาร้องไห้ น้ำตาเลอะแป้งเป็นสีแดง จึงเป็นคราบนำ้ตาสีแดง

๒. น้ำตาไหลจนเป็นเลือด




ภาพจากเวบ blog.xkb.com


บาทที่ ๑o กวีเล่นคำซ้ำว่า mo mo mo (มั่ว มั่ว มั่ว) ฉบับแปลรักษาอรรถรสเดิมว่า ไม่ ไม่ ไม่ สื่อความว่า ลู่โหยวบอกตัวเองว่า ให้ปลงตกเถอะ แต่ก็มีผู้ตีความว่า ลู่โหยวปลอบใจถังหว่านว่า เรื่องล่วงเลยมาแล้ว อย่าเสียใจเลย




ภาพจากเวบ lixunmeng2081211.blog.163.com


ข้อมูลจากหนังสือ​ "หยกใสร่ายคำ"
บทพระราชนิพนธ์แปลในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี







ภาพวาดและภาพถ่ายประกอบบทกวี







ภาพจากเวบ bbs.ylmf.net























อันนี้น่าจะเป็นสมุดภาพสวนสกุลเสิ่น



ภาพจากเวบ hongdoufan.com





ภาพจากเวบ hongdoufan.com








ลายมือพู่กันจีนที่เขียนบทกวีนี้ กดที่ภาพดูไซส์ใหญ่ได้ค่ะ
ภาพจากเวบ blog.chinatime.com














บีจีและไลน์จากคุณเนยสีฟ้าและคุณแพรวขวัญ

Free TextEditor


Create Date :01 กันยายน 2554 Last Update :18 ธันวาคม 2554 19:50:28 น. Counter : Pageviews. Comments :91