bloggang.com mainmenu search


ภาพจากเวบ chinaodysseytours.com













ท่องไปในภูผา
ตู้มู่

ทางเดินหินคดเคี้ยวไปมาบนเขาเย็นเยือกไกลแสนไกล
ในที่เกิดเมฆขาว มีบ้านผู้คน
หยุดรถเพราะชื่นชมป่าต้นเฟิงยามเย็น
ใบที่ต้องเกล็ดหิมะ แดงยิ่งกว่าดอกไม้เดือนยี่




หมายเหตุ



ภาพจากเวบ gh20088002.bokee.com


บทกวีนี้เป็นของตู้มู่ 杜牧 (ค.ศ.๘o๓ - ๘๕๒) กวีมีชื่อเสียงปลายราชวงศ์ถัง พรรณนาธรรมชาติในฤดูใบไม้ร่วง ยามเย็นแดดร่มลมตก กวีขับรถม้าขึ้นไปบนเนินเขาแล้วหยุดรถ เดินไปตามทางปูหินอันคดเคี้ยว มองไปเบื้องหน้าเห็นบ้านเรือนอยู่รำไรในหมู่เมฆ รอบข้างเป็นป่าต้นเฟิง (楓) ต้นเฟิงนี้ถามจากคนจีน (คนธรรมดา ๆ ไม่ใช่นักพฤษศาสตร์) ว่าคือต้นไม้ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า "เมเปิ้ล" มีใบเป็นแฉก ๆ ก่อนจะทิ้งไปในฤดูใบไม้ร่วงจะเป็นสีแสดสด

ในเมืองไทยก็มีต้นไม้หลายชนิดที่ใบเป็นสีแดงก่อนที่จะร่วง มีอยู่ชนิดหนึ่งที่ข้าพเจ้าเคยได้เห็นเขาเรียกว่า ต้นก่วมแดง เป็นจำพวก Acer มีใบเป็นแฉกสามแฉก ถ้ามีจำนวนมาก ๆ ทั้งป่าจะงามสักเพียงใด จนกวีบอกว่ารักทัศนียภาพป่าต้นเฟิง ซึ่งงามเสียยิ่งกว่าช่วงที่ดอกไม้แดงบานในฤดูชุนเทียนหรือใบไม้ผลิ มีผู้อธิบายว่าที่ว่างามกว่านั้น เพราะเป็นความงามที่มั่นคงและมีพลัง ถ้าดอกไม้หรือใบไม้ชนิดอื่นถูกเกล็ดนำ้แข็งหรือความหนาวเย็นเช่นนี้คงจะทนไม่ได้ แต่เกล็ดนำ้แข็งกลับส่งความงามของป่าต้นเฟิงให้โดดเด่นยิ่งขึ้น

ส่วนคำว่า "ที่กำเนิดเมฆ" หรือ Yun shen (雲生) นั้นหมายถึง บริเวณหุบเขาที่มีก้อนเมฆมารวมกัน




ภาพจากเวบ the-gallery-of-china.com


ชีวิตของกวีตู้มู่ก็เหมือนกับกวีสมัยราชวงศ์ถังอีกหลายท่านที่ต้องระหกระเหิน ต่อสู่ฟันฝ่าอุปสรรคในการรับราชการและดำเนินชีวิต มีผู้วิจารณ์ว่า บทกวี "ท่องไปในภูผา" แฝงความคิดเกี่ยวกับชีวิตของขุนนางและสภาพการเมืองในสมัยนั้น

ตู้มู่เป็นกวีที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งในสมัยราชวงศ์ถัง เกิดในตระกูลสูง ปู่ชื่อ ตู้โย่ว เป็นอัครมหาเสนาบดีและนักประวัติศาสตร์ แต่งหนังสือประวัติศาสตร์ไว้ชุดหนึ่งชื่อ ทงเตี่ยน ตู้มู่เป็นคนเรียนเก่ง สอบได้เป็นจิ้นซื่อตั้งแต่อายุ ๒๖ ปี ได้เข้ารับราชการ เมื่อหนุ่ม ๆ ใช้ชีวิตแบบหนุ่มเจ้าสำราญ

คำว่า หานซาน (寒山) แปลว่า ภูเขาเย็นเยือก บ่งบอกว่า เป็นภูเขาในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงกำลังเข้าสู่ฤดูหนาว อากาศเย็น




ภาพจากเวบ mbjmzx.jsol.net


ข้อมูลจากหนังสือ​ "หยกใสร่ายคำ"
บทพระราชนิพนธ์แปลในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี






ลายมือแบบหวัดแบบต่าง ๆ ที่เขียนบทกวีนี้



ภาพจากเวบ shufa.org




ภาพจากเวบ ed.arte.gov.tw




ภาพจากเวบ tianya.cn




ภาพจากเวบ 51cang.com




ภาพจากเวบ blog.freehead.com





ภาพวาดจากบทกวี



ภาพจากเวบ 54ai.com




ภาพจากเวบ xy.eywedu.com




ภาพจากเวบ gugongworld.com




ภาพจากเวบ nipic.com




ภาพจากเวบ zone.gushi8.com.cn




ภาพจากเวบ gushi160.com


บีจีและไลน์จากคุณญามี่

Free TextEditor

Create Date :29 สิงหาคม 2552 Last Update :20 มิถุนายน 2556 21:51:24 น. Counter : Pageviews. Comments :57