bloggang.com mainmenu search



ภาพจากเวบ udn.com





//www.56.com/u73/v_NDIyODg5OTA.html


















ภาพจากเวบ hanyu.iciba.com






ฮ่วนซีซา
เยี่ยนซู



หนึ่งทำนอง เพลงบทใหม่ เหล้าหนึ่งถ้วย
เก๋งหลังเดิม อากาศเหมือนปีกลาย
อาทิตย์อัสดงทางตะวันตก เมื่อไรจะคืนมา
ดอกไม้ร่วงแล้ว มิรู้จะทำอย่างไร
นกนางแอ่นที่ดูเหมือนรู้จัก บินกลับมา
ในสวนเล็ก ทางเดินหอม เดียวดายเดินไปมา




ภาพจากเวบ hudong.com


หมายเหตุ


คำว่า ฮ่วนซีซา แปลว่า ซักผ้าในธารทราย (ฮ่วน แปลว่า ซัก ซี = ลำธาร ซา = ทราย) บางฉบับพิมพ์ใช้ตัวอักษรคำว่า ซา ต่างออกไป กล่าวว่าคือ ใช้คำว่า ซา ที่แปลว่า ด้ายที่ทำจากฝ้ายหรือป่านปอ อักษร ซา ตัวนี้ยังมีอีกความหมายหนึ่ง แปลว่า ผ้าบางที่ทอห่าง ๆ หากใข้ ซา ตัวนี้ คำว่า ฮ่วนซีซา ก็จะแปลว่า "ซักผ้าบาง ๆ ในลำธาร"

กวีนิพนธ์จีนแบ่งกว้าง ๆ เป็น ซือ และ ฉือ กลอนบทนี้จัดอยู่ในประเภทฉือ คำว่า ฮ่วนซีซา มิได้เป็นชื่อบทกวี แต่เป็นชื่อของ ฉือ ทำนองหนึ่ง มีฉันทลักษณ์หรือกระสวนในการแต่งแบ่งเป็น ๒ ท่อน ใน ๑ บทใช้ตัวอักษรจีนทั้งหมด ๙๓ ตัว สัมผัสนอกด้วยวรรณยุกต์เสียงที่ ๓ เสียงที่ ๔ และตัวสะกด แต่ฉือบทนี้ที่กวีผู้แต่งใช้ชื่อว่า "ฮ่วนซีซา" มีกระสวนการแต่งต่างออกไป กวีใช้ตัวอักษร ๔๒ ตัว มี ๖ บาท บาทละ ๗ ตัว จึงดูคล้ายซือ ๗ ตัว แต่ก็มีเพียง ๖ บาท มิใช่ ๘ บาท กวีนิพนธ์ ซือ และ ฉือ มีความต่างกันโดยสรุปดังนี้




ภาพจากเวบ tupian.hudong.com


ซือ เป็นลำนำกวีที่มีความเป็นมาเก่าแก่ย้อนไปถึงอารยธรรมจีนในยุคต้น ๆ ปลายสมัยชุนชิว (ก่อน ค.ศ.๗๗o - ก่อนค.ศ.๔๗๖) ขงจื๊อ (ก่อน ค.ศ.๕๕๑ - ก่อนค.ศ.๔๗๘) ได้รวบรวมลำนำกวีต่าง ๆ เป็นหนังสือชื่อว่า ซือจิง (ซือ แปลว่า บทกวี จิง แปลว่า คัมภีร์) ซือได้พัฒนาต่อมาจนลงตัวในสมัยราชวงศ์ถังทั้งในด้านจำนวนคำ จังหวะคำ และการส่งสัมผัส ซือ มีประเภทบาทละ ๔ คำ ๕ คำ และ ๗ คำ บทหนึ่งมี ๔ บาท หรือ ๘ บาท แต่ที่มีมากกว่า ๘ บาทก็มี สมัยราชวงศ์ถัง กวีนิพนธ์ประเภท ซือ มีความเด่นมาก กวีในสมัยนี้ได้ประพันธ์ซือไว้เป็นจำนวนมาก เหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบันรวม ๆ กันแล้ว ๕o,ooo กว่าบท




ภาพจากเวบ ncku.edu.tw


ส่วน ฉือ นั้นเป็นทำนองเพลง กวีจะนำทำนองเพลงมาแต่งบทร้อง ฉือทำนองหนึ่งจึงมักจะมีบทร้องหลายบทของกวีหลายคน ในด้านความเป็นมาของการประพันธ์กวีนิพนธ์ประเภทฉือนั้น คงจะเริ่มในสมัยราชวงศ์สุย (ค.ศ.๕๘๑ - ๖๑๘) แล้วพัฒนาต่อมาจนเด่นสุดในสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ.๙๖o -๑๒๗๙) ฉือ ซึ่งเป็นทำนองเพลงที่กวีเอามาแต่งนั้นมีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้

๑. มาจากทำนองเพลงของชาวบ้านที่ร้องกันแพร่หลาย

๒.ในสมัยราชวงศ์สุย (ค.ศ.๕๘๑ - ๖๑๘) มีการตั้งหน่วยงานเกี่ยวกับดนตรีขึ้นมาองค์กรหนึ่ง นักดนตรีได้ประพันธ์ทำนองเพลงต่าง ๆ เพื่อประกอบบทร้องนานา

๓. ได้รับอิทธิพลจากทำนองเพลงของพวกชนกลุ่มน้อยในซินเกียงและที่อื่น ๆ ทางตะวันตกของจีน ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้สืบเช้ือสายมาจากพวกเตอร์กและชนเผ่าอื่น ๆ นอกจากนั้นได้รับทำนองเพลงของอินเดียเข้ามาด้วย

๔. คีตกวีสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ่งประพันธ์ขึ้นเอง




ภาพจากเวบ thatsmetro.com


ฉือ ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๘oo ทำนองนั้นมีฉันทลักษณ์ในการแต่งที่ต่างกันไปในแต่ละทำนอง ฉือจึงมีฉันทลักษณ์การแต่งหลายรูปแบบ หลังสมัยราชวงศ์ซ่ง โน้ตทำนองเพลงของฉือต่าง ๆ ที่สืบทอดพัฒนามาตั้งแต่ราชวงศ์สุย ถัง และซ่ง ได้สูญหายไป เหลือแต่บทร้องต่าง ๆ ฉันทลักษณ์การแต่งและชื่อของกวีผู้ประพันธ์ ในสมัยจักรพรรดิ์เฉียนหลง (ค.ศ.๑๗๓๖ - ๑๗๙๖) ได้พบโน้ตฉือ ๑๗ บทของเจียงขุย คีตกวีสมัยราชวงศ์ซ่ง จึงเหลือสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันเพียงเท่านี้




ภาพจากเวบ tupian.hudong.com


ฉือในสมัยแรก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยราชวงศ์ถังนิยมแต่งรำพึงรำพันถึงความรัก เรื่องส่วนตัว จิตใจความรู้สึก ต่อมาได้พัฒนามาเป็นเรื่อง ประวัติศาสตร์ ความรักชาติ ชีวิตปรัชญาความคิด ซือและฉือมีการประพันธ์ที่ต่างกันตรงที่ ซือ ใช้แต่งเรื่องได้สารพัดหลายแบบหลายแนว ส่วน ฉือ นั้นเน้นที่การพรรณนาอารมณ์ คำประพันธ์ประเภทฉืือมีความเด่นที่สุดในสมัยซ่ง




ภาพจากเวบ baike.baidu.com


เยี่ยนซู (ค.ศ.๙๙๑ -๑o๕๕) ผู้นำฉือ ฮ่วนซีซา มาแต่งบทร้องนี้เป็นชาวหลินชวน ปัจจุบันคือเมืองฝู่โจว มณฑลเจียงซี เล่ากันว่า เป็นคนฉลาด สมองดี สอบได้จิ้นซื่อตั้งแต่อายุยังน้อย รับราชการมาตลอดในตำแหน่งสำคัญจนได้เป็นอัครเสนาบดี ในทางการเมืองการปกครองไม่ได้ริเริ่มส่ิงใหม่ ๆ แต่ได้ส่งเสริมคนรุ่นหลังจนหลายคนกลายเป็นคนสำคัญในวงราชการ เยี่ยนซูได้รับอิทธิพลการเขียนฉือจากเฝิงเหยียนจี่ กวีราชวงศ์ถังภาคหลังในสมัยราชวงศ์ (หลังราชวงศ์ถ้งล่มสลายใน ค.ศ.๙o๗ การเมืองการปกครองจีนได้แตกแยกอยู่ ๕๓ ปีระหว่างค.ศ. ๙o๗ - ๙๖o สมัยนี้มีราชวงศ์เล็ก ๆ ปกครองสืบต่อกันห้าราชวงศ์ จึงเรียกว่า ห้าราชวงศ์ ราชวงศ์ถังภาคหลังมีอำนาจในช่วง ค.ศ.๙๒๓ - ๙๓๖)




ภาพจากเวบ zj.xinhuanet.com


นักวรรณคดีวิจารณ์ว่า เยี่ยนซู แต่งฉือได้ดีไม่แพ้เฝิงเหยียนจี่ แนวเรื่องที่แต่งเป็นเรื่องความสนุกสนาน ความรื่นรมย์ การพบปะในงานเลี้ยงและชีวิตในสังคมชั้นสูง ฉือของเยี่ยนซูงามประดุจดอกโบตั๋น มิได้ประดับด้วยทองหรือหยก มีความนุ่มนวล ไพเราะ สละสลวย โดยไม่ต้องประดิดประดอย

เยี่ยนซูแต่งบทกวีนี้ตอนไปรับราชการที่เมืองหังโจว ระหว่างเดินทางได้พักแรมที่เมืองหยังโจว จึงนำฉือ ฮ่วนซีซา ซึ่งประพันธ์ทำนองตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังมาแต่งบทร้อง ฉือของเยี่ยนซูบทนี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี พรรณนาถึงความอาลัยอาวรณ์ต่อฤดูใบไม้ผลิที่กำลังจะจากไป ดอกไม้เริ่มร่วง จิตใจเศร้าสร้อยถึงภาวะความไม่แน่นอน (อนิจจัง) แฝงไว้ด้วยความคิดถึงที่ต้องพลัดพรากจากกัน เยี่ยนซูเขียนแฝงไว้อย่างดี ทั้งบทไม่มีตัวหนังสือ บอกว่าใครคิิดถึงใคร แต่ผู้อ่านจะรู้สึกถึงบรรยากาศนั้น




ภาพจากเวบ forum.book.sina.com.cn


บทกวีบาทที่ ๑ แปลตามศัพท์ว่า หนึ่งทำนอง เพลงบทใหม่ เหล้าหนึ่งถ้วย บาทนี้เยี่ยนซูแต่งโดยไม่มีคำกริยาเลย ตีความได้ดังนี้

๑. กวีเอาทำนองเก่ามาเต่งเพลงบทใหม่ พร้อมกับดื่มเหล้า ๑ ถ้วย

๒. กวีดื่มเหล้าดี ๑ ถ้วย พร้อมกับฟังเพลงใหม่ ๑ เพลงที่ใช้ทำนองเดิม


ข้อมูลจากหนังสือ​ "หยกใสร่ายคำ"
บทพระราชนิพนธ์แปลในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี




ภาพวาดประกอบบทกวี




ภาพจากเวบ hzst.net




ภาพจากเวบ hanyu.iciba.com<<br>



ภาพจากเวบ hudong.com




ภาพจากเวบ hudong.com





ภาพจากเวบ bbs.voc.com




ภาพจากเวบ www.nipic.com



ภาพจากเวบ zhencang.org


บีจีจากคุณเนยสีฟ้า ไลน์จากคุณญามี่

Free TextEditor


Create Date :02 เมษายน 2553 Last Update :29 กุมภาพันธ์ 2555 13:34:28 น. Counter : Pageviews. Comments :45