หาดวนกรและบ้านกรูด ทริปต่อไป 10-12 ธ.ค.52


ข้อมูลทั่วไป

อุทยานแห่งชาติหาดวนกร ชายหาดอันลือชื่อของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ทอดตัวเป็นแนวยาวลงไปในทะเล ทิวทัศน์ที่เงียบสงบ หาดทรายขาวสะอาด บนฝั่งมีทิวสนทะเลและสนประดิพัทธ์เป็นแนวขนานกับทะเล มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ 23,750 ไร่ หรือ 38 ตารางกิโลเมตร ในเขตตำบลห้วยทราย ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง และตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้ที่ปลูกขึ้นใหม่ได้แก่ สนทะเล สนประดิพัทธ์ สะเดา เป็นต้น

อุทยานแห่งชาติหาดวนกร แต่เดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าวังด้วนและป่าห้วยยาง เป็นที่ตั้งของสวนป่าห้วยทราย ท้องที่อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ สวนป่าห้วยยาง สวนรุกขชาติห้วยยาง และสถานีวนกรรมห้วยยาง ท้องที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาสถานีวนกรรมห้วยยางได้ถูกยกเลิกไป เมื่อทางกรมป่าไม้มีนโยบายที่จะจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ จึงได้โอนพื้นที่แห่งนี้มาให้กองอุทยานแห่งชาติดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2532 เป็นต้นมา และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าวังด้วน ป่าห้วยยาง และเกาะใกล้เคียง ในท้องที่ตำบลห้วยทราย อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ และตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมเนื้อที่ 38 ตารางกิโลเมตร โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 126 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2535 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 76 ของประเทศไทย





ลักษณะภูมิประเทศ

อุทยานแห่งชาติหาดวนกร ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง และอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีทางรถไฟสายใต้ผ่านตอนกลางของพื้นที่ มีอาณาเขตทิศเหนือติดที่ดินกรรมสิทธิ์บ้านวังด้วน และค่ายตำรวจตระเวนชายแดน ทิศใต้จดห้วยคอกม้า และสถานีฝึกนิสิตคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทิศตะวันออกจดทะเลอ่าวไทย และทิศตะวันตกจดถนนเพชรเกษม โดยทั่วไปอุทยานแห่งชาติหาดวนกรเป็นที่ราบหลังชายหาด มีเกาะเล็กๆ 2 เกาะ คือ เกาะจาน และเกาะท้ายทรีย์ ลำห้วยที่สำคัญได้แก่ ห้วยคลองหินจวง ซึ่งไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ แต่ปริมาณน้ำมีน้อย ในฤดูแล้งขาดเป็นช่วงๆ



ลักษณะภูมิอากาศ

พื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดวนกรตั้งอยู่ในเขตภาคใต้ของประเทศไทย และมีพื้นที่อยู่ติดชายฝั่งทะเล ลักษณะในแต่ละฤดูกาลจึงไม่แตกต่างกันมากนัก สภาพภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ ฤดูฝน เริ่มต้นเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย และยังมีร่องความกดอากาศต่ำพัดผ่านภาคใต้เป็นระยะๆ ต่อจากนั้นถึงเดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นระยะแรกที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ยังคงมีฝนตกชุกต่อเนื่องจนถึงเดือนธันวาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีมากกว่า 1,100 มิลลิเมตร ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิลดลงทั่วไป และมีอากาศหนาวเย็นเป็นครั้งคราว โดยอุณหภูมิจะลดลงต่ำสุดในเดือนธันวาคมและมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคม 20 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงเปลี่ยนฤดู ระยะนี้เป็นช่องว่างของลมมรสุมหลังจากสิ้นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะเริ่มสูงขึ้น อากาศจะเริ่มร้อนโดยเฉพาะในเดือนมีมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือนเมษายนประมาณ 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27 องศาเซลเซียส



พืชพรรณและสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติหาดวนกรเดิมเป็นพื้นที่สวนป่าเก่า ความหลากหลายทางพืชพันธุ์ธรรมชาติจึงมีให้เห็นไม่มากนัก สภาพป่าที่พบในปัจจุบันจึงค่อนข้างโปร่งประกอบด้วย ป่าชายหาด ขึ้นเป็นบริเวณแคบตามแนวชายหาดและโขดหินที่ได้รับอิทธิพลจากทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ สนทะเล หูกวาง โพทะเล ปอทะเล สารภีทะเล ขลู่และผักบุ้งทะเล ป่าเบญจพรรณ พบบริเวณทั่วไป มีสภาพเป็นป่ารุ่นที่สอง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยาง เกด ประดู่ มะค่าแต้ มะค่าโมง พะยอม ตะเคียนทอง หว้า ดำดง ตะแบก ตะแบกกราย ขนาน ฝาง สะเดา ติ้ว อ้อยช้าง พืชพื้นล่างได้แก่ เข็มป่า ข่อย กระไดลิง เถาย่านาง ไผ่นวล ไผ่ป่า สาบเสือ หนามเล็บเหยี่ยว นมวัว หนามคณทา เปล้าน้อย หนามเกี่ยวไก่ ตะขบ ฯลฯ และ ป่าเขาหินปูน พบบริเวณเกาะจานและเกาะท้ายทรีย์ พันธุ์ไม้ที่พบเป็นไม้ขนาดเล็กและเจริญเติบโตช้า ได้แก่ สลัดได เป็นต้น สำหรับพันธุ์ไม้ที่ปลูกในพื้นที่สวนป่าเก่า ได้แก่ สนทะเล สะเดา งิ้ว นนทรี มะฮอกกานี กระถินณรงค์ ยูคาลิปตัส คูณ แสมสาร จามจุรี สัก และสีเสียดแก่น เป็นต้น

ด้วยสภาพพื้นที่ขนาดเล็กและเป็นป่าโปร่ง สัตว์ป่าที่พบมีจำนวนน้อยชนิด ส่วนใหญ่เป็นนกชนิดต่างๆ ได้แก่ ไก่ป่า นกเอี้ยงสาริกา นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกยางทะเล นกยางกรอก นกแซงแซวหางปลา นกแซงแซวหางบ่วง นกดุเหว่า นกตะขาบทุ่ง นกกระแตแต้แว้ด นกเอี้ยงสาริกา อีกา นกกางเขนบ้าน นกจาบคาเล็ก นกจาบคาหัวสีส้ม นกเขาใหญ่ นกเขาเปล้า นกปรอดสวน นกบั้งรอก นกกะปูด นกกระรางหัวหงอก นกเค้าแมว นกแอ่นบ้าน นกนางแอ่นกินรัง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ กระแต กระรอก อีเห็น กระต่ายป่า พังพอน ชะมดเช็ด สุนัขจิ้งจอก และเม่น สัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ ตะกวด แย้ งูเห่า งูกะปะ งูเหลือม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ได้แก่ กบ อึ่งอ่าง และเขียด และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่พบตามแนวชายหาด เช่น ปูลม ปูเสฉวน หอยทับทิม หอยเวียน หอยเจดีย์ เป็นต้น

อุทยานแห่งชาติหาดวนกรครอบคลุมพื้นน้ำประมาณ 15.36 ตารางกิโลเมตร สัตว์น้ำที่พบเป็นจำพวกปลาน้ำจืดได้แก่ ปลาดุก ปลาช่อน ปลาขาว ปลาหมอ ปลานิล และในส่วนของทรัพยากรใต้ทะเลจะพบปลากระบอก ปลาเก๋า ปลากะพง ปลาสีกุน ปลาสลิดหิน ฯลฯ ปะการัง กัลปังหา พบในบริเวณเกาะจานและเกาะท้ายทรีย์

อุทยานแห่งชาติหาดวนกร
หมู่ที่ 7 ต.ห้วยยาง อ. ทับสะแก จ. ประจวบคีรีขันธ์ 77130
โทรศัพท์ 0 3264 6290 (VoIP), 0 3261 9030 โทรสาร 0 3264 6290 อีเมล reserve@dnp.go.th


ขอบคุณข้อมูลดีดี จาก

//www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=55&lg=1

กรมอุทยานแห่งชาติกรมป่าไม้


..........

บ้านกรูด...




ตำนานแห่ง "ตำบลธงชัย" (บ้านกรูด)
สืบย้อนไปถึงสมัยพระเจ้าเอกาทศรถเมื่อคราวยกพลไปปราบพระยาตะนาวศรี
และพักชุมนุมพล พร้อมทำพิธี "ธงชัยเฉลิมพล" ณ บริเวณนี้ นับแต่นั้นมา ผู้
คนจึงกล่าวขาน พื้นที่นี้ว่า "บ้านธงชัย" ในราว ร.ศ. 113 หรือสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ยกฐานะอำเภอกำเนิด
นพคุณ และเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบางสะพาน ในปี
พ.ศ. 2460 บ้านธงชัยจึงเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอ
บางสะพาน และมีฐานะเป็นตำบล ปัจจุบันตำบลธง
ชัย แบ่งการปกครองเป็น 11 หมู่บ้าน ที่บ้านกรูด
มีครัวเรือนที่ประกอบอาชีพประมงไม่ต่ำกว่า 500 ครัวเรือน และมีเรือประมงที่ออกหาปลาบริเวณหน้า
อ่าวบ้านกรูดไม่ต่ำกว่า 300 ลำ ซึ่งในจำนวนนี้ยัง
ไม่ได้รวมถึงเรือประมงจากที่อื่นที่เข้ามาหาปลาใน บริเวณอ่าวบ้านกรูดอีกด้วย ชายหาดบ้านกรูดตลอดแนวเป็นพื้นที่หา "เคย" ของชาวบ้านทั้ง
ชาวสวน ชาวไร่ ชาว ประมง การหาเคยเป็นอาชีพเสริมของคนในบ้านกรูด นอกจากนี้ยังมี ชาวบ้านที่หาเคยเพื่อทำกะปิเก็บไว้กินเองตลอดปีด้วย ชาวไร่ที่ว่างจากงานไร่ก็มาช่วย ชาว
ประมงแกะกุ้งออกจากอวนกุ้ง โดยที่ชาวประมงก็จะให้ปลาที่ติดมากับอวนกุ้งนั้นเป็นสิ่งตอบ


แทนชาวบ้านที่มีอาชีพแกะเนื้อปูไปขายตามรีสอร์ท อาชีพรับซ่อมอวนขาด อาชีพเถ้าแก่รับปลาจากชาว
ประมงไปขายที่อื่น หรือ แม้กระทั่งเจ้าของรีสอร์ท
ก็อาศัยการมีปลาสดจากชาวประมงทุกวันมาทำอา
หาร ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวที่มาพักติดใจในความ
สดของอาหารทำให้มาเที่ยวที่บ้านกรูดบ่อยขึ้น ส่ง
ผลให้ชาวประมงมีรายได้เพิ่มขึ้นอีก เพราะรีสอร์ท
ที่มีมากกว่า 10 แห่งจะรับปลาจากชาวประมงบ้าน
กรูดอยู่เป็นประจำ นอกจากนี้แล้ว การท่องเที่ยวใน
บ้านกรูดที่กำลังได้รับความนินม ทำให้ชาวประมง
มีรายได้เสริม จากการให้บริการพาดำน้ำดูปะการัง
น้ำตื้นที่เกาะรำร่า หรือ บริการนำนักท่องเที่ยวออก
ตกปลาในช่วงกลางวันและตกหมึกในช่วงกลางคืน
ท้องทะเล...ที่ซึ่งชาวประมงสามารถ
เก็บเกี่ยวผลิตผลต่างๆ จากความอุดม
สมบูรณ์ตามธรรมชาติที่ไม่มีวันหมด
จึงทำให้ชาวประมง ผูกพันและหวง
แหน ไม่อยากให้ทรัพยากรเหล่านี้ถูก
ทำลายลงด้วยการกระทำที่รู้เท่าไม่ถึง
การณ์ของคนต่างถิ่นหรือพวกนายทุน
เช่นเดียวกับชาวบ้านที่หาดบ้านกรูด
ที่ต้องการจะรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมอันดี
นี้ไว้ ตราบนานเท่านาน...









เจ้าของบ้านเดินสายอีกแล้วนะครับ อิอิ...
เดินทางกลับมา เสาร์ที่ 12 นี้
จะรีบมาแปะรูปและอัพ บล็อคนะครับ



Create Date : 09 ธันวาคม 2552
Last Update : 9 ธันวาคม 2552 23:01:02 น.
Counter : 1976 Pageviews.

1 comments
  
รอดูอยู่นะคะ
โดย: auau_pi วันที่: 9 ธันวาคม 2552 เวลา:9:03:50 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

sananda
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




" HIDDEN="true" AUTOSTART="true"LOOP="2" MASTERSOUND>
ธันวาคม 2552

 
 
1
6
11
12
31
 
 
All Blog
Friends Blog
[Add sananda's blog to your weblog]
MY VIP Friend