<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
16 พฤศจิกายน 2554

วันที่โลกปราศจากน้ำแข็ง








เมื่อ56 ล้านปีก่อน การเพิ่มขึ้นอย่างเป็นปริศนาของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศส่งผลให้อุณหภูมิโลกพุ่งพรวด ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชั่วพริบตาของธรณีกาลนี้ทำให้สรรพชีวิตพลิกผันไปตลอดกาล

โลกเมื่อราว 56 ล้านปีก่อนผิดแผกจากโลกในปัจจุบัน มหาสมุทรแอตแลนติกยังไม่เปิดเต็มที่ และสรรพสัตว์ซึ่งอาจรวมถึงบรรพบุรุษไพรเมตของมนุษย์ สามารถเดินทางจากเอเชียผ่านยุโรปข้ามกรีนแลนด์ไปถึงอเมริกาเหนือได้ โดยไม่เห็นหิมะสักปุยเดียว กระทั่งก่อนหน้าช่วงเวลาดังกล่าว โลกก็อุ่นกว่าทุกวันนี้มากแล้ว แต่ในช่วงรอยต่อระหว่างสมัยพาลีโอซีนกับอีโอซีน โลกกลับอุ่นขึ้นมากอย่างรวดเร็ว

สาเหตุคือการปล่อยคาร์บอนครั้งใหญ่อย่างฉับพลันเมื่อเทียบกับธรณีกาล เพียงแต่ปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยขึ้นสู่บรรยากาศในช่วงความร้อนสูงสุดในสมัยพาลีโอซีน-อีโอซีนหรือพีอีทีเอ็ม (Paleocene-Eocene Thermal Maximum: PETM) ยังไม่แน่ชัด ประมาณคร่าว ๆ ว่าน่าจะสูสีกับการปล่อยคาร์บอนในปัจจุบันถ้ามนุษย์เผาถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก ช่วงพีอีทีเอ็มกินเวลายาวกว่า 150,000 ปี กระทั่งคาร์บอนส่วนเกินถูกดูดซับไปสิ้น ก่อให้เกิดภัยแล้ง อุทกภัย แมลงระบาด และสิ่งมีชีวิตบางชนิดสูญพันธุ์ไป แม้ชีวิตบนโลกยังอยู่รอดปลอดภัย ซ้ำยังเจริญงอกงามเสียด้วย แต่ก็เปลี่ยนโฉมหน้าไปอย่างลิบลับ ปัจจุบันผลกระทบทางวิวัฒนาการที่เกิดจากปรากฏการณ์คาร์บอนพุ่งสูงในครั้งนั้น พบเห็นได้รอบตัวเรา หรือจะว่าไปก็รวมถึงตัวเราด้วย และทุกวันนี้พวกเรากำลังทำให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเสียเอง

คาร์บอนทั้งหมดเหล่านั้นมาจากไหน เรารู้ว่าคาร์บอนส่วนเกินในบรรยากาศตอนนี้มาจากตัวเรา แต่เมื่อ 56 ล้านปีก่อนยังไม่มีมนุษย์ แล้วยิ่งไม่ต้องพูดถึงรถยนต์และโรงไฟฟ้า คาร์บอนพุ่งสูงช่วงพีอีทีเอ็มมีแหล่งที่มาที่เป็นไปได้หลายแหล่ง เป็นต้นว่าเกิดการระเบิดครั้งใหญ่ของภูเขาไฟหลายครั้งซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากตะกอนอินทรีย์ก้นสมุทรออกมา ไฟป่ายังอาจเผาผลาญตะกอนพีตในสมัยพาลีโอซีน หรือจะเป็นดาวหางยักษ์ที่พุ่งชนหินคาร์บอเนตจนเป็นสาเหตุของการปล่อยคาร์บอนปริมาณมหาศาลอย่างรวดเร็ว

สมมุติฐานเก่าแก่ที่สุดและยังคงเป็นที่ยอมรับมากที่สุดคือ คาร์บอนส่วนใหญ่มาจากตะกอนมหาศาลของมีเทนไฮเดรต ซึ่งเป็นสารประกอบประหลาดคล้ายน้ำแข็ง มีโมเลกุลของน้ำหลายโมเลกุลก่อตัวล้อมรอบโมเลกุลมีเทนเดี่ยว ๆ ไฮเดรตจะคงตัวที่ความดันสูงและอุณหภูมิต่ำในช่วงแคบ ๆเท่านั้น ทุกวันนี้เราพบตะกอนไฮเดรตปริมาณมากใต้เขตทุนดราของอาร์กติกและใต้พื้นสมุทร ในช่วงพีอีทีเอ็ม ความร้อนแรกเริ่มมาจากไหนสักแห่ง อาจเป็นภูเขาไฟหรือวงโคจรของโลกที่ปรวนแปรเล็กน้อยจนทำให้บางส่วนของโลกได้รับแสงอาทิตย์มากกว่าปกติ อาจส่งผลให้ไฮเดรตหลอมละลายจนโมเลกุลมีเทนหลุดจากวงล้อมของน้ำและลอยขึ้นสู่บรรยากาศ

สมมุติฐานดังกล่าวช่างน่าพรั่นพรึง ก๊าซมีเทนในบรรยากาศทำให้โลกร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึงกว่า 20 เท่าเมื่อเทียบโมเลกุลต่อโมเลกุล พอผ่านไป 10 ปีหรือ 20 ปี มันจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และทำให้โลกร้อนต่อไปอีกนาน นักวิทยา ศาสตร์หลายคนเตือนว่า ความร้อนจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลในยุคปัจจุบันอาจนำไปสู่การปล่อยก๊าซมีเทนครั้งใหญ่จากทะเลลึกและขั้วโลกเหนือ

ขณะที่มหาสมุทรดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งทำให้โลกร้อน น้ำทะเลก็กลายเป็นกรดมากขึ้นและจะเป็นเช่นนี้ต่อไปในศตวรรษหน้าเมื่อระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์พุ่งสูงอีกครั้ง หลักฐานนี้พบเห็นได้ในตะกอนใต้ทะเลลึกบางแห่งซึ่งบ่งชี้ถึงช่วงพีอีทีเอ็มอย่างชัดเจน

ในช่วงพีอีทีเอ็ม มหาสมุทรที่เป็นกรดจะละลายแคลเซียมคาร์บอเนตไปหมด พอถึงจุดนี้ เราอาจนึกถึงชะตากรรมที่ตามมาได้ไม่ยาก เมื่อน้ำทะเลที่เป็นกรดทำลายล้างสรรพชีวิตจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะการกัดกร่อนเปลือกและโครงสร้างหินปูนของปะการัง หอยกาบ และฟอแรม ซึ่งเป็นสภาพการณ์ที่นักวิทยาศาสตร์หลายคน ในปัจจุบันคาดว่าอาจเกิดขึ้นในศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด

หากพิจารณาระดับความเป็นกรดของมหาสมุทร นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่า การพุ่งสูงระลอกแรกน่าจะมีคาร์บอนราวสามล้านล้านตันเข้าสู่บรรยากาศ จากนั้นอีก 1.5 ล้านล้านตันจึงค่อย ๆ ปล่อยออกมา ปริมาณรวม 4.5 ล้านล้านตันนั้นใกล้เคียงกับปริมาณคาร์บอนทั้งหมดที่คาดการณ์กันในปัจจุบันว่าน่าจะกักเก็บอยู่ในแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีอยู่ในโลก การพุ่งสูงครั้งแรกสอดคล้องกับการปล่อยคาร์บอนของมนุษย์ในอัตราปัจจุบันเป็นเวลา 300 ปี ถึงแม้ข้อมูลจะไม่แน่นอน แต่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ก็สันนิษฐานว่า การปล่อยคาร์บอนในช่วงพีอีทีเอ็มนั้นเกิดขึ้นช้ากว่ามากโดยใช้เวลาหลายพันปี

ไม่ว่าการปล่อยคาร์บอนจะเร็วหรือช้า กระบวนการทางธรณีวิทยาต้องใช้เวลาในการกำจัดนานกว่ามาก ขณะที่คาร์บอเนตบนพื้นสมุทรละลายความเป็นกรดก็ลดลง มหาสมุทรจึงดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากขึ้น และภายในไม่กี่ร้อยปีหรือพันปีหลังการปล่อยคาร์บอนอย่างฉับพลัน ช่วงที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศมีปริมาณสูงสุดก็ผ่านไป ในเวลาเดียวกัน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายอยู่ในเม็ดฝนก็ชะล้างแคลเซียมจากหินและดินไหลลงสู่ทะเล ไปรวมกับคาร์บอเนตไอออนเพื่อสร้างแคลเซียมคาร์บอเนตเพิ่มขึ้น ฝนค่อย ๆ
ชะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนเกินในบรรยากาศและกลายเป็นหินปูนที่ก้นทะเลในที่สุด แล้วสภาพอากาศก็ค่อย ๆ กลับคืนสู่สภาวะก่อนหน้า




การเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลปลดปล่อยคาร์บอนกว่า 300,000 ล้านตัน นับตั้งแต่ศตวรรษที่สิบแปด นั่นอาจยังไม่ถึงหนึ่งในสิบของคาร์บอนที่กักเก็บอยู่ใต้ดินหรือคาร์บอนที่ปล่อยออกมาในช่วงพีอีทีเอ็ม ด้วยซ้ำ จริงอยู่ที่ว่า ช่วงเวลาอันไกลโพ้นนั้นไม่ได้ให้คำตอบว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตบนโลก ถ้าเราเลือกเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เหลือ เป็นไปได้ว่าอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงทางวิวัฒนาการอย่างขนานใหญ่ และเมื่อคำนึงถึงความกดดันอีกสารพัดที่มีต่อสิ่งมีชีวิตนั่นอาจทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ช่วงพีอีทีเอ็มแค่ช่วยให้เราประเมินทางเลือกที่มีอยู่เท่านั้น ช่วงเวลาหลายสิบล้านปีนับจากนี้ ไม่ว่าโฉมหน้าของมนุษยชาติจะเป็นอย่างไร รูปแบบของชีวิตทั้งหมดบนโลกอาจผิดแผกไปจากสิ่งที่ควรจะเป็นอย่างสิ้นเชิง เพียงเพราะวิธีในการเติมพลังงานเพื่อขับเคลื่อนชีวิตของเราในระยะเวลาเพียงไม่กี่ร้อยปี.

เรื่อง : โรเบิร์ต คุนซิก
ภาพ : ไอรา บล็อก

เรื่องโดยอินเตอร์เน็ท












Create Date : 16 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2554 22:51:13 น. 11 comments
Counter : 1396 Pageviews.  

 
น้ำจิท่วมโลกแล้วน้องบ๊อง


โดย: ขุนพลน้อยโค่วจง วันที่: 16 พฤศจิกายน 2554 เวลา:22:59:10 น.  

 
หลับฝันดีค่ะ




~กาพย์ฉบัง๑๖~

ฟ้าหม่นหมอกลอยสายไอ...............เงียบเหงาส่ายไหว
เห็นรอยไอรำบายเบา

ปรากฏพจน์ร่ายพราวเพลา.............หยาดน้ำซึมเนา
เห็นอักษรรางรางมา

ท่ามหยดน้ำเหมือนภูผา...................ให้ค้นและหา
ใครบางคนคอยแอบมอง

ในเมฆที่ดูเลื่อนล่อง.........................ช่างคล้ายใครจอง
ที่พร้อมชายชำเลืองแวว

เมฆลอยผ่านพลิ้วแพรว...................ยาวเรียงระแนว
เห็นเป็นใครโบกมือลา

หนาวเหน็บเริ่มเลื่อนทาบทา..............เหมือนอยู่ริมท่า
ก่อนจะลับสายเย็นเย็น


โดย: ญามี่ วันที่: 16 พฤศจิกายน 2554 เวลา:23:08:26 น.  

 
มารับความรู้ค่า น้องมี่

ฝันดีนะค่า
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ญามี่ Education Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: ลงสะพาน...เลี้ยวขวา วันที่: 17 พฤศจิกายน 2554 เวลา:4:32:18 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับน้องมี่

ข้อมูลน่ากลัวๆทั้งนั้นเลยนะครับ
ที่สุดแล้วเมื่อมนุษย์ทำลายธรรมชาติ
ธรรมชาติก็จะทำลายนุษย์เช่นกัน








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 พฤศจิกายน 2554 เวลา:5:23:54 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ค่ะ น้องมี่
ป่วยด้วยรบกะน้ำด้วย ปนๆกันไปค่ะ อิอิ มีความสุขมากมายนะคะ



โดย: mambymam วันที่: 17 พฤศจิกายน 2554 เวลา:8:09:07 น.  

 
สวัสดีสาย ๆ ค่ะ..^^




โดย: Lika ka วันที่: 17 พฤศจิกายน 2554 เวลา:9:33:48 น.  

 
สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถ กามนิปาตินํ
วิหญฺญติ จิตฺตวสานุวตฺตี

จิตนั้นเห็นได้แสนยาก ละเอียดอ่อนยิ่งนัก มักตกไปหาอารมณ์ใคร่
ผู้ประพฤติตามอำนาจจิต ย่อมเดือดร้อน

มีความสุขกับจิตที่ไม่กวัดแกว่าง ตลอดไป...นะคะ



ถ้าภาพดุ๊กดิ๊กได้ ป้าว่าคงจะน่ารักไปอีกแบบ..นะคะ

เรื่องภาวะโลกร้อนนี่
เห็นหลาย ๆ ประเทศพากันรณรงค์
แต่ก็ยังมีคนที่ไม่เห็นความสำคัญอยู่อีกมากเช่นกัน

โหวตตามสาขาที่บอกแล้ว...ค่ะ



โดย: พรหมญาณี วันที่: 17 พฤศจิกายน 2554 เวลา:11:26:35 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณมี่ ขอให้มีความสุขมากๆ นะค่ะ หน้าเวปทั้งสวย ทั้งน่ารัก เพลงก็เพราะ และบทกลอนที่แสนดี ชอบมากค่ะ เข้ามาแล้วทำให้ยิ้มได้มากเลย
ขอบคุณมากๆ นะค่ะ :)


โดย: Eng IP: 182.52.83.108 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2554 เวลา:12:30:26 น.  

 


โดย: ขอบคุณนะจ๊ะ (solodano ) วันที่: 17 พฤศจิกายน 2554 เวลา:16:26:49 น.  

 



More Flowers Wishes Comments


สวัสดียามค่ำคืนครับ


โดย: ก้อนเงิน วันที่: 17 พฤศจิกายน 2554 เวลา:20:07:20 น.  

 
หลับฝันดีนะคะ




โดย: ญามี่ วันที่: 17 พฤศจิกายน 2554 เวลา:23:33:10 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ญามี่
Location :
ภูเก็ต Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 260 คน [?]






อัพบล็อกครั้งแรก ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๑
free counters
who's online
คนพูดน้อยคิดบ่อยแต่ไม่เงียบ
ไร้ระเบียบเคลิ้มครุ่นอณูคุ้นฝัน
ไม่ประวิงหากทิ้งจักลืมวัน
พลัดผ่านพลันหากจากยากฝากคอย...











[Add ญามี่'s blog to your web]