<<
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
11 เมษายน 2556

เตือนเมนู “หมูดิบ” ฉลองสงกรานต์ เสี่ยงหูดับ-หนวก-ตาย!!








เตือนเหนือ-อีสาน ฉลองสงกรานต์ด้วยเมนู “ลาบหมูดิบ-แหนมหมูดิบ” เสี่ยงติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส ทำให้หูดับ หูหนวกถาวร บางรายซวยถึงขั้นตาย แนะคนทำงานกับหมูควรสวมถุงมือ คนขายเนื้อหมูระวังอย่าให้มีแผล และคนกินต้องปรุงสุกเท่านั้น


วันนี้ (11 เม.ย.) นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การเดินทางกลับภูมิลำเยาของประชาชนในช่วงสงกรานต์มักจะรับประทานอาหารประจำถิ่น อย่างภาคเหนือและภาคอีสานมักฉลองกันด้วย ลาบ หลู้ หมูดิบ คู่กับการดื่มเหล้า ซึ่งการรับประทานหมูดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ เป็นสาเหตุให้ป่วยเป็นโรคไข้หูดับและหูหนวกถาวร บางรายอาจถึงตาย ทั้งนี้ จังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคไข้หูดับสูง ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ตาก นครสวรรค์ นครพนม สกลนคร อุดรธานี และขอนแก่น จึงขอให้สงกรานต์นี้งดเมนูหมูสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะลาบหมูดิบ หลู้หมูดิบ และแหนมหมูดิบ เพื่อความปลอดภัยจากโรคไข้หูดับ


นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า โรคไข้หูดับเป็นโรคติดต่อจากหมูสู่คน โดยหมูที่มีเชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส ในระบบทางเดินหายใจ บางตัวอาจไม่แสดงอาการเจ็บป่วย ทั้งนี้ คนสามารถติดเชื้อจากหมูได้โดยการสัมผัสหมูที่มีเชื้อโรค โดยเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยถลอก ซึ่งกลุ่มเสี่ยงต่อการติดโรคทางผิวหนัง ได้แก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงหมู คนชำแหละหมู ผู้ตรวจเนื้อหมู สัตวแพทย์ ผู้ขายเนื้อหมู ผู้ทำงานในโรงงานฆ่าหมู เป็นต้น ส่วนคนทั่วไปสามารถติดโรคได้จากการรับประทานหมู เช่น เลือดหมูดิบ กึ่งสุกกึ่งดิบ หรือเนื้อหมูที่คิดว่าสุกจากการบีบมะนาว อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานการติดต่อจากคนสู่คน ส่วนระยะฝักตัวของโรคนี้สั้นมาก อยู่ที่ไม่กี่ชั่วโมง-3 วัน ขึ้นอยู่กับปริมาณของเชื้อและความแข็งแรงของแต่ละบุคคล ส่วนใหญ่ร้อยละ 85 ผู้ป่วยจะมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบคือ มีไข้ คอแข็ง สับสน ปวดศีรษะ มักมีอาการปวดหัวนำมาใน 1-2 วันแรก ผู้ป่วยร้อยละ 54-80 จะสูญเสียการได้ยิน (หูหนวกถาวร) ในรายที่รุนแรง อาจมีการติดเชื้อในกระแสโลหิต อวัยวะภายในอักเสบ มีจ้ำเลือดทั่วตัว ช็อก โรคนี้มีอัตราตายสูงถึงร้อยละ 13


ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนาสังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า การป้องกันโรคไข้หูดับ สำหรับผู้ที่ใกล้ชิดหมู หรือทำงานเกี่ยวกับหมู ควรหลีกเสี่ยงการสัมผัสหมูหรือซากหมูด้วยมือเปล่า ควรสวมถุงมือ ใส่รองเท้าที่หุ้มเท้า ใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และอาบน้ำ ชำระร่างกายทุกครั้งหลังสัมผัสหมู ส่วนผู้ค้าเนื้อหมู ต้องระวังอย่าให้มีบาดแผล หรือรอยถลอก บริเวณแขนและมือ ควรเลือกซื้อหมูจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐานมาขาย และเก็บเนื้อหมูไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส และที่สำคัญคือกลุ่มที่รับประทานหมู ควรเลือกซื้อหมูสด ไม่มีสีแดงคล้ำ หรือมีเลือดคลั่งมากๆ การปรุงควรนำเนื้อหมูมาปรุงสุกเท่านั้น ไม่ควรกินเนื้อหมู เลือด และอวัยวะภายในที่ดิบๆ หรือปรุงสุกๆดิบๆ และล้างมือด้วยสบู่ก่อนและหลังการสัมผัสเนื้อหรืออวัยวะของหมู โดยเฉพาะในบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผล







ข้อมูลโดย ASTVผู้จัดการออนไลน์











Create Date : 11 เมษายน 2556
Last Update : 13 เมษายน 2556 10:49:46 น. 1 comments
Counter : 2201 Pageviews.  

 



โดย: ญามี่ วันที่: 11 เมษายน 2556 เวลา:18:58:53 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ญามี่
Location :
ภูเก็ต Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 260 คน [?]






อัพบล็อกครั้งแรก ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๑
free counters
who's online
คนพูดน้อยคิดบ่อยแต่ไม่เงียบ
ไร้ระเบียบเคลิ้มครุ่นอณูคุ้นฝัน
ไม่ประวิงหากทิ้งจักลืมวัน
พลัดผ่านพลันหากจากยากฝากคอย...











[Add ญามี่'s blog to your web]