<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
12 พฤศจิกายน 2554

หิ่งห้อย





หิ่งห้อย (Lightning bug)

มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Luciola substriata (Gorh)
จัดเป็นแมลงพวก “ด้วง”
ทั่วโลกมีประมาณ 2,000 ชนิด
พบตามบริเวณแหล่งน้ำนิ่งทั่วไปในประเทศไทย...
ในตอนกลางคืนที่มืดสนิท เราสามารถมองเห็นแสงของหิ่งห้อย
ได้ไกลถึงหลายเมตร
และจะมองเห็นอย่างสวยงามมากขึ้นเมื่อ มองเห็นแสงจากฝูงหิ่งห้อย




หิ่งห้อยนั้นมีลำตัวยาว
ตั้งแต่ 2-25 มิลิเมตร
ลำตัวของมันเป็นรูปทรงกระบอก
อวัยวะที่มามารถเปล่งแสงได้ของมัน
อยู่ที่ส่วนล่างตอนท้ายของลำตัว


หิ่งห้อยจักเป็นแมลงในวงศ์ Lampyridae อันดับ Coleptera
หิ่งห้อยสามารถกะพริบแสงได้ทั้งตัวผู้และตัวเมีย

หิ่งห้อยขยายพันธ์ โดยการว่างไข่เป็นฟองเดียวหรือเป็นกลุ่มก็ได้
เมื่อไข่ฝักเป็นตัว 4-5 วัน จึงเข้าเป็นดักแด้
แล้วออกมาเป็นตัวเต็มวัย

วงจรชีวิตของ หิ่งห้อยใช้เวลาทั้งสิ้น 3-12 เดือนแล้วแต่ชนิดของหิ่งห้อย

นักชีววิทยาประมาณว่า โลกนี้มีหิ่งห้อยราว 2,000 ชนิด
ยกตัวอย่างเช่น โพทูรัสไพราลิส และพีเฟนชิลวานิคัส
เป็นแมลงที่พบ ทั่วไปทั่ว เอเชีย ยุโรป และอเมริกา
หิ่งห้อยเป็นแมลงที่ ชอบออกหากินในเวลากลางคืน
และหลบซ้อนตัวในเวลากลางวัน เหมือนค้างคาว
ดังนั้นเราจึงเห็นหิ่งห้อยกะพริบแสง ในเวลากลางคืนเป็นส่วนใหญ่
ส่วนใหญ่หิ่งห้อยอาศัยอยู่ตามพุ่มไม้
หรือตามพื้นที่ชุ่มชื้นใกล้หนองน้ำ หรือลำธารที่มีน้ำใสสะอาด
และที่สำคัญตรงนั้นต้องเป็นน้ำนิ่ง
ตลอดจนบริเวณป่าโกงกาง ชายฝั่งทะเล




ในระยะตัวเต็มวัยหิ่งห้อยมักเกาะอยู่ตามต้นลำพู
และต้นลำแพนโพทะเล ต้นฝาก ต้นแสม ต้นสาคู และต้นเหงือกปลาหมอ
โดยเฉพะป่าชายเลน ที่มีแหล่งอาหารสมบูรณ์
ชาวบ้านมักจะเรียกต้นไม้ที่มีหิ่งห้อยเกาะว่า " โกงกางหิ่งห้อย ''
หิ่งห้อยที่เราเห็นบินวอนตามพุ่มไม้ส่วนใหญ่มักเป็นตัวผู้
ส่วนหิ่งห้อยตัวเมียนั้น ชอบเกาะนิ่งตามกิ่งไม้

จากการที่หิ่งห้อย ชอบอาศัยตามแหล่งน้ำที่สะอาด
ในช่วงวัยที่เป็นหนอนหิ่งห้อย
ทำให้หิ่งห้อยเป็นตัวที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์
หรือ เสื่อมโทรมของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี


หิ่งห้อสายพันธุ์ ลูซิโอลา อควอติลิส (Luciola aquatilis)
จะมีความพิเศษกว่าชนิดอื่นคือ
ในระยะตัวหนอนจะมีรูปร่างและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ถึงสามแบบ
มันยังกะพริบแสงมีทั้งสีเหลือง เหลืองอำพัน และสีเขียว
ขณะที่หิ่งห้อยชนิดอื่นมีรูปร่างเพียงแบบเดียวเท่านั้น

การที่พวกมันกะพริบแสงในยามค่ำคืน
ก็เพื่อส่งสัญญาณ “ถ่ายทอดภาษารัก”
ที่มีด้วยกันถึงสี่แบบ
ขณะที่สายพันธุ์ในแถบยุโรปและอเมริกา
จะกะพริบแสงเพียงแบบเดียว
สำหรับพฤติกรรมการจับคู่ผสมพันธุ์
แบ่งออกเป็น
ช่วงแต่งตัว โดยที่ตัวผู้ ซึ่งมีปล้องเรืองแสง 2 ปล้อง
จะทำความสะอาดร่างกาย ด้วยการกระพือปีก
บิดก้นไปมาเพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกาย
พร้อมกะพริบแสงถี่เป็นจังหวะ
อย่างต่อเนื่องเร็วและถี่มากขึ้น
เพื่อเรียกร้องความสนใจ
และรอให้ หิ่งห้อยเพศเมีย
ที่มีเพียงปล้องเดียวกะพริบตอบ


จากนั้น...จะเข้าใกล้และขี่หลังตัวเมียเพื่อจับจอง
พร้อมทั้งเริ่มกะพริบแสงช้าลง ซึ่งเป็น ช่วงที่เกี้ยวพาราสี
ท้ายสุดก็คือ ช่วงผสมพันธุ์ เป็นระยะที่มีการกะพริบแสงสว่างมาก
และ จังหวะมืดนานเพื่อเตือนภัย

เพราะในช่วงผสมพันธุ์ หิ่งห้อยจะหยุดกะพริบแสง
และจะกะพริบแสงขึ้นต่อเมื่อมีสิ่งภายนอกมารบกวน
หรือมีหิ่งห้อยตัวผู้ตัวอื่นอยู่บริเวณใกล้เคียง

เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ ตัวเมียจะเริ่มบินหาผืนน้ำที่เงียบสงบ
เพื่อออกไข่ครั้งละ 470-640 ฟอง
ใช้ เวลาเพียงไม่กี่วัน จะเข้าสู่วัยที่เป็นตัวหนอน
ในช่วงนี้จะอาศัยอยู่ใต้น้ำกินหอยเป็นอาหาร
กระทั่งเข้าสู่ตัวหนอนระยะสุดท้ายจึงคืบคลานขึ้นบก
มาเป็นระยะดักแด้ใต้พื้นดิน และเจริญเป็นตัวเต็มวัย
ซึ่งทั้งหมดจะใช้เวลา 3-5 เดือน

และกลับมาสู่วงจรชีวิตเจ้าแมลงที่สร้างมนต์เสน่ห์แห่งท้องน้ำต่อไป.

นักชีววิทยาเรียกแสงของหิ่งห้อยว่าแสงเย็น (cold light)
ทั้งนี้เพราะ กระบวนการปล่อยแสงจากตัวหิ่งห้อย
ให้ความร้อนไม่มากตามปกติหลอดไฟทั่วไป
เวลลารับกระแสไฟมันจะแปลงไฟฟ้า 90%
ของพลังงานไฟฟ้าที่ได้รับเป็นพลังงานความร้อน
และแปลงพลังงาน 10% ที่เหลือเป็นแสงสว่าง
ดังนั้น เวลาที่เราเปิดไฟทิ้งไว้เป็นเวลานาน ๆ หลอดไฟจึงร้อน

แต่ในกรณีหิ่งห้อยมันแปลง 90% ของพลังงานเคมีในร่างกายเป็นแสง
แสงพลังงานอีก 10% ที่เหมือนเป็นพลังงานความร้อน
ดังนั้นอุณหภูมิของหิ่งห้อยจึงไม่สูง


คุณสมบัติของหิ่งห้อย

( มนุษย์ต้องประดิษฐ์หลอดไฟให้แสงสว่าง แต่หิ่งห้อยนั้นสามารถเปล่งแสงได้ด้วยตัวมันเอง)

1. แสงของหิ่งห้อยนั้น มีระดับแสงที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้
และมีลักษณะเป็นแสงเย็น ซึ่งมีพลังงานความร้อนเกิดขึ้นเพียง 10%
จึงต่างจากหลอดไฟทั่วไปที่ปล่อยพลังงานความร้อนออกมาถึง 95%
จึงได้มีผู้ที่พยายามศึกษาปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในหิ่งห้อย
เพื่อออกแบบการผลิตแสง ที่ไม่สิ้นเปลืองขึ้นมาใช้ในอนาคต

2. หิ่งห้อยจะมีการกะพริบแสงทุก ๆ 24 ชั่วโมง
เหมือนมันมีนาฬิกาใจในตัว
เพราะเวลาที่เรานำหิ่งห้อยมาขังไว้ในห้องมืดที่ไม่มีแสงเลย
ก็จะเห็นว่า ในทุก ๆ 24 ชั่วโมงมันจะกะพริบแสง
ทั้ง ๆ ที่มันไม่รู้เลยว่า ขนาดนั้นเป็นเวลาอะไร

3. หิ่งห้อยมีเซลล์ สองเซลล์ที่ใช้ในการสื่อสารซึ่งมีสองเซลล์คือ
เซลล์ประสาท (octopamine) และเซลล์แสง (phtocyte)
ซึ่งสามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารกันด้วยแก๊ส No
ซึ่งในตัวหิ่งห้อยก็มีอยู่เช่นเดียวกัน
เพื่อจะได้ติดต่อสื่อสารกับตัวอื่น ๆได้

... 4. แสงจากหิ่งห้อยสามารถใช้
เป็นตะเกียง ให้แสงสว่างได้
เพราะในอดีตคนจีนโบราณ
และคนบราซิลที่ยากจน
มักจะจับหิ่งห้อยใส่ในขวดแก้ว
เพื่อใช้เป็นตะเกียง
พบว่าหิ่งห้อยที่โตเต็มที่ประมาณ 6 ตัว
สามารถให้แสงสว่างที่เพียงพอ
เหมาะสำหรับการอ่านหนังสือ
ในเวลากลางคืนได้
คนญี่ปุ่นในสมัยก่อนก็นิยมใช้
ตะเกียงหิ่งห้อยเช่นเดียวกัน

5. นอกจากจะนำมาใช้เป็นตะเกียงแล้ว
ชาวบ้านที่ยากจน ก็นิยมจับหิ่งห้อยมาใส่กรงกระดาษเล็ก ๆ
เพื่อนำมาติดเป็นตุ้มหู

หิ่งห้อย แมลงของโลก "สมเด็จพระราชินี"ให้ศึกษา-อนุรักษ์


อังศุมาลินและโกโบริ เป็นตัวละครที่โด่งดัง
จากวรรณกรรมอมตะเรื่อง คู่กรรม
ของนักประพันธ์นามกระเดื่อง ทมยันตี
และคงไม่ปฏิเสธว่า ต้นลำพู และ หิ่งห้อย ตัวน้อย
เป็นหนึ่งในสีสันที่ส่งให้เนื้อหามีอรรถรสยิ่งขึ้น

ต้นลำพูและหิ่งห้อยอยู่ตามป่าชายเลน
ริมฝั่งน้ำแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม
หรือ จ.สมุทรสาคร ซึ่งเป็นที่ตั้งของอู่ต่อเรือ
กองทัพทหารญี่ปุ่นสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2
ที่ทำให้โกโบริและอังศุมารินมีโอกาสพบเจอกัน

ในความเป็นจริงมิได้เป็นเช่นนั้น..

"ดร.วีระชัย ณ นคร" ผู้อำนวยการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ เล่าว่า
เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2539 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
เสด็จพระราชดำเนินเปิดโครงการจัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

โดยระหว่างเสด็จลงสวนด้านหน้าน้ำตกแม่สาน้อย
เพื่อเสวยพระสุธารสในช่วงพลบค่ำนั้น
ได้ปรากฏแสงเรืองรองระยิบระยับวับวาวเคลื่อนไหวในความมืดอย่างสวยงาม

รับสั่งว่า แถวนี้ไม่มีต้นลำพูทำไมมีหิ่งห้อยอยู่ได้
แต่ไม่มีคำตอบจากเหล่านักวิชาการที่เฝ้าฯรับเสด็จ
จึงรับสั่งต่อไปอีกว่า มีทั้งตัวเล็ก ตัวใหญ่ แล้วหิ่งห้อยมีกี่ชนิด ...เงียบ...
จึงมีพระราชเสาวนีย์ต่อ ดร.สง่า สรรพศรี
ประธานคณะกรรมการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ และ ดร.วีระชัยความว่า...

"หิ่งห้อยเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความสมบูรณ์ของป่าและธรรมชาติ
ให้สวนพฤกษศาสตร์ทำการศึกษาความสัมพันธ์ของพรรณไม้ป่า
กับหิ่งห้อยให้ได้ทราบครบวงจรชีพจักรชีวิต"

จึงเป็นที่มาของ "โครงการศึกษาความหลากหลายและนิเวศวิทยา
ของหิ่งห้อยในประเทศไทยในพระราชดำริ"
โดยสวนพฤกษศาสตร์ได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญสาขากีฏวิทยา
จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศมาช่วยกันสำรวจและศึกษาวิจัยสนองพระราชประสงค์

ดร.วีระชัยบอกว่า ตอนแรกเรารู้จักหิ่งห้อยเพียง 10 ชนิดเท่านั้น
เพราะข้อมูลมีน้อยมาก บทความในสยามสมาคมโดย T.F.Morison ระบุว่า
หิ่งห้อยตัวแรกในไทยได้รับการจำแนกชื่อวิทยาศาสตร์ โดย G.E.Brugant
ได้แก่ชนิด Luciola substriata (Gorh.)
เก็บตัวอย่างโดย พ.ต.W.R.S.Ladell นายทหารอังกฤษประจำประเทศไทย
เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2472

และต่อมามีผู้เชี่ยวชาญหิ่งห้อยระดับโลกแห่งมหาวิทยาลัยฟลอริด้า สหรัฐอเมริกา
เข้ามาสำรวจพบหิ่งห้อย 5 ชนิด บริเวณลุ่มน้ำแม่กลอง
จ.สมุทรสงคราม และ จ.สมุทรสาคร ป่าลำพู จ.สมุทรสงคราม


"หิ่งห้อย" มีชื่อเรียกหลากหลายตามถิ่นที่อยู่
เช่น แมงแสง หรือ แมงคาเรือง บางถิ่นในภาคอีสานเรียกว่า แมงทิ้งถ่วง
เพราะชอบชุมนุมที่ต้นไม้ขนาดใหญ่ชื่อต้นทิ้งถ่อน
แต่บางท้องที่เรียกว่า หนอนกระสือ เพราะลักษณะตัวอ่อนที่เรืองแสงได้

ส่วนสีของแสงหิ่งห้อยจะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์
ส่วนใหญ่ได้แก่ สีเหลืองอมเขียว สีเหลือง หรือสีเหลืองอมส้ม
การกะพริบแสงมีประโยชน์เพื่อสื่อสารในการผสมพันธุ์

ปัจจุบันนักกีฏวิทยาในโครงการสามารถเก็บตัวอย่างหิ่งห้อย
จาก 36 จังหวัดทั่วประเทศได้กว่า 100 ชนิด
และกำลังตรวจสอบเอกลักษณ์เพื่อคัดแยกชนิดให้แน่ชัด

เพราะบางพื้นที่บางตัวอาจซ้ำกันจึงคาดว่าในไทย
น่าจะมีหิ่งห้อยราว 60-70 ชนิด จากกว่า 2,000 ชนิดทั่วโลก
ซึ่งกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย
อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง จากระดับน้ำทะเลจนถึงยอดเขาสูง
ยกเว้นแถบทะเลทรายและอเมริกาใต้ที่ยังไม่มีรายงานการศึกษาอย่างจริงจัง

"นักกีฏวิทยาต้องการศึกษาว่าหิ่งห้อยของไทยมีกี่ชนิด
โดยเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านเช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม
สิงคโปร์ และญี่ปุ่น หากพบว่าไม่เหมือนกันก็คือชนิดใหม่
ขณะนี้ความก้าวหน้าเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป
เพราะนักกีฏวิทยาเรามีน้อย จึงต้องประสานความร่วมมือกับนักกีฏวิทยาจากทั่วโลก"

นี่จึงเป็นที่มาของการประชุมนานาชาติ "หิ่งห้อย"
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ณ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้สนใจเรื่องหิ่งห้อยได้พบปะ
แลกเปลี่ยนผลงานวิจัยและข้อมูลพื้นฐาน
ตลอดจนสร้างเครือข่ายงานศึกษาวิจัยร่วมกันในอนาคต
ครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกเข้าร่วมประชุมจำนวนมาก
อาทิ สหรัฐอเมริกา เกาหลี รัสเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย
ออสเตรเลีย ศรีลังกา สวิสเซอร์แลนด์ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน
อังกฤษ โปรตุเกส และเบลเยียม


นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญยังมีโอกาสชื่นชมหิ่งห้อยภูเขา
ในป่าธรรมชาติสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าฯ แล้ว
ยังพายเรือชมหิ่งห้อยน้ำกร่อย ที่บ้านลมทวน จ.สมุทรสงคราม
เพื่อศึกษาวงจรชีวิตหิ่งห้อย พร้อมชมวิถีชีวิตชุมชนป่าชายเลน
ที่อาศัยอยู่ร่วมกับสัตว์ตัวเล็กๆ ที่มีคุณค่าตั้งแต่แรกเกิด


วงจรชีวิตของสัตว์ตัวน้อยนี้ไม่ได้ยาวนานนัก
โดยจะเริ่มจาก ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และโตเต็มวัย

เมื่อหิ่งห้อยโตเต็มวัยผสมพันธุ์แล้ว
จะวางไข่ใต้ผิวดินลึก 1-2 ซม.
ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 10-14 วัน
ตัวอ่อนเจริญเติบโตและลอกคราบเป็นระยะ
จนถึงระยะฟักตัวก่อนเข้าดักแด้
จะขุดดินเป็นโพรงเพื่อพักตัวอยู่ภายใน
โดยกินอาหารประเภทไส้เดือน
หอยน้ำจืด หอยทาก
หลังจากนั้นจะหยุดกินอาหารและการเคลื่อนไหว
เพื่อเข้าสู่ระยะดักแด้ 7-14 วัน
ก่อนที่จะลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย
และขุดดินออกมาสู่โลกภายนอก
ซึ่งมีอายุไม่เกิน 2 สัปดาห์เท่านั้น...


จึงมีความจำเป็นต้องเพาะเลี้ยงและอนุรักษ์หิ่งห้อยไว้ก่อนที่จะสูญพันธุ์
เพราะหิ่งห้อยคือตัวบ่งชี้ความสมบูรณ์หรือความเสื่อมโทรม
ของระบบนิเวศและสภาวะแวดล้อมในพื้นที่

หิ่งห้อยเป็นศัตรูธรรมชาติของหอยทากและแมลงศัตรูพืช
รวมทั้งหอยที่เป็นพาหะนำโรคพยาธิใบไม้ตับ
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบมาสู่มนุษย์และสัตว์
ที่สำคัญงานศึกษาวิจัยทางพันธุวิศวกรรมศาสตร์

สามารถใช้สาร Luciferin ที่สกัดจากอวัยวะผลิตแสงของหิ่งห้อย
มาทำเป็น marker เพื่อแสดงผลว่าการตัดต่อสารพันธุกรรมหรือยีน
ว่าประสบผลสำเร็จหรือไม่
หรือนำไปทำเป็นกล้องส่องทางไกล
กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้งานเรืองแสงในเวลากลางคืน
ในอวกาศ หรือใต้ทะเล ตลอดจนนำไปทำเครื่องให้แสงสว่างในถ้ำ

ดร.วีระชัยเล่าถึงแสงเรืองของหิ่งห้อยว่า
การกะพริบแสงของหิ่งห้อยจะแตกต่างกัน มีกะพริบนานๆ ถี่ๆ
และตัวผู้กับตัวเมียจะจูนคลื่นเข้าหากันได้
หากสังเกตจะพบว่าทั้งสองตัวจะค่อยๆ กะพริบ
จนแสงสม่ำเสมอไปพร้อมๆ กัน เป็นจังหวะอย่างสวยงาม

แต่ในทางกลับกันหิ่งห้อยตัวใหญ่จะกะพริบแสง
ให้หิ่งห้อยตัวเล็กบินเข้ามาหาเพื่อกินเป็นอาหาร
เข้าตำราสัตว์ใหญ่กินสัตว์เล็ก...

"มีเรื่องเล่าเป็นบันทึกรักริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาว่า
หิ่งห้อยนับร้อยนับพันตัวกะพริบแสงแข่งกันเป็นคลื่นสวยงาม
สร้างบรรยากาศให้คู่รักสมหวังกันไปหลายคู่
เพราะอิทธิพลของเจ้าตัวเล็กเรืองแสงที่ชอบออกมาหากินในเวลากลางคืน
ตามชายฝั่งทะเลที่มีป่าโกงกางหรือป่าชายเลน
สร้างความประทับใจจนนำไปสู่หิ่งห้อยกับการท่องเที่ยวในปัจจุบัน"

แหล่งใหญ่สำหรับการเที่ยวชมหิ่งห้อยในยามพลบค่ำของเมืองไทย
หนีไม่พ้น อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
ที่ผ่านมามีการจัดนำเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้วยการนั่งเรือพาย
ชมหิ่งห้อยแบบเรียบง่าย ท่ามกลางสายลมเย็นยามพลบค่ำ
แต่เมื่อเป็นที่รู้จักมากขึ้น เกิดการตื่นตัว
และยกระดับเป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

"รสบัสขนาดใหญ่ขนคนมาจำนวนมาก จากเรือพายธรรมดา
ก็กลายเป็นเรือใหญ่ เรือเร็ว มีรีสอร์ทขึ้นรองรับ
ใช้ไฟส่องสว่างแรงสูง พานักท่องเที่ยวเข้ามาชมหิ่งห้อยในคืนเดือนมืด
ทุกอย่างต้องรวดเร็วทำเวลา เกิดเสียงดังและควันดำ
เป็นการทำลายการอนุรักษ์หมดสิ้น
เพราะชาวบ้านเบื่อหน่ายจึงตัดต้นลำพูทิ้งส่งผลต่อวงจรชีวิตของหิ่งห้อย"

กลายเป็นปัญหารุนแรงที่ภาครัฐต้องเร่งแก้ไข
เพราะจำนวนหิ่งห้อยลดลงอย่างฮวบฮาบถึง 9 ใน 10 ส่วน
จึงควรมีคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาพัฒนาการท่องเที่ยว
ให้เป็นระบบการท่องเที่ยวที่ถูกวิธี
แทนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ทำลายธรรมชาติอย่างสิ้นเชิงลง

ดร.วีระชัยบอกว่า หากเทียบกับอุทยานหิ่งห้อยกัมปงกวนตัน
มลรัฐสลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย
ที่นั่นนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก
มีระบบการจัดการที่ดีมาก
โดยชุมชนในพื้นที่ห้ามเรือใหญ่เข้าอย่างเด็ดขาด
มีการปลูกต้นลำพูและต้นไม้ชนิดอื่นๆ
สร้างภูมิทัศน์ริมคลอง มีเรือพายแบบเรือสำปั้นของไทย
ให้บริการสองรอบในช่วงค่ำ
เพื่อให้นักท่องเที่ยวใช้เวลาชื่นชม
เจ้าหิ่งห้อยตัวน้อยเต้นระบำแข่งกับแสงดาวราว 30-45 นาที
ท่ามกลางความเงียบสงบตามธรรมชาติอย่างแท้จริง

ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย
จึงมีส่วนอย่างมากในการกระตุ้นจิตสำนึกเยาวชนและประชาชนทั่วไป
ให้ตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์หิ่งห้อยและต้นลำพูให้อยู่..คู่กัน..

เป็นความสมดุลย์ทางธรรมชาติ และคงไว้ซึ่งจินตนาการ
ของผู้อ่านวรรณกรรม...คู่กรรม...ที่เลื่องชื่อของไทย






นิทานหิ่งห้อย

เด็กน้อยได้ยิ่งเรื่องราวกล่าวขานมานาน
หากใครได้จับหิ่งห้อยมาเก็บเอาไว้ใต้หมอน
นอนคืนนั้นจะฝันดี ฝันเห็นดวงดาวมากมาย
ฝันเห็นเจ้าชายเจ้าหญิง ฝันแสนสวยงาม
เด็กน้อยนั่งตักคุณยายไต่ถามความจริง
ยายยิ้มกินหมากหนึ่งคำไม่ตอบอะไรส่ายหัว
ใจเด็กน้อยอยากเห็นจริงอยากเห็นดวงดาวมากมาย
อยากเห็นเจ้าชายเจ้าหญิง อยากฝันสวยงาม
หิงห้อยนับร้อยนับพัน
ส่องแสงระยิบระยับกัน สว่างไสวไปทั้งต้นลำพู
เด็กน้อยแอบออกมา ไล่คว้าแสงน้อยมาดู
ใส่ไว้ในกล่องงามหรู ซ่อนไว้ใต้หมอนแล้วนอนคอยฝันดี
ตื่นเช้าพอได้ลืมตามองเห็นคุณยาย
มาแกล้งถามว่าเจอะอะไร สนุกแค่ไหนที่ฝัน
ใจเด็กน้อยจึงทบทวน ไมฝันเห็นอะไรมากมาย
รีบค้นเร็วไวใต้หมอนเปิดฝานั้นดู
หิงห้อยในกล่องตอนนี้เหมือนหนอนตัวหนึ่ง
ไม่สวยดังซึ่งตอนอยู่ใต้ต้นลำพูส่องแสง
ยายจึงยิ้มแล้วสอนตาม จะมองเห็นความงามที่จริง
อย่าขังความจริงไม่เห็น อย่าขังความงาม
หิ่งห้อยนับร้อยนับพัน
ส่องแสงระยิบระยับกัน สว่างไสวไปทั้งต้นลำพู
เด็กน้อยถือกล่องออกมา เปิดฝาแล้วแง้มมองดู
หนอนน้อยในกล่องงามหรู ก็เปล่งแสงสุกใสบินไปรวมกัน
เด็กน้อยนอนหลับสบายอมยิ้มละไม
ใต้หมอนไม่มีกล่องอะไร ไม่มีสิ่งใดๆถูกขัง
นอนคืนนั้นจึงฝันดี ฝันเห็นดวงดาวมากมาย
ฝันเห็นเจ้าชายเจ้าหญิงฝันแสนสวยงาม




คืนค่ำกับเวิ้งว้างท่ามรางเงียบ
หนาวสายเฉียบโชยผ่านว่าขานหมาย
ระบำเพลิงกระจายไกลเห็นไหวประกาย
ก่อนวับหายยามใกล้เงาไม้ทอ

หรีดหริ่งเรไรเริงร่าเบิ่งร้อง
แสงหนึ่งล่องราตรีร่ายกวีต่อ
บรรเลงไพรเนิ่นนานสำราญคลอ
เสียงใบไม้รอโชยระชวยโบยลง

หิ่งห้อยน้อยบินมาหรรษาชื่น
ท่ามค่ำคืนเรื่อยลมมาพรมหลง
ถวิลเจื้อยแจ้วพร้อยแพร้วเห็นแวววง
สุดพิศวงดุจวิมานประทานมา

ดาวพราวส่องฟ้าวิจิตรมาผลิตเวิ้ง
ประหนึ่งใจกระเจิดกระเจิงเห็นเพลิงพร่า
เสียงน้ำค้างวังเวงเกิดเพลงลา
ฝุ่นทรายมาบดบังให้นั่งเมียง

มองหิ่งห้อยแวดไฟคลาไคลนึก
ให้รู้สึกเวลาปริศนาเยี่ยง
หิ่งห้อยนั้นปัญหายามมาเคียง
ก็ให้เรียงสงสารขนานชม...

......................................โดย ญามี่///...




เรื่องโดยอินเตอร์เน็ท












Create Date : 12 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2554 23:07:16 น. 18 comments
Counter : 3867 Pageviews.  

 
มารับความรู้ใส่หมองค่า น้องมี่
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ญามี่ Education Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: ลงสะพาน...เลี้ยวขวา วันที่: 12 พฤศจิกายน 2554 เวลา:1:05:38 น.  

 
หิ่งห้อยเดี๋ยวนี้หาดูยากแล้วจิน้องบ๊อง
ดึก ๆ แย้วนอนได้แล้ว ฝันดีจ่ะ


โดย: ขุนพลน้อยโค่วจง วันที่: 12 พฤศจิกายน 2554 เวลา:1:07:29 น.  

 


เอาหมูผัดพริกสามอย่าง มาเสริ์ฟเจ้าค่า ไปหุงข้าวเองน่ะ 55555555555


โดย: ลงสะพาน...เลี้ยวขวา วันที่: 12 พฤศจิกายน 2554 เวลา:1:34:36 น.  

 


โดย: maramba1 วันที่: 12 พฤศจิกายน 2554 เวลา:1:52:21 น.  

 


วันนี้มาบ้านคุณมี่ ได้ความรู้เรื่องเจ้าหิ่งห้อยเพิ่มขึ้นเยอะเลยค่ะ
แถวบ้านก็มีหิ่งห้อยค่ะ แต่น้อยมาก

ญามี่ Education Blog ดู Blog

หลับฝันดีนะคะ


โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 12 พฤศจิกายน 2554 เวลา:4:01:57 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ค่ะ น้องมี่
ตอนเด็กๆเห็นหิ่งห้อยบ่อยมาก แถวบ้านพอจะมีบ้าง ชอบดูมากเลยค่ะ เห็นแล้วตื่นเต้นกันใหญ่ว่าแสงไฟอะไรหนอแว๊บๆ
เด๋วนี้ไม่เคยเห็นเลย ไหไหนกันหมดก็ไม่รู้ คิดถึงเหมือนกันนะ




โดย: mambymam วันที่: 12 พฤศจิกายน 2554 เวลา:6:13:03 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับน้องมี่

นับวันจะยิ่งหาดูได้ยากแล้วนะครับ










โดย: กะว่าก๋า วันที่: 12 พฤศจิกายน 2554 เวลา:6:46:59 น.  

 








อรุณสวัสดิ์เช้าวันเสาร์ค่ะ น้องญามี่ หิ่งห้อยเป็นสัตว์ที่มีแสงในตัว เวลาอยู่กันเป็นฝูงเป็นภาพที่น่าดูมากเลยค่ะ


โดย: KeRiDa วันที่: 12 พฤศจิกายน 2554 เวลา:8:16:52 น.  

 
หิ่งห้อยสมัยนี้หาดูได้ยากแล้วนะน้องมี่


โดย: Roseshadow วันที่: 12 พฤศจิกายน 2554 เวลา:10:39:56 น.  

 
..แวะมาเติมความรู้เรื่องหิ่งห้อย

พี่ว่าเค้าเป็นแมลงที่น่าทึ่งมากนะคะ

และก็โรแมนติคมาก


โดย: Calla Lily วันที่: 12 พฤศจิกายน 2554 เวลา:11:15:03 น.  

 

 
~กาพย์ฉบัง๑๖~


ราตรีหิ่งห้อยระนาว........................พริ้งเวหาหาว
แสงสีโสมพร่างพรายเวียน

เรไรหรีดหริ่งร่ายเขียน.....................ลำนำร้อยเพียร
มนต์เห่กล่อมวังเวงโหม

เย็นเยียบค่อยเลียบเข้าประโลม........คืนคร่ำคล้ายประโคม
ผ่านงามชื่นภิรมย์ในทรวง

ดาริกาคล้อยเข้าสรวง....................วาววับดันดวง
นูนเด่นพรายพริ้งแถลงแสง

บุหลันเลื่อนมาพจนารถแฝง............ราวพรายหนึ่งแสดง
อำนาจเหนือมวลดารา

โลกมิอาจกล่าววาจา.......................แม้นใจฉันทา
ยังเฉื่อยเฉยไร้นัยความ

จึ่งพาหิ่งห้อยละเลิงตาม...................หลงใหลคืนยาม
อวดแสงร่ายร้อยราตรี

สวัสดีวันเสาร์ที่แดดจัดๆค่ะ




โดย: ญามี่ วันที่: 12 พฤศจิกายน 2554 เวลา:15:37:16 น.  

 
แวะมาทักทายน้องมี่อีกรอบตอนเย็น
เพิ่งเห็นภาพในกล่องคอมเม้นท์
เป็นการ์ตูนที่เศร้ามกาเลยนะครับ
พี่ก๋าดูรอบเดียวน้ำตาคลอเลย



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 12 พฤศจิกายน 2554 เวลา:16:37:34 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณมี่
เอารถออฟโรดมาฝาก



โดย: pantawan วันที่: 12 พฤศจิกายน 2554 เวลา:16:38:35 น.  

 
พี่ชอบหิ่งห้อยมากค่ะ ได้เห็นตัวจริง ๆ ของมันก็ตอนแก่แล้ว ชอบมากจนต้องอัพบล็อกไว้ ตอนนั้นไปอัมพวาแล้วได้ล่องเรือดูหิ้งห้อย สวยมาก ๆ ค่ะ

ขอบคุณที่หาข้อมูลเกี่ยวกับหิ่งห้อยมาให้อ่านนะคะ น่าห่วงว่าอีกหน่อยหิ่งห้อยจะไม่เหลือให้เห็น

โหวตให้แล้วจ๊ะ


โดย: haiku วันที่: 12 พฤศจิกายน 2554 เวลา:19:31:34 น.  

 
สวัสดีตอนบ่ายค่ะ
แวะมาเยี่ยมน้องมี่พร้อมอ่านเรื่องราวของหิ่งห้อย
คิดถึงบ้านที่ ตจว จังเลยค่ะ





โดย: forgetmenot_ok วันที่: 17 พฤศจิกายน 2554 เวลา:16:03:30 น.  

 
คลิกโหวตให้น้องมี่ด้วย 1 จิ๊กค่ะ


โดย: forgetmenot_ok วันที่: 17 พฤศจิกายน 2554 เวลา:16:04:52 น.  

 
เข้ามาอ่านเรื่องของหิ่งห้อยค่ะ
ภาพประกอบน่ารักจังเลย
ชอบค่ะ




โดย: เลดี้ชะอุ่มศรี25 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2554 เวลา:16:09:37 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ญามี่
Location :
ภูเก็ต Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 260 คน [?]






อัพบล็อกครั้งแรก ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๑
free counters
who's online
คนพูดน้อยคิดบ่อยแต่ไม่เงียบ
ไร้ระเบียบเคลิ้มครุ่นอณูคุ้นฝัน
ไม่ประวิงหากทิ้งจักลืมวัน
พลัดผ่านพลันหากจากยากฝากคอย...











[Add ญามี่'s blog to your web]