bloggang.com mainmenu search









ตักสิลา /ตักกะสิลา/ เป็นชื่อเมืองอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นปัญจาบ เป็นมหาวิทยาลัยและเป็นศูนย์กลาง ของศิลปวิชาการในอดีตของอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาล มีสำนักอาจารย์ทิศาปาติโมกข์

สั่งสอนศิลปวิทยาต่างๆ แก่ศิษย์ที่มาเล่าเรียนในแถบดินแดนชมพูทวีป บุคคลสำคัญและมีชื่อเสียงหลายท่านที่สำเร็จการศึกษาจากที่แห่งนี้ อาทิเช่น เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศ หมอชีวกโกมารภัจจ์ และองคุลีมาล

ปัจจุบันนี้ตักสิลาอยู่ในเขตประเทศปากีสถาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงอิสลามาบัด คงเหลือแต่ซากเมืองให้ได้เห็น มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญคือ

พิพิธภัณฑ์ตักสิลา ซึ่งได้เก็บรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับความเป็นอยู่และภูมิปัญญาของชาวตักสิลายุคต่างๆ เอาไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ รวมถึง ซากสถูปเจดีย์ วัดวาอาราม แลปฏิมากรรม

แบบศิลปะคันธาระ จำนวนมาก อันเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของผู้คนจนรัฐบาลปากีสถานได้อนุรักษ์ไว้เป็นโบราณสถานภายใต้การสนับสนุนขององค์การยูเนสโก

เมืองตักสิลาถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ เป็นนครหลวงแห่งแคว้นคันธาระ เป็นหนึ่งในบรรดา 16 แคว้นของชมพูทวีป ที่สถาปนาขึ้นโดยชาวอารยัน มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำแคว้นและรุ่งเรืองมานับพันปี

ก่อนพุทธกาลนั้นมีความรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้สร้างตักสิลาให้มีชื่อเสียงกิตติศัพท์ขจรขจายไปทั่ว พร้อมๆกับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

ต่อมาตักสิลาก็ต้องตกอยู่ภายใต้อารยธรรมอีกมากมายต่อๆ มา เช่น อารยธรรมกรีก โดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และอารยธรรมฮินดูอีกหลายราชวงศ์ แต่กระนั้น ตักสิลาก็ยังแสดงความเจิดจรัสแห่งพระพุทธศาสนา

ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชนชาติเฮพธาไลต์ (Hephthalite) ได้ยกทัพมาตีอินเดียและทำลายพระพุทธศาสนา ทำให้เมืองตักสิลาพินาศสาบสูญแต่บัดนั้น


มรดกโลก

ตักสิลาได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2523 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

(iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

(vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


อาทิตยวารสิริสวัสดิ์ มานมนัสรมณีย์ค่ะ
Create Date :27 ธันวาคม 2552 Last Update :30 กรกฎาคม 2553 1:01:55 น. Counter : Pageviews. Comments :0