bloggang.com mainmenu search






หัวเสารูปสิงห์ 4 ทิศ
รัฐบาลอินเดีย นำมาใช้เป็นตราราชการแผ่นดิน





พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอโศกมหาราช
ในประเทศไทย




พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในพระพุทธศาสนา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในชมพูทวีป ทรงเป็นพระอัครศาสนูปถัมภกทั้งฝ่ายมหายาน และฝ่ายเถรวาท

ตามพระราชประวัติในคัมภีร์อโศกาวทาน ของฝ่ายมหายาน ใน อรรถกถาสมันตปาสาทิกา คัมภีร์ทีปวงศ์ และคัมภีร์มหาวงศ์ ของฝ่ายเถรวาท และทรงอุปถัมภ์ผู้ที่นักถือศาสนาเชน โดยการถวายถ้ำหลายแห่ง ให้แก่เชนศาสนิกชน เพื่อไปประกอบพิธีทางศาสนา


ทรงเป็นหนึ่งใน 6 ในอัครมหาบุรุษ

เอช. จี. เวลส์ (H.G.Wells) นักเขียน (The father of science-fiction)ในตะวันตก ยกย่องพระเจ้าอโศกมหาราช ว่าทรงเป็นอัครมหาบุรุษท่านหนึ่ง ใน 6 อัครมหาบุรุษแห่งประวัติศาสตร์โลก คือ พระพุทธเจ้า โสเครติส อริสโตเติล โรเจอร์ เบคอน และอับราฮัม ลิงคอล์น


บุรพกรรมของพระเจ้าอโศกมหาราช

กล่าวว่าด้วยเหตุอันที่พระเจ้าอโศกเป็นใหญ่ในชมพูทวีป เพราะได้เคยถวายน้ำผึ้งแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า

กล่าวว่าด้วยเหตุอันที่พระเจ้าอโศกผูกพันกับนิโครธสามเณร เมื่อแรกพบ เพราะเมื่อชาติอดีตที่เป็นพ่อค้าขายน้ำผึ้ง เป็นพี่น้องกัน รวมทั้งพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ ที่ลังกาทวีป

หลังจากที่พระเจ้าอโศกมหาราชสิ้นพระชนม์ พระองค์ก็ได้ไปบังเกิดเป็นงูเหลือม เพราะก่อนพระองค์จะสวรรคต พระองค์ทรงพระดำริที่จะถวายพระราชทรัพย์ถวายไว้ในพระศาสนาอีก

ได้มีขุนนางมาทัดทาน พระองค์จึงเกิดจิตโทสะ เมื่อสิ้นพระชนม์ จึงได้ไปเกิดสู่ทุคติภูมิ

แต่หลังจากนั้นพระองค์ได้ฟังพระธรรมเทศนา จากพระมหินทเถระ พระราชโอรสซึ่งบรรลุพระอรหันต์แล้ว จนได้บรรลุพระโสดาบัน

และ พองูเหลือมซึ่งก็คือพระเจ้าอโศกมหาราชได้ตายแล้ว ดวงวิญญาณของพระองค์ ก็ได้ล่องลอยสู่สรวงสวรรค์ ด้วยผลบุญที่พระองค์ทรงเคยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างใหญ่หลวง

พอมาสมัยยุคปัจจุบันนั้น ในประเทศไทยมีพระอริยสงฆ์ซึ่งได้บรรลุธรรมสูงสุดจำนวนมาก ซึ่งส่วนมากเป็นศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

หนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ ท่านพ่อลี ธัมธโร ซึ่งได้บรรลุธรรมสูงสุดแล้ว (พระอรหันต์) ได้เล่าถึงอดีตชาติว่า ชาติก่อนท่านเป็นพระเจ้าอโศกมหาราช

พระเจ้าอโศกทรงขุดพบ สถานที่เผาพระพุทธสรีระ หรือที่เรียกกันว่า "เนินดินเจ้าชายสิ้นชีพ"


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์วุธวาร สิริมานภิรมย์ปรีดิ์นะคะ
Create Date :26 มกราคม 2554 Last Update :26 มกราคม 2554 8:55:36 น. Counter : Pageviews. Comments :0