bloggang.com mainmenu search








ฮีเลียม (Helium) เป็นธาตุที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และเป็นหนึ่งในก๊าซเฉื่อย หรือก๊าซมีตระกูลในตารางธาตุ

มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวที่ต่ำที่สุดในกลุ่มธาตุ มีสถานะเป็นแก๊สอย่างเดียว ยกเว้นในสภาพพิเศษ เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 2 ในเอกภพ

บนโลกพบมากที่สุดในแก๊สธรรมชาติ นำไปใช้ในอติสีตศาสตร์ (วิชาความเย็นยิ่งยวด (cryogenics)) ในระบบการหายใจสำหรับทะเลลึก ในการเติมใส่ลูกโป่ง และเป็นก๊าซที่ใช้ในการป้องกันหลายวัตถุประสงค์

ฮีเลียมไม่มีพิษและไม่ปรากฏผลทางชีววิทยา


ประวัติการค้นพบ

มีการค้นพบฮีเลียม เมื่อปี ค.ศ. 1868 ในบรรยากาศรอบดวงอาทิตย์ โดย โจเซฟ นอร์มัน ล็อกเยอร์ เขาได้สังเกตเห็นเส้นสีเหลืองในสเปคตรัมของดวงอาทิตย์ ซึ่งไม่สอดคล้องกับธาตุใดๆ ที่รู้จักกันบนโลก

ล็อกเยอร์ ใช้คำศัพท์ภาษากรีกที่เรียกดวงอาทิตย์ (เฮลิออส : Helios) มาตั้งชื่อธาตุนี้ ว่า ฮีเลียม (Helium) นอกจากนี้ เซอร์ วิลเลียม แรมเซย์ ได้ค้นพบฮีเลียมบนโลก (ค.ศ. 1895) โดยเป็นส่วนประกอบที่อยู่ในแร่ยูเรนิไนท์ ซึ่ให้เส้นสเปกตรัมตรงกับที่สังเกตจากดวงอาทิตย์

ฮีเลียมที่มีอยู่ในเอกภพ มีมากเป็นอันดับสองรองจากไฮโดรเจน และมีปริมาณหนาแน่นในดาวฤกษ์ ซึ่งถูกสังเคราะห์ได้จากไฮโดรเจนนั่นเอง โดยอาศัยปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น

แม้ว่าฮีเลียมจะปรากฏในบรรยากาศของโลก เพียงหนึ่งส่วนใน 186,000 ส่วน (0.0005%) และมีปริมาณน้อยที่ปรากฏในแร่กัมมันตรังสี โลหะจากอุกกาบาต และน้ำพุแร่

แต่ฮีเลียมปริมาณสูงพบได้ในฐานะส่วนประกอบ (มากถึง 7.6%) ในก๊าซธรรมชาติในสหรัฐอเมริกา (โดยเฉพาะในรัฐเทกซัส, นิวเม็กซิโก, แคนซัส, โอคลาโฮมา, แอริโซนา และยูทาห์) นอกจากนั้นพบใน อัลจีเรีย,แคนาดา, สหภาพรัสเซีย, โปแลนด์ และ กาตาร์


การนำไปใช้ประโยชน์

ก๊าซฮีเลียมมีความหนาแน่นที่ต่ำมาก จึงนำไปใช้บรรจุในบอลลูนและเรือเหาะแทนก๊าซไฮโดรเจนซึ่งติดไฟได้ ภายหลังจากการระเบิดของเรือเหาะฮินเดนบวร์กของเยอรมนี และทราบสาเหตุว่ามาจากการระเบิดของก๊าซไฮโดรเจน

มีการนำก๊าซฮีเลียมไปผสมในอากาศสำหรับนักดำน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบนด์ (Bends)

ฮีเลียมเหลว (ซึ่งมีอุณหภูมิ -269 องศาเซลเซียส) นำไปใช้เกี่ยวกับตัวนำยิ่งยวด (Superconductor)


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์อาทิตยวาร สิริมานปรีดิ์เขษมนะคะ

Create Date :06 กุมภาพันธ์ 2554 Last Update :6 กุมภาพันธ์ 2554 12:28:55 น. Counter : Pageviews. Comments :0