bloggang.com mainmenu search







นิติพยาธิวิทยา (Forensic Pathology) เป็นสาขาย่อย ของนิติวิทยาศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับกลไกการเกิดโรคของมนุษย์ และการตายอย่างผิดธรรมชาติ

เช่นการตรวจสอบชิ้นเนื้อ การตรวจสอบเลือดและปัสสาวะเพื่อเป็นการตรวจสอบทางนิติพิษวิทยา ฯลฯ และการตรวจศพคดี เพื่อเป็นการช่วยเหลือพนักงานสอบสวนในการพิสูจน์


แบ่งออกเป็นสาขาย่อยอีก 3 สาขา ได้แก่

พยาธิกายวิภาค (Anatomical Pathology)
พยาธิวิทยาคลินิก (Clinical Pathology)
พยาธินิติเวช (Forensic Pathology)


นิติพิษวิทยา (Forensic Toxicology) เป็น การเรียนรู้องค์ประกอบสารเคมี ที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือพิษต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย

เมื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานด้านนิติศาสตร์ เพื่อหาสาเหตุการตายหรือความเชื่อมโยงกับความตาย จึงเรียกชื่อว่า นิติพิษวิทยา

ความตายของมนุษย์อาจมาจากสาเหตุตามธรรมชาติ หรือฆาตกรรมซึ่งแยกออกเป็นการตายด้วยอาวุธ ด้วยสารเคมี เป็นต้น เมื่อมีเหตุน่าสงสัยเกี่ยวข้องกับความตายของบุคคล ซึ่งอาจเชื่อมโยงกับสารพิษ

จักต้องมีการเก็บของเหลว หรือชิ้นส่วนอวัยวะที่อาจเปื้อนสารพิษ ไปให้นักพิษวิทยาค้นหา สารเคมีที่ไม่ควรมีอยู่ในร่างกายหรือมีเกินกว่ามาตรฐาน จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายถึงชีวิต เช่น สารดีดีที สารหนู และอื่นๆ

การใช้ยาบางชนิดเกินขนาดมาตรฐาน อาจฆ่าคนได้ไม่ว่าด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ตัวอย่างเช่น ยาพ่นจมูกของคนเป็นหอบหืด ถ้ามีการใช้ผิดคน ผิดโอกาส ระดับการใช้และสภาพแวดล้อมของคนตาย

นักพิษวิทยาจักบอกได้ว่า สารพิษดังกล่าวเข้าไปอยู่ในร่างกายโดยเจตนาหรือไม่ จากการวิเคราะห์สารเคมี ระดับของสารนั้น เป็นต้น

วิชาพิษวิทยามีการแยกประเภท ของสารพิษหลากหลายที่ส่งผลเสียต่อร่างกายมนุษย์หนักเบาแตกต่างกัน จึงต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของนักพิษวิทยา ในการสืบสวนคดีของตำรวจอย่างมากในโลกยุคใหม่

ความตายของบางคนถ้าดูภายนอก ไม่อาจบ่งบอกได้ว่าสาเหตุการตายคืออะไร หากตรวจสารพิษในร่างกายอาจพบสาเหตุได้ จากเคมีในร่างกายเท่านั้น

ดังนั้น การเก็บของเหลว เนื้อเยื่อ จากศพเพื่อตรวจสารพิษอย่างมีมาตรฐาน จักช่วยคลี่คลายคดีได้มากขึ้น


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สวัสดิ์สิริศนิวาร สิริมานรมณีย์นะคะ
Create Date :03 กุมภาพันธ์ 2554 Last Update :3 กุมภาพันธ์ 2554 18:06:48 น. Counter : Pageviews. Comments :0