bloggang.com mainmenu search






ดินแดนที่เยอรมนีสูญเสียไป
หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง




การเปลี่ยนแปลงดินแดน

การแบ่งเขตการปกครองของนาซีเยอรมนีในปี ค.ศ. 1943 ก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่สอง พื้นที่ซึ่งมีพลเมืองชาวเยอรมันอาศัยอยู่ อย่างเช่น ออสเตรีย, ซูเตเดนแลนด์, ดินแดนมาเมล

รวมทั้งดินแดนซึ่งผนวกรวมภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติ ได้แก่ ออยเปน-เอท-มัลเมอดี, อัลซาซ-ลอร์เรน, ดานซิก และดินแดนบางส่วนของโปแลนด์

นอกจากนั้น ระหว่างปี ค.ศ. 1939-1945 แคว้นโบฮีเมียและโบราเวีย ถูกปกครอง ในฐานะรัฐในอารักขาของเยอรมนี ซึ่งเยอรมนีมีอำนาจควบคุมและบริหารประเทศ แต่ยังอนุญาตให้มีสกุลเงินตราเป็นของตัวเอง

เช็กไซลีเซียรวมเข้ากับจังหวัดไซลีเซีย ในช่วงเวลาเดียวกัน ในปี ค.ศ. 1942 ลักเซมเบิร์กถูกผนวกรวมเข้ากับเยอรมนีโดยตรง โปแลนด์ตอนกลาง และแคว้นกาลิเซีย ถูกจัดให้อยู่ภายใต้การบริหารรัฐการของรัฐบาลในอารักขา ซึ่งมีชื่อว่า เจอเนอรัล กอเฟิร์นเมนท์ (เยอรมัน: General Government)

ในตอนปลายปี ค.ศ. 1943 จังหวัดบอลซาโน-โบเซน และอิสเตรีย ซึ่งเป็นดินแดนส่วนหนึ่ง ของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ก่อนหน้าปี ค.ศ. 1919 ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของเยอรมนี

เช่นเดียวกับตรีเอสเต จากอิตาลี ชาติพันธมิตรของตน ภายหลังได้ยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร

ดินแดนที่เยอรมนีสูญเสียไป หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงผลจากการประชุมพอตสดัม ดินแดนที่ผนวกรวมกับเยอรมนี นับตั้งแต่ ค.ศ. 1937 เป็นต้นมา เช่น ซูเตเดนแลนด์ ได้ถูกโอนคืนให้กับเจ้าของเดิม

และให้เลื่อนพรมแดนทางด้านตะวันออก มาจนถึงแนวโอเดอร์-นิซเซ่ ซึ่งทำให้เนื้อที่ของประเทศลดลงประมาณ 25% เมื่อเทียบกับขนาดพื้นที่ซึ่งวัดเมื่อปี ค.ศ. 1937

ดินแดนซึ่งอยู่ทางตะวันออกของแนวโอเดอร์-นิซเซ่ อันประกอบด้วย ปรัสเซียตะวันออก ไซลีเซีย ปรัสเซียตะวันตก ราวสองในสามของแคว้นโพเมอราเนีย และบางส่วนของบรันเดนบูร์ก

ฝรั่งเศสยังได้ยึดครองดินแดนส่วนใหญ่ของแคว้นซาร์ ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมถ่านหินที่สำคัญ ของเยอรมนีที่เหลืออีกด้วย

ดินแดนส่วนใหญ่ที่เยอรมนีเสียไปนี้ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ยกเว้น อัปเปอร์ไซลีเซีย ซึ่งเป็นศูนย์อุตสาหกรรมหนักที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นอันดับสองของเยอรมนี

การเปลี่ยนแปลงดินแดนดังกล่าว ส่งผลกระทบให้ชาวเยอรมันราว 14 ล้านคน ถูกขับออกจากดินแดน ซึ่งอยู่นอกพรมแดนของประเทศเยอรมนีใหม่

โดยมีผู้เสียชีวิตระหว่างเหตุการณ์คราวนี้ประมาณ 1-2 ล้านคน เช่นเดียวกับเมืองใหญ่น้อยทั้งหลาย เช่น สเท็ททิน, เคอนิกซเบิร์ก, เบรสเลา, เอลบิง และดานซิก ที่ได้ขับชาวเยอรมันออกจากเมืองเช่นกัน


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์จันทรวาร เปรมปรีดิ์มานกมลโรจน์นะคะ
Create Date :31 มกราคม 2554 Last Update :31 มกราคม 2554 20:20:56 น. Counter : Pageviews. Comments :0