bloggang.com mainmenu search





ส่วนหนึ่งของพระราชวังที่คนอสซอส
ที่สร้างขึ้นให้เห็นภาพ
จากการขุดค้นของนักโบราณคดี




อารยธรรมมิโนอัน (Minoan civilization) เป็นวัฒนธรรมของยุคสำริดที่เกิดขึ้นในครีต อารยธรรมมิโนอันรุ่งเรืองระหว่างราวศตวรรษที่ 27 จนถึงกลางศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสต์ศักราช

หลังจากนั้นวัฒนธรรรมกรีกไมซีเนีย (Mycenaean Greece) ก็เข้ามาแทนที่ อารยธรรมมิโนอัน พบเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยนักโบราณคดีชาวอังกฤษ ชื่อเซอร์อาร์เธอร์ อีแวนส์

ตามคำกล่าวของวิลล์ ดูรันต์ วัฒนธรรมครีต มิโนอันมีตำแหน่งในประวัติศาสตร์ว่าเป็น “สิ่งแรกที่เชื่อมวัฒนธรรมยุโรป”


บทนำ

ชนมิโนอัน จะเรียกตนเองว่าอย่างไรนั้นไม่เป็นที่ทราบแต่คำว่า “มิโนอัน” ที่ใช้เรียกชื่อวัฒนธรรมในยุคที่กล่าว เป็นคำที่คิดขึ้นโดยเอแวนสที่แผลงมาจาก “ไมนอส” ซึ่งเป็นพระนามของพระมหากษัตริย์ในตำนานเทพเจ้ากรีก

ไมนอสเกี่ยวข้องกับตำนานวงกต (labyrinth) ที่เอแวนสพบว่า เป็นที่ตั้งของคนอสซอส บางครั้งก็มีการโต้แย้งกันว่าคำว่าชื่อสถานที่ “Keftiu” ของอียิปต์โบราณ หรือ “Kaftor” ของภาษาเซมิติค หรือ “Kaptara” ของมารี ต่างก็หมายถึงเกาะครีต

ใน “โอดิสซีย์” ที่ประพันธ์หลายร้อยปี หลังจากที่อารยธรรมมิโนอันถูกทำลายไปแล้ว โฮเมอร์เรียกชนที่อาศัยอยู่บนเกาะว่า “อีทีโอเครทัน” (Eteocretan) หรือ “ครีตแท้” ที่อาจจะเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชนมิโนอันก็เป็นได้

พระราชวังของมิโนอัน ที่ได้รับการขุดพบเป็นสิ่งก่อสร้าง ที่มีความสำคัญเพราะลักษณะการก่อสร้าง เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่ใช้สำหรับการบริหาร ที่เห็นได้จากบันทึกเอกสารจำนวนมาก ที่พบโดยนักโบราณคดี

พระราชวังแต่ละแห่งที่พบ ต่างก็มีลักษณะต่างกันออกไป ที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ และมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างหลายชั้น โดยมีบันไดทั้งภายในและภายนอกอาคาร คอลัมน์ขนาดยักษ์ และลานภายในอาคาร

แทนที่จะพยายามจัดสมัยของมิโนอันตามเวลาของปฏิทิน นักโบราณคดีใช้วิธีสองวิธี ในการลำดับเวลาสัมพันธ์ (relative chronology)

วิธีแรกคิดขึ้นโดยอีแวนส์ และต่อมาประยุกต์โดยนักโบราณคดีคนอื่นๆ ที่เป็นการลำดับเวลา โดยการศึกษาลักษณะของเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งทำให้แบ่งอารยธรรมมิโนอัน ออกได้เป็นสามสมัย

มิโนอันตอนต้น (Early Minoan (EM)),
มิโนอันตอนกลาง (Middle Minoan (MM)) และ
มิโนอันตอนปลาย (Late Minoan (LM))

แต่ละช่วงเวลาก็แบ่งย่อยออกไปอีก เช่น มิโนอันตอนต้น 1, 2 และ 3 (EMI, EMII, EMIII) วิธีลำดับเวลาอีกวิธีหนึ่งเสนอโดยนักโบราณคดีชาวกรีกนิโคลัส พลาทอน (Nicolas Platon) ลำดับเวลา

โดยการศึกษาการวิวัฒนาการของกลุ่มสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า "ปราสาท" ที่คนอสซอส (Knossos), ไฟสทอส (Phaistos), มาลิอา (Malia), คาโทซาครอส (Kato Zakros)

ที่แบ่งสมัยอารยธรรมออกเป็น สมัยก่อนปราสาท (Prepalatial), สมัยปราสาทเก่า (Protopalatial), สมัยปราสาทใหม่ (Neopalatial) และสมัยหลังปราสาท (Post-palatial)

ความสัมพันธ์ระหว่างระบบลำดับเวลาทั้งสองวิธี แสดงในตารางประกอบ โดยผูกกับเวลาของปฏิทินโดยประมาณโดยวอร์เร็นและแฮงคีย์ (1989).

การระเบิดของภูเขาไฟธีรา (Minoan eruption) อันเป็นการระเบิดระดับ 6 หรือ 7 ของดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ (Volcanic Explosivity Index ) เกิดขึ้นในสมัยมิโนอันตอนปลาย

แต่เวลาของการระเบิดตามปฏิทิน เป็นข้อที่ยังไม่เป็นที่ตกลงกันได้ จากการวัดอายุด้วยกัมมันตภาพรังสี (Radiocarbon dating) ระบุว่าเกิดเป็นการระเบิดที่ขึ้นราวปลายทศวรรษ 1600 ก่อนคริสต์ศักราช

แต่เวลาที่ระบุโดยการวัดอายุด้วยกัมมันตภาพรังสี ค้านกับการคำนวณโดยนักโบราณคดี ผู้เปรียบเวลาการระเบิดกับปฏิทินอียิปต์ ที่ระบุว่าเกิดขึ้นระหว่างปี 1525 ถึงปี 1500 ก่อนคริสต์ศักราช

การระเบิดของภูเขาไฟ มักจะเห็นกันว่าเป็นเหตุการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนอันรุนแรง ต่อวัฒนธรรมของมิโนอัน ที่นำไปสู่การล่มสลายอย่างรวดเร็ว

ที่อาจจะเป็นเหตุการณ์เดียว กับที่บรรยายในตำนานแอตแลนติสของกรีก


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์วุธวาร สิริมานปรีดิ์เกษมนะคะ
Create Date :09 กุมภาพันธ์ 2554 Last Update :9 กุมภาพันธ์ 2554 8:16:56 น. Counter : Pageviews. Comments :0