bloggang.com mainmenu search







ยุทธการซานโรมาโน เปาโล อูเชลโล
จิตรกรรมสีฝุ่นบนไม้ ค.ศ. 1432
หอศิลป์แห่งชาติ ลอนดอน
หอศิลป์อุฟฟิซิ ฟลอเรนซ์
พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ปารีส






“นิคโคโล ดา โทเล็นทิโน
ในยุทธการซานโรมาโน”
อาจจะราว ค.ศ. 1438 - ค.ศ. 1440
หอศิลป์แห่งชาติ ลอนดอน






“นิคโคโล ดา โทเล็นทิโนพิชิตแบร์นาร์ดิโน เดลลา ชิอาร์ดา”
ราว ค.ศ. 1435 - ค.ศ. 1455
หอศิลป์อุฟฟิซิ ฟลอเรนซ์






“การย้อนโจมตีของมิเคเลตโต อัตเทนโดโล”
ราว ค.ศ. 1455
พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ปารีส





ยุทธการซานโรมาโน (The Battle of San Romano) เป็นจิตรกรรมสีฝุ่นบนไม้สามภาพที่เขียนโดยเปาโล อูเชลโล จิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติ ในลอนดอน หอศิลป์อุฟฟิซิในฟลอเรนซ์ และ พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ในปารีส

เปาโล อูเชลโลเขียนภาพ “ยุทธการซานโรมาโน” ในปี ค.ศ. 1432 เป็นภาพที่บรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุทธการซานโรมาโน ในปี ค.ศ. 1432 เป็นภาพสามภาพ แต่ละภาพยาวกว่าสามเมตร

ที่ได้รับการจ้างให้เขียนโดยตระกูลบาร์โตลินิ ซาลิมเบนิ เป็นภาพสำคัญที่แสดงลักษณะการวิวัฒนาการ การเขียนภาพแบบทัศนมิติของยุคจิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลีตอนต้น และเป็นงานเขียนที่ใหญ่มากสำหรับงานจ้างของฆราวาส

ยุทธการซานโรมาโน เป็นยุทธการในสงครามลอมบาร์ด ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1432 ที่ซานโรมาโนในอิตาลี เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของสาธารณรัฐฟลอเรนซ์ที่นำโดยนิคโคโล ดา โทเล็นทิโนและมิเคเลตโต อัตเทนโดโล และสาธารณรัฐเซียนาที่นำโดยฟรานเชสโค พิชชินิโน

ภาพเขียนเป็นที่ชื่นชมกันมากในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ในที่สุดก็ตกไปเป็นของตระกูลเมดิชิเป็นเวลาสามร้อยปี ในปัจจุบันอยู่ในงานสะสมของสามพิพิธภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น

แผงของหอศิลป์อุฟฟิซิ อาจจะออกแบบให้เป็นแผงกลางของบานพับภาพสามและเป็นแผงเดียวที่ลงชื่อโดยอูเชลโล ลำดับของภาพเป็นที่เห็นพ้องกันว่าเรียงตามลำดับ แผงลอนดอน แผงฟลอเรนซ์ และ แผงปารีส

แต่ก็มีผู้เสนอลำดับแตกต่างจากที่ว่า หรืออาจจะเป็นสามเวลา เช้า (ลอนดอน) กลางวัน (ฟลอเรนซ์) และ พลบค่ำ (ปารีส)

ยุทธการซานโรมาโนใช้เวลาแปดชั่วโมงจึงเสร็จ

ในแผงลอนดอนนิคโคโล ดา โทเล็นทิโนสวมหมวกแดงเป็นลายทองขนาดใหญ่ ขี่ม้าขาวนำกองทหารม้าฟลอเรนซ์ ด้านหน้าของภาพมีหอกหักและร่างของทหารที่เสียชีวิต วางในท่าที่จงใจเพื่อแสดงความเป็นทัศนมิติ

ภาพสามภาพออกแบบให้แขวนสูงบนผนังสามด้านของห้อง และการวางภาพให้มีทัศนมิติก็คำนึงถึงความสูงของภาพด้วย ซึ่งเมื่อมองในระดับต่ำกว่าที่ตั้งใจไว้ หรือจากภาพถ่ายก็จะทำให้เห็นสิ่งต่างๆ ที่ผิดปกติในภาพ

บริเวณหลายบริเวณในภาพใช้ทองคำเปลวและเงินในการตกแต่ง ทองใช้ในการตกแต่งบังเหียนซึ่งยังคงดูใหม่ ส่วนเงินใช้ตกแต่งเสื้อเกราะซึ่งทำปฏิกิริยากับอ็อกซิเจน ที่ทำให้กลายเป็นสีเทาหรือดำ

ภาพทุกภาพได้รับความเสียหายจากกาลเวลา กับการซ่อมแซมสมัยต้น และบางส่วนก็หายไป


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์วุธวาร เปรมปรีดิ์มานรมเยศนะคะ

Create Date :17 พฤศจิกายน 2553 Last Update :17 พฤศจิกายน 2553 0:00:04 น. Counter : Pageviews. Comments :0