bloggang.com mainmenu search






พวกนาซีเผาทำลายผลงานที่ถูกพิจารณาแล้วว่า
"ไม่ใช่ชาวเยอรมัน" ในกรุงเบอร์ลิน
ซึ่งได้แก่ งานเขียนของชาวยิว
ของคู่แข่งทางการเมืองหรือผลงานที่ต่อต้านลัทธินาซี




ผลงานทางศิลปะ

พรรคนาซีมีแนวคิดที่จะพยายาม รักษาคุณค่าของวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของชาติเยอรมนีเอาไว้ ศิลปวัฒนธรรมที่ถือกำเนิดขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน หลังจากช่วงสาธารณรัฐไวมาร์จะถูกปราบปราม

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทัศนศิลป์ที่จะต้องได้รับการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด และต้องผ่านเกณฑ์ โดยจะต้องเน้นเพื่อเป็นการแสดงตัวอย่างของนโยบายของรัฐ เช่น ความบริสุทธิ์ของเชื้อชาติ ลัทธินิยมทหาร วีรบุรุษ พลังอำนาจ ความเข้มแข็ง และความอ่อนน้อมถ่อมตน

ภาพศิลปะนามธรรมและศิลปะอาวองการ์ด จะถูกเคลื่อนย้ายออกจากพิพิธภัณฑ์และจะถูกนำไปแสดงเป็นพิเศษในหมวดหมู่ "ศิลปะอันเลวทราม" (degenerate art) ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนหัวเราะเยาะผลงานเหล่านี้

วรรณกรรมที่เป็นผลงานของชาวยิว หรือเชื้อชาติที่ไม่เป็นอารยัน หรือนักประพันธ์ผู้มีความเห็น ไปในทางต่อต้านคำสอนของลัทธินาซีถูกทำลาย การทำลายวรรณกรรมที่โด่งดังที่สุด คือการเผาหนังสือโดยนักเรียนชาวเยอรมันในปี 1933

แม้ว่าจะมีความพยายามของรัฐบาล ที่จะสร้างวัฒนธรรมเยอรมันบริสุทธิ์ แต่ว่ายังมีศิลปะหรือสถาปัตยกรรมบางส่วน กลับเป็นสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิค ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของสถาปัตยกรรมโรมันโบราณ ภายใต้การชักนำของฮิตเลอร์เอง

ศิลปะแนวนี้โดดเด่นและขัดแย้งกับศิลปะรุ่นใหม่ ที่มีเสรีกว่าและได้รับความนิยมกว่าในสมัยนั้น (เช่น อาร์ท เดโค) โดยผลงานสถาปัตยกรรมแบบโรมัน ในนาซีเยอรมนีส่วนมากเป็นผลงานของวิศวกรของรัฐ อัลเบิร์ต สเพียร์

ซึ่งเขาก็ได้ออกแบบสถานที่สำคัญ ของพรรคนาซีอันยิ่งใหญ่และสง่างาม อย่างเช่น ลานชุมนุมของพรรคนาซีที่เมืองเนือร์นแบร์ก และที่ว่าการไรช์ในกรุงเบอร์ลิน

งานออกแบบชิ้นหนึ่งที่ไม่ได้นำมาสร้างจริง คือการสร้างเพเธอนอนให้ยิ่งใหญ่กว่าในกรุงโรม และใช้เป็นศูนย์ทางศาสนาของลัทธินาซีในเบอร์ลิน (ซึ่งจะถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเยอรมาเนีย)

และประตูแห่งชัยชนะให้ยิ่งใหญ่กว่าในกรุงปารีส แต่งานออกแบบสำหรับเยอรมาเนียเหล่านี้ ล้วนเป็นเพียงความเพ้อฝัน และไม่มีวันที่จะสำเร็จลงได้เพราะขนาดของมันและดินของเบอร์ลินที่อ่อนเกินไป

นอกจากนี้ วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างล้วนถูกนำไปใช้ในการสงคราม


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์จันทรวาร สิริมานภิรมย์ปรีดิ์นะคะ
Create Date :31 มกราคม 2554 Last Update :31 มกราคม 2554 21:46:01 น. Counter : Pageviews. Comments :0